Tag: โรคเบาหวาน

  • ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้

    ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้

    ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้ ผักสดผลไม้สดนั้นเป็นอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานและให้รสหวาน เกลือแร่และวิตามินที่เสริมสร้างความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ เส้นใยอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้ด้วย และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ลดเบาหวานได้ด้วย และพืชบางชนิดให้ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ฯลฯ การบริโภคผักสดและผลไม้สด จึงเป็นเรื่องที่ควรแนะนำและส่งเสริม แต่ทุกอย่างในโลกก็ต้องมีสองด้านเสมอ แม้แต่ในผักสด ผลไม้สดก็ตาม การบริโภคสด ๆ โดยไม่ผ่านความร้อนอาจได้รับอันตรายบางประการได้ เช่น ในผักอาจมีไข่พยาธิหรือพยาธิเจือปนอยู่ หากล้างไม่สะอาดอาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้ รวมไปถึงผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ อาจก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยบางโรคจำเป็นต้องระวังผักสดผลไม้สดบางชนิดด้วย เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปตัสเซี่ยมสูง ๆ เช่น กล้วย หรือส้ม เป็นต้น รวมไปถึงคนไข้อีกบางพวกที่การทานผักสดผลไม้สด เป็นเรื่องต้องห้ามที่สุด ก็คือ คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เพราะคนไข้จำพวกนี้ภายหลังจากที่ได้รับยาแล้วจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคต่ำลง ผู้ป่วยจึงอ่อนแอเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการผักผลไม้ ต้องเป็นผ่านการทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น อีกทั้งผลไม้บางชนิดที่ต้องรับประทานทั้งเปลือกก็ห้ามรับประทานด้วย หากต้องการทานต้องปอกเปลือกทิ้งไปแล้วให้ทานในทันทีห้ามปล่อยทิ้งไว้ แม้การทานผักสดผลไม้สดจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ป่วยบางโรคก็เป็นเรื่องต้องห้ามเช่นกัน ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่านะคะ

  • โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…

  • รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST

    รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST

    รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST ในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์อัมพาตมากถึงปีละกว่าหกล้านคน แม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 คนทุก ๆ 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว แล้วยังมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนและอัตราเร็วมากขึ้นทุกปีอีกด้วย ผู้ที่มีความเสี่ยงกับอาการสมองขาดเลือดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย อ้วนน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมไปถึงผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคนี้ ดังนั้นจึงควรหัดสังเกตอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ใบหน้าอ่อนแรง หรือแขน ขา อ่อนแรงซีกเดียว 2. พูดจาลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง สับสน มีปัญหาทางการพูด 3. การมองเห็นลดประสิทธิภาพลงไม่ว่าจะข้างเดียวหรือสองข้าง 4. มึนงง เดินเซ สูญเสียสมดุลในการเดิน หรือคุณสามารถใช้ตัวย่อ FAST ช่วยในการจดจำได้ ดังนี้ F ; Face เวลายิ้มแล้วมุมปากตก ข้างใดข้างหนึ่ง A ; Arms ยกแขนไม่ขึ้นข้างใดข้างหนึ่ง S ;…

  • วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง

    วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง

    วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง  เพราะเหตุที่คนไทยมีภาวะโภชนาการล้นเกิน และวิธีการใช้ชีวิตก็เอื้อให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น คนไทยจึงมีสถิติการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกปีด้วย โดยโรคหลอดเลือดสมองนี้แม้จะไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ยิ่งในผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก อาการอัมพาตนั้นมักจะมีอาการเตือนก่อนเกิดโรคเสมอ และการรักษาจะได้ผลก็ต้องเมื่อผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ดังนั้นเมื่อพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้เพียงข้อใดข้อหนึ่งแล้วแม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงอยู่ ก็ควรปรึกษาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด จะทำให้โอกาสการเสียชีวิตหรือพิการลดลงไปมากได้นั่นเอง การสังเกตอาการเตือนภัยของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ 1. มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ขา แขน ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ไม่มีสัญญาณเตือน 2. ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปอย่างทันทีทันใด ไม่ว่าจะเป็น เอะอะ สับสน โวยวาย ซึมลง หรือพูดลำบาก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ 3. จู่ ๆ ก็ตามัวหรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างทันที 4. มึนงง เวียนหัว…

  • ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต

    ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต

    ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจต่าง ๆ รวมไปถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการอัมพาตได้ทั้งหมด ดังนั้นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุก็คือเราควรเลือกทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ จึงจะเป็นการป้องกันอาการอัมพาตได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งควรเลือกทานอาหารตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ – หากเป็นคนที่มีน้ำหนักร่างกายเกินมาตรฐาน ควรทานอาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง ลดการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้หวาน ๆ หลีกเลี่ยงน้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะเร่งให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย ส่วนผลไม้ก็เลือกทานชนิดที่ไม่มีน้ำตาลมากนัก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ ฯลฯ – หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารผัด ทอด หรือแม้แต่ปิ้งย่างน้ำมันเยิ้มทาเนยทั้งหลาย ทานอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ย่างแห้งไม่ทาน้ำมัน เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง หลีกเลี่ยงอาหารเข้ากะทิ พวกแกงเผ็ด แกงบวช ผัดใส่กะทิ ขนมไทยใส่กะทิต่าง ๆ…

  • สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

    สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

    สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า บางทีโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดีได้เหมือนกัน โรคนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ – เหนื่อยเวลาออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่กลับเหนื่อยผิดปกติ เพราะในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้น คุณจึงรู้สึกได้ถึงความเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นค่ะ – มักจะเจ็บหน้าอก หายใจอึดอัด และแน่นบริเวณหน้าอก พบมากในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการจะคล้ายมีของหนักกดทับหน้าอกไว้หรือมีโดนรัดหน้าอกทำให้หายใจไม่ออก – เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ เกิดเพราะจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ หัวใจจึงเต้นช้าลง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงทำให้เป็นลมได้ ใครเป็นลมหมดสติบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ – เท้าหรือขาบวม เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้ว และเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัวเมื่อใดก็ได้ – หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนที่ปกติไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วอาจถึงกับเสียชีวิตได้ – ตรวจพบความผิดปกติ เช่น เป็นเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง หรือเอ็กซเรย์พบว่าหัวใจโตกว่าปกติ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน นับว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ด้วย ส่วนผู้ที่ยังมีหัวใจเป็นปกติอยู่นั้น เราก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองไว้ก่อนที่จะเกิดโรคหัวใจตามมา ได้แก่ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ เช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ มีอาการดังกล่าวข้างต้นบ้างหรือเปล่า และควรออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ดูแลจิตใจให้สดใสเสมอ…

  • ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ

    ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ

    ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…

  • ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?

    ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?

    ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า? โดยทั่วไปผู้ที่มีวัยเข้าสู่วัยชราแล้วมักจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เล็กน้อยบ้างไปตามวัย บางทีก็แค่ลืมของว่าวางไว้ไหน แต่หากเป็นการลืมที่ไม่น่าเป็นไปได้อย่างการลืมทางกลับบ้าน หรือเอาเตารีดไปใส่ไว้ในตู้เย็น อะไรแบบนี้อาจเป็นไปได้ว่าผู้ชราท่านนั้นอาจมีอาการของโรคสมองเสื่อมแล้ว วันนี้จึงขอเอาข้อสังเกตของการเป็นโรคสมองเสื่อมมาฝากกันค่ะ ภาวะสมองเสื่อม คือความเสื่อมของสมองโดยรวมทั้งหมด ทำให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและบุคลิกภาพอย่างชัดเจน มักพบได้ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่หากมีอายุถึง 85 ปีก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว ส่วนใหญ่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง โดยอาการที่จะบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ก็ให้สังเกตดังนี้ค่ะ 1. มักจำเหตุการณ์ใหม่ ๆ ไม่ได้ แต่กลับจำเรื่องราวเก่า ๆ ในดีตได้ มักถามซ้ำเรื่องเดิมบ่อย ๆ 2. เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ได้ไม่ จำปัจจุบันไม่ได้ เช่น จำไม่ได้ว่าทานข้าวแล้ว หรือจำคำพูดขณะที่สนทนาไม่ได้ มักถามกลับซ้ำ ๆ 3. การแก้ไขปัญหาบกพร่องไป เช่น ยืนดูน้ำล้มอ่างเฉย ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี 4. การประกอบกิจกรรมต่าง…

  • ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ

    ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ

    ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ ระยะนี้คนไทยเราเริ่มหันมาสนใจการออกกำลังกายดูแลสุขภาพ และดูแลอาหารการกินกันมากขึ้นแล้วนะคะ การจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาร่างกายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังเช่นกันเล่นกีฬาก็จำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ให้กระทำอย่างสม่ำเสมอด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างมั่นคงนั่นเอง ผู้ที่เพิ่งหันมาออกกำลังกายใหม่ ๆ นั้น ควรเลือกออกกำลังกายในระดับเบาก่อน ยังไม่ควรหักโหมไปวิ่งทันที ควรเริ่มด้วยการเดินเบา ๆ หรือปั่นจักรยานช้า ๆ ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหากหักโหมอาจปวดข้อหรือได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ในช่วงเริ่มแรกควรค่อย ๆ ฟิตร่างกายให้ดีก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปออกกำลังกายที่หนักขึ้นจะช่วยถนอมกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกไปได้อีกทาง การเตรียมตัวก่อนการออกกำลังกาย ต้องเริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง และใช้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อวอร์มร่างกาย ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ด้วยก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน คุณอาจวิ่งเหยาะ ๆ อยู่กับที่เบา ๆ หรือเดินเบา ๆ ก่อนสัก 5-10 นาทีแล้วค่อยเดินเร็วหรือเริ่มวิ่ง ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายอีกอย่างก็คือจะกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้มากขึ้น ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้อีกทางหนึ่ง การออกกำลังกายควรเป็นกิจวัตรที่มีความสม่ำเสมอ และเป็นชนิดกีฬาที่ชื่นชอบด้วยจึงจะทำให้ไม่เบื่อ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรหักโหมจนเกินไป การจะวัดว่าเหนื่อยเกินไปหรือยังให้สังเกตว่ายังพูดเป็นคำได้อยู่หรือเปล่า หากเหนื่อยจนพูดไม่เป็นคำก็ถือว่าหักโหมเกินไปแล้ว ควรค่อย ๆ…

  • กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว คนที่ชอบทานอาหารมื้อดึก ๆ นั้น ถ้าสังเกตสุขภาพร่างกายของเค้าจะพบว่าเป็นคนที่ไม่แข็งแรง และมีความไม่ปกติกับร่างกายหลายส่วน ทั้งการตื่นสาย ท้องอืด ระบบการย่อยรวนเร เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ตลอดจนคนที่กินมื้อดึกยังทำให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติ แทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนในยามค่ำคืนกลับต้องมาย่อยอาหารที่มักจะเป็นมื้อใหญ่เสียด้วย ดังนั้นร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพด้วยการเริ่มต้นเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคความดัน นอนไม่หลับ ฯลฯ จนสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าร่างกายแก่กว่าอายุจริงไปมากเลยนั่นล่ะค่ะ การจะทราบได้ว่าคุณเป็นคนที่กินมื้อดึกหรือเปล่า ก็ให้ลองสังเกตที่มื้อเช้านั่นล่ะค่ะว่า รู้สึกจุกตื้ออยู่ หรือไม่อยากอาหารเช้าหรือเปล่า นั่นเป็นเพราะยังอิ่มจากการที่กินไว้ตั้งแต่เมื่อคืน กว่าจะได้กินก็มื้อเที่ยงไปแล้ว หรือไปมื้อบ่ายเลย ส่วนมื้อเย็นก็มักจะเป็นหลังสองทุ่มขึ้นไปและมักจะกินมื้อใหญ่ด้วย คนที่กินมื้อดึกมักจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน (เพราะร่างกายกำลังย่อยอาหาร) แต่มาง่วงเหงาในเวลากลางวัน อีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคนกินดึกจะเจ้าเนื้อจนอวบอ้วนกว่าคนอื่น ๆ ด้วย หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยนานาชนิดและโรคอ้วนด้วยแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการกินเสียใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการทานข้าวเช้าทุกวัน และทานทุกมื้อให้เป็นเวลาด้วย มื้อเย็นควรทานก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง หรือก่อนหกโมงเย็น เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ เข้าใจว่าช่วงแรกนั้นทำได้ยาก แต่ก็ค่อย ๆ ต้องปรับไปค่ะ ระหว่างนี้มื้อเย็นสามารถทานอาหารที่สร้างเมลาโทนินได้ เช่น แกงขี้เหล็กหรือข้าวโพด เพื่อให้หลับได้ง่ายจะได้ไม่ต้องหิวตอนดึก ๆ ค่ะ