Tag: เบาหวาน
-
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…
-
รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST
รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST ในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์อัมพาตมากถึงปีละกว่าหกล้านคน แม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 คนทุก ๆ 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว แล้วยังมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนและอัตราเร็วมากขึ้นทุกปีอีกด้วย ผู้ที่มีความเสี่ยงกับอาการสมองขาดเลือดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย อ้วนน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมไปถึงผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคนี้ ดังนั้นจึงควรหัดสังเกตอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ใบหน้าอ่อนแรง หรือแขน ขา อ่อนแรงซีกเดียว 2. พูดจาลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง สับสน มีปัญหาทางการพูด 3. การมองเห็นลดประสิทธิภาพลงไม่ว่าจะข้างเดียวหรือสองข้าง 4. มึนงง เดินเซ สูญเสียสมดุลในการเดิน หรือคุณสามารถใช้ตัวย่อ FAST ช่วยในการจดจำได้ ดังนี้ F ; Face เวลายิ้มแล้วมุมปากตก ข้างใดข้างหนึ่ง A ; Arms ยกแขนไม่ขึ้นข้างใดข้างหนึ่ง S ;…
-
วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง
วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง เพราะเหตุที่คนไทยมีภาวะโภชนาการล้นเกิน และวิธีการใช้ชีวิตก็เอื้อให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น คนไทยจึงมีสถิติการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกปีด้วย โดยโรคหลอดเลือดสมองนี้แม้จะไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ยิ่งในผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก อาการอัมพาตนั้นมักจะมีอาการเตือนก่อนเกิดโรคเสมอ และการรักษาจะได้ผลก็ต้องเมื่อผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ดังนั้นเมื่อพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้เพียงข้อใดข้อหนึ่งแล้วแม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงอยู่ ก็ควรปรึกษาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด จะทำให้โอกาสการเสียชีวิตหรือพิการลดลงไปมากได้นั่นเอง การสังเกตอาการเตือนภัยของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ 1. มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ขา แขน ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ไม่มีสัญญาณเตือน 2. ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปอย่างทันทีทันใด ไม่ว่าจะเป็น เอะอะ สับสน โวยวาย ซึมลง หรือพูดลำบาก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ 3. จู่ ๆ ก็ตามัวหรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างทันที 4. มึนงง เวียนหัว…
-
ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต
ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจต่าง ๆ รวมไปถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการอัมพาตได้ทั้งหมด ดังนั้นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุก็คือเราควรเลือกทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ จึงจะเป็นการป้องกันอาการอัมพาตได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งควรเลือกทานอาหารตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ – หากเป็นคนที่มีน้ำหนักร่างกายเกินมาตรฐาน ควรทานอาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง ลดการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้หวาน ๆ หลีกเลี่ยงน้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะเร่งให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย ส่วนผลไม้ก็เลือกทานชนิดที่ไม่มีน้ำตาลมากนัก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ ฯลฯ – หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารผัด ทอด หรือแม้แต่ปิ้งย่างน้ำมันเยิ้มทาเนยทั้งหลาย ทานอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ย่างแห้งไม่ทาน้ำมัน เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง หลีกเลี่ยงอาหารเข้ากะทิ พวกแกงเผ็ด แกงบวช ผัดใส่กะทิ ขนมไทยใส่กะทิต่าง ๆ…
-
สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า
สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า บางทีโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดีได้เหมือนกัน โรคนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ – เหนื่อยเวลาออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่กลับเหนื่อยผิดปกติ เพราะในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้น คุณจึงรู้สึกได้ถึงความเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นค่ะ – มักจะเจ็บหน้าอก หายใจอึดอัด และแน่นบริเวณหน้าอก พบมากในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการจะคล้ายมีของหนักกดทับหน้าอกไว้หรือมีโดนรัดหน้าอกทำให้หายใจไม่ออก – เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ เกิดเพราะจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ หัวใจจึงเต้นช้าลง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงทำให้เป็นลมได้ ใครเป็นลมหมดสติบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ – เท้าหรือขาบวม เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้ว และเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัวเมื่อใดก็ได้ – หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนที่ปกติไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วอาจถึงกับเสียชีวิตได้ – ตรวจพบความผิดปกติ เช่น เป็นเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง หรือเอ็กซเรย์พบว่าหัวใจโตกว่าปกติ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน นับว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ด้วย ส่วนผู้ที่ยังมีหัวใจเป็นปกติอยู่นั้น เราก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองไว้ก่อนที่จะเกิดโรคหัวใจตามมา ได้แก่ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ เช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ มีอาการดังกล่าวข้างต้นบ้างหรือเปล่า และควรออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ดูแลจิตใจให้สดใสเสมอ…
-
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…
-
ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ
ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ ระยะนี้คนไทยเราเริ่มหันมาสนใจการออกกำลังกายดูแลสุขภาพ และดูแลอาหารการกินกันมากขึ้นแล้วนะคะ การจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาร่างกายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังเช่นกันเล่นกีฬาก็จำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ให้กระทำอย่างสม่ำเสมอด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างมั่นคงนั่นเอง ผู้ที่เพิ่งหันมาออกกำลังกายใหม่ ๆ นั้น ควรเลือกออกกำลังกายในระดับเบาก่อน ยังไม่ควรหักโหมไปวิ่งทันที ควรเริ่มด้วยการเดินเบา ๆ หรือปั่นจักรยานช้า ๆ ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหากหักโหมอาจปวดข้อหรือได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ในช่วงเริ่มแรกควรค่อย ๆ ฟิตร่างกายให้ดีก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปออกกำลังกายที่หนักขึ้นจะช่วยถนอมกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกไปได้อีกทาง การเตรียมตัวก่อนการออกกำลังกาย ต้องเริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง และใช้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อวอร์มร่างกาย ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ด้วยก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน คุณอาจวิ่งเหยาะ ๆ อยู่กับที่เบา ๆ หรือเดินเบา ๆ ก่อนสัก 5-10 นาทีแล้วค่อยเดินเร็วหรือเริ่มวิ่ง ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายอีกอย่างก็คือจะกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้มากขึ้น ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้อีกทางหนึ่ง การออกกำลังกายควรเป็นกิจวัตรที่มีความสม่ำเสมอ และเป็นชนิดกีฬาที่ชื่นชอบด้วยจึงจะทำให้ไม่เบื่อ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรหักโหมจนเกินไป การจะวัดว่าเหนื่อยเกินไปหรือยังให้สังเกตว่ายังพูดเป็นคำได้อยู่หรือเปล่า หากเหนื่อยจนพูดไม่เป็นคำก็ถือว่าหักโหมเกินไปแล้ว ควรค่อย ๆ…
-
กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว
กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว คนที่ชอบทานอาหารมื้อดึก ๆ นั้น ถ้าสังเกตสุขภาพร่างกายของเค้าจะพบว่าเป็นคนที่ไม่แข็งแรง และมีความไม่ปกติกับร่างกายหลายส่วน ทั้งการตื่นสาย ท้องอืด ระบบการย่อยรวนเร เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ตลอดจนคนที่กินมื้อดึกยังทำให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติ แทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนในยามค่ำคืนกลับต้องมาย่อยอาหารที่มักจะเป็นมื้อใหญ่เสียด้วย ดังนั้นร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพด้วยการเริ่มต้นเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคความดัน นอนไม่หลับ ฯลฯ จนสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าร่างกายแก่กว่าอายุจริงไปมากเลยนั่นล่ะค่ะ การจะทราบได้ว่าคุณเป็นคนที่กินมื้อดึกหรือเปล่า ก็ให้ลองสังเกตที่มื้อเช้านั่นล่ะค่ะว่า รู้สึกจุกตื้ออยู่ หรือไม่อยากอาหารเช้าหรือเปล่า นั่นเป็นเพราะยังอิ่มจากการที่กินไว้ตั้งแต่เมื่อคืน กว่าจะได้กินก็มื้อเที่ยงไปแล้ว หรือไปมื้อบ่ายเลย ส่วนมื้อเย็นก็มักจะเป็นหลังสองทุ่มขึ้นไปและมักจะกินมื้อใหญ่ด้วย คนที่กินมื้อดึกมักจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน (เพราะร่างกายกำลังย่อยอาหาร) แต่มาง่วงเหงาในเวลากลางวัน อีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคนกินดึกจะเจ้าเนื้อจนอวบอ้วนกว่าคนอื่น ๆ ด้วย หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยนานาชนิดและโรคอ้วนด้วยแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการกินเสียใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการทานข้าวเช้าทุกวัน และทานทุกมื้อให้เป็นเวลาด้วย มื้อเย็นควรทานก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง หรือก่อนหกโมงเย็น เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ เข้าใจว่าช่วงแรกนั้นทำได้ยาก แต่ก็ค่อย ๆ ต้องปรับไปค่ะ ระหว่างนี้มื้อเย็นสามารถทานอาหารที่สร้างเมลาโทนินได้ เช่น แกงขี้เหล็กหรือข้าวโพด เพื่อให้หลับได้ง่ายจะได้ไม่ต้องหิวตอนดึก ๆ ค่ะ
-
ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต
ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต ไตของคนเรานั้น เป็นอวัยวะที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ มีรูปร่างคล้ายถั่วแดง อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัวในระดับของกระดูกซี่โครงส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย กรองของเสียในร่างกาย หากไตบกพร่องก็อาจทำให้คุณเป็นโรคไตได้ด้วย โรคไตนั้นมีหลายชนิด แต่ที่อันตรายที่สุดเห็นจะเป็นไตวายเรื้อรัง มีอาการที่เห็นได้ก็คือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ซึม วิงเวียน ปวดหัว การรับรสเปลี่ยนไป มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลงได้ และที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคไตที่สำคัญคือ พฤติกรรมการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนไปทั้งในเรื่องความถี่ ปริมาณของน้ำปัสสาวะ สีของปัสสาวะ เช่น เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเวลากลางคืน ปริมาณลดน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมา รวมทังปวดหลังปวดเอว ความดันโลหิตสูง หน้าบวม เท้าบวมและท้องบวม กลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคไตวายนั้นจะมีอยู่สองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว เช่น ความดันสูง หรือเบาหวาน กับอีกกลุ่มคือเป็นโรคไตซ่อนอยู่ และไม่เคยแสดงอาการอะไรออกมาเลย ไม่เคยป่วยเจ้าโรงพยาบาลแต่ความจริงมีโรคไตซ่อนอยู่ หากไม่ตรวจก็จะไม่รู้ว่าเป็นโรคไต โรคไตนี้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้โดย – อย่าทรมานไตมากเกินไป ด้วยการกินยาที่ซื้อมาเอง หรือกินยาผิดขนาด ผิดชนิด และปริมาณ รวมทั้งกินยาซ้ำซ้อนไปหมด หากซื้อยามากินเองไม่ปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตอักเสบและเป็นโรคไตได้ –…
-
การดูแลช่องปากเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ
การดูแลช่องปากเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยใส่ใจมากนัก แต่หารู้ไม่ว่าโรคนี้ทำให้เกิดปัญหาลุกลามจนสูญเสียฟันได้เลยทีเดียว โดยสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบนั้นเกิดมาจากการขาดการดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างถูกวิธี จึงเกิดคราบสะสมของจุลินทรีย์รวมทั้งหินปูนที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่ทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบ เหงือกบวมแดง เลือดออกตามไรฟันโดยเฉพาะเวลาที่แปลกฟัน หากไม่รักษาอาจเป็นสาเหตุให้กระดูรอบรากฟันโดนทำลายจนฟันโยกคลอนและหลุดในที่สุด นอกจากนี้แล้วโรคเหงือกอักเสบยังเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ตามร่างกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ทำให้คนไข้เบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก อาจทำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้อีก ฯลฯ การดูแลช่องปากให้ห่างไกลโรคเหงือกอักเสบนั้น ควรทำความสะอาดฟันอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเช้าเย็นโดยใช้ร่วมกับไหม่ขัดฟันด้วยก็ได้ ไม่ควรทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เช่น ส้ม มะนาว หรือน้ำอัดลมที่มีกรดสูง ไม่ควรแปรงฟันหลังกินอาหารทันทีเพราะทำให้ฟันสึกได้ง่าย ระวังอย่าแปรงฟันนานเกินไปเพราะอาจทำให้เหงือกได้รับการเสียดสีจนอักเสบได้ แล้วอย่าลืมไปตรวจสุขภาพช่องปากปีละอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ขูดหินปูนด้วย ในส่วนของสุขภาพในช่องปากของเด็ก ๆ ควรดูแลการแปรงฟันให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงของหวาน ลูกอม ขนมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการกินจุบจิบไปด้วย หันมาทานผักสดผลไม้สดที่ดีต่อสุขภาพ ฟันของคุณและลูก ๆ จะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ จนแก่เฒ่าไม่ต้องพึ่งฟันปลอมยังไงล่ะคะ