Tag: โรคมะเร็ง
-
มาสังเกต…อุจจาระตัวเองกัน
มาสังเกต…อุจจาระตัวเองกัน การอุจจาระ เป็นกิจกรรมประจำวันที่สำคัญต่อสุขภาพ แต่คนส่วนใหญ่เวลาจัดการธุระเรียบร้อยแล้วก็มักไม่เคยหันมาสังเกตอุจจาระของตนเองเลย วันนี้เลยอยากจะมาชวนคุณผู้อ่านหันมาดูอุจจาของตัวเอง เพื่อตรวจสอบสุขภาพของคุณกันค่ะ ทุกคนมีลักษณะของอุจจาระ และพฤติกรรมการถ่ายอุจจาระที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ทาน ปริมาณน้ำที่ดื่ม การออกกำลังกาย และลักษณะจำเพาะทางร่างกายของคน ๆ นั้นด้วย ลักษณะของอุจจาระที่เหมาะสมนั้นควรมีความอ่อนนิ่มกำลังพอดี ไม่ต้องออกแรงเพ่งมาก มีสีและกลิ่นปกติ หากกินผักก็อาจมีสีเขียวมาก หากกินผลไม้ชนิดใดมากก็อาจถ่ายเป็นสีนั้นออกมาได้ แต่หากกินผักผลไม้น้อย แล้วกินเนื้อสัตว์มากอุจจาระก็อาจมีกลิ่นเหม็นมากได้ สำหรับผู้ที่ท้องผูกบ่อย ๆ อุจจาระคั่งค้างในร่างกายนานเกิดไป ทำให้บูดเน่าเสียในลำไส้จนเกิดสารพิษขึ้น สารพิษนี้จะถูกดูดกลับเข้าไปภายในร่างกายใหม่อีกครั้งพร้อมกับน้ำ อุจจาระจึงแข็งถ่ายลำบาก อีกทั้งสารพิษเหล่านี้ยังทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ภูมิต้านทานโรคต่ำ เซลล์เสื่อมลง แล้วยังอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ด้วย ดังนั้นเราจึงควรทำให้กิจกรรมการถ่ายอุจจาระของเราเป็นปกติและเป็นเวลา โดย.. – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ๆ เช่น ผักผลไม้ให้มาก เพื่อปริมาณและความเหลวของอุจจาระได้ดี – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ลิตรหรือราว ๆ 8-10 แก้ว เพื่อให้อุจจาระอุ้มน้ำพองตัว นิ่ม แล้วถูกขับออกมาได้ง่าย – ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น จะสังเกตได้ว่ามีการเรอหรือผายลมเวลาออกกำลังกาย จึงไม่มีปัญหาท้องผูก ท้องเฟ้อ…
-
หลัก 5 อ. ปรับภูมิชีวิต พิชิตมะเร็ง
หลัก 5 อ. ปรับภูมิชีวิต พิชิตมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2005-2015 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเสียชีวิตโดยไม่ได้รักษาราว 84 ล้านคนทั่วโลก โดยในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคถึงปีละเฉลี่ยเกือบสองหมื่นล้านบาท โรคมะเร็งนี้เป็นโรคที่อันตราย ส่วนใหญ่เป็นโรคของภูมิต้านมะเร็งบกพร่อง มีสาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย อายุมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดสารอาหารช่วยเพิ่มภูมิต้านทานมะเร็ง กินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง การสัมผัสกับรังสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งนี้นอกจากทนทุกข์ทรมานจากภาวะของโรคแล้วยังสูญเสียเงินทองในการรักษาจำนวนมากอีก ผลการรักษาบางครั้งก็ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง บางรายก็หายชั่วคราว บางรายก็ได้แค่บรรเทาอาการเท่านั้น ฯลฯ ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่หากเราจะปรับภูมิชีวิตของตัวเราเองเพื่อป้องกันและป้องกันการกระจายตัวของมะเร็ง ลดโอกาสการเป็นมะเร็งซ้ำอีกด้วย ก็คือหลัก 5 อ. อันได้แก่ 1. อาหาร เลือกทานอาหารให้ได้รับสารต้านอนุมูอิสระ และสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการทุกอย่าง ตามปริมาณความต้องการของร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อสารเคมี ทานผัก ผลไม้ ถั่ว เห็ดต่าง ๆ เพิ่มภูมิต้านทานการเป็นมะเร็ง และต้านทานเซลล์กลายพันธุ์ได้ด้วย 2. ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที ด้วยการบริหารลมหายใจ…
-
หมั่นตรวจแพ็ปสเมียร์ เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก
หมั่นตรวจแพ็ปสเมียร์ เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกนั้น เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในหญิงไทย ซึ่งรองลงมาก็คือมะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ชนิด 16 และ 18 ผู้ที่มีความเสี่ยงก็ได้แก่ หญิงที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย มีสามีที่มีคู่นอนหลายคน จึงทำให้ได้รับเชื้อเอชพีวีจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอดส์ เริม หนองใน ซิฟิลิส ฯลฯ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การมีอนามัยที่ไม่ดี ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย โดยอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกนี้ ได้แก่ มีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกระปรอย มีตกขาวปนเลือด มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ และในระยะท้าย ๆ จะมีอาการขาบวม ปวดก้นกบ ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด ซึ่งหากรอจนถึงมีอาการระยะนี้แล้วอาจมีโอกาสในการรักษาให้หายได้เพียงร้อยละ 20-30 เท่านั้น มะเร็งปากมดลูกนี้ระยะแรกจะไม่มีอาการใดเลย แต่หากตรวจพบจะสามารถรักษาให้หายได้ถึงร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว การตรวจว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น ใช้วิธีแพ็ปสเมียร์ ที่สามารถตรวจได้ง่าย รวมไปถึงการผ่าตัดที่มาพร้อมกับรักษาและวินิจฉัยระยะของโรคไปด้วยในตัว หากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกหากทำการผ่าตัดจะรักษาโรคได้ถึงร้อยละ 80 แต่หากพบว่ามีการกระจายตัวแล้วต้องใช้การฉายรังสีเพื่อรักษาด้วย…
-
รู้จักกับอันตรายของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
รู้จักกับอันตรายของมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเม็ดเลือดขาว นั้นเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวมีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเร็วกว่าปกติจนกลายเป็นเซลล์ที่ผิดกติ แล้วยังแก่ตัวและตายช้ากว่าปกติ แพร่กระจายตัวไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ ทำลายการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวนี้มีอยู่หลายชนิด หลัก ๆ แล้วแบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยสำคัญที่พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สาเหตุจากพันธุกรรม เช่น ผู้ที่มีกลุ่มอาการดาวน์ ผู้ที่มีโครโมโซมผิดปกติ หรือผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก็มีความเสี่ยงด้วย รวมไปถึงผู้ที่เคยได้รับการบำบัดมะเร็งชนิดอื่นมากอ่น รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติการสัมผัสกับรังสีนิวเคลียร์หรือสารเบนซินก็มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนทั่วไป อาการของผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน ได้แก่ มีไข้ มีอาการซีดหรือมีจ้ำเขียวตามตัว มีเลือดออกบริเวณต่าง ๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรรฟัน ประจำเดือนมากผิดปกติ หรอืการถ่ายเป็นเลือด มีอาการไข้เรื้อรัง อ่อนเพลียน้ำหนักลด ฯลฯ ต่อมาด้วยอาการซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจมีอาการทางสมอง แน่นท้อง ปวดท้องเนื่องจากตับโต แต่บางรายก็มีอาการเฉพาะที่ ทั้งการปวดกระดูกและข้อ เหงือกบวม เป็นต้น ในส่วนของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ…
-
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต มะเร็งไตเป็นโรคที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกันเหมือนมะเร็งอื่น ๆ อย่าง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ มากนัก ในประเทศไทยนั้นมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อแสนคน และผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ 50-70 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาตรวจพบมะเร็งไตเพราะมารักษาโรคอื่นๆ อาการของมะเร็งไตนั้น พบได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดบริเวณเอว คลำพบก้อนที่เอวซีด เบื่ออาหาร มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด สามารถแบ่งมะเร็งไตออกเป็น สี่ระยะได้แก่ ระยะแรกจะมีขนาดก้อนน้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร ยังไม่ลุกลาม และจะโตขึ้นกว่าเจ็ดเซนติเมตรแต่ยังอยู่ในไตเป็นระยะที่สอง ส่วนระยะที่สามเริ่มลุกลามไปยังหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือ ในระยะที่สุดจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ ต่อมหมวกไต ปอด ตับ กระดูก ซึ่งแนวทางการรักษามะเร็งไต ก็ได้แก่ การผ่าตัด สำหรับมะเร็งไตระยะที่ 1-2 การฉายรังสีเพื่อเป็นการบรรเทาอาการ การใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึงการให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่มีการกระจายตัวไปที่อวัยวะอื่นแล้วเท่านั้น และอีกวิธีคือการรักษาแบบเฉพาะเจาะกลุ่มโดยการใช้ยา ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ…
-
ทำความรู้จักกับ…มะเร็งต่อมลูกหมาก
ทำความรู้จักกับ…มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น เป็นมะเร็งที่มักพบได้โดยบังเอิญขณะไปตรวจสุขภาพ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการ อาจมีบางรายที่ถ่ายปัสสาวะลำบากบ้าง มะเร็งชนิดนี้ลุกลามค่อนข้างช้า ผู้ป่วยจึงมักมีชีวิตที่เป็นปกติสุขดีและอายุยืนยาวไปตามปกติ ส่วนสาเหตุก็ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่ามีความสัมพันธ์กับระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเพศชาย รวมกับปัจจัยทางพันธุกรรรม พบมากในผู้ที่กินเนื้อแดงหรือไขมันมาก กินผักน้อย การทำหมัน และผู้ที่มีระดับของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในเลือดสูงด้วย อาการของมะเร็งชนิดนี้ อาจมีอาการแบบเดียวกับต่อมลูกหมากโต คือปัสสาวะลำบาก ต้องออกแรงเบ่งหรือรอนานกว่าจะถ่ายปัสสาวะออกได้ ปัสสาวะไม่พุ่ง ลำปัสสาวะเบี้ยวหรือเล็กลง รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด ต้องปัสสาวะวะ หรือลุกขึ้นมาถ่ายปัสสาวะกลางคืน บางรายอาจถ่ายเป็นเลือดหรือมีเลือดในออกมากับน้ำอสุจิ ส่วนผู้ที่แพร่กระจายแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หากแพร่ไปที่กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครงหรือเชิงกรานจะมีอาการปวดกระดูกบริเวณนั้น หากแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองต้นขาจะมีอาการขาบวม ถ้าแพร่ไปที่ประสาทสันหลังจะมีอาการขาชาและอ่อนแรง ถ้าแพร่ไปที่สมองแล้วจะมีอาการปวดศีรษะ เดินโซเซหรือแขนขาอ่อนแรง ในส่วนของการดูแลตัวเอง หากมีอาการผิดปกติของการปัสสาวะดังกล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรรีบเข้ารับการรักษาจะทำให้มีชีวิตที่ยืนยาม และใช้กิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และการป้องกันนั้นก็ป้องกันและดูแลตัวเองเหมือนผู้ที่ป้องกันตนเองจากมะเร็งชนิดอื่นได้แก่ – หลีกเลี่ยงอาหารมัน ไขมันสูง หรือเนื้อแดง – ทานผัก ผลไม้สด ธัญพืช ถั่วเหลืองและเต้าหู้ให้มาก ๆ – ทานมะเขือเทศที่ปรุงสุกแล้ว มะละกอ แตงโม หรือผลไม้ที่มีไลโคปีนสูง…
-
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ยิ่งโดยเฉพาะเพสหญิงด้วยแล้ว ทั้งวิถีชีวิตและการกินอาหรก็เลียนแบบไปทางตะวันตกมากขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางผู้หญิงตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งนั้นจะได้แก่อาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลงไปประมาณร้อยละ 10 ของร่างกายภายในหกเดือน (แต่ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถือว่าปกติ) แต่อาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นได้ด้วย การรักษามะเร็งนั้นมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมี การฉายแสง ในส่วนของการผ่าตัดนั้นใช้ได้กับมะเร็งแทบทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะของโรค หรืออวัยวะนั้นผ่าตัดได้หรือไม่ ส่วนมะเร็งที่เลือกผ่าตัดเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มดลูก ต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น สำหรับวิธีเคมีบำบัด จะใช้เพื่อลดการกระจายตัวของโรคไปที่อื่นหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีมะเร็งบางชนิดที่ทำได้แค่การให้เคมีบำบัดอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด และบางครั้งก็มีการให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ ในส่วนของการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาฉีดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดต้องให้หลายครั้ง ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการหลังจากให้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้…
-
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด
—
by
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…
-
ปาร์ตี้ยังไง สบายใจไม่เสียสุขภาพ
ปาร์ตี้ยังไง สบายใจไม่เสียสุขภาพ ประเทศไทยมีวันหยุดยาวหลายช่วงของปี ไม่ว่าจะเป็นปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ และวันหยุดยาวต่อเนื่องหลาย ๆ จังหวะตลอดทั้งปี บางคนก็อาศัยช่วงเวลานี้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัด หรืออาจหยุดอยู่กับบ้านกินเลี้ยงกับเพื่อนกับครอบครัว งานปาร์ตี้กินเลี้ยงเหล่านี้หากเผลอตัวเผลอใจกินมากเกินไปก็อาจทำให้ร่างกายมีปัญหาสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นของทอดของมันที่อาจทำให้อ้วน หรือเหล้า เบียร์ต่าง ๆ ที่อาจบั่นทอนสุขภาพ วันนี้ค่ะจะเอาคำแนะนำการกินเลี้ยงอย่างไร ให้คุณสบายใจไม่มีปัญหาสุขภาพในภายหลังมาฝากกันค่ะ 1. ปาร์ตี้ปิ้งย่างทั้งหลายแหล่ หากต้องเลือกเนื้อสัตว์ ก็ควรเน้นที่เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ที่ย่อยได้ง่าย แถมยังมีไขมันน้อย จึงเป็นผลต่อสุขภาพมากกว่าเนื้อแดงทั้งหลาย หากเลือกทานอาหารทะเลก็ให้ระวังคอเลสเตอรอลไว้ด้วย นอกจากนั้นควรมีเครื่องเคียงเป็นผักให้มาก ๆ เพื่อสุขภาพค่ะ 2. ควรเลือกใช้วิธีลวกจิ้ม หรือนึ่งต้ม แทนการปิ้ง ย่าง หรือทอด เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันและอนุมูลอิสระทั้งหลายที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง 3. เลี่ยงเหล้าเบียร์ ไวน์ น้ำอัดลม น้ำหวานจัด เพราะให้พลังงานมากและใช้เวลาในการเผาผลาญนาน นอกจากนี้เหล้าเบียร์ทั้งหลายยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะขับรถกลับบ้านได้อีกด้วย 4. ขณะทานอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียดแล้วทานช้า ๆ เพื่อไม่ให้ระบบการย่อยทำงานหนักเกินไป อีกอย่างก็คือการกินเร็วยังทำให้กินมากเกินพอดีอีกด้วย 5. หลังทานอาหารไม่ควรนอนทันที เพราะอาจเกิดโรคกรดไหลย้อน ควรนั่งพักให้ย่อยอย่างน้อย 2 ชั่วโมงหรือไปเดินเล่นเบา…
-
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…