Tag: โรคหัวใจ

  • ประโยชน์ที่ได้รับจากไข่ไก่

    ประโยชน์ที่ได้รับจากไข่ไก่

    ประโยชน์ที่ได้รับจากไข่ไก่ ไข่ไก่เป็นอาหารที่มีราคาไม่แพง แต่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงมากเมื่อเทียบกับราคาเลยนะคะ บางคนก็กังวลไปว่าหากทานไข่มากเกินไปอาจทำให้คอเลสเตอรอลสูงได้ แต่ก็ไม่เสมอไปหากเราทานอย่างถูกวิธีและมีปริมาณที่เหมาะสม เรามาดูกันดีกว่าในไข่หนึ่งฟองนั้น ประกอบด้วยสารอาหารอะไรกันบ้าง ในไข่ไก่หนึ่งฟองนั้นให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่ มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 6.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 0.8 กรัม ให้แคลเซียม 126 กรัม ให้เลซินทิน 1,280 กรัม คอเลสเตอรอล 200 กรัม รวมทั้งให้แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กด้วย ฯลฯ ซึ่งเลซิทินที่พบมาในไข่แดงนี้เป็นไขมันในรูปของสารประกอบฟอสโฟลิปิด เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อเซลล์ประสาท ช่วยย่อยสลายไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยให้สามารถรับคอเลสเตอรอลจากร่างกายเข้าสู่ตับได้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสารจำเป็นในการสร้างโคลีน ทำให้ความจำดีขึ้นไม่หลงลืมได้ง่าย เลซิทินจึงจำเป็นต้องผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ผู้ที่ต้องการเสริมความจำ เด็กวัยเรียนและผู้ที่ใช้สมองอย่างเคร่งเครียด แม้ไข่จะให้คอเลสเตอรอลสูงถึง 200 กรัม แต่จากข้อกำหนดแล้วเราไม่ควรทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลเกิน 300 กรัมต่อวัน การไม่กินไข่เลยจึงเป็นเรื่องไม่แนะนำ ควรระมัดระวังอาหารชนิดอื่น ๆ มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ติดมัน ไส้กรอก…

  • ปรับวิถีชีวิตพิชิตมะเร็งร้าย

    ปรับวิถีชีวิตพิชิตมะเร็งร้าย

    ปรับวิถีชีวิตพิชิตมะเร็งร้าย เดี๋ยวนี้เราต้องยอมรับกันแล้วล่ะค่ะว่า โรคมะเร็งนั้น เกิดจากวิถีชีวิตในปัจจุบันของเราเองที่ทำให้เกิดโรคขึ้นมาเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความเร่งรีบ ทานแต่อาหารสำเร็จรูป พักผ่อนไม่เป็นเวลา อีกทั้งการอยู่ท่ามกลางมลพิษต่าง ๆ อย่างเลือกไม่ได้อีก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมอัตราการเป็นมะเร็งของคนไทยจึงพุ่งสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกปี แต่หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับสุขภาพในระยะยาว รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างเสม่ำเสมอแล้วก็เชื่อได้ว่า สุขภาพที่แข็งแรงของคุณจะพิชิตมะเร็งร้ายได้แน่นอน ซึ่งการปรับรูปแบบวิถีชีวิตนั้น ๆ ได้แก่ – ทานอาหารเน้นไปที่การทานผักและผลไม้ และต้องคละกันไปหลากสีสันในทุกวัน รวมไปถึงบรรดาธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ โดยทุกมื้อต้อมีอาหารเหล่านี้เป็นสัดส่วน 2 ใน 3 อีก 1 ใน 3 นั้นเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและเกลือมาก – เลือกใช้สมุนไพรและเครื่องเทศในการปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น กระเทียม กระเพราะ ขมิ้น มะนาว – ทานไขมันดีๆ จากน้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคาร์โนล่า และกรดไขมันโอเมก้าสาม – ทานมังสวิรัติหรืออาหารที่ปลอดเนื้อสัตว์อย่างน้อยสัปดาห์ละ สามมื้อ เช่น ผัดเต้าหู้ ต้มยำเห็ด…

  • มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!!

    มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!!

    มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!! ช่วงเวลาที่อากาศดี ๆ ฝนไม่ตกเท่าไรอย่างระยะปลายหน้าฝนเข้าสู่หน้าหนาวนี้ ตามสนามกีฬากลางแจ้งมักจะพบนักวิ่งที่พากันวิ่งออกกำลังกาย หลังจากอัดอั้นกันมากในฤดูฝนที่ฝนตกเฉอะแฉะจนไม่ได้ออกกำลังกายกันเลย การวิ่งจ๊อกกิ้งนั้นเป็นกีฬาที่แทบไม่ต้องมีต้นทุนอะไรเลย นอกจากรองเท้าดี ๆ สักคู่หนึ่งแล้ว แต่กลับเป็นกีฬาที่ให้ประโยชน์มากมาย ช่วยป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน โรคอ้วน ฯลฯ ดังนั้นแล้วก่อนที่สุขภาพจะแย่เพราะไปรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป จึงควรหันมาออกกำลังกายกันดีกว่าค่ะ แม้ในระยะแรก ๆ จะเหนื่อยมากกับการวิ่ง อาจต้องวิ่งไปเดินไปอยู่บ้าง แต่เมื่อหัดวิ่งไปมาก ๆ เข้าก็จะเริ่มวิ่งได้นานขึ้นจนกลายเป็นวิ่งเป็นชั่วโมงได้สบาย ๆ เลยทีเดียว คู่มือสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เพียงเลือกซื้อรองเท้าสำหรับวิ่ง หรือรองเท้าที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี สวมเสื้อผ้าที่สบายและระบายเหงื่อได้ง่าย และควรเลือกสถานที่วิ่งเป็นพื้นที่เรียบ ไม่ว่าจะเป็นบนฟุตบาทที่ปลอดภัยและมีพื้นผิวราบเรียบ บนพื้นถนนที่ราดยางหรือคอนกรีตป้องกันเท้าพลิกหรือสะดุด ขณะที่ไปวิ่งไม่ควรทานอาหารจนอิ่มมากเกินไป ควรทานอาหารเบา ๆ ก่อนวิ่งสักครึ่งชั่วโมงเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อน ดื่มน้ำล่วงหน้าแต่ไม่ต้องมากนัก และหลังการวิ่งทุกครั้งให้ดื่มน้ำเข้าไปทดแทนเหงื่อที่ไหลออกไป ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นด้วย การวิ่งจ๊อกกิ้งเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจบีบส่งเลือดได้ดีขึ้น เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดขยายตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น…

  • โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…

  • วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง

    วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง

    วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง  เพราะเหตุที่คนไทยมีภาวะโภชนาการล้นเกิน และวิธีการใช้ชีวิตก็เอื้อให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น คนไทยจึงมีสถิติการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกปีด้วย โดยโรคหลอดเลือดสมองนี้แม้จะไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ยิ่งในผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก อาการอัมพาตนั้นมักจะมีอาการเตือนก่อนเกิดโรคเสมอ และการรักษาจะได้ผลก็ต้องเมื่อผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ดังนั้นเมื่อพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้เพียงข้อใดข้อหนึ่งแล้วแม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงอยู่ ก็ควรปรึกษาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด จะทำให้โอกาสการเสียชีวิตหรือพิการลดลงไปมากได้นั่นเอง การสังเกตอาการเตือนภัยของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ 1. มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ขา แขน ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ไม่มีสัญญาณเตือน 2. ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปอย่างทันทีทันใด ไม่ว่าจะเป็น เอะอะ สับสน โวยวาย ซึมลง หรือพูดลำบาก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ 3. จู่ ๆ ก็ตามัวหรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างทันที 4. มึนงง เวียนหัว…

  • ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต

    ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต

    ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจต่าง ๆ รวมไปถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการอัมพาตได้ทั้งหมด ดังนั้นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุก็คือเราควรเลือกทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ จึงจะเป็นการป้องกันอาการอัมพาตได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งควรเลือกทานอาหารตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ – หากเป็นคนที่มีน้ำหนักร่างกายเกินมาตรฐาน ควรทานอาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง ลดการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้หวาน ๆ หลีกเลี่ยงน้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะเร่งให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย ส่วนผลไม้ก็เลือกทานชนิดที่ไม่มีน้ำตาลมากนัก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ ฯลฯ – หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารผัด ทอด หรือแม้แต่ปิ้งย่างน้ำมันเยิ้มทาเนยทั้งหลาย ทานอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ย่างแห้งไม่ทาน้ำมัน เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง หลีกเลี่ยงอาหารเข้ากะทิ พวกแกงเผ็ด แกงบวช ผัดใส่กะทิ ขนมไทยใส่กะทิต่าง ๆ…

  • สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

    สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

    สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า บางทีโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดีได้เหมือนกัน โรคนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ – เหนื่อยเวลาออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่กลับเหนื่อยผิดปกติ เพราะในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้น คุณจึงรู้สึกได้ถึงความเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นค่ะ – มักจะเจ็บหน้าอก หายใจอึดอัด และแน่นบริเวณหน้าอก พบมากในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการจะคล้ายมีของหนักกดทับหน้าอกไว้หรือมีโดนรัดหน้าอกทำให้หายใจไม่ออก – เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ เกิดเพราะจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ หัวใจจึงเต้นช้าลง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงทำให้เป็นลมได้ ใครเป็นลมหมดสติบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ – เท้าหรือขาบวม เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้ว และเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัวเมื่อใดก็ได้ – หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนที่ปกติไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วอาจถึงกับเสียชีวิตได้ – ตรวจพบความผิดปกติ เช่น เป็นเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง หรือเอ็กซเรย์พบว่าหัวใจโตกว่าปกติ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน นับว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ด้วย ส่วนผู้ที่ยังมีหัวใจเป็นปกติอยู่นั้น เราก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองไว้ก่อนที่จะเกิดโรคหัวใจตามมา ได้แก่ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ เช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ มีอาการดังกล่าวข้างต้นบ้างหรือเปล่า และควรออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ดูแลจิตใจให้สดใสเสมอ…

  • อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค

    อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค

    อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของโลหิตที่เกิดจากหัวใจทำการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นสองค่า ก็คือค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว (ตัวบน) และค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว (ตัวล่าง) โดยปรกติคนทั่วไปจะมีค่าความดันโลหิตอยู่ที่ 120/80 มม.ปรอท แต่หากความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 ขึ้นไป ถือได้ว่าเข้าข่ายเป็นโรค “ความดันโลหิตสูง” ซึ่งควรใส่ใจดูแลตนเองให้มาก ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาทั้งโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เกิดได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดมีการหดตัวผิดปกติ การสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หรือการสะสมน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมากเกินไป ฯลฯ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้หัวใจจะทำงานหนักมา และในระยะยาวหลอดเลือดจะเกิดความเสื่อมไปทั่วร่าง แรก ๆ จะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาปนกับปัสสาวะจนตรวจพบได้ แต่ในระยะยาวจะทำให้ไตเสื่อมจนขับของเสียและเกลือแร่ออกมาได้น้อยลง เกลือแร่ที่ตกค้างจึงยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก จนไตวายในที่สุด ผู้ที่ทราบว่าตนเป็นมีอาการความดันโลหิตสูง จึงควรควบคุมความดันของไว้และหมั่นตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องอย่าหยุดยาไปเอง และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือ อาหารที่มีไขมันสูง ลดการดื่มกาแฟ เหล้า บุหรี่ ทานผักผลไม้ให้มาก ออกกำลังให้สม่ำเสมอ และที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นก็คือพยายามผ่อนคลายตนเองอย่างให้เครียดด้วยค่ะ เพราะความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้เช่นกันค่ะ  

  • ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ

    ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ

    ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…

  • ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ

    ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ

    ออกกำลังกายน่ะดี แต่ทำให้ถูกวิธีด้วยนะ ระยะนี้คนไทยเราเริ่มหันมาสนใจการออกกำลังกายดูแลสุขภาพ และดูแลอาหารการกินกันมากขึ้นแล้วนะคะ การจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้นจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาร่างกายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังเช่นกันเล่นกีฬาก็จำเป็นต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ให้กระทำอย่างสม่ำเสมอด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างมั่นคงนั่นเอง ผู้ที่เพิ่งหันมาออกกำลังกายใหม่ ๆ นั้น ควรเลือกออกกำลังกายในระดับเบาก่อน ยังไม่ควรหักโหมไปวิ่งทันที ควรเริ่มด้วยการเดินเบา ๆ หรือปั่นจักรยานช้า ๆ ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหากหักโหมอาจปวดข้อหรือได้รับบาดเจ็บได้ง่าย ในช่วงเริ่มแรกควรค่อย ๆ ฟิตร่างกายให้ดีก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปออกกำลังกายที่หนักขึ้นจะช่วยถนอมกล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกไปได้อีกทาง การเตรียมตัวก่อนการออกกำลังกาย ต้องเริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง และใช้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อวอร์มร่างกาย ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ด้วยก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน คุณอาจวิ่งเหยาะ ๆ อยู่กับที่เบา ๆ หรือเดินเบา ๆ ก่อนสัก 5-10 นาทีแล้วค่อยเดินเร็วหรือเริ่มวิ่ง ข้อดีของการอบอุ่นร่างกายอีกอย่างก็คือจะกระตุ้นให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้มากขึ้น ช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บได้อีกทางหนึ่ง การออกกำลังกายควรเป็นกิจวัตรที่มีความสม่ำเสมอ และเป็นชนิดกีฬาที่ชื่นชอบด้วยจึงจะทำให้ไม่เบื่อ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายแต่ละครั้งไม่ควรหักโหมจนเกินไป การจะวัดว่าเหนื่อยเกินไปหรือยังให้สังเกตว่ายังพูดเป็นคำได้อยู่หรือเปล่า หากเหนื่อยจนพูดไม่เป็นคำก็ถือว่าหักโหมเกินไปแล้ว ควรค่อย ๆ…