Tag: โรคมะเร็ง
-
โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง
โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนั้นหมายถึง การอักเสบของตับที่นานเกินกว่าหกเดือนขึ้นไป ตรวจเลือดแล้วพบร่องรอยการอักเสบ มีสาเหตุมาจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ไขมันพอกตับ หรือภาวะภูมิต้านทานตนเอง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากข้อใดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีซึ่งสามารถป้องกันและลดอันตรายลงได้ โรคนี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับแทรกซ้อน บางรายไม่มีอาการแต่ตรวจเลือดพบได้ อาจมีอาการได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลียซึ่งมักเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น นอกจากนี้ยังมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเป็นต้น ในระยะท้ายที่เริ่มเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้วก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าย น้ำหนักลด ท้องบวม เท้าบวม ยิ่งหากเป็นผู้ที่มีพี่น้องเป็นพาหะของโรคนี้หรือเป็นโรคตับอักเสบอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และหากพบว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสควรปฏิบัติตามดังนี้ 1. พบแพทย์ กินยา และเข้ารักษาตามเวลา ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต 2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3. ห้ามบริจาคเลือด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา มีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น 5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ 6. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีพิษต่อตับทำให้อักเสบรุนแรงได้ ในส่วนของการป้องกันสามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี 2. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์…
-
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำพบได้มากในท้องตลาดจริง ๆ นับตั้งแต่เช้าที่เราทานปาท่องโก๋ทอด ก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ลูกชิ้นไส้กรอกทอด ทอดมัน เฟรนส์ฟราย ฯลฯ ล้วนก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการปรุงอาหารทั้งนั้น อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะมีสารที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำให้ร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งอีกด้วย สารดังกล่าวก็คือสารโพล่าร์ และโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน พบได้ทั้งในน้ำมันที่ทอดและจากไอระเหยขณะทอด เป็นอันตรายทั้งผู้ขายและผู้บริโภคนั้นเอง ซึ่งน้ำมันที่เสื่อมสภาพจากการทอดซ้ำนั้น เมื่อดูด้วยสายตาจะพบว่ามีความข้นหนืดมากกว่าปกติ มีสีดำเป็นฟองมาก เหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด น้ำมันปรุงอาหารจะเสื่อมสภาพได้มากเมื่อถูกความร้อนสูงและมีความชื้น ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดสารโพลาร์ ยิ่งเติมเครื่องปรุงหรือเกลือลงไปด้วยแล้ว ยิ่งเท่ากับเป็นการเร่งให้เกิดสารโพล่าร์มากขึ้นเท่านั้น ในภาคเหนือเองก็มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำสำหรับการแคบหมูกับอยู่เนือง ๆ การใช้น้ำมันซ้ำ และนำเอาน้ำมันหมูไปแบ่งขายอีก อาจทำให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตได้รับอันตรายจากสารต่าง ๆ ดังนั้นหลีกเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีกว่าค่ะ
-
มากินพริกกันเถอะค่ะ
มากินพริกกันเถอะค่ะ พริกเป็นเครื่องปรุงเพิ่มรสเผ็ด มีหลายพันธุ์และหลายรูปแบบแล้วแต่การแปรรูป พบเจอได้ทุกครัวและร้านอาหาร การเติมพริกนั้นก็แล้วแต่ว่าลิ้นของท่านจะชื่นชอบรสเผ็ดมากขนาดไหน ก็ลางเนื้อชอบลางยากันไป พริกเนี่ย อันที่จริงแล้วไม่ได้ให้แต่รสเผ็ดอย่างเดียวนะคะ แต่ยังมีคุณค่าทางอาหารด้วยไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี คาโรตินอยด์ วิตามินเอ ช่วยบำรุงร่างกายแล้วยังมีสรรพคุณทางยาจากแคปไซซิน สารให้ความเผ็ดที่มีอยู่ในพริกอีกด้วย วันนี้เรามาดูกันไหมคะว่าพริกเผ็ด ๆ เนี่ย มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง – พริกช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น ลดความไวของปอดต่อสารระคายเคืองต่าง ๆ ช่วยขับเสมหะได้ด้วย ลดการบวมตัวของเซลล์ในหลอดลม ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม พริกจึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นหอบหืดช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้นนั่นเองค่ะ – พริกมีคุณสมบัติช่วยสลายลิ่มเลือดได้ – แคปไซซินมีฤทธิ์ช่วยชะลอการส่งผ่านของเซลล์ประสาทไปยังสมอง ทำให้รับรู้ความเจ็บปวดช้าลง จึงช่วยลดความปวดได้ – พริกมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลาง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย หลับง่ายขึ้นและลดความดันโลหิตได้ด้วย – พริกทำให้กินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นความอยากอาหารได้ – ในพริกมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วยนะ แต่ทุกสิ่งนั้นเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียด้วยเช่นกัน การกินพริกนั้นควรระวังไว้ว่าไม่ควรทานในขณะท้องว่าง จะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารจนเป็นแผลได้ สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลเป็นในกระเพาะอาหาร การทานอาหารเผ็ด ๆ อาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ค่ะ ต้องระมัดระวังให้มากเช่นกัน
-
ปัญหาโรคตาในเด็ก
ปัญหาโรคตาในเด็ก การดูแลปัญหาสุขภาพตาของเด็กมีความสำคัญมาก เพราะหากละเลยหรือไม่สนใจอาจส่งผลร้ายต่อเด็กได้ โดยโรคตาที่พบบ่อยในเด็กได้แก่ – โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่เกิดก่อนกำหนด อาจทำให้เกิดความผิดปกติของจอประสาทตา เกิดปัญหาจอประสาทตาหลุดลอก ทำให้เด็กตาบอดถาวรได้ ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาเพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติ จะได้รับการรักษาทันท่วงที ควรรีบพาเด็กไปพบจักษุแพทย์อย่างช้าเมื่อทารกยังมีอายุไม่เกิน 4 สัปดาห์ – ท่อน้ำตาอุดตันแต่กำเนิด พบได้มากถึงร้อยละ 15 ของเด็กแรกเกิด เด็กจะมีอาการตาแฉะหรือมีน้ำตาลไหล เมื่อกดเบา ๆ บริเวณข้างจมูกหัวตาจะมีของเหลวเหนียวไหลออกมาเป็นหนองจากรูน้ำตา อาการมักหายเอวได้ภายในอายุ 6 เดือนถึง 12 เดือน การดูแลหากเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ ควรใช้การนวดหัวตาโดยนวดไล่จากหัวตามาถึงข้างจมูกวันละหลาย ๆ ครั้ง ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะหบอดตา แต่หากเด็กอายุมากกว่าหนึ่งขวบแล้ว ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษา สิ่งที่ควระวังอาการน้ำตาไหลในเด็กอาจเป็นอาการของโรคต้อหินแต่กำเนิด ควรสังเกตลูกตาของเด็กหากใหญ่ผิดปกติ และคลำลูกตาผ่านเปลือกตาแล้วรู้สึกว่าตาข้างนั้นแข็งกว่าอีกข้าง ควรปรึกษาจักษุแพทย์โดยด่วน – โรคตาเข อาจมีอาการตาเขเข้าในหรือเขออกนอก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแนวทางการรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุด้วย หากเกิดร่วมกับสายตาที่ผิดปกติก็มักจะรักษาด้วยการสวมแว่น ส่วนสาเหตุอื่นก็อาจมีการผ่าตัดเพื่อแก้ไข แต่ตาเขก็อาจเป็นอาการแสดงของโรคมะเร็งจอประสาทตาได้ การเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ก็จะตรวจทั้งอาการตาเข สายตาขี้เกียจ และมะเร็งจอประสาทตาไปด้วยพร้อมกันในเด็กที่อายุต่ำกว่าสามขวบ – ตากุ้งยิง…
-
ป้องกันภัยจากแสงแดด
ป้องกันภัยจากแสงแดด ประโยชน์ของแสงแดดนั้นช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น โดยผิวหนังของคนเราจะสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงยูวีบี โดยที่ไม่จำเป็นต้องรับแสงแดดมากนัก เพียงปล่อยให้แสงแดดอ่อนยามเช้าก่อนแปดโมงได้ส่องไปทั่วใบหน้าแขนขา เป็นเวลา 10-15 นาที สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ไปตลอดทั้งปีก็เพียงพอแล้ว แต่แม้แสงแดดจะมีประโยชน์ แต่ก็ก่อโทษกับผิวหนังได้ด้วยเช่นกัน ในแสงแดดนั้นประกอบไปด้วยรังสีที่ตาเปล่ามองไม่เห็นก็คือ รังสียูวี ก่อให้เกิดโทษต่อผิวหนังได้แก่ – เมื่อผิวหนังสัมผัสกับรังสียูวีเพียงเล็กน้อยในยามแดดจัดก็ทำให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังเสื่อมสภาพได้ ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นใต้ผิวหนัง จนอาจทำลายเซลล์รอบ ๆ เกิดเป็นมะเร็งผิวหนัง – แสงแดดทำร้ายผิวของเราได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดว่าเป็นแดดอ่อน หรือแดดจัด ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและความเข้มของรังสียูวีในแสงแดด – ผิวที่เหี่ยวย่น โรยรานั้นเกิดจากการที่ผิวต้องตรากตรำอยู่กลางแดด ทำให้ดูแก่ก่อนวัย ส่วนใหญ่พบได้ในคนที่ทำงานกลางแจ้งได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ จึงดูแก่กว่าคนที่นั่งทำงานในห้องแอร์ วิธีป้องกันแสงแดดนั้น 1. อย่าออกไปตากแดดจัดกลางแจ้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เพราะรังสียูวีกว่าร้อยละ 80 จะส่องลงมาในเวลาดังกล่าว สามารถสะท้อนได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นผิวน้ำ พื้นถนน ซีเมนต์ ป้ายโฆษณา กระจก ทราบ ผนังอาคาร ฯลฯ…
-
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
by
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…
-
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากไวรัส HPV
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากไวรัส HPV สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทยนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่าหกพันคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเป็นหมื่น ๆ คน ซึ่งสาเหตของมะเร็งปากมดลูกนี้เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยมักติดเชื้อในผู้หญิงที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทุกคนแล้วมีความเสี่ยงทั้งสิ้น มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมน แพปพิลโลม่า หรือไวรัส HPV โดยผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 99.7 ติดเชื้อชนิดนี้ สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เพราะเชื้อนี้จะอยู่บริเวณอวัยวะเพศของหญิงและชาย โดยร้อยละ 80-90 ของผู้ติดเชื้อจะหายไปเอง ส่วนที่เหลือจะอยู่ที่ปากมดลูก เมื่อนานไป เนื้อเยื่อหรือเซลล์ของปากมดลูกผิดปกติ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์จนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด ยิ่งมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยเท่าไรก็ยิ่งติดเชื้อได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งปัจจัยการติดเชื้อ HPV จนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้นี้ ได้แก่ – การมีคู่นอนหลายคน – มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย – เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – กินยาคุมกำเนิดเกิดห้าปี – ไม่เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก – สามีเป็นมะเร็งที่องคชาติ – หญิงที่ไปแต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือชายเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – หญิงที่ไปแต่งงานกับชายที่มีคู่นอนหลายคน – หญิงที่สูบบุหรี่ หรือสัมผัสควันบุหรี่นานเกิดสามชั่วโมงต่อวัน – ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิหรือป่วยเป็นโรคเอดส์…
-
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้มีการค้นพบว่ามนุษย์เราสามารถเป็นมะเร็งตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้กว่าร้อยชนิดแล้วนะคะ ซึ่งแม้จะมีการตรวจค้นและการรักษาที่ดีเพียงไร แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจรักษาได้ไม่หายขาด และอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงอีกส่วนที่อาจรักษาไม่ได้และต้องเสียชีวิตไป ปี ๆ หนึ่งเป็นจำนวนมาก จะดีกว่าไหมที่เราจะหันมาป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา การป้องกันมะเร็งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลวีต โฮลเกรน เมล็ดธัญพืชชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – กินกะหล่ำและผักในตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาด ผักคะค้า ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่าช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และระบบทางเดินหายใจ – ทานอาหารที่มีวิตามินซี ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร – ทานอาหารที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียวเข้ม ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ – รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ไม่อ้วน…
-
การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ
การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ แม้ในเมืองจะไม่ค่อยเห็นการเผาขยะหรือเผาฟาง เผาหญ้าแห้งกันมากนัก แต่ตามต่างจังหวัดหรือชนบทยังมีการเผาไหม้ที่เกิดจากคนเผามากอยู่ดี การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเขม่าควัน ฝุ่นละออง และก๊าซพิษต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้าสู่ปอดทำให้ปอดอักเสบ นานเข้าก็อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอดได้ นอกจากการเผาขยะแล้ว การหุงข้างด้วยฟืน การก่อไฟผิง การสูบบุหรี่หรือแม้กระทั่งการจุดธูป จึงเป็นการก่อมลพิษโดยตรงที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนใกล้เคียงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้ผู้ที่เข้าปะทะกับควันเหล่านี้มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หากเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้ กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเมื่อประสบกับควันไฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ควรสวมหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินหลาย ๆ ชั้น หากทำให้เปียกด้วยก็จะยิ่งช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น และเมื่อเริ่มอึดอัดหายใจไม่สะดวกหรือสกปรกแล้วก็ควรเปลี่ยนผืนใหม่ด้วย – ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันไฟลอยเข้าภายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หากมีแอร์คอนดิชั่นหรือเครื่องกรองอากาศควรทำความสะอาดระบบกรองเป็นประจำ – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ หากภายในครอบครัวมีกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยควรสังเกตอาการ และหากมีสิ่งผิดปกติควรรับส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทุกคนในสังคมควรร่วมมือกัน หลีกเลี่ยงการก่อควันไฟซึ่งทำให้เป็นอันตรายและก่อมลพิษ หากทำได้ทุกคนก็จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นไปด้วยค่ะ