Tag: ไตวาย
-
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…
-
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย บทความวันนี้ตอบข้อสงสัยของใครหลายคนที่ติดรสชาติเค็มกันอยู่นะคะ ที่มักจะถามว่ากินเค็มมากจะเป็นโรคไตไหม คำตอบจากหมอก็คือคนทั่วที่กินเค็มมากไปนิดหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ไตยังขับเกลือออกได้ แต่หากมีอาการของไตเสื่อมแล้วก็ไม่ควรกินเค็ม ไม่ใช่แค่นี้ แต่คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ไม่ควรกินเค็มด้วยเหมือนกัน การควบคุมอาหารเค็มสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น ควรทำอาหารทานเอง หรือบอกแม่ครัวร้านอาหารให้งดเกลือ งดน้ำปลา ตัวผู้ป่วยเองเวลาไปทานอาหารก็ต้องงดการเติมน้ำปลา หรือเครื่องปรุงเวลาทานก๋วยเตี๋ยวด้วย และควรทานแบบแห้งเท่านั้น เพราะในน้ำซุปก๊วยเตี๋ยวก็มีเกลืออยู่มากเช่นกัน ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือผสมอยู่มาก หากท่านตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคไตเสื่อมอยู่แล้ว ต้องการระมัดระวังการกินอาหาร ควรวางแผนและจัดการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สอบถามแพทย์ผู้รักษาว่าท่านเป็นโรคไตในระดับใดแล้ว สามารถกินอะไรได้บ้าง แล้วมากน้อยขนาดไหน? 2. ควรรู้ไว้ว่าการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ กินน้อยไปจะทำให้ขาดอาหาร และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก 3. การกินเค็มจะทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจวายได้ 4. ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินผักได้เท่าที่ต้องการ ยกเว้นหมอห้าม 5. แต่สำหรับผลไม้ อาจต้องจำกัดในรายที่มีอาการไตเสื่อมมาก 6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ยกเว้นหมอสั่งให้ทาน 7. ดื่มน้ำน้อยทำให้ไตเสื่อม แต่ดื่มน้ำมากทำให้หัวใจวาย ต้องกะปริมาณให้พอดีโดยถามหมอ 8. ไม่ควรทานอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง…
-
ไม่ต้องตกใจ.. เลือดกำไหลหยุดได้ง่าย ๆ
ไม่ต้องตกใจ.. เลือดกำไหลหยุดได้ง่าย ๆ ยิ่งในหน้าร้อนด้วยแล้ว ภาวะเลือดกำเดาไหลพบได้บ่อยยิ่งขึ้นและพบได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และวัยชรา มักทำให้ตนเองและคนรอบข้างตกใจได้ง่าย ๆ สาเหตุของเลือดกำเดาไหลอาจเกิดจากหลอดเลือดที่เลี้ยงเยื่อบุจมูก ซึ่งในเด็กอายุน้อยมากเกิดจากส่วนหน้าของจมูก ส่วนผู้สูงอายุมักเกิดจากส่วนหลังของจมูก แบ่งสาเหตุออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ได้แก่ 1. มาจากบริเวณจมูก เช่น ได้รับการกระแทกซึ่งพบได้บ่อยมากที่สุด หรือเกิดจากการถูก แคะ, สั่งน้ำมูกแรง ๆ, ความกดดันอาการเปลี่ยนแรงอย่างกระทันหัน เช่น การขึ้นเครื่องบิน การอักเสบในจมูก เนื้องอกในจมูกบริเวณไซนัสและโพรงหลังจมูก รวมไปถึงการได้รับอุบัติเหตุบริเวณหัวและกระดูกใบหน้าด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีเลือดกำเดาไหลปริมาณมากและเป็นซ้ำ ๆ รวมไปถึงอาจเกิดจากการผิดรูปของผนังกั้นช่องจมูกและภาวะอากาศเย็น ความชื้นต่ำได้ด้วย เยื่อบุจมูกจึงแห้งมีเลือดไหลออกมาได้ง่าย 2. เกิดจากโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคไต ไตวายเรื้อรังทำให้เกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ , ผู้ป่วยที่กินยาบางประเภท เช่น ยาสลายลิ่มเลือด แอสไพริน ซึ่งยาเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลได้ง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงผู้ป่วยด้วยโรคตับแข็งและโรคเลือดต่าง ๆ ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติได้อีกด้วย การบรรเทาอาการเลือดกำเดาไหลและการดูแล – ให้ผู้เงยหน้าขึ้น บีบจมูกด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้งทั้งสองข้างให้แน่นประมาณ 5-10 นาทีจนกว่าเลือดจะหยุดไหล…
-
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…
-
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…
-
อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค
อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของโลหิตที่เกิดจากหัวใจทำการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นสองค่า ก็คือค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว (ตัวบน) และค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว (ตัวล่าง) โดยปรกติคนทั่วไปจะมีค่าความดันโลหิตอยู่ที่ 120/80 มม.ปรอท แต่หากความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 ขึ้นไป ถือได้ว่าเข้าข่ายเป็นโรค “ความดันโลหิตสูง” ซึ่งควรใส่ใจดูแลตนเองให้มาก ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาทั้งโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เกิดได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดมีการหดตัวผิดปกติ การสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หรือการสะสมน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมากเกินไป ฯลฯ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้หัวใจจะทำงานหนักมา และในระยะยาวหลอดเลือดจะเกิดความเสื่อมไปทั่วร่าง แรก ๆ จะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาปนกับปัสสาวะจนตรวจพบได้ แต่ในระยะยาวจะทำให้ไตเสื่อมจนขับของเสียและเกลือแร่ออกมาได้น้อยลง เกลือแร่ที่ตกค้างจึงยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก จนไตวายในที่สุด ผู้ที่ทราบว่าตนเป็นมีอาการความดันโลหิตสูง จึงควรควบคุมความดันของไว้และหมั่นตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องอย่าหยุดยาไปเอง และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือ อาหารที่มีไขมันสูง ลดการดื่มกาแฟ เหล้า บุหรี่ ทานผักผลไม้ให้มาก ออกกำลังให้สม่ำเสมอ และที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นก็คือพยายามผ่อนคลายตนเองอย่างให้เครียดด้วยค่ะ เพราะความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้เช่นกันค่ะ
-
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค
หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค บรรดาอาหารที่มีรสเค็มจัดทั้งหลายล้วนมีส่วนประกอบของโซเดียมทั้งสิ้น รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมอย่าง ผงฟู ชูรส เนยเทียม น้ำสลัดต่าง ๆ ก็ด้วยนั้น สร้างปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกันหากบริหารมากเกินพอดี และมีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตได้ง่าย ทั้งยังทำให้เกิดการสะสมของน้ำตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ แล้วยังทำให้เกิดเลือดแข็งตัวได้ง่ายหากมีระดับเกลือแร่ในเลือดสูงเกินไป อันจะนำไปสู่ภาวะไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดในสมองตีบตัน หัวใจวาย ไตวายได้ มีผลการวิจัยพบว่า การกินเกลือแกงมากกว่า หกกรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้ รวมไปถึงมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว เราจึงควรทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย ๆ และเค็มน้อย ๆ ด้วย โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ลดการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอส เต้าเจี้ยว ผงชูรส ฯลฯ และชิมก่อนเติมทุกครั้งด้วย รวมทั้งลดการจิ้มน้ำจิ้ม หรือทานน้ำพริก พริกแกงต่าง ๆ เพราะมีเกลืออยู่เยอะมากด้วยเช่นกัน 2. ควรทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย ๆ หรืออาหารจากธรรมชาติ…
-
ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต
ใช้ชีวิตให้ดี ห่างไกลจากโรคไต ไตของคนเรานั้น เป็นอวัยวะที่มีขนาดเท่ากับกำปั้นของเจ้าของ มีรูปร่างคล้ายถั่วแดง อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัวในระดับของกระดูกซี่โครงส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย กรองของเสียในร่างกาย หากไตบกพร่องก็อาจทำให้คุณเป็นโรคไตได้ด้วย โรคไตนั้นมีหลายชนิด แต่ที่อันตรายที่สุดเห็นจะเป็นไตวายเรื้อรัง มีอาการที่เห็นได้ก็คือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ซึม วิงเวียน ปวดหัว การรับรสเปลี่ยนไป มีอาการชาตามปลายมือและปลายเท้า รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลงได้ และที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคไตที่สำคัญคือ พฤติกรรมการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนไปทั้งในเรื่องความถี่ ปริมาณของน้ำปัสสาวะ สีของปัสสาวะ เช่น เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเวลากลางคืน ปริมาณลดน้อยลง ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมา รวมทังปวดหลังปวดเอว ความดันโลหิตสูง หน้าบวม เท้าบวมและท้องบวม กลุ่มเสี่ยงในการเป็นโรคไตวายนั้นจะมีอยู่สองกลุ่มก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไตอยู่แล้ว เช่น ความดันสูง หรือเบาหวาน กับอีกกลุ่มคือเป็นโรคไตซ่อนอยู่ และไม่เคยแสดงอาการอะไรออกมาเลย ไม่เคยป่วยเจ้าโรงพยาบาลแต่ความจริงมีโรคไตซ่อนอยู่ หากไม่ตรวจก็จะไม่รู้ว่าเป็นโรคไต โรคไตนี้สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้โดย – อย่าทรมานไตมากเกินไป ด้วยการกินยาที่ซื้อมาเอง หรือกินยาผิดขนาด ผิดชนิด และปริมาณ รวมทั้งกินยาซ้ำซ้อนไปหมด หากซื้อยามากินเองไม่ปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดผลเสียต่อไต ทำให้ไตอักเสบและเป็นโรคไตได้ –…
-
วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค
วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค โรคติดต่อไม่เรื้อรังนั้นมักถูกเข้าใจว่าน่าจะเป็นโรคของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรคนี้เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาต่างหาก เพราะขาดความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากด้วย โรคทั้งห้านี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แล้วยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรือพิการเพิ่มขึ้นด้วยนะ สาเหตุของโรคทั้งห้าชนิดนี้ มักเป็นบุคคลที่ชอบทานอาหารหวานจัด เค็ม หรือมีไขมันสูง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีความเครียดมากแล้วไม่ค่อยรู้จักการผ่อนคลายกับทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ฯลฯ จึงทำให้เป็นโรคอ้วนตามมา การที่มีไขมันสะสมในช่องท้องมากนี้ ไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดีนัก จึงเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้ หากจะวัดกันที่ดัชนีรอบเอวจะพบว่ารอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตรจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 3-5 เท่า หมายถึงว่ายิ่งพุงใหญ่เท่าไรก็ยิ่งตายเร็วเท่านั้น โรคเกณฑ์การจำแนกว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงของคนไทยก็คือ หากผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90…
-
กินร้อนช้อนกลาง.. ป้องกันเชื้อร้ายอีโคไล
กินร้อนช้อนกลาง.. ป้องกันเชื้อร้ายอีโคไล เชื้ออีโคไล เป็นเชื้อที่แพร่ระบาดและติดต่อกันได้ทางอาหารและน้ำ มีอาการถ่ายอุจจาระอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลวมีเลือดหรือมีมูกเลือด และมีอาการรุนแรงขึ้นขนาดไตวายและเสียชีวิตได้ เชื้ออีโคไลนี้เป็นโรคติดต่อทางเดินอาหารที่ร้ายแรง แต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการระวังป้องกันดังต่อไปนี้ – ทานแต่อาหารที่ปรุงสุกใหม่ และไว้ใจว่าสะอาดเท่านั้น หรือหากเป็นอาหารที่ทำเก็บไว้ก็ควรอุ่นให้เดือนก่อนทานทุกครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารดิบ ๆ สุก ๆ ที่อาจมีเชื้อร้ายหลบซ่อนอยู่ได้ – ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ และเครื่องปรุงอาหารทั้งหมด ควรเลือกชนิดที่สะอาดและสดใหม่มาประกอบอาหาร ไม่ควรเลือกชนิดที่ไม่แน่ใจว่าเน่าเสียแล้วหรือไม่มาปรุงเด็ดขาด แม้จะมีราคาถูกก็ตาม – ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด หากผักซ้อนเป็นชั้น ๆ ควรลอกหรือปอกเปลือกของผักหรือผลไม้ออกเป็นกลีบ ๆ หรือใบ ๆ แล้วตัดเล็มขอบรอบออก แช่น้ำไว้อย่างน้อย 30 oรที คลี่ใบเอานิ้วถูให้สะอาด หรือเปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลผ่านไว้อย่างน้อย 2 นาที ทั้งนี้สามารถใช้สารอื่น ๆ ช่วยล้างให้สะอาดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดา หรือเกลือ ฯลฯ – แยกอาหารดิบและอาหารสุกปรุงแล้วออกจากกัน รวมไปถึงมีด เขียง…