Tag: ไข้หวัด

  • โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก

    โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก

    โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก ปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงและเฉียบพลัน อาจทำให้เด็กเล็กถึงกับเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันการณ์ ซึ่งแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมมากเป็นอันดับหนึ่ง คือโดยเฉลี่ยเด็กจะเสียชีวิตทุก ๆ 20 นาทีเลยทีเดียว เรียกว่าน่ากลัวไม่น้อยเลย สาเหตุของโรคนี้เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ผู้มีเจ็บป่วยอยู่แล้ว มีภูมิต้านทานต่ำ คนชรา และเด็กทารก มักจะติดเชื้อได้ง่าย หากคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย หรืออยู่ในที่ที่แออัดจนสูดหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งในอากาศเข้าไป อาการของโรคก็คือมีไข้สูง ไอหนัก หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ถ้าเป็นมากขึ้นจะหายใจหอบ มีเสียงวี๊ด ๆ หรือหายใจหอบแรงจนซี่โครงบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้า และปากซีดคล้ำขียว ซึมหรือกระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคนี้ก็คือควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคเข้าไว้ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับคนไข้หรือเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือสถานที่แออัด ที่อาจติดเชื้อได้ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ตลอดเวลาในฤดูหนาว หากเป็นเด็กทารกควรเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะได้รับภูมิต้านทานผ่านทางนมแม่มาด้วย ในส่วนของเด็กเล็กที่เริ่มเป็นหวัด ผู้ปกครองควรเอาใจใส่บุตรหลานและสังเกตอาการ โดยปกติหวัดทั่วไปเด็กจะหายดีภายในหนึ่งอาทิตย์ โดยให้เด็กกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อมิให้ขาดน้ำ เสมหะจะได้อ่อนตัวขับออกง่ายด้วย หากมีไข้สูงให้ยาลดไข้และเช็ดตัวบ่อย ๆ ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับมาก ๆ สอนเด็กให้ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม และสอนให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ…

  • ความสำคัญของการล้างมือ

    ความสำคัญของการล้างมือ

    ความสำคัญของการล้างมือ มือเป็นอวัยวะที่ช่วยให้ร่างกายเราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ทั้งกิจวัตรส่วนตัว ทำงาน และช่วยเหลือดูแลผู้อื่นด้วย แต่ก็มือนี่เองเช่นกันที่อาจนำเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย และยังแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ แต่ไปจับราวโหนรถไฟฟ้า ลูกบิดประตู ราวบันไดเลื่อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการกระจายเชื้อโรคแทบทั้งนั้น ซึ่งโรคร้ายที่ติดต่อจากการสัมผัสนั้นก็ได้แก่ 1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค หัดเยอรมัน นอกจากจะติดต่อทางลมหายใจแล้ว การหยิบจับสิ่งของใช้ร่วมกัน ก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย 2. โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร แพร่กระจายด้วยการที่ใช้มือที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้หยิบจับอาหารเข้าปาก 3. โรคทางการสัมผัส เช่น ตาแดง เชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เหา เริม 4. โรคติดต่อหลายทาง เช่น อีสุกอีใส อาจติดต่อได้ทั้งลมหายใจและการสัมผัสด้วย โรคทั้งหมดนี้แม้จะพบได้บ่อย แพร่กระจายเชื้อได้ก็มาก แต่การป้องกันแล้วถือว่าได้ผลและแทบไม่ต้องเสียอะไรเลย ซึ่งก็ได้แก่การล้างมือนั่นเอง การล้างมือบ่อย ๆ ป้องกันการระบาดของเชื้อได้หลายชนิด การล้างมือให้สะอาดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเลย แค่ใช้น้ำกับสบู่เท่านั้นแล้วล้างให้ทั่วมือให้หมดจด ก็ลดการติดเชื้อได้มากแล้ว ควรหมั่นล้างมือให้เป็นนิสัย ยิ่งโดยเฉพาะก่อนและหลังกิจกรรมเหล่านี้ – หลังการทำงานหนักที่มือต้องสกปรก เช่น…

  • หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…

  • เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้

    เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้

    เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้  อาการไข้ขึ้นของเด็กเล็กนี่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนวิตกกังวลได้เหมือนกันค่ะว่าลูป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ วันนี้มาฟังคำอธิบายแบบง่าย ๆ กันนะคะ – ไข้หวัดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยติดต่อกันทางน้ำมูก น้ำลาย การไอหรือจาม ยิ่งหากเด็ก ๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกแล้วก็มีโอกาสติดหวัดกันได้ง่าย ไข้หวัดทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง หากเป็นเด็กที่แข็งแรงอยู่แล้ว ก็สามารถดูแลเบื้องต้นได้เอง แต่หากเป็นเด็กเล็กมาก หรือมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรมาพบแพทย์ – ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ มีความแตกต่างจากไข้หวัดก็คือ มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล หลายวันไปสีจะข้นขึ้น มีอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก เบื่ออาหาร หากในเด็กเล็กจะมีอาการกวนมากกว่าปกติ หากทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด มีอาการหน้าแดง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และมีจุดแดงหลังจากมีไข้ 3-4 วัน จะเป็นอาการของไข้เลือดออกและควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจต่อไป – ไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว เบื่องอาหาร คลื่นไส้อาเจียน เด็กจะป่วยซม…

  • ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ

    ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ

    ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอากาศในเมืองใหญ่หรืออากาศตามต่างจังหวัด ในบางช่วงของปีก็มักมีปัญหาของหมอกควันและฝุ่นละอองหนาแน่นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกันได้ทั้งนั้น โดยหากมีหมอกควันและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน อาจทำให้เกิดอาการแสบตา ตาแดง คันตา น้ำมูกหรือน้ำตาไหลได้ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ โรคปอด หอบหืด ผู้ป่วยโรคหัวใจ หมอกควันเหล่านี้ก็อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้กลุ่มที่น่าเป็นห่วงได้แก่ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ก็อาจเจ็บป่วยไม่สบายได้ง่ายขึ้นด้วย โดยมักมีอาการของหวัด คออักเสบ เจ็บคอ ไอ จาม เป็นต้น หากคุณผู้อ่านอยู่ในพื้นที่มีปัญหาหมอกควันหนาแน่น ควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – กลุ่มที่มีโรคประจำตัวและเจ็บป่วยง่าย ควรอยู่แต่ในอาคารบ้านเรือนและปิดประตูหน้าต่างมิให้ควันไฟเข้าไปในอาคารได้ – ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือจะพรมน้ำหมาก ๆ ช่วยด้วยก็จะช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น – บ้านที่ติดแอร์คอนดิชั่น ควรถอดแผ่นกรองอากาศมาทำความสะอาดให้บ่อยขึ้น – ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หากช่วงใดที่สภาพอากาศมีหมอกควันฝุ่นละออกมาก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่แจ้ง และที่สำคัญที่สุดก็คือทุกคนร่วมใส่ใจกับชุมชนและสังคมร่วมกัน ไม่ควรเผาขยะหรือเผาวัตถุใด ๆ ก็ตาม ที่จะทำให้เกิดควันพิษสร้างปัญหาให้กับชุมชน เพื่อสุขภาพของตัวเราเองและคนที่เรารักทุกคนนะคะ  

  • การป้องกันตัวเองจากโรคหวัดทุกชนิด

    การป้องกันตัวเองจากโรคหวัดทุกชนิด

    การป้องกันตัวเองจากโรคหวัดทุกชนิด เดี๋ยวนี้โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ต่างก็มีสายพันธ์ต่าง ๆ พัฒนามากขึ้น มีทั้งที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และชนิดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย แม้ไข้หวัดใหญ่ 2009 จะเงียบไปแล้ว แต่เราก็ไม่ควรประมาท ควรดูแลตนเองและคนใกล้ชิด ลูกเด็กเล็กแดง และคนชราให้เตรียมพร้อมไว้ ด้วยการทำสุขภาพให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคกันดีกว่า ในส่วนของบุคคลทั่วไปที่ยังไม่เจ็บป่วย – ดูแลความสะอาดและอนามัยของตนเองให้ดี ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ – หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของของผู้อื่น – ไม่อยู่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคไข้หวัด – กินอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ นม ไข่ และกินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ป่วยไข้หวัด ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดสายพันธ์ใดก็ตาม หากยังสามารถกินข้าวได้ มีไข้ไม่สูง อาการไม่รุนแรงมาก ก็ให้ดูแลตนเองโดย – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมงเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น และไม่นอนดึก – ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ สองลิตรเพื่อลดความร้อนในร่างกายและขับพิษไข้ – ห้ามกินยาแอสไพรินเด็ดขาด หากมีไข้ให้กินยาพาราเซตามอลแทน –…

  • รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา

    รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา

    รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา ไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา นั้นเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มียีนมาจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยแล้วจำนวนสามรายเมื่อช่วงปลายปี 2554 อาการของทุกรายนั้นจะไม่รุนแรง และทุกรายก็สามารถหายได้อย่างเด็ดขาด โดยอาการทั่วไปจะมีลักษณะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้แก่ การมีไข้ขึ้นแบบทันทีทันใด ปวดหัว ปวดเมื่อเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ไอ น้ำมูกไหล และอาการจะหายไปเองในหนึ่งอิทตย์ แต่อาจทำอันตรายกับกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้ ได้แก่ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป, เด็กอายุน้อยกว่าสองขวบ, ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ, เด็กที่ได้รับยาแอสไพรินเป็นเวลานาน, หญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง, ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน รวมไปถึงผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การติดต่อนั้นก็เหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือติดต่อทางลมหายใจ การไอ การจาม การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ระยะฟักตัวจะอยู่ในช่วงประมาณ 1-3 วัน ระยะแพร่เชื้อจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ…

  • การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก

    การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก

    การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ เป็นกันมากที่สุด ยิ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้าไปอยู่ในเนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาลทั้งหลายแล้ว ยิ่งติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนเป็นหวัดแทบทุกเดือน เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้นั้นมีมากกว่าสองร้อยชนิด อาการของเด็กที่เป็นหวัดนั้น โดยมากจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดด้วยการให้เด็กจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ กินอาหารเหลวหรืออาหารที่ย่อยง่าย หากยังกินนมแม่อยู่ก็ให้ดูดนมบ่อยขึ้น ดูแลน้ำมูกให้จมูกโล่ง ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้เด็กปิดปากเวลาไอหรือจาม และแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย รวมไปถึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งปอดบวม ซึ่งหากเกิดความผิดปกติได้แก่ มีไข้สูงเกินกว่าสองวัน เด็กร้องกวนโยเย เจ็บหู ไอมากหรือไอเสียงก้อง หายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม หรือหายใจถี่เร็ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตราย ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาหาหมอตามนัดและให้ลูกทานยาให้ครบ อย่าหยุดยาเองโดยพละการ ไม่ใช่เห็นว่าอาการทุเลาแล้วจึงหยุดยาเอง ทำแบบนี้เป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นได้ง่าย และทำให้ดื้อยาด้วย และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการป้องกันเด็กมิให้เป็นไข้หวัดเสียตั้งแต่แรก ได้แก่การดูสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง โดย – ทานอาหารให้ครบหมู่และเหมาะสมตามวัยของเด็ก – ปล่อยให้เด็กได้วิ่งเล่นกลางแจ้งเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ให้เด็กได้เข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับอย่างพอเพียงทุกวัน…

  • วิธีดูแลร่างกายตัวเองในฤดูหนาวหรืออากาศเย็น

    วิธีดูแลร่างกายตัวเองในฤดูหนาวหรืออากาศเย็น

    วิธีดูแลร่างกายตัวเองในฤดูหนาวหรืออากาศเย็น สำหรับประเทศไทยแล้ว อากาศเย็น ๆ หรือช่วงหน้าหนาวมักจะเป็นฤดูที่โปรดปรานของใครหลายคนนะคะ เพราะทั้งปีนั้นมีแต่อากาศร้อน ๆ และฝนตกแฉะ ชวนให้เหนียวเหนอะหนะร่างกายมาตลอดทั้งปี หน้าหนาวยังทำให้เราได้ไปเที่ยวดอย เที่ยวภูเขาที่อากาศหนาว ได้ใส่เสื้อผ้าสวย ๆ อย่างมีความสุขด้วย แต่แม้อากาศหนาวจะเป็นที่ชื่นชอบเท่าไร การดูแลตัวเองในระยะนี้ก็ต้องมากเป็นพิเศษเช่นกัน เพราะอุณหภูมิที่ลดต่ำลงอาจทำให้เป็นหวัดหรือป่วยด้วยโรคอื่นได้ง่าย ดังนั้นหากอยากหนาวอย่างสนุก ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงดังนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ครบถ้วนและมีประโยชน์ ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะอากาศแห้ง ออกกำลังกายให้ร่างกายขับเหงื่ออบอุ่นอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ตรากตรำทำงานมากเกินไป 2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สุรา หรือเสพยาเสพติดอื่น ๆ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย 3. ในฤดูหนาวที่เรามักอยู่ในห้องนอนนาน ๆ เพราะสว่างช้า ควรจัดห้องนอนให้สะอาด ซักผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนให้สะอาด นำมาผึ่งแดดบ่อย ๆ ในช่วงกลางวันควรเปิดประตูห้องเพื่อระบายอากาศให้แสงแดดได้ผ่านเข้ามาในห้อง ลดการหมักหมมของเชื้อโรคด้วย 4. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเข้าไว้ หากหนาวมากควรสวมถุงมือ ถุงเท้า และหมวกไหมพรม เพื่อความอบอุ่นโดยเฉพาะในเด็กและคนชรา 5. หากอากาศแห้งมาก การอาบน้ำตอนเข้าอาจฟอกสบู่แค่บางจุดก็พอ มิเช่นนั้นอาจทำให้ผิวแห้งมากเกินไป…

  • ดูแลร่างกายตนเองยามเมื่อเป็นหวัด

    ดูแลร่างกายตนเองยามเมื่อเป็นหวัด

    ดูแลร่างกายตนเองยามเมื่อเป็นหวัด ในช่วงที่ฤดูหนาวหรือมีอากาศที่เย็นลงจะทำให้คนเป็นหวัดกันได้ง่าย เพราะการสูดอากาศเย็น ๆ ผ่านเข้าสู่บริเวณโพรงจมูกทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง เส้นเลือดฝอยที่เยื่อบุเมือกหดตัว เซลล์ต้านทานโรคจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ เชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือมีอยู่แล้วจึงเพิ่มจำนวนและเกิดอาการอักเสบของเยื่อจมูกและลำคอขึ้น ซึ่งก็คือเป็นหวัดนั่นเอง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำมักจะเป็นกลุ่มที่เป็นหวัดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เด็ก หรือผู้สูงอายุ สามารถหากจากหวัดชนิดหนึ่งแล้วไปติดหวัดอีกชนิดมาแทนก็ได้ บางคนก็เป็นกันปีละหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ที่อยู่เนอสเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาลและสถานเลี้ยงเด็ก เพราะติดต่อกันได้ง่าย อาการสำหรับผู้ที่เป็นหวัด จะไอ จาม มีน้ำมูลไหล เจ็บคอ มีเสมหะ ปวดหัว มีไข้ต่ำ ๆ อย่างมากจะเป็นอยู่ในระยะเวลาประมาณ 1-2 วันแล้วจะค่อย ๆ หายไปในหนึ่งอาทิตย์ โดยบางรายอาจมีน้ำมูกและไอต่อไปอีก 2-3 อาทิตย์ ผู้ที่ปล่อยให้ตัวเองเป็นหวัดนาน ๆ ลุกลามไปเป็นโรคอื่น รวมทั้งภูมิแพ้ได้ด้วย วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นหวัด – อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพราะจะทำให้โพรงจมูกมีแรงดันสูงขึ้น เชื้อโรคจะถูกดันเข้าไปสู่โพรงอากาศรอบจมูก หรือ ไซนัส เกิดการอักเสบลุกลามได้ – รักษาร่างกายตนเองให้อบอุ่นโดยเฉพาะบริเวณลำคอ – ทานอาหารที่ย่อยง่าย แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น –…