Tag: โรคหอบหืด
-
ล้างสารพิษในร่างกาย ง่ายๆ ด้วยตัวเอง
ล้างสารพิษในร่างกาย ง่ายๆ ด้วยตัวเอง คุณจะรู้หรือไม่ว่า…. การล้างสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายของเราออกไป นั้นจะช่วยทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงขึ้น และช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ยิ่งถ้าทำเป็นประจำ ก็จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง และยังช่วยรักษาโรคร้ายอย่าง “มะเร็ง“ รวมถึงโรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หอบหืด เบาหวาน รวมกระทั่งลดความอ้วนได้อีกด้วย หัวใจหลักๆของการทำงานในการล้างสารพิษในร่างกาย 1 วัน คือ จะต้องทานให้ได้แคลลอรี่ที่น้อยกว่า 800 แคลลอรี่ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารและตับได้มีการพักผ่อน และต่อจากนั้น ตับก็จะขับสารพิษออกมา และอาหารที่เราทานเข้าไปในวันนั้นจะต้องไม่มีเนื้อสัตว์ปะปนเด็ดขาด หากเข้าใจกันดีแล้ว เรามาเข้าสู่ขั้นตอนการล้างสารพิษกันเลยค่ะ 1. เลือกผลไม้ที่เราชื่นชอบมา 1 ชนิด อย่างเช่น ฝรั่ง แคนตาลูป มะละกอ แอปเปิ้ล ชมพู่ มะม่วง ส้มโอ หรืออะไรก็ตาม แต่จะมีผลไม้ที่ต้องยกเว้นไว้ 2 อย่าง คือ ทุเรียนและสับประรด เนื่องจากในทุเรียนจะมีแคลลอรี่สูงมาก และยังย่อยยากอีกด้วย ส่วนในสับประรดนั้น จะมีกรดที่สูง ถ้าหากต้องทานทั้งวัน จะทำให้เราท้องอืดได้ 2. ทานแต่ผลไม้ที่เราเลือก…
-
อาหารต้องห้ามของ 10 โรค
—
by
in ข่าวสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, ตับ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวารหนัก, สิว, หอบหืด, หัวใจ, เบาหวาน, ไข้หวัด, ไตอาหารต้องห้ามของ 10 โรค อาหารต้องห้ามหรือของแสลง ก็คืออาหารท่านเข้าไปแล้วทำให้อาการกำเริบหรือโรคที่เป็นอยู่หายช้าลง มีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้าน รู้ไว้จะดีกว่านะคะ ..หากเป็นโรคกระเพาะ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกกาแฟ ชาแก่ ๆ ของทอด อาหารรสเผ็ด หรือมีไขมันสูง อาจทำให้โรคหายยากขึ้น ควรทานอาหารให้ตรงเวลาและเลือกอาหารที่ย่อยง่ายดีกว่า .. หากเป็นไข้ หรือเป็นไข้หวัด เลี่ยงอาหารที่มีความเย็น ของทอด ของมัน ที่ย่อยยาก จะยิ่งทำให้ตัวร้อนขึ้น .. หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เช่น โกโก้ ไข่ปลา ไขกระดูก หมูสามชั้น สุรา แอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัดและผลไม้ที่มีความหวานอย่างขนุน ทุเรียน ลำไย ด้วย .. หากเป็นโรคตับหรือถุงน้ำดี เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลด์ อาหารติดมัน เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน ของทอด ของหวานจั เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของการย่อยอาหารลดลง เพิ่มภาระให้กับตับและถุงน้ำดี ..หากเป็นโรคหัวใจและโรคไต เลี่ยงอาหารที่มีความเค็ม เพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตเองก็ต้องขับเกลือมากขึ้น…
-
4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู
4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู สำหรับคนที่ชอบเดินทางไปขึ้นภู ดูหมอกสวย ๆ ในหน้าหนาวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนั้น ทางคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตือนว่านักท่องเที่ยวที่มีความนิยมการท่องเที่ยวแบบดังกล่าวมักพบอาการป่วยได้ง่ายถึง 4 โรคด้วยกัน ซึ่งควรระวังป้องกันไว้รวมทั้งควรฟิตร่างกายให้มีความแข็งแรงก่อนออกไปเผชิญอาการหนาวเย็นดังกล่าวด้วย โรคทั้ง 4 ได้แก่.. – ปอดบวม เกิดจากการติดเชื้ออักเสบของปอด หลอดลม ถุงลมซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทำให้มีของเหลวเกิดขึ้นในถุงลง มักเป็นโรคที่แทรกซ้อนเข้ามาหลังจากการป่วยเป็นไข้หวัดได้ 2-3 วันซึ่งมีอาการก็คือไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหอบ – โรคหัด ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางน้ำลายของผู้ป่วย ที่สัมผัสการไอ จาม หรือการหายใจรดกัน ตลอดจนใช้สิ่งของร่วมกัน มีอาการระยะแรกคล้ายไข้หวัด มีไข้สูง กินยาแก้ไขก็ไม่ลด และถ่ายเหลวบ่อย ๆ เหมือนท้องเสีย สำหรับเด็กอาจชักได้เพราะมีไข้สูง – ภูมิแพ้อากาศ มักเป็นได้ในช่วงฤดูหนาว เพราะร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ทางการหายใจ มีอาการชัด ๆ ก็คือคันตา คันจมูก น้ำมูกใส จามบ่อย และแน่นจมูกในตอนเช้า…
-
8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน
8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ การป้องกันการเกิดหินปูนก็คือการจำกัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันโดยเฉพาะคอฟันให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้บริเวณนี้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ อีกทั้งยังควรมาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีและหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนออกอย่างน้อยปีละครั้ง…
-
ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!!
ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย ห่างไกลโรคกรดไหลย้อน!!! เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตในปัจจุบันต่างก็สร้างปัญหาความเครียดขึ้นได้ง่าย ๆ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ กับร่างกายอย่างไม่อาจหาที่มาได้ และหนึ่งในโรคนั้นก็คือโรคกรดไหลย้อนด้วย โดยโรคนี้นั้นคือภาวะที่เกิดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดจากในกระเพาะอาหาร แต่มีบ้างอยู่เหมือนกันที่เป็นด่างจำลำไส้เล็ก เมื่อกรดไหลย้อนขึ้นมาอาจทำให้เกิดอาการหลอดอาหารอักเสบหรือไม่ก็ได้ ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มีได้หลายแบบ เช่น หลอดอาหารเกิดการคลายโดยโดยไม่ยังไม่กลิน หรือ ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดต่ำลงกว่าปกติ หรือแม้กระทั่งเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าในหลอดอาหารก็ได้ กรดจึงไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมากขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารบีบตัวผิดปกติ แล้วยังอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดและมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมด้วย โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่พฤติกรรม เช่น อ้วน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กำลังตั้งท้อง เป็นเบาหวาน เป็นโรคผิวหนังแข็ง ฯลฯ แล้วยังเกิดจากผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิตหรือยาต้านโรคซึมเศร้าได้อีกด้วยเช่นกัน สำหรับเด็กนั้นพบได้ทุกวัน โดยจะสังเกตเห็นอาการได้คือ มักจะมีการอาเจียนหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย หอบหืด ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง และอาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย อาการของโรคกรดไหลย้อนนี้ จะมีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ไล่ขึ้นมาถึงหน้าอก และถึงคอ มักกำเริบขึ้นมาในช่วงหลังอาหารมื้อหนัก การยกของหนัก การนอนหงาน การโน้มตัวไปข้างหน้า รวมทั้งมีอการเรอเปรี้ยวด้วย ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้ ซึ่งการรักษานั้นจะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นด้วยการรักษาแผลในหลอดอาหารและป้องกันผลแทรกซ้อน ให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้ยา การส่องกล้อง การรักษาและผ่าตัด …
-
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้ โดยปกติแพทย์จะแนะนำผู้ป่วยโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ ให้พ่นยาขยายหลอดลมวันละครั้งหรือสองครั้ง เพื่อขยายหลอดลมและช่วยลดปริมาณของเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นหายใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบพ่น และยังเป็นวิธีที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำให้ใช้กัน และยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ถึงแม้อาการยังไม่กำเริบก็ตาม อาการหอบหืดกำเริบเกิดจากหลอดลมในปอดอักเสบและบวม มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการอักเสบนี้ บางอย่างเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม บางอย่างเกิดจากสิ่งเเวดล้อม ฝุ่น มลพิษทางอากาศหรือแม้แต่ควันไฟอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลต่างๆ อาจมีปริมาณฝุ่นผงกระจายในอากาศเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการกำเริบได้ แต่ปัจจุบันแพทย์ได้คิดค้นวิธีการบำบัด ให้ผู้ป่วยในผู้ใหญ่ใช้ยาพ่นได้น้อยลง โดยการที่ควบคุมขนาดยา และดูความเหมาะสมต่อการใช้ยา กับแต่ละบุคลที่เป็นนั้นๆ จากการสำรวจโดยวิธีการต่างๆ แพทย์ก็ได้พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ยาพ่นเฉพาะตอนอาการหอบหืดกำเริบ ได้ผลในการรักษาดีเท่าๆกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่กลับใช้ยาสเตียรอยด์น้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การทดลองรักษาผู้ป่วยหอบหืดวิธีใหม่ที่ไม่ใช้ยา เรียกว่าการใช้ความร้อนในกล้ามเนื้อปอด ได้ผลน่าพอใจและสร้างความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย การรักษานี้เป็นการบำบัดด้วยความร้อนบริเวณผนังปอดและหลอดลมในปอดเพื่อลดความหนาของกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ระหว่างการบำบัดหลอดลมด้วยความร้อนนี้ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกระจายความร้อนเข้าไปในกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ทั้งหมดสามครั้งและแต่ละครั้งแพทย์จะบำบัดปอดในส่วนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยหลายรายอาการดีขึ้นมากภายหลังพบแพทย์ครั้งที่สอง แต่ด็อกเตอร์คาทรีกล่าวว่านั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะหายจากโรค แต่พบว่าอาการกำเริบรุนแรงน้อยลงและระยะเวลากำเริบจะสั้นลงด้วย
-
นักวิจัย พบว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้วครรภ์ ส่งผลเสี่ยให้ทายาทรุ่นต่อไป ป่วยเป็นโรคหอบได้
นักวิจัย พบว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้วครรภ์ ส่งผลเสี่ยให้ทายาทรุ่นต่อไป ป่วยเป็นโรคหอบได้ ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่าผู้หญิงที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงแก่ลูกและหลานต่อการเกิดโรคหอบหืด คุณเวอร์เอ็นเดอร์ เรฮัน นักวิจัยด้านชีวการแพทย์เเห่งศูนย์ Harbor-UCLA Center กล่าวว่านั่นเป็นเพราะว่าสารนิโคตินไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดีเอ็นเอสร้างผลกระทบทางชีววิทยาถาวรที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้ จากการศึกษาในหนูทดลอง พบว่ามารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์จะส่งผ่านความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืดแก่คนรุ่นเหลน แม้ว่าเหลนจะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม ในการทดลองกับหนูทดลองที่ตั้งท้อง ทีมนักวิจัยได้ฉีดสารนิโคตินเเก่หนูกลุ่มแรกเป็นประจำทุกวันนานเกือบสามสัปดาห์จนกระทั่งหนูคลอดลูก ส่วนในหนูทดลองตั้งท้องกลุ่มที่สอง ทีมนักวิจัยได้ฉีดสารนิโคตินหลอก หลังคลอดลูกหนูทดลองทั้งสองกลุ่มสามารถให้นมลูกนานเท่าที่จะทำได้ หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยจะทำการผสมพันธุ์ลูกหนูที่เกิดจากแม่หนูทดลองที่ได้รับสารนิโคตินขณะตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งครบตามลำดับสามรุ่นคือลูกหลานและเหลน โดยลูกหลานและเหลนของหนูกลุ่มนี้ ไม่เคยได้รับสารนิโคตินเลย และได้พบว่า ลูกหลานหนูที่เกิดจากหนูทดลองที่ได้รับสารนิโคตินขณะตั้งท้ิองแสดงอาการว่าเป็นโรคหอบหืด บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีคนราวสามร้อยล้านคนทั่วโลกเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืด ซึ่งเป็นอาการป่วยที่ต้องการการดูแลฉุกเฉิน เพราะหลอดลมเกิดอาการอักเสบและบวมอย่างรวดเร็วหลังจากผู้ป่วยได้รับปัจจัยให้เกิดอาการป่วย เช่น ฝุ่น ละอองเกสร หรือ ยารักษาโรคบางชนิด ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดจะเพิ่มขึ้นเป็นสี่ร้อยล้านคนภายในอีก 12 ปีข้างหน้า