Tag: โรคสมองเสื่อม
-
การทดลองระบุว่า ทองแดง อาจมีส่วนทำให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้
การทดลองระบุว่า ทองแดง อาจมีส่วนทำให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าทองแดงอาจมีส่วนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม หรือ Alzheimer’s disease ได้ โดยอาศัยผลการทดลองกับหนูเป็นพื้นฐานของความเห็นนี้ โรคดังกล่าวทำให้จิตฟั่นเฟือนและเสียชีวิตในที่สุด องค์การ Alzheimer’s Disease International กล่าวว่า โรคสมองเสื่อมนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีอาการจิตฟั่นเฟือน ตัวเลขขององค์การระบุว่า ในปี ค.ศ. 2010 มีคนในโลกเกือบ 36 ล้านคนที่มีอาการจิตฟั่นเฟือน และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะเพิ่มขึ้นไปถึง 115 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2050 หรืออีกเกือบ 40 ปีข้างหน้า เท่าที่รู้กันนั้น โรคสมองเสื่อมเกิดจากพิษที่โปรทีน amyloid beta เก็บสะสมไว้ และกลายเป็นแผ่นหรือเกล็ดแข็งในสมอง นักวิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้ว่ากลไกที่ทำให้โปรทีนจับตัวสะสมสารพิษนั้นคืออะไร แต่ผลการทดลองกับหนูในห้องทดลองเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้นักวิจัยลงความเห็นได้ว่า ปัจจัยหนึ่งในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรคสมองเสื่อม ดูเหมือนจะเป็นทองแดง ซึ่งเป็นสารโลหะที่ปรากฏในเนื้อสัตว์ ผลไม้และผัก รวมทั้งน้ำดื่มด้วย คนเราเปลี่ยนที่อยู่ไปตามที่ต่างๆในชั่วชีวิต รับประทาน หรือลองรับประทานอาหารต่างๆ บางคนก็ระมัดระวังมากกับอาหารที่รับประทาน เพราะมีความรู้เรื่องการประกอบอาหารและโภชนาการมากขึ้น และว่าทั้งหมดนี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยอธิบายได้ เพราะว่าสารทองแดงปรากฏอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง…
-
เชื่อหรือไม่ว่า การที่เกษียณจากงานช้าลง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ได้
เชื่อหรือไม่ว่า การที่เกษียณจากงานช้าลง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ได้ การที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำในแต่ละวัน และถ้าเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถ หรือการเล่นเกมลับสมองที่ทำให้สนุกสนาน ล้วนแต่ช่วยให้ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องยืดเวลาของการเกษียณจากงานเสมอไป เพราะการไม่ยอมอยู่นิ่งๆ การมีกิจกรรมที่ท้าทายสติปัญญาและความคิดอยู่เสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งการทำในสิ่งที่สนุกสนานและมีคุณค่าต่อตัวเอง ก็มีความสำคัญและล้วนแต่เป็นปัจจัยช่วยทั้งสิ้น ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ของชาวฝรั่งเศสที่เกษียณจากงานแล้วราว 430,000 คนพบว่า การเกษียณจากงานช้าลงหนึ่งปีจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซมเมอร์ลงได้ปีละ 3.2 % โดยนักวิจัยยกตัวอย่างว่าผู้ที่เกษียณจากงานเมื่ออายุ 65 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคความจำเสื่อมน้อยกว่าผู้ที่เลิกทำงานเมื่ออายุ 60 ปีราว 15 % ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ในปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาความจำเสื่อมอยู่ราว 35 ล้านคนทั่วโลก และโรคอัลไซมเมอร์ก็เป็นปัญหาเรื่องความจำเสื่อมลักษณะหนึ่งซึ่งพบได้มากที่สุด สำหรับในสหรัฐฯ เองขณะนี้มีผู้ป่วยอัลไซมเมอร์อยู่ราวห้าล้านคน
-
เนยถั่วลิสง สามารถช่วยตรวจสอบหาผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมได้
เนยถั่วลิสง สามารถช่วยตรวจสอบหาผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมได้ ปัญหาสำคัญอันหนึ่งในการตรวจหาโรค Alzheimer’s หรือ โรคสมองเสื่อม คือตรวจไม่ได้ง่ายๆว่าเป็นโรคที่ว่านี้จริง หรือความจำเสื่อมถอยลงในขณะที่มีอายุสูงขึ้น นักวิจัยพบว่า การให้คนไข้ใช้ช่องจมูกแต่ละข้างสูดดมเนยถิ่วลิสง โดยวัดระยะความห่างของเนยจากช่องจมูกที่กำลังทดสอบเป็นระยะๆ ช่องจมูกอีกข้างหนึ่งนั้นให้ปิดไว้ คนไข้ที่มีอาการโรคสมองเสื่อมขั้นต้น ช่องจมูกแต่ละข้างได้กลิ่นเนยถิ่วลิสงไม่เท่ากัน โดยช่องจมูกข้างซ้ายไม่ได้กลิ่นเนย จนกระทั่งยื่นเนยให้ดมใกล้กับช่องจมูกข้างซ้ายมากกว่าช่องจมูกข้างขวา ราวๆ 10 เซ็นติเมตรโดยเฉลี่ย ส่วนคนไข้ที่มีอาการโรคจิตเสื่อมอย่างอื่นๆ ช่องจมูกจะได้กลิ่นไม่แตกต่างกัน หรืออย่างมากที่สุด ช่องจมูกข้างขวาจะทำงานดมกลิ่นไม่ได้ดีเท่าข้างซ้าย ในจำนวนคนไข้ 24 คนที่เข้ารับการทดสอบ มี 10 คนที่แสดงให้เห็นว่า ช่องจมูกข้างซ้ายมีปัญหาในการดมกลิ่นเนยถิ่วลิสง อีก 14 คนไม่มีปัญหาดังกล่าวนักวิจัยบอกว่า ยังจะต้องดำเนินการทดลองกันต่อไปอีก แต่อย่างน้อยในขณะนี้ ก็สามารถใช้วิธีนี้ยืนยันการวินิจฉัยโรค Alzheimer’s ได้ โดยเป้าหมายในที่สุดคือ พัฒนาวิธีทดสอบนี้จนกระทั่งนำมาใช้เป็นเครื่องมือพยากรณ์ได้ว่า คนไข้คนไหนจะเป็นโรค Alzheimer’s ในที่สุด
-
ทีมนักวิจัยในสหรัฐ วิเคราะห์เลือด ระบุผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต
ทีมนักวิจัยในสหรัฐ วิเคราะห์เลือด ระบุผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต ทีมนักวิจัยในสหรัฐชี้ว่าระดับไขมันบางชนิดในกระแสเลือดที่ต่ำกว่าปกติสามารถช่วยระบุได้ว่าคุณจะเป็นโรคอัลไซม์เม่อร์สในอนาคตหรือไม่ ในปัจจุบัน วงการแพทย์ยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซม์เมอร์ส ที่ได้ผลและการตรวจวินิจฉัยว่า ใครจะเป็นโรคนี้ยังมีวิธีเดียวคือ การแสกนสมองแบบ MRI ที่เสียค่าใช้จ่ายสูง การตรวจเลือดที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนานี้จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคอัลไซม์เมอร์สง่ายมากขึ้น ทีมนักวิจัยทำการวัดระดับไขมันมากกว่า 140 ชนิดในตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครและพบว่ามีไขมันอยู่ 10 ชนิดที่มีปริมาณน้อยกว่าปกติและตรวจพบในอาสาสมัครที่กลายเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สในช่วงห้าปีต่อมา Dr. Mapstone กล่าวว่าระดับไขมันนี้ช่วยทีมวิจัยพยากรณ์ได้แม่นยำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ว่าใครจะเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สบ้างแต่เขาคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าไขมันในกระแสเลือดเหล่านี้บางตัวอาจเปลี่ยนแปลงในกรณีของการเกิดโรคชนิดอื่นๆ และทีมนักวิจัยยังไม่ได้ศึกษาในประเด็นนี้ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องวิเคราะห์กันต่อไป นักวิจัยยกตัวอย่างว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงวัยและผลการวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ผ่านมาชี้ว่าความผิดปกติในระบบเผาผลาญพลังงานมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความจำเสื่อมในผู้สูงวัย แต่ข้อมูลที่ได้ จากผลการตรวจเลือดนี้ ยังไม่มีประโยชน์มากนัก เพราะวงการแพทย์ ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซม์เมอร์ส เขากล่าวว่าหากค้นพบวิธีบำบัดโรคเมื่อไหร่ การตรวจเลือดนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยคัดกรองโรคและนำไปสู่การรักษาแต่เนิ่นๆ
-
วิธีทดสอบความสามารถทางความคิดแบบง่ายๆ ช่วยให้ตรวจหาความผิดปกติด้านความจำ ได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
วิธีทดสอบความสามารถทางความคิดแบบง่ายๆ ช่วยให้ตรวจหาความผิดปกติด้านความจำ ได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ การทดสอบเพื่อประเมินความสามารถทางความคิดของคนเราไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ Dr. Douglas Scharre ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความผิดปกติด้านความทรงจำ (Memory Disorders Research Center) ในมหาวิทยาลัย Ohio State University กล่าวว่าการทดสอบส่วนมากต้องใช้เจ้าหน้าที่ทดสอบที่ได้รับการฝึกฝน ทำให้การทดสอบมีราคาสูงและบางคนไม่ชอบตอบคำถามตัวต่อตัวเพราะกลัวว่าจะตอบคำถามไม่ถูก การทดสอบความสามารถทางความคิดและความจำแบบจัดทำด้วยตนเอง self administered จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบอาการผิดปกติทางความจำได้แต่เนิ่นๆ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยที่ละเอียดมากขึ้นและผู้ป่วยได้รับการบำบัดเร็วขึ้น ต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วิธีทดสอบแบบนี้เป็นวิธีทดสอบที่น่าเชื่อถือ และทีมนักวิจัยของเขาค้นพบว่าวิธีทดสอบแบบนี้ยังมีประสิทธิภาพในการทดสอบกลุ่มคนขนาดใหญ่ การทดสอบความสามารถทางความคิดนี้ ไม่จำเป็นต้องจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์ทันสมัยแต่อย่างใด เพียงเเค่ใช้ดินสอและแบบทดสอบสี่หน้ากระดาษที่ถามคำถามแบบตรงๆ โดยคำถามเหล่านี้ออกแบบในการประเมินการทำงานของสมองในหลายๆ ส่วน หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าคำถามในบททดสอบรวมเอาคำถามเกี่ยวกับวันและวันที่ การทดสอบความสามารถทางภาษา การคิดคำนวณ การประมวณข้อมูล ความทรงจำ โดยข้อสอบนี้ใช้เวลาทำแค่ 15 นาที การทดสอบความสามารถทางความคิดด้วยตนเองแบบ SAGE นี้ ออกแบบให้ในการตรวจหาปัญหาความบกพร่องของความสามารถทางความคิดในกลุ่มผู้สูงวัย แต่ไม่ใช่การทดสอบหาโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซม์เมอร์ส หรือโรคใดๆ เป็นการเฉพาะ Dr. Scharre หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าการทดสอบนี้ไม่ใช่วิธีตรวจหาอาการของโรคใดๆ เป็นการเฉพาะแต่เป็นวิธีการวัดระดับความคิดของคนเเต่ละคนเท่านั้น และคนทั่วไปสามารถทำการทดสอบนี้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดใด นอกจากนี้ยังเริ่มจัดทำออกมาเป็นภาษาอื่นๆ อีกด้วยนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ