Tag: โรควัณโรค

  • โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน วัณโรค (Tuberculosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) หรือคนส่วนใหญ่เรียกสั้นๆว่า TB เชื้อวัณโรคนี้จะชอบอยู่ในที่ๆมีออกซิเจนมาก เช่น ในปอด เชื้อวัณโรคจะติดต่อได้ง่ายจากคน ผ่านไปทางละอองเสมหะ หรือการจาม เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปโดยง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก วัณโรคแพร่ได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน การที่ผู้ป่วยภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จะทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคได้ง่าย  เชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานานและเกิดแผลในปวดจนทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อวัณโรคระยะโรคสงบและระยะป่วยเป็นโรค 1. การติดเชื้อวัณโรคในระยะสงบ หมายถึงการที่คนคนหนึ่งมีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัว แต่ไม่เกิดโรคและไม่มีอาการป่วยใดๆ การติดเชื้อในระยะสงบสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อยังสามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้อยู่ เชื้อแบคทีเรียสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีโดยที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใดๆ 2. การติดเชื้อระยะป่วยเป็นโรค อาจมีการป่วยเป็นโรคขึ้นมาในภายหลังได้ หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อวัณโรคที่อาศัยอยู่ในร่างกายอาจได้รับการกระตุ้น การกระตุ้นก่อให้เกิดวัณโรคและอาการที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อวัณโรคร่วมกันมีแนวโน้มจะป่วยเป็นวัณโรคมากขึ้น สำหรับในบางคน ระยะป่วยเป็นโรคอาจเกิดขึ้นได้ภายหลังติดเชื้อวัณโรคเพียงไม่กี่สัปดาห์ อาการของผู้ติดเชื้อวัณโรค – ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย – มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง – มีไข้ต่ำๆ มีอาการหนาวสั่น หรือมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน…

  • นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ

    นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ

    นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ เชื้อวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่บำบัดยากมาก ต่างจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น แม้ว่าจะมียาปฏิชีวนะออกมาใช้นานห้าสิบปีแล้ว ผู้ป่วยวัณโรคยังต้องใช้แผนการรักษาด้วยยาหลายๆตัวรวมกันนานถึงหกเดือน นักวิจัยชี้ว่าจุดที่เชื้อวัณโรคซ่อนตัวอยู่คือ ไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำบรรจุเซลล์ตั้งต้นที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ไขกระดูกมีระบบป้องกันในตัวเองที่ไม่ให้สารเคมีแปลกปลอมใดๆเข้าไปได้ข้างในได้ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ การทดลองในหลอดแก้วแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเชื้อแบคทีเรียวัณโรคเข้าไปอยู่ในเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูกอย่างง่ายดาย  การค้นพบนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมโรคปอดชนิดนี้จึงคงอยู่ในร่างกายคนได้ในสองลักษณะ อย่างแรกคือวัณโรคระยะฝังตัวที่ผู้ติดเชื้อมีเชื้ออยู่ในร่างกายนานนักสิบปีโดยไม่แสดงอาการป่วยและวัณโรคระยะออกอาการรุนแรงทำให้ผู้ป่วยป่วยหนักและหากไม่รักษาจะเสียชีวิตได้ การค้นพบนี้มีผลต่อการบำบัดวัณโรคและช่วยอธิบายได้ว่าทำไมยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลในการรักษาในผู้ป่วยทุกคนเสมอไป หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยวัณโรคหลายคนที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว อาจจะกลับไปเป็นวัณโรคอีก และเท่าที่ผ่านมาวงการแพทย์ไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าทำไมการบำบัดวัณโรคให้หายขาดจึงทำได้ยากมาก เขากล่าวว่ามาถึงตอนนี้ผลการศึกษานี้ค้นพบความลับเเล้วว่าเชื้อวัณโรครักษายากเพราะเข้าไปแอบซ่อนตัวในไขกระดูก จุดที่ยาบำบัดเข้าไปไม่ถึง ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีคนสองพันสองร้อยล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อวัณโรคแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ และหากเชื้อวัณโรคเข้าสู่ขั้นก่อให้เกิดโรค จะทำให้คนเสียชีวิตปีละหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน

  • หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค

    หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค

    หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอินเดียกำลังสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการระบาดของวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาในขณะที่มีหน่วยงานพัฒนาเอกชนหน่วยงานหนึ่งในอินเดียใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือในงานต่อต้านวัณโรค ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาแบบ MDR-TB แล้วราวหนึ่งแสนคนในอินเดีย แต่ด็อกเตอร์เชลลี่ บัตรา ผู้ก่อตั้งหน่วยงาน Operation Asha เกรงว่าตัวเลขจริงๆน่าจะสูงกว่าที่ประมาณไว้เพราะยังมีผู้ป่วยอีกหลายพันคนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย วัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาแบบ MDR-TB มีศักยภาพที่จะกลายเป็นโรคระบาดรุนแรง คร่าชีวิตคนหลายล้านคน เธอกล่าวว่าหากไม่รีบป้องกันการลุกลามของปัญหาหรือยังไม่ยอมรับความจริงว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น อินเดียก็จะประสบกับปัญหาสาธารณสุขใหญ่หลวง หน่วยงาน Operation Asha มีศูนย์อยู่เกือบทุกมุมเมือง ทางศูนย์ทุกแห่งบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ดูแลการบำบัดเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการรักษาแต่ละครั้งที่กำหนดไว้ หากผู้ป่วยไม่ไปรับยาตามกำหนด ทางศูนย์จะส่งข้อความไปเตือนและทำการติดตามหาตัวผู้ป่วย ระบบเฝ้าติดตามการรักษาแบบนี้ได้ผลช่วยลดปัญหาผู้ป่วยไม่ไปรับยารักษาวัณโรคตามกำหนดและป้องกันปัญหาโรคดื้อยาที่จะตามมา การติดตามการรักษาของหน่วยงานช่วยลดอัตราการรักษาตัวไม่ครบกำหนดลงมาอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระบบลายนิ้วมือช่วยลดปัญหานี้ลงได้อีก โดยอยู่ในอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นการช่วยประหยัดการสูญเสียค่ายาโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากวัณโรคดื้อยา MDR-TB จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของทั้งตัวผู้ป่วยและของประเทศด้วย หน่วยงาน Operation Asha มีศูนย์บำบัดวัณโรคในหมู่บ้านและสลัม 3,000 พันแห่งในอินเดียและกัมพูชา ทางหน่วยงานหวังว่าความพยายามในระดับรากหญ้าที่หนุนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้จะช่วยลดปัญหาการกลายพันธุ์ของวัณโรคที่มีสาเหตุจากผู้ป่วยรักษาตัวไม่ครบตามระยะเวลาที่กำหนด

  • นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค

    นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค

    นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพและโรคร้อน พบว่า ทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งกำเนิดของวัณโรค การศึกษาชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่ามนุษย์กับเชื้อวัณโรคกำเนิดและวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันในทวีปแอฟริกา ทีมนักวิจัยที่สถาบันสุขภาพและโรคเขตร้อนแห่งสวิสเซอร์เเลนด์ (Swiss Tropical and Public Health Institute) นำโดยศาสตราจารย์เซบ้าสเตียน แก็กโน ค้นพบว่าเชื้อวัณโรคกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริกาอย่างน้อยเมื่อ 70,000 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์แก็กโนอธิบายว่าทำไมทีมวิจัยต้องการศึกษาประวัติของเชื้อวัณโรค วิวัฒนาการของมนุษย์กับวิวัฒนาการของเชื้อวัณโรคตั้งแต่ในอดีต ไม่แค่เกิดขึ้นพร้อมๆกันแต่น่าจะพูดได้ว่าเกิดขึ้นพร้อมๆกันภายในร่างกายของมนุษย์เพราะเชื้อเเบคทีเรียอาศัยทั้งบนร่างกายคนและภายในร่างกายคน แบคทีเรียช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาว่าเชื้อวัณโรคมีอันตรายต่อมนุษย์มาตั้งแต่ในอดีตหรือไม่ ระยะเวลาที่เชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายคนโดยไม่ทำให้เกิดอาการป่วยนี้อาจจะยาวนานหลายสิบปีและคนส่วนใหญ่ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายอยู่ในขณะนี้อาจจะไม่ป่วยด้วยโรคนี้ในอนาคต  น่าสนใจว่าทำไมกลุ่มคนห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อวัณโรคจึงเเสดง อาการป่วย ผู้เชี่ยวชาญรู้ดีว่ามีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นเกี่ยวข้องด้วย อาทิ ผู้ติดเชื้อป่วยด้วยโรคเอดส์หรืออาจมีภาวะขาดอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้โรคเบาหวานก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยที่เพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคในร่างกายเเสดงอาการป่วย ทำให้นักวิจัยเกิดความสงสัยว่าการติดเชื้อวัณโรคแบบไม่ก่อให้เกิดโรคอาจจะมีคุณต่อร่างกายคนเราเพราะอาจจะช่วยปกป้องร่างกายจากโรคติดต่อชนิดอื่นๆได้ ศาสตราจารย์แก็กโนชี้ว่าแม้ข้อสงสัยนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ นักวิจัยไม่สามารถเพิกเฉยต่อข้อสงสัยนี้ เชื้อวัณโรคหายไปจากทวีปแอฟริกาเมื่อมนุษย์เริ่มย้ายไปจากทวีปนี้ เมื่อราว 65,000 ถึง 70,000 ปีที่แล้ว แต่เมื่อราวหนึ่งหมื่นปีที่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะประชากรในมนุษย์ยุคหินใหม่ เป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ และนี่เป็นช่วงที่โรคติดต่อแพร่จากสัตว์เลี้ยงสู่คนเป็นครั้งแรก ศาสตราจารย์แก็กโน กล่าวว่านั่นทำให้เกิดความเชื่อกันอยู่นานหลายปีว่าเชื้อวัํณโรคเเพร่จากสัตว์สู่คน อย่างไรก็ตามผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าเชื้อวัณโรคเกิดขึ้นมานานก่อนหน้าที่มนุษย์จะเริ่มเลี้ยงสัตว์เสียอีก และเชื้อวัณโรคได้ปรับตัวเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในร่างกายคนได้เนื่องจากไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยตนเองในสิ่งเเวดล้อมทั่วไป ทีมนักวิจัยหวังว่าการศึกษาเข้าใจถึงประวัติที่มาของเชื้อวัณโรคจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีบำบัดวัณโรควิธีใหม่ๆ และวัคซีนชนิดใหม่ๆออกมาป้องกันโรคนี้ ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยจากเชื้อวัณโรคแบบดื้อยาเพิ่มมากขึ้น นักวิจัยหวังว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยคาดเดาถึงลักษณะการแพร่ระบาดของวัณโรคในอนาคตได้  

  • องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค

    องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค

    องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค ทุกวันนี้ วัณโรค ได้คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกไปมากกว่า 74,000  คนต่อทุกปี แต่เชื่อหรือไม่ว่า การเสียชีวิตของเด็กจากโรควัณโรค สามารถที่จะป้องกันได้ องค์การอนามัยโลก และองค์การการกุศลหลายหน่วยงาน ได้ออกมาช่วยกันร่วมสร้างแนวทางการป้องกัน รักษา และตั้งเป้าหมายว่าจะลดให้เหลือศูนย์ แนวทางป้องกันและลดการเสียชีวิตของเด็กจากวัณโรคดังกล่าวนี้ ชี้ว่าไม่ควรประเมินความเร่งด่วนของปัญหาการติดต่อวัณโรคในเด็กในปัจจุบันต่ำเกินไป ทุกปีทุกปี ประมาณว่ามีเด็กจำนวนห้าแสนคนติดเชื้อวัณโรค นี่เป็นผู้ติดเชื้อเด็กรายใหม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจำนวนเด็กที่ติดเชื้อวัณโรคจริงๆ อาจจะสูงกว่านี้อย่างมากเนื่องจากความยากลำบากในการวินิจฉัยวัณโรค นายราวิกลิโอนี่ แห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าอาการของวัณโรคในเด็กต่างจากอาการของโรคในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ เหงื่อออกในตอนกลางคืน น้ำหนักตัวลดและอื่นๆ แต่ในผู้ป่วยเด็ก จะมีอาการที่ไม่ชัดเจน ทำให้หากไม่สังเกตุและไม่ติดตาม อาจจะไม่รู้ว่าเด็กติดเชื้อวัณโรคและอาจจะไม่สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้อง แนวทางลดวัณโรคในเด็กนี้ เรียกว่า การมุ่งลดการเสียชีวิตจากวัณโรคในผู้ป่วยเด็กให้เป็นศูนย์ เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ องค์การยูนิเซฟ องค์การยูเอสเอดและหน่วยงานพัฒนาเอกชนอื่นๆอีกหลายหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่าแนวทางการดำเนินงานนี้ต้องใช้เงินงบประมาณถึง 120 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี แต่นายราวิกลิโอลี่ หัวหน้าโครงการป้องกันวัณโรคแห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่คุ้มเพราะจะช่วยลดและหยุดยั้งการเสียชีวิตของเด็กจากวัณโรคได้