Tag: โรคความดันโลหิตสูง
-
หลักการเลือกอาหารใส่บาตร เพื่อให้ได้บุญมากยิ่งขึ้น
หลักการเลือกอาหารใส่บาตร เพื่อให้ได้บุญมากยิ่งขึ้น ไม่ได้สอนให้โลภบุญนะคะ แต่จากการที่ได้ไปสนทนากับพระผู้ใหญ่หลายท่าน พบว่าท่านมักจะประสบปัญหาความอ้วน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เนื่องจากอาหารที่บรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชนนำไปประเคนนั้นมักจะเป็นอาหารที่ไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ไข่พะโล้ ขนมไทยหวาน ๆ ขนมทองหยิบ ทองหยอดต่าง ๆ ซึ่งมีแคลอรี่สูงมาก ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกอาหารใส่บาตรเพื่อสุขภาพของพระสงฆ์และเณรน้อยทั้งหลายกันนะคะ ได้บุญกุศลเพิ่มด้วยค่ะ – ควรเลือกอาหารใส่บาตรที่คำนึงถึงสุขภาพ สด สะอาด ปรุงสุกใหม่ และมีไขมันต่ำ ไม่ว่าจะเป็น แกงส้ม แกงเลียง น้ำพริก ผักสด ผักต้ม ปลานึ่ง เป็นต้น – ใส่บาตรด้วยข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะจะมีเส้นใยอาหารสูงกว่าป้องกันโรคเบาหวานและท้องผูกได้ – พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ใหม่ เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันมากเกินไปนัก เน้น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ขาว เต้าหู้ เป็นต้น – เลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล เนย…
-
สัญญาณอันตรายของโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต!
สัญญาณอันตรายของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต! โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมองนั้น นับเป็นโรคที่อันตรายและเป็นสาเหตุของการตายเป็นลำดับต้น ๆ ของคนไทย แม้จะรอดมาได้แต่ก็ต้องอยู่อย่างพิการ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีกรรมพันธุ์หรือญาติสายตรงเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ไม่ยอมออกกำลังกาย อ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่ และมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว ผู้ที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองมักจะสัญญาณเตือนได้แก่ – อ่อนแรงบริเวณใบหน้า แขนขาแบบฉับพลัน และมักจะเป็นข้างเดียวของร่างกาย – จู่ ๆ ก็พูดไม่รู้เรื่อง สับสน พูดลำบาก – ตามัว หรือมีปัญหาการมองเห็นทันทีอาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ – มึนงง เสียสมดุลในการเดินแบบฉับพลันทันด่วน หากพบเห็นผู้ใดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นแค่ข้อเดียวหรือหลายข้อรวมกัน ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที และควรมาให้ทันภายใน 3 ชั่วโมงที่มีอาการ ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดจากภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต และหายได้ ในส่วนของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนี้ มีแนวทางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ควบคุมความดันโลหิต ระดับของน้ำตาล และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-4…
-
10 วิธีขจัดความเครียด
10 วิธีขจัดความเครียด ความเครียดที่ใครต่อใครก็เป็นกันอยู่นั้น ท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตเรา แต่ความจริงแล้วหากมีความเครียดที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพเราได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน หรือฆ่าตัวตาย ตลอดจนเรื่อยจนถึงปัญหากับสังคมรอบข้าง และความจำได้ด้วย ความเครียดจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรหาทางขจัดความเครียดออกไปจะดีกว่าค่ะ 1. หากมีความเครียดที่เกิดจากการต้องไปทำอะไรแปลกใหม่ เช่น การสัมภาษณ์งาน หรือนำเสนอผลงาน ให้ลองนึกภาพเหตุการณ์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น ให้มองเห็นแต่ภาพดี ๆ แต่ความสำเร็จเท่านั้น กับทั้งเตรียมตอบคำถาม แก้สถานการณ์ไว้ด้วย 2. มองด้านดีของปัญหา จะทำให้สบายใจได้มากขึ้น 3. ลองวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าหากมีเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้นจะทำอะไรกับชีวิต เช่น บริษัทปลดออกจากงาน เป็นต้น 4. เวลาสมองเกิดความตึงเครียดให้ใช้วิธีหายใจเข้าออกลึก ๆ 5. สร้างอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนความคิดจากความเครียดหรือเรื่องที่ไม่สบายใจอย่างฉับพลันไปเป็นเรื่องที่ทำให้มีความสุข เช่น มองดูภาพสัตว์เลี้ยง หรือลูก ๆ หรือเด็กทารกที่ทำให้อารมณ์ดี 6. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อดู เพราะความเครียดมากทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว ค่อย ๆ ไล่ผ่อนคลายไปทีละส่วน ๆ 7. การออกกำลังกายให้เหงื่อออกช่วยลดความเครียดได้…
-
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น โรคตับ นั้นมีสาเหตุหลายประการ ซึ่งภาวะไขมันพอกตับนั่นก็เป็นอีกปัญหาที่พบมาก เกิดได้จากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การรับสารพิษสารเคมีต่าง ๆ ภาวะขาดอาหาร หรือได้รับสารอาหารมากเกินไปจนร่างกายสะสมไว้ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในตับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังนั้นกว่าร้อยละ 60 มีภาวะไขมันพอกตับ และมักมีปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ อ้วนลงพุง ไขมันที่ลำตัวมากกว่าแขนขา เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการออกมา กว่าจะรู้ตัวก็มักเป็นโรคตับอักเสบหรือตับแข็งไปแล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นจะแสดงอาการออกมา ซึ่งอาจมีอาการปวดแน่นชายโครงขวา อ่อนเพลียง่าย ๆ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยิ่งควรให้ความใส่ใจกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ได้แก่… – ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ดูแลอาหารการกิน เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ น้ำมัน นม เนย ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง และอื่น ๆ รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งมากด้วย เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับได้ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย – หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อให้ทราบความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตับด้วย และควรดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม –…
-
จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี
จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี แทบทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับความเครียดได้ทั้งสิ้น หากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงหรือตั้งรับให้ดีแล้ว ความเครียดก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งความเครียดนี้เกิดได้หลายปัจจัยทั้งทางด้านการเงิน การงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพ และปัญหาอื่น ๆ การจัดการความเครียดนั้นทำได้หลายแบบ และสี่วิธีนี้คือหนึ่งในวิธีที่ดี 1. หลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เราเครียด ด้วยการรู้จักปฏิเสธ เลี่ยงการเผชิญหน้า ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แล้วเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำในชีวิต 2. เปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียด ด้วยการบอกความรู้สึกของเราต่อผู้ที่ทำให้เราเครียดด้วยความนุ่มนวล หรือการปรับเปลี่ยนตนเองที่เป็นสาเหตุทำให้คนอื่นเครียด จัดสรรเวลาทำงานให้ดีขึ้น เพราะการทำงานหนักหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จนยุ่งทั้งวันนั้นไม่ใช่เรื่องดี จะทำให้เหนื่อยล้าเกินไปและเกิดความเครียดได้ง่ายขึ้นด้วย 3. ปรับตัวให้เข้ากับความเครียด ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ลองปรับเปลี่ยนตัวเองให้ยอมรับหรือเปลี่ยนทัศนคติหรือความคาดหวังจากเดิมไปบ้าง มองปัญหาในมุมใหม่ มองในด้านดี ลดมาตรฐานลง คนที่อยากให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบมักจะเครียดง่ายและทำให้คนอื่นเครียดไปด้วย 4. ยอมรับความเครียด หากหนี ปรับเปลี่ยนหรือควบคุมสาเหตุของความเครียดบางอย่างไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ภาวะการเงินตกต่ำ หรืออุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง วิธีนี้ทำได้ยากที่สุด แต่ดีที่สุดในทุกวิธีที่บอกมา รวมไปถึงการให้อภัยทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลดความขุ่นเคืองและลดความเครียดลงได้ จนสามารถมองเห็นทางออกของปัญหาได้ด้วย…
-
กินดีไม่มีตายเร็ว
กินดีไม่มีตายเร็ว เดี๋ยวนี้คนเรายิ่งโดยเฉพาะคนเมืองด้วยแล้วมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมาก จึงทำให้รูปแบบการกินอาหารเปลี่ยนไปด้วย พิถีพิถันน้อยลง พึ่งการกินอาหารนอกบ้าน ซื้ออาหารถุง อาหารสำเร็จรูปกินกันมากขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง ทานขนมหวานที่น้ำตาลและไขมันสูงมากขึ้นแทนกินผลไม้ ร่างกายจึงได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน รวมไปถึงเกลือมากเกินความจำเป็น อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่บางคนก็กินผักไม่เป็น พ่อแม่ก็ไม่มีเวลาปลูกฝัง ทั้งบางคนก็ไม่ยอมกินเองด้วย เด็กก็โตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่กินผัก นั่งเล่นอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ กินขนมแทนข้าว วัน ๆ ไม่ออกกำลังกาย โตมาก็มีปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เหมือนผู้ใหญ่ทั้ง ๆ ที่อายุแค่วัยรุ่น ดังนั้นพ่อแม่จึงควรฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับลูก และปลูกฝังให้เด็กได้กลับมาใช้ชีวิตให้สมกับการเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ให้ออกกำลังกายบ้างไม่ใช่นั่งหน้าจออย่างเดียว และพ่อแม่ก็ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกด้วย ในด้านของอาหารควรเลือกอาหารกินให้ดีและห่างไกลโรคดังต่อไปนี้ – กินเป็นเวลา กินให้ครบสามมื้อ มื้อเช้ากินให้อิ่ม กลางวันกินพอประมาณ มื้อเย็นควรเลือกทานอาหารเบาๆ โดยให้ห่างจากเวลานอนอย่างน้อยสามชั่วโมง – เลือกทางอาหารตามฤดูกาล เพราะจะปลอดภัยจากสารเคมีมากกว่าอาหารนอกฤดูกาล หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงรสให้หวานมันเค็มมาก – กินให้พออิ่มและครบถ้วนทั้งห้าหมู่ในแต่ละมื้อ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรเพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ให้มากขึ้น อาจกินผลไม้จำพวกชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิลก่อนอาหาร และกินให้ช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด ๆ…
-
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…
-
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้ ในประเทศไทยเองมีผุ้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเพราะไม่แสดงอาการออกมา บางรายอาจแค่มึนงง หรือปวดหัวบริเวณท้ายทอย จึงไม่ไปตรวจรับการรักษา เมื่อเป็นนาน ๆ เข้า หลอดเลือดแดงในร่างกายจึงแข็งตัวและตีบตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม จนไตวายได้ เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้จึงอันตรายมากเพราะเป็นโรคแอบแฝง แต่สามารถคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ผู้ใหญ่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น มีภาวะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 3 คน เสียชีวิตปีละ 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ควารดูแลตนเองด้วยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าให้อ้วนเกินไป มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 2. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย รสชาติพอดีไม่ปรุงแต่งมากเกินไปจนเค็ม หวานหรือมัน ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง ทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น เลือกอบายมุขทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำหวานน้ำอัดลมต่าง ๆ ด้วย 3. หมั่นขยับเขยื้อนร่างกายเสมอ…
-
แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ
แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ เชื่อได้เลยว่า หากพูดถึงคำว่าโรคความดันโลหิตสูง ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าสูงเกินตัวเลข 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นแน่ แต่ความจริงแล้วการจะบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ต้องพิจารณามากกว่าตัวเลขบนเครื่องวัด โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงก็คือ ปวดหัว เวียนหัว แต่ความจริงแล้วคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัวจากความดันโลหิตสูงนั้นมีไม่กี่ราย และทุกรายจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากโรคได้น้อย มักพบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ความดันสูงได้ คนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วอาจไม่มีอาการให้เห็น แต่ถ้าจะแสดงอาการก็แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ทำให้เกิดหัวใจโต บีบเลือดไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น การวัดความดันโลหิตนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากความดันสูงไม่จริงแล้วไปกินยาลดเข้าก็จะเป็นอันตรายได้ ความดันโลหิตของคนเรามีปัจจัยทำให้แกว่งขึ้นลงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ กังวล เครียด การวัดความดันโลหิตจึงต้องให้ผู้ป่วยนั่งพักให้สบายและผ่อนคลายก่อน แล้วจึงวัดหลาย ๆ รั้งแล้วค่อยนำค่ามาพิจารณา บางครั้งแพทย์อาจต้องพิจารณาสภาพร่างกายและความเจ็บป่วยด้วยไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น ในส่วนของความดันโลหิตต่ำนั้น มักเข้าใจกันผิดบ่อย ๆ เพราะมันไม่ใช่โรคแต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิต มักเกิดในผู้ป่วยหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นต้น บางครั้งก็พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง…
-
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ในแต่ละปีนั้นประเทศไทยพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีละกว่าสามแสนคน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีละแปดแสนคนเลยทีเดียว เพราะมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ไขมันสูง มีเกลือมากและรสชาติหวานมากเกินไป ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยนี้ให้ลดน้อยลง ให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการทานยา และมีจำนวนผู้ป่วยลดน้อยลงให้ได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้พอดีด้วยการกินแป้งที่ไม่ขัดข้าว พวกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง มัน เผือก เท่าที่พออิ่ม อาหารเหล่านี้มีเส้นใยอยู่ด้วยจึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้ อาหารอีกชนิดได้แก่ผักใบ ช่วยลดน้ำตาล ควบคุมน้ำหนักตัว และเส้นใยอาหารทำให้ดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ลดระดับคอเลสเตอรอลได้ดี อีกประการก็คือควรลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี รวมไปถึงระดับไขมันและความดันโลหิตด้วย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อแดง ไขมันสัตว์ กะทิ เนย นมไขมันสูง เพราะจะกระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไขมันทรานส์ที่พบได้มากในอาหารทอดน้ำมัน เบเกอรี่ เนย นมข้น ก็ยังเพิ่มระดับของ LDL ขึ้นและลดไขมันตัวดี HDL ลง เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นผนังหลอดเลือดแข็งตัว และเกิดโรคหลอดเลือดได้ ไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงต่อการไตวาย ซึ่งจะพบได้มากในผู้ป่วยเบาหวานประเภทสอง ผู้ป่วยเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูงนั้น ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ หากมีความตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมตนเองด้วยการกินอาหารที่ดี รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ…