Tag: โรคกระดูกพรุน

  • เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

    เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

    เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปแล้ว พบว่ากว่า 1 ใน 3 นั้นมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งก็คือภาวะที่กระดูกความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย ส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อการดำเนินชีวิตมาก อาจประสบความทุกข์ทรมานและบางกรณีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้จึงถือเป็นโรคที่มีความร้ายแรงโรคหนึ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเอง โดยธรรมชาตินั้นร่างกายคนเราจะมีการสร้างสิ่งที่สูญเสียหรือสึกหรอขึ้นมาทดแทนเสมอ แต่หญิงที่สูงอายุ วัยทองที่หมดประจำเดือน ผู้ที่ขาดสารอาหาร ดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัด ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ คนเหล่านี้จะมีสูญเสียมวลกระดูกเร็วกว่าการสร้างขึ้นใหม่ และในที่สุดก็ทำให้กระดูกเปราะบางลงและหักแตกได้ง่ายแม้ได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย สัญญาณเตือนของภาวะกระดูกพรุนอาจสังเกตได้จากร่างกายที่เตี้ยลง ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม แต่ก็ไม่ทุกราย บางรายไม่มีสัญญาณเตือนเลยจนกระทั่งกระดูกเกิดหักขึ้นมา หากเป็นกระดูกข้อใหญ่หรือสำคัญอย่างกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังจะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และอาจทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้กว่าร้อยละ 20 หลังจากสะโพกหักได้หนึ่งปี พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมนั้นมีโอกาสกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึงห้าเท่า เพราะในน้ำอัดลมมีทั้งคาเฟอีน กรดฟอสฟอรัส น้ำตาล และโซดาทั้งหลาย เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม กลไกร่างกายต้องดึงแร่ธาตุจำนวนมากออกจากกระดูก น้ำอัดลมจึงเป็นอีกสาเหตุสำคัญของภาวะกระดูกพรุน ในปัจจุบันนี้ยังมีวิธีรักษา ได้แต่เพียงยับยั้งการสูญเสียมวลกระดูกและรักษาไปตามอาการเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือควรเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการดูแลร่างกายดังนี้ 1. ดื่มนมและอาหารที่มีแคลเซียม 2. ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกไว้เสมอ 3. งดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 5. หมั่นออกไปรับแสงแดดอ่อนตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี…

  • ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา

    ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา

    ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา การรักษาตัวเองให้เป็นผู้ห่างไกลโรคอยู่เสมอนั้นเป็นพรอันยิ่งใหญ่ที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา เพราะหากเจ็บป่วยด้วยแม้เพียงโรคโดยเดียว อาจทำให้เสียทั้งเวลาและเงินทองไปกับการรักษามากมาย ยิ่งหากเป็นผู้สูงวัยด้วยแล้ว บางรายต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด ในขณะที่บางคนก็ต้องทำงานตลอดชีวิตเพื่อมารักษาโรคอีก แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลได้ก็ตาม ก็ยังคงต้องหาเงินเพื่อมารักษาและดูแลตัวเองมากกว่าคนที่แข็งแรงอยู่ดี ดังนั้นเราจึงควรเตรียมสุขภาพเราไว้ให้ดีแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่เมื่อเราเข้าสู่วัยชราแล้วจะไม่ต้องเป็นโรคเรื้อรังให้เป็นภาระทั้งตัวเองและลูกหลานด้วย โดยทั่วไปนั้นเมื่ออายุเข้าเลขสามแล้ว ตลอดทั่วร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคทางสมอง กระดูกพรุน โรคสายตา ฯลฯ ดังนั้นก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปจนเกิดโรคควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ควรคุมการทานอาหารให้ดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง อาหารที่มีเกลือมาก และอาหารรสหวานจัด 2. ควรเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่ด้วย 3. หมั่นออกกำลังกายให้เหมาะสม และเป็นกิจวัตรอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมงขึ้นไป 4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน อย่าให้อ้วน 5. รักษาสุขภาพจิตให้ดี อย่าให้เครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วย 6. ดูแลตนเองและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นควรไปพบแพทย์…

  • การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป

    การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป

    การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป หญิงสาวที่อายุเข้า 40 ปีขึ้นไปนั้นจะเริ่มมีภาวะที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงจึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมทั้งเกิดอาการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ก็ได้แก่ – ประจำเดือนมาไม่คงที่ บางช่วงก็มาแบบถี่ ๆ บางทีก็ทิ้งช่วงหลายเดือน สลับกับมาสม่ำเสมอ บางคนก็มีเลือดออกแบบแปลก ๆ อาจมามากสลับกับปกติ หรือมีห้วงเวลาที่แปรปรวน ร้อนวูบวาบ และจะมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในระยะ 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยอาจมีเวลาที่สั้นยาวแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเบาบางลงในระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี – นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก ตื่นบ่อย ตื่นกลางดึก ตื่นเช้ากว่าปกติ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า – ปัญหาของช่องคลอดที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้เนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดบางลง มีความยืดหยุ่นและสารหล่อลื่นลดลง เมื่อร่วมเพศจึงรู้สึกแสบ เจ็บไม่ค่อยสะดวกนัก – เมื่อเข้าสู่วัยทอง การผลิตคอลลาเจนก็จะลดลงด้วย ผิวหนังของสาววัยหมดประจำเดือนจึงเริ่มบางลง ยืดหยุ่นตัวลดลง ผิวแห้งและเห็นรอยเหี่ยวย่นมากขึ้น – ภาวะกระดูกพรุน…

  • ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย

    ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย

    ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย คุณทราบหรือไม่คะว่า หากเราบริหารจัดการวิถีการใช้ชีวิตให้ดีแล้ว จะสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 30-40 เชียวนะคะ แล้วยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อาการไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคกระดูกพรุนได้ด้วย วันนี้มาดูคำแนะนำในการใช้ชีวิตเพื่อให้ห่างไกลจากมะเร็งกันนะคะ 1. คุณควรเลิกบุหรี่ เพราะคุณทราบหรือไม่คะว่าหากคุณสูบบุหรี่มากกว่า 1 ซอง หรือ 20 มวนต่อวันเป็นเวลา 10 ปีนั้น คุณจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า! เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และหากคุณสูบอยู่แล้วเกิดอยากเลิกขึ้นมาก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 60 การสูบบุหรี่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดอย่างเดียว แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้อีกด้วย 2. คุณควรเลิกดื่มสุรา หรือหากจำเป็นต้องดื่มเพื่อเข้าสังคมก็จำกัดไว้แค่วันละไม่เกิน 1 แก้ว ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 3 แก้วต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ถ้าคุณยังไม่เลิกดื่มแล้วยังสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซองอีก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นเป็น 50 เท่าเลยทีเดียว! น่ากลัวเอามาก ๆ ค่ะ 3. คุณควรปรับพฤติกรรมการกิน ดังต่อไปนี้…

  • สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

    สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

    สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย ผู้ที่มีอายุเข้าวัยทองหรือมีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี อันเป็นรอยต่อระหว่างช่วงวัยกลางคนและวัยชรานั้น หลายคนจะมีความเปลี่ยนแปลงในทั้งร่างกายและจิตใจอันมีสาเหตุมาจากการลดลงของการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิง ซึ่งสิ่งที่ร่างกายแสดงออกมานั้นจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ บางเดือนก็มากเกินพอดี หงุดหงิดแต่ก็เหนื่อยง่าย เหงื่อมักออกจนชุ่มตัวในเวลากลางคืน ร้อนวูบวาบ นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับได้ยาก ขี้โมโห ขี้ลืม ฉี่บ่อย ยิ่งเวลาไอหรือจามก็อาจเล็ดออกมา อีกทั้งช่องคลอดยังแห้ง ปวดแสบปวดร้อนหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงในระยะยาวอาจมีอาการของโรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเลือดสูงด้วย ซึ่งได้มีนักวิจัยได้ทำการค้นพบว่า หญิงที่อายุเข้าสู่วัยทองนี้เมื่อได้ทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือจำนวน 25 กรัมเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ผลที่จะได้สามารถลดระดับของ LDL ในเลือดได้ถึง 18% และค่าของไขมันดี ๆ หรือ HDL เพิ่มขึ้นถึง 20% ทำให้อาการวัยทองดังกล่าวข้างต้นลดลงได้ หญิงวัยทองจึงมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงอายุวัยทองนี้ควรทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ชนิดต่าง ๆ ไส้กรอกเจ หรือเนื้อสัตว์เทียมที่ทำจากถั่วเหลือง ไอศกรีมที่ทำจากถั่วเหลือง คัสตาร์ด หรือขนมที่มีไส้ถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสาวที่อายุเข้าวัยทองยังควรดูแลร่างกายดังต่อไปนี้ด้วย – ทานอาหารอย่างหลากหลาย เลือกทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ…

  • อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล

    อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล

    อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล ในผู้สูงอายุนั้นที่มักจะพบกันบ่อย ๆ นอกจากโรคประจำตัวอื่น ๆ แล้วก็ยังมีอาการข้อเสื่อมและกระดูกพรุนที่พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน มักเกิดกับข้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง และข้อเข่า พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ขาดหายไป จนทำให้กระดูกพรุนและในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเอาไว้ พออายุมากเข้าจึงทำให้ข้อต่าง ๆ รับน้ำหนักส่วนเกินไม่ไหว เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ทำให้ข้อเสื่อมและเกิดความเจ็บปวดขึ้นมาได้ ซึ่งมีสัญญาเตือนด้วยอาการปวดดังต่อไปนี้ 1. มักมีอาการเจ็บแบบขัด ๆ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้เข่า แต่เมื่อได้พักจะรูสึกสบายขึ้น แต่หากทิ้งไว้ไม่ดูแล หรือยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องก็อาจปวดมากจนเดินไม่ไหวก็ได้ 2. ข้อเข่าบวมขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเข่าได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะปวดออกมาจนเห็นได้ชัด หากได้รับการรักษาก็อาจจะบรรเทาลง แต่หากกลับไปใช้งานหนักอีกก็สามารถบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อน หรือเข่าฝืด มักจะเกิดขึ้นตอนที่เข่ายังไม่บวม ลุกนั่งลำบาก ต้องค่อย ๆ ยืดตัวยืน และค่อย ๆ ย่อตัวนั่งจึงจะนั่งลง บางรายเป็นมากจนหัวเข่าผิดรูปหรือเข่าโก่งก็มี ดังนั้นเมื่อมีสัญญาเตือนอาการข้อเข่าเสื่อมแล้ว ควรรีบดูแลตัวเองและเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะรักษาได้ยากดังนี้ค่ะ – อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป รักษาน้ำหนักให้สมดุ – พยายามอย่าใช้เข่าทำงานมากเกินไป เช่น…

  • แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้

    แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้

    แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้ การดื่มนมนั้นจำเป็นต้องดื่มแต่พอดีเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมแต่พอที่ร่างกายที่ต้องการ เพราะแคลเซียมที่อยู่ในนมนั้นมาพร้อมกับฟอสฟอรัส ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายมวลกระดูกได้ จึงทำให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักและเปราะได้ง่าย ซึ่งโรคกระดูกพรุนนี้ มักคุกคามผู้สูงวัยอย่างเงียบ ๆ แต่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในผู้สูงวัยชาวไทย อีกทั้งการรับรู้ข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์มากพอ ทั้งนี้การดื่มนมนั้นสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ แคลเซียมในนั้นนั้นมีคุณสมบัติในการยับยั้งการผุกร่อนของกระดูก และการสลายตัวของมวลกระดูก แต่ต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยแคลเซียมที่ควรได้รับมาจากนมน้ำไม่ควรเกิน 500 ซีซีต่อวัน จะทำให้ได้รับแคลเซียมประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในน้ำนมนั้นจะประกอบไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตรา 3 ต่อ 2 ส่วน หากเราดื่มนมมากกว่าครึ่งลิตรต่อวัน ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนออกมาจนสลายกระดูกจนเป็นเหตุให้กระดูกพรุน กระดูกเปราะ เพราะเนื้อหรือมวลกระดูกบางลงนั่นเอง ในแต่ละช่วงอายุนั้นร่างกายมีความต้องการแคลเซียมที่แตกต่างกันไป – วัยเด็ก ควรได้รับแคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อวัน – วัยรุ่น ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้ใหญ่ ควรได้รับแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน – หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับแคลเซียม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้สูงอายุหรือวัยทอง…

  • หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ “น้ำอัดลม”

    หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ “น้ำอัดลม”

    หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ “น้ำอัดลม” แม้น้ำอัดลมจะเป็นเครื่องดื่มที่เราเห็นกันจนเจนตา และดื่มกันมากจนเจนปากก็ตาม แต่จะมีใครรู้บ้างว่าในน้ำอัดลมนั้น ให้โทษให้ประโยชน์และก่อผลกระทบอย่างไรต่อร่างกายบ้าง วันนี้มาดูกันชัด ๆ เลยค่ะ 8 ข้อ 1. แน่นอนล่ะว่าน้ำอัดลมต้องมีน้ำตาลอยู่สูงมาก เพราะเป็นสารที่ทำให้เครื่องดื่มมีความหวาน ดื่มแล้วสดชื่น แต่หารู้ไม่ว่าหากคุณดื่มทุกวัน คุณก็อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนเพราะได้รับน้ำตาลมากเกินความจำเป็น 2. ในน้ำอัดลมมีการอัดก๊าซเอาไว้ ดังนั้นการดื่มน้ำอัดลมก็จะทำให้ท้องอืด ปวดท้องแน่นท้องได้ เพราะเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร 3. น้ำอัดลมมีความเป็นกรดสูง ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร จะยิ่งกระตุ้นแผลและทำให้อาการแย่ลง 4. อีกทั้งกรดในน้ำอัดลมยังทำให้เคลือบฟันเสื่อม เป็นสาเหตุของฟันผุอีกด้วย 5. สำหรับผู้ที่จัดฟัน การดื่มน้ำอัดลมจะทำให้เกิดคราบบริเวณรอยต่อระหว่างเหล็กและฟัน 6. นอกจากจะทำให้อ้วน น้ำหนักเกินแล้ว การดื่มน้ำอัดลมมากเกินไปจะทำให้โพแทสเซียมในเลือดต่ำลง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ 7. ในน้ำอัดลมมีคาเฟอีน จึงทำให้ตื่นตัว แต่ก็อาจทำให้นอนไม่หลับ มีอาการใจสั่น กระทั่งปวดศีรษะได้ด้วย 8. การดื่มน้ำอัดลมทำให้กระดูกสูญเสียแคลเซียม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุนได้