Tag: เชื้อไวรัส

  • ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก

    ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก

    ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก >> วันนี้มาไขข้อข้องใจของสาว ๆ หลายคนกันเกี่ยวกับอาการของตกขาวกันนะคะ << ตกขาวหรือระดูขาว นั้นเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนเพศในเพศหญิง เป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็อาจกลับเป็นรุนแรงได้ ดังนั้นสำหรับแพทย์ อาการตกขาวหรือระดูขาวจึงมีความสำคัญไม่แพ้โรคอื่น ๆ ซึ่งลักษณะของตกขาวนั้น จะมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดเป็นเมือกใส สีขาวขุ่น ไม่ใช่ประจำเดือน และลักษณะของตกขาวจะขึ้นอยู่กับสภาวะโรค และสภาวะของแต่ละคนไป สาเหตุของตกขาวเกิดได้จากสาเหตุดังนี้ 1. เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือพยาธิในช่องคลอดก็ได้ โดยตกขาวประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวซึ่งสามารถแยกแยะได้ 2. เกิดจากเชื้อไวรัส มีที่มีการติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว มีอาการที่แตกต่างกันไปแล้วแต่โรค เช่น โรคเริม ก็มีลักษณะตุ่มใสๆ ขนาดเล็ก แต่ถ้าตุ่มแตกจะแสบ และตกขาวก็มีกลิ่นด้วย 3. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการคันในบางราว และมีกลิ่นคาวหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีสาเหตุมาจากโรคหนองในที่เกิดกับเพศชาย ทำให้คู่นอนมีอาการปัสสาวะแสบหรือคันได้ ฯลฯ 4. เกิดจากเชื้อรา เป็นเชื้อราจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาการของตกขาวนั้นจะมีสีเหลืองหรือสีขาว ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีก้อนเล็ก ๆ หรือมีกลิ่นคล้ายนมบูด…

  • โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน วัณโรค (Tuberculosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) หรือคนส่วนใหญ่เรียกสั้นๆว่า TB เชื้อวัณโรคนี้จะชอบอยู่ในที่ๆมีออกซิเจนมาก เช่น ในปอด เชื้อวัณโรคจะติดต่อได้ง่ายจากคน ผ่านไปทางละอองเสมหะ หรือการจาม เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปโดยง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก วัณโรคแพร่ได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน การที่ผู้ป่วยภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จะทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคได้ง่าย  เชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานานและเกิดแผลในปวดจนทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อวัณโรคระยะโรคสงบและระยะป่วยเป็นโรค 1. การติดเชื้อวัณโรคในระยะสงบ หมายถึงการที่คนคนหนึ่งมีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัว แต่ไม่เกิดโรคและไม่มีอาการป่วยใดๆ การติดเชื้อในระยะสงบสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อยังสามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้อยู่ เชื้อแบคทีเรียสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีโดยที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใดๆ 2. การติดเชื้อระยะป่วยเป็นโรค อาจมีการป่วยเป็นโรคขึ้นมาในภายหลังได้ หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อวัณโรคที่อาศัยอยู่ในร่างกายอาจได้รับการกระตุ้น การกระตุ้นก่อให้เกิดวัณโรคและอาการที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อวัณโรคร่วมกันมีแนวโน้มจะป่วยเป็นวัณโรคมากขึ้น สำหรับในบางคน ระยะป่วยเป็นโรคอาจเกิดขึ้นได้ภายหลังติดเชื้อวัณโรคเพียงไม่กี่สัปดาห์ อาการของผู้ติดเชื้อวัณโรค – ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย – มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง – มีไข้ต่ำๆ มีอาการหนาวสั่น หรือมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน…

  • เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง “โรคมะเร็ง” เป็นโรคที่คนไทยหรือคนทั่วโลกรู้จัก และเกรงกลัวโรคนี้กันเป็นอย่างมาก แต่จะรู้ไหมว่าสาเหตุของการเกิดขึ้นของโรคมะเร็งมาจากไหน และมีสาเหตุจากอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำแนะนำและเกร็ดความรู้ดีๆ เพื่อให้เข้าใจในเรื่อง “มะเร็ง” และหันมาดูแลสุขภาพ หาทางป้องกันตนเองให้ห่างจากโรคมะเร็งกันค่ะ มารู้จักโรคมะเร็งกันก่อนค่ะ! โรคมะเร็ง หมายถึง โรคที่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ โรคมะเร็งจะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โรคมะเร็งบางชนิดอาจจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม ถ้ามีประวัติครอบครัวเคยเป็นในแม่พี่สาวหรือน้องสาว ก็อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นในผู้หญิงคนนั้นสูงกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้น ยังไม่มีอะไรที่ทราบกันได้แน่ชัด แต่สิ่งกระตุ้นและส่งเสริมมะเร็ง มีสาเหตุดังนี้ค่ะ 1. เชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งโพรงจมูก หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในกระเพาะอาหารมีคนพบว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 2. พยาธิใบไม้ในตับก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับและทางเดินน้ำดี สารเคมีหลายชนิดก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น พวกแอสเบสทอส ทำให้เกิดมะเร็งปอด นิเกิล โครเมี่ยม เป็นต้น 3. ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ซึ่งไม่ควรจะรับประทานเอง ควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ หรือยารักษามะเร็งบางชนิด เป็นต้น 4. การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ดังนั้น…

  • หน่วยงานร่วมมือเอกชนและรัฐบาล ประกาศร่วมมือ ลดราคาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    หน่วยงานร่วมมือเอกชนและรัฐบาล ประกาศร่วมมือ ลดราคาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    หน่วยงานร่วมมือเอกชนและรัฐบาล ประกาศร่วมมือ ลดราคาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันมีผู้หญิงราว 275,000 คน เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกทุกปีทุกปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนา วัคซีน HPV ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสฮูแมนปาปิลโลมา (human papillomavirus) ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัสชนิดนี้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และจะคงอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีก่อนจะเริ่มก่อมะเร็ง ทาง MSF คาดหวังว่าข้อตกลงระหว่างหน่วยงาน GAVI Alliance กับบริษัทผลิตวัคซีนน่าจะทำให้ราคาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำหรับประเทศกำลังพัฒนาถูกลงกว่าราคาที่ได้ในตอนนี้ เพราะรู้ดีว่าผู้ผลิตวัคซีนยังได้กำไรอย่างงามจากการขายวัคซีนชนิดนี้เเละได้ทุนด้านการวิจัยเเละพัฒนาวัคซีนคืนไปตั้งนานแล้วแต่ทำไมผู้ผลิตวัคซีนยังต้องการทำผลกำไรจากประเทศยากจนที่สุดในโลกเหล่านี้อีก เด็กผู้หญิงหนึ่งคนต้องฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดสามเข็มด้วยกัน ดังนั้นค่าใช้จ่ายต่อหัวจะอยู่ที่ราวสิบสี่ดอลล่าร์สหรัฐหรือสี่ร้อยยี่สิบบาท ดังนั้น หน่วยงานร่วมมือเอกชนและรัฐบาล GAVI Alliance ประกาศลดราคาวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกลงเมื่อเร็วๆนี้โดยหวังว่าจะสามารถฉีดให้แก่เด็กหญิง 30 ล้านคนทั่วโลกในกว่า 40 ประเทศภายใน 7 ปี ข้างหน้า แต่องค์การแพทย์การกุศลแพทย์ไร้พรมแดนยังเรียกร้องให้ลดราคาวัคซีนนี้ลงอีกเพราะยังถือว่าแพงเกินไปสำหรับคนยากจน

  • ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

    ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว

    ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันตกยังพุ่งไม่หยุด เพิ่มเป็น 86 รายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอีโบลา ในทวีปแอฟริกาทางตะวันตกเมื่อ 5 เม.ย.ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 86 รายแล้ว จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาทั้งหมด 137 ราย ที่น่าวิตกคือ การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่พบการระบาดในภูมิภาคนี้ครั้งแรกที่เมืองกูเกดัว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกินี ใกล้ชายแดนติดกับประเทศเซียร์รา ลีโอน และไลบีเรีย ตามรายงานของ WHO ระบุด้วยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา ในกรุงโกนากรี เมืองหลวงของสาธารณรัฐกินี เสียชีวิตเพิ่มอีก 5 ราย ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทางการกินีต้องรีบแจ้งเตือนประชาชนในเมืองหลวงและเมืองต่างๆ ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในเวลานี้ ทั้งนี้ ที่ประเทศไลบีเรีย มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสอีโบลา ซึ่งจัดเป็นหน่ึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุดในยุคนี้แล้ว 7 ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้อ 14 ราย ขณะที่ประเทศเซียร์รา ลีโอน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย

  • โยชิฮีโร่ คาวัวก้า นักวิจัยไวรัสไข้หวัดนก กล่าวจะกลับไปศึกษาเชื้อโรคนี้อีกครั้งหลังพับโครงการไปหนึ่งปี

    โยชิฮีโร่ คาวัวก้า นักวิจัยไวรัสไข้หวัดนก กล่าวจะกลับไปศึกษาเชื้อโรคนี้อีกครั้งหลังพับโครงการไปหนึ่งปี

    โยชิฮีโร่ คาวัวก้า นักวิจัยไวรัสไข้หวัดนก กล่าวจะกลับไปศึกษาเชื้อโรคนี้อีกครั้งหลังพับโครงการไปหนึ่งปี โยชิฮีโร่ คาวัวก้า นักวิทยาไวรัสชาวญี่ปุ่นแห่งมหาวิทยาลัย  University of Tokyo กล่าวกับบรรดาผู้สื่อข่าวว่าเขาและนักวิทยาศาสตร์นานาชาติอีก 40 คนที่ตกลงหยุดพักการศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดนกตั้งแต่ปีที่แล้ว ได้ตัดสินใจกันว่าจะเริ่มกลับไปทำการศึกษาเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ต่อ โดยมีเป้าหมายในการหาทางป้องกันการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน ประมาณหนึ่งปีกว่าที่แล้ว เกิดความกังวลกันในวงกว้างว่าสำเนาของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความสามารถแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกลายพันธุ์ อาจจะเล็ดลอดออกมาจากห้องแลปวิจัยต่างๆแล้วแพร่ระบาดในกลุ่มคนทั่วไปได้  บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าถึงเวลาต้องเดินหน้าการวิจัยต่อไป หลังจากมีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของการศึกษาวิจัยเชื้อไข้หวัดนกในหลายประเทศนานหนึ่งปีเต็ม แล้วพบว่าการศึกษาวิจัยเชื้อโรคชนิดนี้สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของสาธารณชนเพียงน้อยนิดจนแทบไม่มีเลย คุณฟูชิแอร์กล่าวว่างานวิจัยยังจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์พัฒนาวัคซีนต่อต้านเชื้อไข้หวัดนก H5N1 นอกเหนือจากเนเธอร์แลนด์แล้ว จีนกำลังวางแผนที่จะเดินหน้าการวิจัยเชื้อไวรัสนี้ต่อไปในเร็วๆนี้ อย่างไรก็ดี นักวิจัยในหลายประเทศอื่นๆต้องพึ่งเงินทุนในการวิจัยเชื้อไวรัสจากรัฐบาลสหรัฐ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติสหรัฐด้านโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases) กล่าวว่าการร้องขอเงินสนับสนุนการวิจัยไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ต้องผ่านการพิจารณาภายใต้ข้อกำหนดที่ว่านักวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ว่าการวิจัยของตนจะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่เป็นภัย เขากล่าวว่าแม้ว่านักวิจัยจะตัดสินใจยกเลิกการหยุดพักการวิจัย นักวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐจะยังไม่สามารถเดินหน้าการวิจัยได้ จนกว่าจะได้รับการอนุมัติเสียก่อน อย่างไรก็ดี คุณรอน ฟูชิแอร์ นักวิจัยแห่งเนเธอแลนด์กล่าวว่านักวิจัยนานาชาติอาจจะสามารถขอรับเงินสนุบสนุนการวิจัยเชื้อไข้หวัดนก H5N1 บางส่วนได้จากสหภาพยุโรป

  • จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด

    จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด

    จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ แพร่ระบาดในนครเซี่ยงไฮ้ตอนต้นเดือนมีนาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน จากจำนวนผู้ล้มป่วยที่มีรายงาน 24 คน ทางการจีนได้จับตาดูการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่นักวิจัยกำลังทำงานเพื่อระบุชี้ให้ได้ว่าเชื้อไวรัสที่ว่านี้แพร่ออกไปได้อย่างไร องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวยืนยันในที่ประชุมแถลงข่าวร่วมกับประธานคณะกรรมการอนามัยแห่งชาติและการวางแผนครอบครัวของจีนที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันจันทร์ว่า เท่าที่ปรากฎ ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ค่อนข้างกระจัดกระจาย และอาจคงสภาพเช่นนั้นอยู่ต่อไป เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ควรตื่นตระหนกกัน  อย่างไรก็ตาม ทางการจีนกำลังจับตาดูโรคนี้อย่างใกล้ชิดหลังจากที่ให้ปิดตลาดสัตว์ปีกที่เซี่ยงไฮ้ในสัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้งกำจัดสัตว์ปีกในสต๊อคหลังจากพบเชื้อไวรัสดังกล่าวในนกพิราบที่นั่น และแม้เจ้าหน้าที่ของ WHO จะบอกว่า ไม่ควรตื่นตกใจ Laurie Garrett นักวิจัยอาวุโสทางด้านสาธารณสุขโลกของ Council on Foreign Relations กล่าวเตือนว่า ถ้ายังมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสเชื้อพันธุ์ใหม่นี้เพิ่มขึ้นต่อไปอีก ก็อาจจะต้องเริ่มเตรียมตัวจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมา โดยยกตัวอย่างไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปีค.ศ. 2009 ซึ่งทำให้แต่ละประเทศหาทางป้องกันตนเองด้วยการปิดท่าอากาศยาน กักกันตัวคนเดินทาง และกว้านเก็บยาและวัคซีนอย่างไรก็ตาม นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Hong Kong พยายามปลอบขวัญกำลังใจของผู้คน ด้วยการประกาศว่าจะกลับไปศึกษาการแพร่ระบาดของปีค.ศ. 2009  เพื่อยืนยันว่า…

  • องค์กรอนามัยโลก เผยการศึกษาเรื่อง ไวรัส H7N9 ในจีน ว่ายังระบุที่มาไม่ได้

    องค์กรอนามัยโลก เผยการศึกษาเรื่อง ไวรัส H7N9 ในจีน ว่ายังระบุที่มาไม่ได้

    องค์กรอนามัยโลก เผยการศึกษาเรื่อง ไวรัส H7N9 ในจีน ว่ายังระบุที่มาไม่ได้ องค์กรอนามัยโลกชี้ว่า ไวรัสไข้หวัดนก  H7N9 ที่พบในประเทศจีน เป็นไวรัสที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก แต่ยังบอกไม่ได้อย่างแน่นอนว่าแหล่งที่มาของเชื้อไวรัสนี้คืออะไร ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่นี้ แพร่ระบาดไปถึง 7 จังหวัดในประเทศจีน และทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 22 คนจากจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 คน องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) กล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ แต่เตือนว่าเชื้อไวรัสนี้เป็นอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์ และจากหลักฐานที่ได้เห็น เชื้อไวรัส H7N9 แพร่จากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัส H5N1 เชื้อไวรัส H5N1 เป็นเชื้อไข้หวัดนกที่ปรากฎขึ้นในปีค.ศ. 2003 และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้แพร่ระบาดออกไปถึงสามทวีป และมีผู้เสียชีวิตเพราะไวรัสนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อ 622 คน มีปัจจัยหลายอย่างที่ยังระบุไม่ได้ รวมทั้งแหล่งที่มาของเชื้อไวรัส การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ตัวที่ทำให้เกิดโรค พิษ การเคลื่อนย้ายที่ อาการของโรค และสถานภาพของการระบาดของโรค ซึ่งหมายความว่า จะต้องศึกษาหาความรู้กันอีกมาก นักวิทยาศาสตร์ของ WHO และของทางการจีนมีความเห็นร่วมกันว่า…

  • WHO จับตาดูผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วย Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ที่เชื่อกันว่าเกี่ยวกับโรค SARS

    WHO จับตาดูผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วย Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ที่เชื่อกันว่าเกี่ยวกับโรค SARS

    WHO จับตาดูผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วย Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ที่เชื่อกันว่าเกี่ยวกับโรค SARS องค์การอนามัยโลก เฝ้าจับตามองไวรัส  Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ในตะวันออกกลาง ที่ได้คร่าผู้คนไปทั่วโลกเมื่อปี 2003 ไป 800 คน ซึ่งแพทย์และนักวิจัยค้นพบว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้คือชนิดที่คล้ายกับไข้หวัด SARS แพทย์กล่าวว่า ตอนนี้กำลังจับตามองในเรื่องของการแพร่เชื้อไวรัสนี้อยู่ แต่ก็ยังไม่พบว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่สู่คนได้อย่างไร แต่ได้สมมุติฐานในเรื่องนี้ไว้ว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้น คงได้ไปสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อกันมา โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่เท่าที่รู้ก็คือ เชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่เข้าสู่คนได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และแม้จำนวนผู้ป่วยจะยังไม่มาก นายแพทย์ผู้นี้บอกว่าไม่ควรวางใจ และเปรียบเทียบให้ฟังว่า ไข้หวัดใหญ่โดยทั่วไป ซึ่งผู้คนนับล้านๆคนติดเชื้อนั้น อัตราการเสียชีวิตน้อยมาก ไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Mers มีผู้เสียชีวิต 30 คนจากจำนวนผู้ป่วย 50 คน หรือราวๆ 60% ซึ่งนับว่าสูงมาก ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงได้เฝ้าจับตามองในเรื่องนี้ เพื่อจะได้หาทางควบคุม และแนวทางป้องกัน ร่วมมือกับแพทย์ช่วยหาวิธีการรักษา และยาต้านไวรัส ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีใช้ในทางการรักษา แต่มั่นใจว่าในอนาคตจะสามารถค้นพบวิธีป้องกันและยารักษา ยาต้านไวรัสได้อย่างแน่นอน  

  • แพทย์และนักวิจัยจีน ชี้ เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนได้

    แพทย์และนักวิจัยจีน ชี้ เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนได้

    แพทย์และนักวิจัยจีน ชี้ เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนได้ เนื่องจากมีการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ในจีน ส่วนใหญ่ผู้ที่รับการติดเชื้อ มักจะมีความคลุกคลีและสัมผัสกับไก่ หรืออาจจะเป็นแม้ค้าในตลาด ดังนั้นบรรดาผู้คนจึงเกรงว่าหากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์นี้เเพร่ระบาดจากคนสู่คน ก็จะกลายเป็นโรคระบาดในวงกว้าง เพื่อค้นหาว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อระหว่างมนุษย์ได้หรือไม่และอย่างไร ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ทำการศึกษาการติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดนี้ระหว่างตัวเฟอเรท ที่หน้าตาคล้ายตัวพังพอนแต่ขนยาวกว่า ตัวเฟอเรทที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสสู่ตัวเฟอเรทตัวอื่นๆผ่านการไอและจาม เหมือนกับคนเรา เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ยังสามารถแพร่ไปยังตัวเฟอเรทที่ปลอดเชื้อได้ด้วยการอยู่ร่วมในกรงเดียวกันกับตัวเฟอเรทที่มีเชื้อไวรัส แสดงว่าอาจจะเกิดกรณีเดียวกันนี้หากเปรียบเทียบกับคนในครอบครัวเดียวกันที่อาศัยในบ้านเดียวกัน แต่เมื่อทีมนักวิจัยทำการแยกตัวเฟอเรทกลุ่มที่ติดเชื้อออกจากกรงของกลุ่มตัวเฟอเรทที่ปลอดเชื้อ ปรากฏว่าหนึ่งในสามของตัวเฟอเรทที่แข็งแรงติดเชื้อไวรัส H7N9 แสดงว่าการติดเชื้อไม่เกิดขึ้นง่ายนัก นักวิจัยยังพบด้วยว่าเืชื้อไวรัส H7N9 ไม่แพร่ไปสู่สุกรอย่างที่หวาดเกรง ทีมนักวิจัยนานาชาติที่นำโดนนักวิจัยจีนที่ทำการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัส H7N9 กลายเป็นโรคระบาดในสัตว์ปีก ซึ่งอาจจะสร้างโอกาสให้เชื้อโรคแพร่สู่คน ทั้งจีนและประเทศเพื่อนบ้านจะต้องมีมาตราการดูแลจัดการตลาดค้าขายสัตว์ปีกให้เคร่งครัดและเข้มงวดมากขึ้น