Tag: เชื้อแบคทีเรีย

  • โรคซิฟิลิส อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคซิฟิลิส อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรคซิฟิลิส อาการ การรักษา วิธีป้องกัน โรคซิฟิลิส (Syphilis) เกิดขึ้นได้จากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum เป็นอีกโรคหนึ่งที่ติดต่อทางเพสสัมพันธ์ หรือ ติดต่อจากสิ่งมีชีวิต เชื้ออาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางเยื่อเมือก เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา หรือทางผิวหนังที่มีแผล เชื้อโรคจะแพร่กระจายในร่างกายไปตามกระแสเลือด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะต้นแล้ว อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การติดต่อของโรคซิฟิลิส – ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด รูทวาร ท่อปัสสาวะ – ติดต่อจากการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยติดต่อได้ผ่านทาง ผิวหนัง เยื่อบุตา และปาก – ติดต่อจากแม่สู่ลูก เชื้อซิฟิลิสจะถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ได้ จะเรียกเด็กที่ติดเชื้อนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด อาการจะแสดงเมื่อเด็กคลอดออกมาได้ 3-8 สัปดาห์ ถ้าไม่ได้สังเกต จะแทบไม่เห็นเลย อาจจะมีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าไม่ได้ทำการรักษา เมื่อเข้าสู่ตอนโต อาการจะออกมาก ซึ่งเข้าสู่ระยะที่สี่แล้ว บางรายจะแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัดเจน อาการของโรคซิฟิลิส ส่วนมากผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิส มักจะพบกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลายแบบ แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระยะที่ติดเชื้อ…

  • เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

    เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง “โรคมะเร็ง” เป็นโรคที่คนไทยหรือคนทั่วโลกรู้จัก และเกรงกลัวโรคนี้กันเป็นอย่างมาก แต่จะรู้ไหมว่าสาเหตุของการเกิดขึ้นของโรคมะเร็งมาจากไหน และมีสาเหตุจากอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำแนะนำและเกร็ดความรู้ดีๆ เพื่อให้เข้าใจในเรื่อง “มะเร็ง” และหันมาดูแลสุขภาพ หาทางป้องกันตนเองให้ห่างจากโรคมะเร็งกันค่ะ มารู้จักโรคมะเร็งกันก่อนค่ะ! โรคมะเร็ง หมายถึง โรคที่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ โรคมะเร็งจะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โรคมะเร็งบางชนิดอาจจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม ถ้ามีประวัติครอบครัวเคยเป็นในแม่พี่สาวหรือน้องสาว ก็อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นในผู้หญิงคนนั้นสูงกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้น ยังไม่มีอะไรที่ทราบกันได้แน่ชัด แต่สิ่งกระตุ้นและส่งเสริมมะเร็ง มีสาเหตุดังนี้ค่ะ 1. เชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งโพรงจมูก หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิดในกระเพาะอาหารมีคนพบว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 2. พยาธิใบไม้ในตับก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับและทางเดินน้ำดี สารเคมีหลายชนิดก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น พวกแอสเบสทอส ทำให้เกิดมะเร็งปอด นิเกิล โครเมี่ยม เป็นต้น 3. ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ซึ่งไม่ควรจะรับประทานเอง ควรจะอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ หรือยารักษามะเร็งบางชนิด เป็นต้น 4. การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ดังนั้น…

  • นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ

    นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ

    นักวิจัย สรุปถึงอาการอักเสบรุนแรงของโรควัณโรค อาจซ่อนตัวอยู่ในเนื้อเยื่อ เชื้อวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่บำบัดยากมาก ต่างจากเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น แม้ว่าจะมียาปฏิชีวนะออกมาใช้นานห้าสิบปีแล้ว ผู้ป่วยวัณโรคยังต้องใช้แผนการรักษาด้วยยาหลายๆตัวรวมกันนานถึงหกเดือน นักวิจัยชี้ว่าจุดที่เชื้อวัณโรคซ่อนตัวอยู่คือ ไขกระดูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำบรรจุเซลล์ตั้งต้นที่ทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ไขกระดูกมีระบบป้องกันในตัวเองที่ไม่ให้สารเคมีแปลกปลอมใดๆเข้าไปได้ข้างในได้ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ การทดลองในหลอดแก้วแสดงให้เห็นชัดเจนว่าตัวเชื้อแบคทีเรียวัณโรคเข้าไปอยู่ในเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูกอย่างง่ายดาย  การค้นพบนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมโรคปอดชนิดนี้จึงคงอยู่ในร่างกายคนได้ในสองลักษณะ อย่างแรกคือวัณโรคระยะฝังตัวที่ผู้ติดเชื้อมีเชื้ออยู่ในร่างกายนานนักสิบปีโดยไม่แสดงอาการป่วยและวัณโรคระยะออกอาการรุนแรงทำให้ผู้ป่วยป่วยหนักและหากไม่รักษาจะเสียชีวิตได้ การค้นพบนี้มีผลต่อการบำบัดวัณโรคและช่วยอธิบายได้ว่าทำไมยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลในการรักษาในผู้ป่วยทุกคนเสมอไป หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยวัณโรคหลายคนที่ได้รับการบำบัดจนหายแล้ว อาจจะกลับไปเป็นวัณโรคอีก และเท่าที่ผ่านมาวงการแพทย์ไม่เข้าใจถ่องแท้ว่าทำไมการบำบัดวัณโรคให้หายขาดจึงทำได้ยากมาก เขากล่าวว่ามาถึงตอนนี้ผลการศึกษานี้ค้นพบความลับเเล้วว่าเชื้อวัณโรครักษายากเพราะเข้าไปแอบซ่อนตัวในไขกระดูก จุดที่ยาบำบัดเข้าไปไม่ถึง ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีคนสองพันสองร้อยล้านคนทั่วโลกที่ติดเชื้อวัณโรคแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ และหากเชื้อวัณโรคเข้าสู่ขั้นก่อให้เกิดโรค จะทำให้คนเสียชีวิตปีละหนึ่งล้านเจ็ดแสนคน

  • ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ

    ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ

    ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ องค์การอนามัยโลกเริ่มต้นโครงการกำจัดโรคเรื้อนหรือที่เรียกกันว่าโรค Hansen’s disease แต่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโรคเรื้อนรายใหม่ทั่วโลกมากกว่าสองแสนสองหมื่นแปดพันรายในปีพุทธศักราช 2553 ทีมนักวิจัยไม่รู้แน่ชัดว่าผู้ป่วยติดเชื้อโรคเรื้อนได้อย่างไร สำหรับเชื้อแบคทีเรียไมโครแบคทีเรียม เลพพรี จะเเพร่เชื้อเข้าในเซลล์ประสาทพิเศษในแขนและขาบางจุดที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณกระแสไฟฟ้าจากสมองที่เรียกว่า ชะวานเซลล์ส (Schwann cells) เชื้อแบคทีเรียเข้าไปรบกวนการทำงานของยีนในเซลล์ Schwann และแปรสภาพเซลล์บางตัวเป็นสเต็มเซลล์หรือเซลล์ตั้งต้น ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆในร่างกายมนุษย์ได้ ทีมนักวิจัยทดลองฉีดสเต็มเซลล์ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคเรื้อนเข้าไปในหนูทดลอง เพื่อสังเกตุดูว่าเซลล์ที่เกิดจากการติดเชื้อแปรสภาพไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อชนิดต่างๆได้อย่างไร เซลล์ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียโรคเรื้อนสามารถแปรสภาพเป็นเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดลักษณะรูปร่างผิดเพี้ยนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อนหรือไม่ ทางองค์การอนามัยโลก หวังว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีตรวจเลือดที่ช่วยวินิจฉัยและบำบัดโรคเรื้อนได้แต่เนิ่นๆ

  • ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ

    ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ

    ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ นักวิจัยแห่งฟลอริด้ากล่าวว่า มีผู้คนในโลกราว 25 % ที่ไวต่อการรับรสอาหารต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นชาวเอเซียและคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาว ในขณะที่คนที่ลิ้นค่อนข้างด้านรสนั้นมีอยู่ประมาณ 30 % การไวต่อการรับรสชาดต่างๆ นี้เป็นผลจากจำนวนและความหนาแน่นของปุ่มรับรสที่ลิ้น รวมทั้งจากปัจจัยด้านกรรมพันธ์ด้วย และผู้ที่ลิ้นไวต่อการรับรสมักมีน้ำหนักตัวน้อยและมีรูปร่างผอมกว่าคนทั่วไป เนื่องจากความไวของประสาทสัมผัสเรื่องรสนี้ทำให้ไม่ชอบรสชาดของไขมัน แต่ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็มักเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าเนื่องจากไม่ค่อยชอบรสขมของผักใบเขียวสีเข้ม นักวิจัยชี้ว่านอกจากปุ่มรับรสที่ลิ้นแล้ว ร่างกายของคนเรายังมีปลายประสาทรับรสอยู่ที่ส่วนอื่นๆ เช่นในลำไส้ ในจมูก ในสมอง และเชื่อว่ามีอยู่ในปอดด้วย นักวิจัยเชื่อว่าการมีปลายประสาทที่ไวเป็นพิเศษต่อการรับรสขมในจมูกช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้บุคคลนั้นมีโอกาสติดเชื้อโรคโพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสน้อยกว่าคนทั่วไป

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้

    ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้

    ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าราว 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงทั้งหมดจะเป็นโรคท่อปัสสาวะอักเสบจากเชื้อเเบคทีเรียในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิตและอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงกลุ่มนี้จะเกิดอาการอักเสบซ้ำหลายครั้ง และอาการอักเสบที่เกิดซ้ำหลายครั้งมักเกิดขึ้นในบรรดาผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน นักวิจัยศึกษาค้นพบได้ว่า มีจำนวนเชื้อเเบคทีเรียจำนวนมากภายในเนื้อเยื่อบุผนังถุงน้ำปัสสาวะและเชื้อเเบคทีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณเบราเน่อร์ชี้ว่าเชื้อเเบคทีเรียเหล่านี้ยังสามารถหลบหลีกจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยได้ด้วย โดยธรรมชาติ ร่างกายคนเราจะผลิตสารต่อต้านเชื้อโรคหากมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแต่เนื่องจากเชื้อเเบคทีเรียสามารถแอบซ่อนตัวอยู่ลึกในเนื่อเยื่อบุผนังถุงน้ำปัสสาวะ ระบบต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติของร่างกายจึงทำงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมที่ให้แก่ผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือนผ่านทางช่องคลอดได้ผลดีในการช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อผนังถุงน้ำปัสสาวะซ่อมเเซมตัวเองให้เเข็งเเรงขึ้น ทำให้ติดเชื้อเเบคทีเรียยากขึ้น คุณเบราเน่อร์กล่าวว่าผลการทดลองบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมในหนูทดลองก็ได้ผลดีเช่นกัน ทีมนักวิจัยเชื่อว่าการบำบัดผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ป่วยด้วยอาการท่อปัสสาวะอักเสบซ้ำๆด้วยการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมเป็นวิธีที่ได้ผลในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเเบคทีเรียซ้ำแล้วซ้ำอีก