Tag: อัลไซเมอร์
-
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร? โรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นอาการที่เกิดจาก การสร้างและสะสมของสารที่ชื่อว่า เบต้าอะไมลอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายประสาทสมอง มีตัวเร่งที่เรียกว่าอะโปไลโปโปรตีนอี 4 เป็นตัวเร่งให้เบต้าอะไมลอยด์สะสม ทำให้สารสื่อประสาทในสมองลดลง เกิดความผิดปกติในด้านของความจำ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป มักเกิดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ที่เป็นสูญเสียสติปัญญาไปบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นในด้านความจำ ความรู้สึก ความคิด วิธีแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการใช้เหตุผล อาจทำให้ไม่สามารถทำงานหรือช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะแสดงอาการที่คนใกล้ชิดเห็นได้ชัดเจนก็คือ มักขี้หลงขี้ลืม บางทีก็เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน นึกคำพูดไม่ออก หรือใช้คำผิดทำให้คนอื่นไม่เข้าใจ หลงทาง แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ เก็บข้าวของผิดที่ อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไม่มีเหตุผล บุคลิกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หรือรู้สึกเฉื่อยชาไม่สนใจจะทำอะไรเลย การดูแลผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยญาติพี่น้องที่ใจเย็น และดูแลใกล้ชิดโดยการเตรียมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย พาผู้ป่วยได้ออกกำลังกายมากขึ้น หากิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยทำเพื่อฟื้นฟูสมอง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทานอาหาร สวมเสื้อผ้า อาบน้ำ ฯลฯ คอยระวังอันตรายจากกิจวัตรบางอย่าง เช่น การขับรถหรือทำอาหาร การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ด้วย เมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวเริ่มมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์นี้ ให้รีบพามาพบแพทย์จะได้ชะลอความรุนแรงของโรคได้ทัน…
-
อาหารกินแล้วบำรุงสมอง
อาหารกินแล้วบำรุงสมอง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน อาการสมองเสื่อมก็สามารถเข้ามาเยี่ยมเยือนได้ทุกเมื่อ ทีนี้หากเรายังไม่อยู่ในวัยที่สมองจะเสื่อมสภาพ เราจะดูแลสมองของเราอย่างไรดี วันนี้เราจะมาลองเฟ้นหาเมนูที่มีสรรพคุณในการบำรุงสมองและความจำกันนะคะ หลังจากนี้ไปจะได้ไม่ขี้หลงขี้ลืมกันอีกค่ะ – ในกลุ่มพืชผัก อาหารที่ช่วยบำรุงสมองได้แก่ พริก ขิง หอมหัวใหญ่ ช่วยเพิ่มเซลล์สมองและมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการหลั่งสารอะซีทิลโคลีน จึงช่วยให้ความจำดีขึ้น, ใบบัวบก ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น แล้วยังกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองด้วย อีกทั้งมะเขือเทศยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการทำลายของมลพิษต่าง ๆ รวมไปถึงบร็อกโคลีที่มีวิตามินเค ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ เพิ่มความสามารถในการจำได้ด้วย และผักใบเขียวหลากชนิดก็ช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้เช่นกัน – ในกลุ่มของเมล็ดพืช และธัญพืช ทั้งถั่ว ข้าวซ้อมมือ เมล็ดฟักทอง ซีเรียล รำข้าว มีกรดโฟลิก วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ช่วยในเรื่องของความจำบำรุงสมองได้อย่างยอดเยี่ยม ในเมล็ดฟักทองยังมีธาตุสังกะสีเป็นจำนวนมาก มีส่วนช่วยในเรื่องของการเพิ่มความจำได้เช่นกัน – ในกลุ่มของไข่ เนื้อสัตว์และปลาทะเล มีโปรตีนที่ช่วยบำรุงสมอง ปลาทะเลก็มีกรดไขมันโอเมก้าสาม ที่ช่วยบำรุงระบบประสาท ลดการเกิดพลัคในสมองและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย – แล้วยังมีผลการวิจัยใหม่ ๆ ที่ระบุด้ววยว่า ในช็อกโกแลต ชา องุ่น…
-
สังเกตดู.. ตัวคุณเริ่มสมองเสื่อมหรือยัง?
สังเกตดู.. ตัวคุณเริ่มสมองเสื่อมหรือยัง? อาการสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทำงานด้วย วันนี้ลองมาสังเกตอาการของตัวเองกันว่าเริ่มเข้าข่ายสมองเสื่อมหรือยังจาก 10 สัญญาณเตือนต่อไปนี้ 1. ความจำเสื่อม 2. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่คุ้นเคยได้ 3. มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียน 4. หลงลืมเวลา 5. อารมณ์แปรปรวน 6. คิดเรื่องซับซ้อนไม่ได้ 7. วิจารณญาณไม่ดี เกิดการกระทำที่บกพร่อง 8. คิดสิ่งใหม่ ๆ ไม่ได้ 9. บุคลิกเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม (จากที่เคยเป็น) 10. วางของไม่ถูกที่ถูกทาง
-
ประโยชน์และโทษของสมุนไพรจีนที่รู้จักกันดีในประเทศไทย
ประโยชน์และโทษของสมุนไพรจีนที่รู้จักกันดีในประเทศไทย สมุนไพรจีนนั้นเป็นยาจีนที่เข้ามาสู่เมืองไทยแต่ช้านานแล้ว นับตั้งแต่ที่เริ่มมีแพทย์แผนจีนเข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย แต่อะไรก็ตามที่มีคุณประโยชน์ก็มีโทษได้เช่นกัน วันนี้จึงขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับคุณประโยชน์และโทษของสมุนไพรให้คุณผู้อ่านได้ระวังกันไว้บ้างนะคะ เห็ดหลินจือ สำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์และมะเร็งนั้น เห็ดหลินจืดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาอย่างดีเยี่ยมเพราะเต็มไปด้วยอนุมูลอิสระมากมาย มีประโยชน์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเร่งการผลิตเม็ดเลือดขาว ช่วยบรรเทาอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย ยับยั้งการลุกลามของเนื้องอก แต่ข้อเสียก็คืออาจทำให้เกิดอาการคลื่นเหียน คัน และอาจกระตุ้นอาการบ้านหมุนได้ด้วย เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่นั่น มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน แคลเซียม เส้นใยอาหาร โพแทสเซียม ธาตุเหตุ คาร์โบไฮเดรต วิตามินบีสอง โปรวิตามินเอ กรดโอเมก้าสาม และเชื่อกันว่าเก๋ากี้นี้เป็นยาอายุวัฒนะชั้นเลิศชนิดหนึ่งเลยทีเดียว เกาลัดจีน เป็นถั่วที่มีไขมันน้อยมาก และมีวิตามินซีเทียบเท่ามะนาวเลยทีเดียว ไม่มีคอเลสเตอรอล มีสารอาหารคล้ายข้าวกล้อง กรดโฟลิก วิตามินซี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ให้พลังงานกับร่างกายได้ดีที่สุด จึงได้รับสมญานามว่า “ธัญพืชที่เกิดบนต้นไม้” นั่นเอง ชาวจีนยังเชื่ออีกว่าเกาลัดจีนช่วยให้ลมหายใจหวานหอมอีกด้วย เก๊กฮวย ชาเก๊กฮวยเป็นยาพื้นบ้านที่ใช้สำหรับการลดไข้ ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรรอลชนิดเลว ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ป้องกันระบบประสาทจากความชรา หรือการบาดเจ็บอื่น ๆ แม้แต่หนุ่มสาวก็สามารถดื่มได้ และดื่มได้ง่ายเพียงนำดอกเก๊กฮวยมาแช่ในน้ำร้อน 5 นาทีก็สามารถดื่มได้แล้ว ดื่มแทนชาฝรั่งก็ดีมีประโยชน์มากกว่า แปะก๊วย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าไฟโตเอสโตรเจน…
-
แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
แพทย์ชี้ การสูบบุหรี่มาก อาจทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ รายงานวิจัยชิ้นล่าสุดของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์ Houston ที่ University of Texas ชี้ว่าการสูบบุหรี่อาจมีผลกระทบต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว หรืออาจทำให้อาการของโรคอัลไซเมอร์แย่ลง การศึกษาที่ว่านี้ทำกับหนูทดลอง แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าผลที่ได้สามารถนำมาปรับใช้กับมนุษย์ได้ โดยเฉพาะการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์คือรูปแบบหนึ่งของอาการความจำเสื่อมซึ่งมักจะเกิดกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไป อาการของโรคนอกจากจะเกิดอาการสูญเสียความทรงจำแล้วยังสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีทางรักษา ศาสตราจารย์ Claudio Soto แห่งภาควิชาประสาทวิทยา University of Texas อธิบายว่าคณะนักวิจัยได้แยกหนูทดลองที่มีโรคอัลไซเมอร์แบบเดียวกับมนุษย์เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้สูดดมควันแบบเดียวกับที่ผู้สูบบุหรี่ปล่อยออกมาลักษณะเดียวกับ Second-hand Smoker ส่วนกลุ่มที่ 2 ปล่อยให้ได้รับควันบุหรี่โดยตรงในปริมาณเท่ากับคนสูบบุหรี่ 1-2 มวนต่อวัน แล้วนำผลการวิจัยที่ได้ไปเปรียบเทียบกับหนูทดลองที่ไม่ได้สูดดมควันบุหรี่เลย หนูที่สูดดมควันบุหรี่มีสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น เห็นได้จากสมองบางส่วนเริ่มถูกทำลายและยังพบคราบแบคทีเรียในสองของหนูทดลองซึ่งมีลักษณะคล้ายกับที่พบในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ด้วย ศาสตราจารย์ Soto ชี้ว่าโรคอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่ที่เกิดกับผู้สูงอายุนั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจาย หมายความว่าไม่มีปัจจัยเรื่องของพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสิ่งที่พอจะบ่งบอกได้ว่าเป็นสาเหตุของโรคคือวัยที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่นควันบุหรี่ ดังนั้นคำแนะนำของนักวิจัยเรื่องนี้ก็คือควรเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
-
แพทย์ชี้ การทานอาหารที่ดี ช่วยให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์
แพทย์ชี้ การทานอาหารที่ดี ช่วยให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ นักวิจัยกล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่เรารับประทานกับสุขภาพของสมองเกี่ยวข้องกันอย่างมากเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสุขภาพของหัวใจ ทั้งในเรื่องของสุขภาพสมองและสุขภาพหัวใจ คนเราจำเป็นต้องการควบคุมการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันเทียมและควรเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดขาวและถั่วชนิดต่างๆ หากเราระมัดระวังเรื่องลักษณะอาหารที่เรารับประทานและวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพอนามัย เราจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซม์เมอร์สได้ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าคุณอาจจะมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ก็ตาม การรับประทานอาหารที่มีวิตมินบีสูงเพราะช่วยให้สมองแข็งแรง อาหารเหล่านี้ได้แก่ผักใบเขียวที่มีสารโฟลิคและกล้วยที่มีวิตมินบี 6 สูง ส่วนผลไม้จำพวกแบรี่สี่เข้มและองุ่นก็มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกับถั่วชนิดต่างๆและเมล็ดพืชที่มีวิตมินอีสูง อาหารชนิดอื่นๆที่มีวิตมินอีสูงรวมทั้งผักโขม มะม่วงและหัว sweet potatoes เม็ดวิตมินอีเสริมแบบแคปซูนไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบตามปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่เขาเน้นว่าทุกคนควรรับประทานวิตมินบี 12 แบบเม็ดเสริมเพราะวิตมินตัวนี้ร่างกายดูดซึมจากอาหารค่อนข้างยาก วิธีปกป้องสุขภาพสมองอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือการหลีกเลี่ยงสารโลหะหนักที่ปะปนในอาหารและเครื่องดื่ม การวิจัยชี้ว่าคนที่ออกกำลังด้วยการเดินเร็ว 3 หนต่อสัปดาห์จะมีความทรงจำที่ดีกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกาย
-
เชื่อหรือไม่ว่า การที่เกษียณจากงานช้าลง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ได้
เชื่อหรือไม่ว่า การที่เกษียณจากงานช้าลง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ได้ การที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำในแต่ละวัน และถ้าเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถ หรือการเล่นเกมลับสมองที่ทำให้สนุกสนาน ล้วนแต่ช่วยให้ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องยืดเวลาของการเกษียณจากงานเสมอไป เพราะการไม่ยอมอยู่นิ่งๆ การมีกิจกรรมที่ท้าทายสติปัญญาและความคิดอยู่เสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งการทำในสิ่งที่สนุกสนานและมีคุณค่าต่อตัวเอง ก็มีความสำคัญและล้วนแต่เป็นปัจจัยช่วยทั้งสิ้น ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ของชาวฝรั่งเศสที่เกษียณจากงานแล้วราว 430,000 คนพบว่า การเกษียณจากงานช้าลงหนึ่งปีจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซมเมอร์ลงได้ปีละ 3.2 % โดยนักวิจัยยกตัวอย่างว่าผู้ที่เกษียณจากงานเมื่ออายุ 65 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคความจำเสื่อมน้อยกว่าผู้ที่เลิกทำงานเมื่ออายุ 60 ปีราว 15 % ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ในปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาความจำเสื่อมอยู่ราว 35 ล้านคนทั่วโลก และโรคอัลไซมเมอร์ก็เป็นปัญหาเรื่องความจำเสื่อมลักษณะหนึ่งซึ่งพบได้มากที่สุด สำหรับในสหรัฐฯ เองขณะนี้มีผู้ป่วยอัลไซมเมอร์อยู่ราวห้าล้านคน
-
นักวิจัยพบว่าความรู้สองภาษา สามารถช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้
นักวิจัยพบว่าความรู้สองภาษา สามารถช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้ นักวิจัยค้นพบว่า ผู้สูงอายุที่มีความรู้ถึง 2 ภาษา สามารถช่วยชะลอความแก่ และการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สองเมื่อตอนมีอายุแล้วก็ตาม การวิจัยชิ้นนี้มาจากประเทศอินเดีย โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างเกือบ 650 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 66 ปี ในจำนวนนี้มีผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์ 240 คน นอกจากนั้น 391 คนพูดได้สองภาษาเป็นอย่างน้อย ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่รู้สองภาษามีอาการเริ่มต้นโรคอัลไซเมอร์ช้ากว่าคนรู้ภาษาเดียว ประมาณสี่ปีครึ่ง อย่างไรก็ตามผู้ที่รู้ภาษาที่สามหรือมากกว่านั้น ไม่ได้เปรียบคนที่พูดได้สองภาษาในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยพบว่าระดับการศึกษาไม่เกี่ยวข้องกับผลที่นักวิจัยต้องการศึกษา นอกจากนั้นเด็กที่โตมาพร้อมกับการเรียนสองภาษาไม่ได้เปรียบผู้ที่เรียนรู้อีกภาษาในภายหลัง ในเรื่องการชะลออาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์