Tag: องค์การอนามัยโลก

  • มันสำปะหลัง ช่วยแก้ปัญหา โรคขาดแคลนอาหาร เสริมสร้างวิตามินเอ

    มันสำปะหลัง ช่วยแก้ปัญหา โรคขาดแคลนอาหาร เสริมสร้างวิตามินเอ

    มันสำปะหลัง ช่วยแก้ปัญหา โรคขาดแคลนอาหาร เสริมสร้างวิตามินเอ รายงานขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า ปัจจุบันมีเด็กทั่วโลกราว 250,000 คนเสียชีวิตด้วยโรคขาดสารอาหารประเภทวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินเอซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกาย และยังสำคัญต่อสุขภาพสายตา แต่คนยากจนในหลายส่วนของโลกยังไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่เป็นแหล่งวิตามินเอ เช่นผักและผลไม้ต่างๆ นักวิจัยจึงได้พัฒนามันสำปะหลังสายพันธุ์ใหม่ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนสารอาหารในเด็กยากจน

  • นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย

    นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย

    นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย นักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาได้รับรางวัลผลการวิจัยยอดเยี่ยมจาก Royal Society แห่งสหราชอณาจักร หลังจากสามารถค้นพบวิธีการใหม่ในการกำจัดฝูงยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย สิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่า ในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว หากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมาก จนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่า ยุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้ ถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS  องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า  

  • องค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของสารตะกั่ว พร้อมกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้

    องค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของสารตะกั่ว พร้อมกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้

    องค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของสารตะกั่ว พร้อมกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้ องค์การอนามัยโลกชี้ว่าพิษของสารตะกั่วมีผลกระทบทางสุขภาพรุนแรงมากโดยเฉพาะในเด็กโดยมีผู้คนได้รับสารพิษนี้เข้าสู่ร่างกายถึงปีละมากกว่าแสนรายทั่วโลกและอย่างน้อยหกหมื่นคนเป็นเด็ก ผู้เชี่ยวชาญประมาณกันว่ามีคนเสียชีวิตจากพิษสารตะกั่วปีละ 143,000 คนทั่วโลก โดยผู้ได้รับพิษสารตะกั่วรายใหม่เป็นเด็กๆราวหกหมื่นคนต่อปีโดยมีผลกระทบต่อความสามารถทางปัญญาของเด็ก สาเหตุของการได้รับสารตะกั่วส่วนมากเกิดจากการใช้สีทาบ้านที่มีสารตะกั่วผสมอยู่ องค์การอนามัยโลก ถือว่าพิษของสารตะกั่วเป็นหนึ่งในบรรดาสารพิษสิบประเภท อันดับต้นๆที่สร้างปัญหาสาธารณสุข พิษสารตะกั่วน่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากกระทบต่อเด็กและทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ยังได้รับสารตะกั่วผ่านการทำงานในโรงงานและสร้างปัญหาใหญ่แก่คนในประเทศกำลังพัฒนา แต่ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น ปัญหาการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายเป็นปัญหาใหญ่ในเกือบทุกประเทศ ในบางประเทศ ยังมีการใช้สีทาบ้านที่มีสารตะกั่วผสมอยู่ ทำให้มีบ้าน โรงเรียนและอาการที่ทาด้วยสีที่ผสมตะกั่วเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี แม้เเต่ในประเทศพัฒนา แล้วก็เคยมีการใช้สีทาอาคารบ้านเรือน ที่มีสารตะกั่วปนอยู่เมื่อหลายสิบปีก่อน และหากมีการปรับปรุงตัวบ้านและอาคาร กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้สีกลายเป็นฝุ่นผงตะกั่วที่สามารถเข้าไปในร่างกายของผู้คนและของเด็กๆได้ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การห้ามใช้สารตะกั่วในน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ช่วยลดจำนวนผู้ที่ได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายทั่วโลกลง ซึ่งทำให้เชื่อว่าการห้ามนี้มีผลดีและในขั้นต่อไป ทั่วโลกมีบริษัทผู้ผลิตเเละขายเม็ดสีอยู่จำนวนหนึ่งและการแก้ปัญหานี้ น่าจะทำได้ด้วยการกระตุ้นให้บริษัทผู้ผลิตเม็ดสีเหล่านี้ ยุติการใช้สารตะกั่วในการผลิตเม็ดสีและหันไปใช้เม็ดสีที่ไร้สารตะกั่วเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และในขั้นต่อไป คือการให้ความรู้แก่ผู้ผสมสี ถึงอันตรายจากสีทาบ้านที่มีส่วนผสมของตะกั่ว เพื่อให้พวกเขาหันไปใช้สีทาบ้านที่ไม่มีตะกั่วผสมและขั้นสุดท้ายคือการกระตุ้นให้รัฐบาลในประเทศ ต่างออกกฏหมายคบคุมดูแลเพื่อห้ามการใช้สารตะกั่วในสีทาบ้านและสีทาตกแต่งต่างๆ อย่างน้อยสามสิบประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการใช้สีทาบ้านผสมตะกั่วในประเทศตนเองเเล้ว องค์การอนามัยโลก โครงการทุนเพื่อสิ่งเเวดล้อมแห่งสหประชาติและโครงการความร่วมมือระดับทั่วโลกเพื่อยุติการใช้สีทาบ้านผสมตะกั่ว (Global Alliance to Eliminate Lead Paint) ได้ร่วมกันตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะขยายจำนวนประเทศที่ยกเลิกการใช้สีทาบ้านที่ผสมตะกั่วให้เป็น 70 สิบประเทศภายในอีกสองปีข้างหน้า

  • องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค

    องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค

    องค์การอนามัยโลก ออกแนวทางป้องกัน เพื่อลดเด็กที่เสียชีวิตจากวัณโรค ทุกวันนี้ วัณโรค ได้คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกไปมากกว่า 74,000  คนต่อทุกปี แต่เชื่อหรือไม่ว่า การเสียชีวิตของเด็กจากโรควัณโรค สามารถที่จะป้องกันได้ องค์การอนามัยโลก และองค์การการกุศลหลายหน่วยงาน ได้ออกมาช่วยกันร่วมสร้างแนวทางการป้องกัน รักษา และตั้งเป้าหมายว่าจะลดให้เหลือศูนย์ แนวทางป้องกันและลดการเสียชีวิตของเด็กจากวัณโรคดังกล่าวนี้ ชี้ว่าไม่ควรประเมินความเร่งด่วนของปัญหาการติดต่อวัณโรคในเด็กในปัจจุบันต่ำเกินไป ทุกปีทุกปี ประมาณว่ามีเด็กจำนวนห้าแสนคนติดเชื้อวัณโรค นี่เป็นผู้ติดเชื้อเด็กรายใหม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจำนวนเด็กที่ติดเชื้อวัณโรคจริงๆ อาจจะสูงกว่านี้อย่างมากเนื่องจากความยากลำบากในการวินิจฉัยวัณโรค นายราวิกลิโอนี่ แห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าอาการของวัณโรคในเด็กต่างจากอาการของโรคในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ เหงื่อออกในตอนกลางคืน น้ำหนักตัวลดและอื่นๆ แต่ในผู้ป่วยเด็ก จะมีอาการที่ไม่ชัดเจน ทำให้หากไม่สังเกตุและไม่ติดตาม อาจจะไม่รู้ว่าเด็กติดเชื้อวัณโรคและอาจจะไม่สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้อง แนวทางลดวัณโรคในเด็กนี้ เรียกว่า การมุ่งลดการเสียชีวิตจากวัณโรคในผู้ป่วยเด็กให้เป็นศูนย์ เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก สำนักงานควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐ องค์การยูนิเซฟ องค์การยูเอสเอดและหน่วยงานพัฒนาเอกชนอื่นๆอีกหลายหน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่าแนวทางการดำเนินงานนี้ต้องใช้เงินงบประมาณถึง 120 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี แต่นายราวิกลิโอลี่ หัวหน้าโครงการป้องกันวัณโรคแห่งองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่คุ้มเพราะจะช่วยลดและหยุดยั้งการเสียชีวิตของเด็กจากวัณโรคได้

  • องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนผู้คนทั่วโลก มีเปอร์เซ็นต์เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น กว่าร้อยละ 57

    องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนผู้คนทั่วโลก มีเปอร์เซ็นต์เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น กว่าร้อยละ 57

    องค์การอนามัยโลก กล่าวเตือนผู้คนทั่วโลก มีเปอร์เซ็นต์เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น กว่าร้อยละ 57 องค์การอนามัยโลกรายงานว่าจำนวนคนเป็นมะเร็งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 14 ล้านคนต่อปีในปีนี้เป็นปีละ 22 ล้านคนภายใน 20 ปีข้างหน้าและยังคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งจะเพิ่มขึ้นจาก 8 ล้าน 2 เเสนคนเป็น 13 ล้านคนต่อปี Dr. Bernard Stewart ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมร่างรายงานดังกล่าวเปิดเผยว่าผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้เป็นมะเร็งทั้งหมดเป็นคนในอาฟริกา เอเชีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้และจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก ราว 70 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ป่วยมะเร็งจากทวีปต่างๆ สำหรับประเทศรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง การเกิดมะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ อาทิ มะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ human papillomavirus และมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ สาเหตุที่คนเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนายังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตยุคอุตสาหกรรมและไม่มีการตรวจหามะเร็งแต่เนิ่นๆ Dr. Stewart ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าประเทศรายได้น้อยและปานกลางมักขาดการบริการด้านการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาโรค ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นมะเร็งจนกระทั่งโรคกำเริบ ดังนั้นอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงมีน้อย รายงานขององค์การอนามัยโลกเตือนว่าการบำบัดมะเร็งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งได้ จะต้องใช้มาตรการป้องกันการเกิดมะเร็งที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วยและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน Dr. Stewart กล่าวว่าการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งบางประเภทลงได้ นอกจากนี้การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา การสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนและลดการบริโภคน้ำตาลน่าจะมีบทบาทในการช่วยลดการเกิดมะเร็งบางชนิดลงได้เช่นกัน รายงานการศึกษาการเกิดมะเร็งทั่วโลกขององค์การอนามัยโลกนี้เป็นผลงานการวิจัยจากความร่วมมือของบรรดานักวิทยาศาสตร์มากกว่า 250 คนจาก 40 ประเทศ