Tag: หลอดเลือดหัวใจ

  • สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

    สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

    สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย ผู้ที่มีอายุเข้าวัยทองหรือมีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี อันเป็นรอยต่อระหว่างช่วงวัยกลางคนและวัยชรานั้น หลายคนจะมีความเปลี่ยนแปลงในทั้งร่างกายและจิตใจอันมีสาเหตุมาจากการลดลงของการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิง ซึ่งสิ่งที่ร่างกายแสดงออกมานั้นจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ บางเดือนก็มากเกินพอดี หงุดหงิดแต่ก็เหนื่อยง่าย เหงื่อมักออกจนชุ่มตัวในเวลากลางคืน ร้อนวูบวาบ นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับได้ยาก ขี้โมโห ขี้ลืม ฉี่บ่อย ยิ่งเวลาไอหรือจามก็อาจเล็ดออกมา อีกทั้งช่องคลอดยังแห้ง ปวดแสบปวดร้อนหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงในระยะยาวอาจมีอาการของโรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเลือดสูงด้วย ซึ่งได้มีนักวิจัยได้ทำการค้นพบว่า หญิงที่อายุเข้าสู่วัยทองนี้เมื่อได้ทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือจำนวน 25 กรัมเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ผลที่จะได้สามารถลดระดับของ LDL ในเลือดได้ถึง 18% และค่าของไขมันดี ๆ หรือ HDL เพิ่มขึ้นถึง 20% ทำให้อาการวัยทองดังกล่าวข้างต้นลดลงได้ หญิงวัยทองจึงมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงอายุวัยทองนี้ควรทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ชนิดต่าง ๆ ไส้กรอกเจ หรือเนื้อสัตว์เทียมที่ทำจากถั่วเหลือง ไอศกรีมที่ทำจากถั่วเหลือง คัสตาร์ด หรือขนมที่มีไส้ถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสาวที่อายุเข้าวัยทองยังควรดูแลร่างกายดังต่อไปนี้ด้วย – ทานอาหารอย่างหลากหลาย เลือกทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ…

  • กินเนื้อสัตว์แปรรูป เพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้

    กินเนื้อสัตว์แปรรูป เพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้

    กินเนื้อสัตว์แปรรูป เพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้ มีการรวบรวมและการศึกษาจากฐานข้อมูลผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ที่ทำให้สรุปได้ว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป และปรุงแต่งกลิ่นรสมากเกินไป เช่น ไส้กรอก หมูแฮม กุนเชียง หมูยอ ฯลฯ จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ถึงร้อยละ 42 ทุก ๆ น้ำหนัก 50 กรัมที่กินในแต่ละวัน หรือมีขนาดเท่ากับเหรียญห้าบาท จำนวนหกเหรียญ แล้วยังพบด้วยการกินเนื้อสัตว์แปรรูปดังกล่าวที่มีปริมาณของเกลือ และสารไนไตรท์เป็นจำนวนมากนี้จะเพิ่มโอกาสการเป็นเบาหวานมากถึงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้กิน อีกทั้งผู้ที่กินเบคอนวันละสองชิ้น หรือกินฮอทด๊อกวันละชิ้น ยังเพิ่มโอกาสการเป็นเบาหวานขึ้น 2 เท่าตัวเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้กินด้วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือด ควรทานอาหารที่ปรงุแต่งแต่น้อย หรือไม่ปรุงแต่งเลย ทานเนื้อสัตว์ที่ปราศจากสารเคมี ไม่มีการเติมเกลือ ดินประสิว หรือสารใด ๆ กินแต่อาหารจากธรรมชาติ ผักปลอดสารพิษ ถั่ว หรือธัญพืชต่าง ๆ รวมทั้งผู้ปรุงอาหารก็ควรมีอารมณ์และจิตใจที่ดี จะทำให้อาหารมื้อนั้นมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ปราศจากสารก่ออันตราย ทำให้สุขภาพของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ช่วยเยียวยารักษาโรคได้ และทำให้สุขภาพดีขึ้นได้อีกด้วยค่ะ

  • ดับเบิ้ล “อาหาร” ชะลอความชรา

    ดับเบิ้ล “อาหาร” ชะลอความชรา

    ดับเบิ้ล “อาหาร” ชะลอความชรา เราจะเป็นในอย่างที่เรากิน หรือ You are what you eat เป็นประโยคที่ช่วยให้เราได้หยุดคิดก่อนที่จะหยิบอาหารชนิดใดเข้าปาก  ว่าอาหารชนิดนั้น ๆ จะให้ผลกับสุขภาพของเราอย่างไร  ดังนั้นการกินอาหารจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หรือสักแต่กินตามท้องหิวหรือตามปากอยาก  แต่ต้องมีเทคนิคการกินที่ดี  รายการอาหารที่จะนำมาเสนอในตอนนี้จะเป็นคู่อาหารที่เมื่อจับคู่กันทานแล้ว จะช่วยชะลอความชราได้อย่างไม่น่าเชื่อ  มาดูกันค่ะ คู่แรก  ทานเนื้อปลา คู่กับ บร็อกโคลี่  อาหารคู่นี้เมื่อกินด้วยกันจะช่วยยับยั้งการก่อตัวและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ เนื่องจากซีลีเนียมและซัลโฟ ราเฟนที่อยู่ในอาหารทั้งคู่  จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งลงมากกว่าเลือกกินเดี่ยว ๆ ถึง 13 เท่าเลยทีเดียวค่ะ คู่ที่สอง ทานโยเกิร์ตรสธรรมชาติ กับกล้วย  เมื่อทานคู่กันจะช่วยดูแลลำไส้ ด้วยพรีไบโอติก และโพรไบโอติก  เหมือนการช่วยกันผสานพลังในการดูแลระบบย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพ ทำงานได้อย่างเต็มที่ คู่ที่สาม  ทานถั่วฝักยาวคู่กับพริกหวานสีแดง  ช่วยป้องกันโรคทางเลือดและโลหิตจาง  เพราะถั่วฝักยาวเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง  และเมื่อทานคู่กับอาหารที่มีวิตามินซีสูง ๆ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเต็มที่  ซึ่งหากไม่ได้ทานร่วมกันแล้วอาจทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากผักได้ไม่ถึงร้อยละ 10 ในส่วนของถั่วฝักยาวนั้น สามารถเปลี่ยนเป็นผักคะน้าหรือบร็อกโคลี่ก็ได้ผลเช่นเดียวกันค่ะ คู่ที่สี่  ทานแอปเปิ้ลร่วมกับองุ่น   เป็นการผสานพลังกันระหว่างสารเควอซิตินในแอปเปิ้ล…

  • โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง?

    โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง?

    โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง? โรคหัวใจขาดเลือด นั้น คืออาการที่หัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (angina) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งอาการที่แสดงถึงโรคหัวใจขาดเลือดของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น – เจ็บ ปวดหรือรู้สึกไม่สบาย – แน่นท้อง – เป็นตะคริว – ชา – หายใจลำบาก จุกเสียด – แน่นหน้าอก – ร้อน – เหงื่อแตก – วิงเวียนศีรษะ อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกราม เป็นต้น และอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรมหรือหลังอาหารมื้อหนัก ๆ อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อนและการรักษาด้วยยา เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการหัวใจขาดเลือดอย่างได้ผล  

  • แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว

    แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว

    แพทย์ชี้ คนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว สภาวะตึงเครียดในปัจจุบันส่งผลให้จำนวนผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน” มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ มาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น และจากสถิติที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือ 30% ของจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่ปรากฏอาการหรือมีสัญญาณของโรคที่น่าสงสัยใดๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อพบว่าอาการของโรคถึงขั้นรุนแรงแล้ว สถิติผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดจากทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดในปีที่ผ่านมาประมาณว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากโรคดังกล่าว สูงถึงกว่า 10 ล้านคน และคาดว่า ในอีก 5 ปี ข้างหน้า จำนวนการตายจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 13 ล้านคนมาจากประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 เท่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนสาเหตุของการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั้นพบว่า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ การทำงานที่แข่งขันกับเวลา ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันสูง เบาหวาน ความอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และอาหาร โดยอาการเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย บางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคอ อาการเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง…

  • ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

    ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

    ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยได้ศึกษาเรื่องตัวยา aleglitazar ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในร่างกายนั้น ไม่ได้ส่งผลให้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว หรือการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในกลุ่มคนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่เพิ่งมีอาการหัวใจล้มเหลว หรืออาการปวดเค้นหัวใจอยู่เรื่อยๆได้ ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจนั้นยังคงเป็นสาเหตุหลักของการตายในกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ ซึ่งไม่มีการรักษาด้วยยาที่ส่งผลต่อเบาหวาน หรือการควบคุมระดับกลูโคสอย่างเข้มงวดใดที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถลดความยุ่งยากของหัวใจหรือหลอดเลือดของหัวใจในกลุ่มคนไข้ดังกล่าวได้เลย โดยในการลดลองระยะที่ 2 นั้น aleglitazar สามารถลดระดับกลูโคสในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ LCL และเพิ่มระดับของ HDL ให้สูงขึ้นได้ แพทย์และนักวิทยาศาสต์ก็ได้มีการทดลองเรื่องนี้กับผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการสุ่มให้ยา aleglitazar และการให้ยาหลอก โดยใช้เวลาประมาณ 104 สัปดาห์ พบว่า ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์พบว่าถึงแม้ aleglitazar นั้นจะลดระดับกลูโคสในเลือดและทำให้ระดับของ HDC และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นก็ตาม ตัวยาดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดเวลาของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ อาการหัวใจล้มเหลว หรือการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันแต่อย่างใด ซึ่งเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นในคนไข้จำนวนที่ได้รับยา aleglitazar 344 ราย (9.5%)  และ 360 ราย (10%) ในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาหลอก และตัวยา aleglitazar นั้นได้ถูกเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติของไต…

  • WHO ชี้การลดเกลือและเพิ่มโปตัสเซี่ยม ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้

    WHO ชี้การลดเกลือและเพิ่มโปตัสเซี่ยม ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้

    WHO ชี้การลดเกลือและเพิ่มโปตัสเซี่ยม ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่าโรคความดันโลหิตสูงคุกคามสุขภาพของคนทั่วโลกราวหนึ่งพันล้านคน ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบเพราะไม่ปรากฏอาการชัดเจน ข่าวดีคือเราสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ มีผลการวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่าการลดปริมาณเกลือในอาหารที่เรารับประทานลงจะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการเส้นโลหิตในสมองแตกและโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ นักวิจัยกล่าวว่า การลดปริมาณเกลือในอาหารลงช่วยลดอาการความดันโลหิตสูงได้ แต่จะดีขึ้นถ้าคนเราได้รับโปตัสเซี่ยมวันละสี่กรัม หากต้องการเพิ่มโปตัสเซี่ยมหนึ่งกรัม ควรรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้นราวสองถึงสามครั้งต่อวัน โดยอาจจะรับประทานกล้วยสามลูกต่อวัน หรือ ส้มสามลูกต่อวัน หรืออาจจะรับประทานกล้วย แอปเปิ้ล และ ส้ม อย่างละหนึ่งลูกต่อวัน หรืออาจจะรับประทานผักหนึ่งครั้งต่อวันและผลไม้อย่างน้อยสองลูกต่อวัน เนื่องจากโปตัสเซี่ยมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อ ได้ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแสดงความกังวลต่อสุขภาพของคนในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มนิยมรับประทานอาหารแบบเดียวกับคนในประเทศพัฒนาแล้ว เป็นอาหารที่เค็ม หวาน และมัน ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าคนในประเทศกำลังพัฒนาจะป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจกันเพิ่มมากขึ้น พอๆกับโรคที่มีสาเหตุจากโรคอ้วน

  • ผลการวิจัยชิ้นใหม่ พบว่า ประชากรโลกมีปัญหาฟันผุและโรคเหงือก

    ผลการวิจัยชิ้นใหม่ พบว่า ประชากรโลกมีปัญหาฟันผุและโรคเหงือก

    ผลการวิจัยชิ้นใหม่ พบว่า ประชากรโลกมีปัญหาฟันผุและโรคเหงือก นักวิจัยสำรวจประชากรทั่วโลก พบว่า มีประชากรที่ฟันผุและเป็นโรคเหงื่อจำนวนมาก และผู้เชียวชาญด้านสุขภาพปากได้กล่าวว่า การที่เป็นโรคเหงือก หรือ ฟันผุนั่น สามารถนำไปสู่ปัญหาสภาพทางจิตใจได้ด้วย โรคฟันผุในฟันแท้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า carries ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโรคฟันผุเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุความเสี่ยงอย่างเดียวกับโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษาเรื่องนี้พบว่าโรคฟันผุพบเพิ่มขึ้นมากที่สุดในชาติแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าและชาติหมู่เกาะทางใต้ ตะวันตกและกลางมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็ยังพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีประชากรที่เป็นโรคฟันผุเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอาหารที่ได้รับประทานเข้าไปนั้น มีน้ำตาลสูงมา นอกจากน้ำตาลจะทำให้ฟันผุและเป็นสาเหตุของโรคเหงือกแล้ว ยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคอ้วนอีก แต่แปลกที่ประชากรที่อยู่ในประเทศที่พัฒนากลับไม่ได้มีการดูแลรักษาช่องปากอย่างจริงจัง แต่ก็ยังมีบ้างที่ใช้วิธี เติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มเพื่อช่วยป้องกันอาการฟันผุ ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสกล่าวว่าการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มมีความสำคัญมากจากผลการศึกษาเรื่องนี้ในอเมริกา ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มช่วยลดปัญหาโรคฟันผุลงได้อย่างมากในอเมริกา นักวิจัยหวังว่าชาติแอฟริกาและเอเชียจะมองเห็นปัญหาสุขภาพที่มาจากประเทศพัฒนาเเล้วนี้เเละเลี่ยงเจริญรอยตามในด้านโภชนาการ ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสยังเรียกร้องให้มีการปรับนิสัยการบริโภคให้หันไปรับประทานอาหารที่ดีต่อสุภาพ ตลอดจนมีการพัฒนาวัสดุและวิธีการรักษาโรคฟันผุใหม่ๆที่ราคาถูกลงด้วย    

  • เชื่อหรือไม่! การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ ส่งผลถึงชีวิต

    เชื่อหรือไม่! การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ ส่งผลถึงชีวิต

    เชื่อหรือไม่! การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ ส่งผลถึงชีวิต นักวิจัยพบว่า การเติมน้ำตาลในอาหารมากเกินไป ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจจะเพิ่มความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต โดยนักวิจัย ได้วิจัยว่าการที่คนเราบริโภคน้ำตาลเกินกว่า 20% ของปริมาณแคลอรี่เฉลี่ยต่อวันจะมีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นเป็นสองเท่าตัว โดยปกติแล้วค่าแคลอรี่เฉลี่ยต่อวันของคนธรรมดาอยู่ที่ 2,000 แคลอรี่ และการดื่มน้ำอัดลมเพียงหนึ่งกระป๋องก็จะให้ค่าแคลอรี่ราว 7 % ของจำนวนแคลอรี่ในแต่ละวัน แต่การวิจัยนี้มุ่งที่น้ำตาลซึ่งใส่เติมลงในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ไม่ใช่น้ำตาลซึ่งร่างกายได้จากผักหรือผลไม้โดยทั่วไป ก่อนหน้านี้เคยมีการศึกษาความเกี่ยวพันระหว่างการบริโภคน้ำตาลกับโรคอ้วนมาแล้ว แต่ครั้งนี้การศึกษามุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำตาลมากกว่าปกติ กับการเสียชีวิตด้วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ