Tag: มาลาเรีย

  • นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย

    นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย

    นักวิทยาศาสตร์แอฟริกา คว้ารางวัลจากวิธีการกำจัดยุง ให้พ้นจากโรคมาลาเรีย นักวิทยาศาสตร์จากแอฟริกาได้รับรางวัลผลการวิจัยยอดเยี่ยมจาก Royal Society แห่งสหราชอณาจักร หลังจากสามารถค้นพบวิธีการใหม่ในการกำจัดฝูงยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย สิ่งที่สำคัญมากของระบบการผสมพันธุ์ของยุงนี้ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาเดินเข้าไปในจุดที่ศึกษา เขาจะพบฝูงยุงบินอยู่ในจุดนั้นเป็นประจำทุกๆวัน นี่ทำให้การกำจัดยุงทำได้ง่ายมากขึ้น ประเทศ Burkina Faso เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงที่สุดในโลก ด็อกเตอร์เดียเบทพบว่า ในช่วงฤดูฝนใน Burkina Faso บางบ้านมียุงอยู่ภายในบ้านถึงเก้าร้อยตัว หากสามารถทำลายยุงตัวผู้ได้สำเร็จ จะส่งผลให้จำนวนประชากรยุงตัวผู้ลดลงอย่างมาก จนมีจำนวนยุงตัวเมียมากกว่า เขากล่าวว่า ยุงตัวเมียต้องมียุงตัวผู้ผสมพันธุ์จึงจะสามารถออกไข่ได้ แต่เมื่อไม่มียุงตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วย ก็จะไม่สามารถออกไข่และทำให้ไม่มีลูกยุง และเมื่อไม่มียุง ก็หมายความว่าไม่มีเชื้อมาลาเรีย ผลการวิจัยเรื่องนี้จะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียแบบใหม่ๆต่อไป อาทิ การใช้ยุงตกแต่งพันธุกรรมและการควบคุมประชากรยุงด้วยการทำหมันยุงตัวผู้ ถึงขณะนี้ การควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรียต้องพึ่งพาการกางมุ้งเคลือบยากันยุงเป็นหลัก แต่มีความกังวลกันว่าจะไม่ได้ผลเพราะยุงเริ่มพัฒนาแรงต่อต้านต่อสารเคมีที่ใช้ ดังนั้นเขาเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาวิธีใหม่ๆออกมาเพื่อควบคุมยุงที่เป็นพาหะของไข้มาลาเรีย แม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตราวปีละหกแสนหกหมื่นคน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ในปีหน้า บริษัทยาอังกฤษ GlaxoSmithKline วางแผนที่จะยื่นขอใบอนุญาติเป็นผู้นำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียออกสู่ตลาดเป็นรายแรกของโลก วัคซีนนี้เรียกว่า RTSS  องค์การอนามัยโลกชี้ว่าอาจจะสามารถนำวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรียไปใช้ได้ในราวอีกสองปีข้างหน้า  

  • นักวิจัยสหรัฐ คิดค้นพัฒนาการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ด้วยวิธีใหม่โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์

    นักวิจัยสหรัฐ คิดค้นพัฒนาการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ด้วยวิธีใหม่โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์

    นักวิจัยสหรัฐ คิดค้นพัฒนาการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ด้วยวิธีใหม่โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ ในปัจจุบัน การตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่ใช้กันทั่วไปยังเป็นการตรวจตัวอย่างเลือดที่นำไปส่องด้วยกล้องจุลภาค การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน อุปกรณ์ราคาเเพง และเวลา ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวล้วนเป็นสิ่งที่ขาดเเคลนในประเทศยากจนและพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลในหลายๆส่วนของโลก เเต่เทคโนโลยีการตรวจหาเชื้อมาลาเรียวิธีใหม่ที่เรียกว่า vapor nanobubble จะไม่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดในการตรวจอีกต่อไป คุณ Dmitri Lopotko นักวิจัยเเห่งภาควิชา Biochemistry and Cell Biology ที่มหาวิทยาลัย Rice University ในเมือง Houston รัฐ Texas กล่าวว่าการตรวจแบบใหม่เพียงแค่ให้ผู้รับการตรวจทาบนิ้วมือเพียงนิ้วเดียวลงบนเครื่องสแกนด้วยแสงเลเซ่อร์เท่านั้น เครื่องสแกนจะฉายลำเเสงเลเซอร์ผ่านเข้าใต้ผิวหนังและเเสงเลเซอร์นี้จะถูกดูดซับโดยตัวเชื้อมาลาเรียเท่านั้นเนื่องจากความยาวของตัวคลื่นที่ใช้ และตัวเชื้อมาลาเรียจะตอบสนองต่อคลื่นแสงเลเซอร์นี้ด้วยการแตกตัว ผลการทดลองตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยเครื่องสแกนด้วยลำเเสงเลเซ่อร์นี้ยังไม่มีความผิดพลาดเลย ถือว่ามีความถูกต้องเเม่นยำอย่างมาก และสามารถตรวจพบเชื้อได้แม้เเต่ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อซึ่งมีความสำคัญมากเพราะการรักษาเเต่เนิ่นๆจะมีประสิทธิิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์การตรวจด้วยแสงเลเซ่อร์ที่เคลื่อนที่สะดวกและใช้ถ่านเเบตเตอร์รี่นี้ราคาไม่ถูก ค่าผลิตอยู่ที่เครื่องละ 10,000-20,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่เครื่องตรวจเเต่ละเครื่องจะสามารถตรวจผู้เข้ารับการตรวจได้ถึงปีละสองแสนคน หากคำนวณตามจำนวนของผู้เข้ารับการตรวจจะคิดเป็นค่าใช้จ่ายครึ่งดอลล่าร์สหรัฐต่อคนหรือประมาณ 15 บาทเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคที่ได้รับการฝึกฝนในการตรวจเเต่อย่างใด

  • หลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้น ยังมี ชาวแอฟริกา 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย

    หลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้น ยังมี ชาวแอฟริกา 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย

    หลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้น ยังมี ชาวแอฟริกา 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย การวิจัยชิ้นใหม่พบว่าหลังการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียอย่างเข้มข้นนานกว่าสิบปี ยังมีชาวแอฟริการาว 184 ล้านคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับสูงแม้ว่าจะเป็นตัวเลขนี้จะลดลงมาจากเกือบ 220 ล้านคนเมื่อ 14 ปีที่แล้วก็ตามข้อสรุปของผลการวิจัยนี้ได้จากข้อมูลสำรวจชุมชนหลายพันเเห่งใน ประเทศแอฟริกา 44 ชาติและดินแดนต่างๆ ประเทศเหล่านี้เป็นเเหล่งระบาดของมาลาเรียDr. Abisalan Noor และศาสตราจารย์ Robert Snow หัวหน้าทีมวิจัยนี้ทำงานประจำที่สถานบันการวิจัยทางการแพทย์ Kenyan Medical Research Institute-Wellcome Trust Research Program สมาชิกของทีมวิจัยประกอบด้วยนักวิจัยจำนวนหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Oxford และองค์การอนามัยโลก การศึกษานี้เป็นภาพสะท้อนผลของการรณรงค์ต่อต้านมาลาเรียของโครงการ Roll Back Malaria Campaign และโครงการปรามปรามมาลาเรียอื่นๆ โครงการ Roll Back Malaria นี้เป็นการระดมความร่วมมือในหลายระดับจากองค์กรเอกชนและหน่วยงานพัฒนาเอกชนเพื่อมุ่งลดจำนวนคนเสียชีวิตจากมาลาเรียลงครึ่งหนึ่งให้ได้ภายในปีพุทธศักราช 2553 ที่ผ่านไปแล้ว โครงการดังกล่าวเริ่มต้นไม่ราบรื่นนักและถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความคืบหน้าหลังจากการเริ่มต้นโครงการผ่านไปได้หลายปี ในบรรดาชาติแอฟริกาที่มีอัตราการติดเชื้อมาลาเรียสูงอยู่หรือยังไม่เปลี่ยนแปลงเลย ได้แก่ คองโก ยูกันดา มาลาวี และเซ้าท์ซูดาน แม้ว่ายังจะมีคนในแอฟริกาจำนวนมากที่ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย Dr.…