Tag: ซึมเศร้า
-
ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป
ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผอ.สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่าไรนัก ก็คือโรค ไบกอเร็กเซีย (Bigorexia) หรือโรคที่คิดว่าร่างกายตัวเองเล็กเกินไป เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองยังมีรางกายที่ไม่กำยำหรือล่ำสันมากพอ จึงมักชอบส่องกระจกบ่อย ๆ ทั้งที่ตัวเองก็มีร่างกายที่กำยำอยู่แล้วทำให้ต้องเข้าฟิตเนส หรือเล่นเวทบ่อย ๆ หากไม่ได้เล่นก็จะเกิดอาการเครียดและซึมเศร้า โดยโรคนี้จะเกิดกับกลุ่มชายวัยรุ่นหรือวัยกลางคน ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะที่ผิดปกติหรือ Body Dsymophic Diorder : BDD มีอาการผิดปรกติต่อการประเมินภาพลักษณ์ของตนเอง หมกมุ่นและย้ำคิดย้ำทำ กับเรื่องของรูปลักษณ์ตัวเอง ทั้งที่มีรูปร่างที่ปกติ แต่ก็สามารถหาจุดตำหนิได้เสมอ จนเกิดความทุกข์ ความเครียดซึมเศร้า จนกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงานและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ซึ่งข้อสังเกตของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ก็คือ 1. มักจะชอบส่องกระจกนาน ๆ แล้วก็หมกมุ่นกับภาพลักษณ์ของตัวเองจนเป็นสุขและสูญเสียความรับผิดชอบในภารกิจส่วนตัว 2. ชอบเอ่ยปากถามถึงรูปร่างหน้าตาของตนเองกับคนอื่นเสมอ แม้คนอื่นจะยืนยันความปกติแต่ก็ไม่เคยเชื่อ และมักจะถามย้ำเสมอ ๆ 3. หมดความมั่นใจในตัวเอง จนไม่กล้าเข้าสังคม มักแยกตัวจากคนอื่น สูญเสียการสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น และสุดท้ายก็คือการโรคซึมเศร้า โดยโรคนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกาพบได้มากถึงร้อยละ…
-
นักวิจัยศึกษาพบว่า สีของแสงบางสีในช่วงกลางคืน อาจมีผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
นักวิจัยศึกษาพบว่า สีของแสงบางสีในช่วงกลางคืน อาจมีผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ นักวิจัยอเมริกันชี้ว่าสีบางสีจากแสงบางสีที่คนเรามองเห็นในช่วงกลางคืนมีผลให้เกิดอาการซึมเศร้า การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพิ่มเติมจากผลการศึกษาก่อนหน้าที่พบว่าคนที่ได้รับเเสงสลัวๆในช่วงกลางคืน อาทิ แสงจากจอโทรทัศน์ มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้ นักวิจัยได้ทำการทดลองกับหนูทดลองด้วยวิธีการที่ หนูกลุ่มแรกนอนในกรงที่มืดสนิมตลอดช่วงกลางคืน และหนูทดลองอีกกลุ่มหนึ่ง นอนหลับใต้เเสงสีฟ้า ส่วนกลุ่มที่สามได้รับแสงไฟสีขาวและหนูกลุ่มที่สี่ได้รับแสงสีแดง หลังจากนั้นสี่สัปดาห์ นักวิจัยบันทึกปริมาณน้ำที่หนูทดลองดื่ม โดยในน้ำมีน้ำตาลผสม หากหนูเกิดอาการซึมเศร้ามากขึ้นก็จะยิ่งดื่มน้ำชนิดนี้น้อยลง และนักวิจัยได้พบว่า หนูแฮมสเตอร์ที่นอนหลับภายใต้แสงสีฟ้าและแสงสีขาวปรากฏอาการซึมเศร้ามากที่สุด นักวิจัยได้ศึกษาในเรื่องนี้ และชี้แจงว่า ในเเสงสีขาวมีแสงสีฟ้าอยู่ในระดับสูง ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมหนูแฮมสเตอร์ที่นอนหลับใต้แสงสีฟ้าและแสงสีขาวจึงมีอาการซึมเศร้ามากกว่าหนูกลุ่มที่นอนหลับใต้เเสงสีแดงและกลุ่มที่นอนท่ามกลามความมืด สุดท้ายนักวิจัยแนะนำว่าสำหรับคนที่ทำงานในช่วงเลวลากลางวัน และพักผ่อนได้ในเวลากลางคืน ควรจำกัดเวลาในการดูทีวีที่จะมีการปล่อยแสงที่มีสีค่อนไปทางสีฟ้า นี่รวมทั้งคอมพิวเตอร์ด้วยหรือคุณควรใช้แผ่นกรองเเสงติดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อปรับแสงที่ปล่อยออกมาทางหน้าจอกลายเป็นสีค่อนไปทางสีแดง