Tag: ความเครียด

  • โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา

    โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา

    โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา หากคำนวณตามจำนวนประชากรโลกใบนี้แล้ว โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงพอ ๆ กัน ซึ่งพบได้หลายรูปแบบดังนี้ – ผิวหนังเป็นปื้นนูนหนาขนาดใหญ่ และเป็นเรื้อรัง ปื้นมีขอบเขตชัดเจน สีชมพูถึงแดง มีสะเก็ดสีเงินปกคลุม พบได้มากบริเวณ ข้อต่อ ข้อศอก ข้อเข่า แขนขา และหลังส่วนล่าง – ปื้นรูปหยดน้ำ พบได้มากในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นปื้นนูนขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ขึ้นเป็นจำนวนมาก บริเวณลำตัว แขนขา และมีอาการหลังจากการเจ็บคอ – เป็นผื่นบริเวณข้อพับ ขาหนีบ รักแร้ ราวนม – ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นผื่นหนา ๆ ที่ทำให้ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแตกและเจ็บ – เป็นตุ่มหนองทั่วร่างกาย มีไข้ ไม่สบายเจ็บผิวหนัง – เป็นผื่นแดงทั่วตัว มีผิวหนังอักเสบทั่วร่างกายกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไป…

  • ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด

    ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด

    ความเครียด…อาจเป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้หลายชนิด ด้วยการใช้ชีวิตในทุกวันนี้ทำให้เกิดความเครียดในหมูคนไทยกันมากขึ้น ก่อให้เกิดผลเสียหลายประการไม่ว่าจะเป็น ทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน อารมณ์ไม่มั่นคง หงุดหงิด โมโหง่าย ปวดท้อง ปวดหัว ปวดหลังนอนไม่หลับ แล้วยังอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะอาหาร ต่อมไทรอยเป็นเป็นพิษ รวมไปถึงโรคจิต โรคประสาทได้อีก แต่เชื่อหรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว ความเครียดยังเป็นบ่อเกิดของโรคผิวหนังนานาชนิดได้อีกด้วยค่ะ สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้ดังนี้ – ในส่วนผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอยู่แล้ว การมีความเครียดหรือโรคทางใจทำให้โรคกำเริบได้ เช่น ผมร่วง ภูมิแพ้ผิวหนัง เริม คัน สะเก็ดเงิน สิวเห่อ โรคผิวเปลือกไม้ หูด รวมไปถึงลมพิษ – กลุ่มโรคผิวหนังที่ทำให้จิตป่วยและเครียด คือโรคผิวหนังที่ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะภายนอกไม่น่ามอง เช่น สิวรุนแรง ด่างขาว สะเก็ดเงิน เริ่ม ผู้ป่วยจึงเสียความมั่นใจ รู้สึกอับอาย – กลุ่มโรคทางใจที่ทำให้เกิดอาการทางผิวหนัง เช่น โรคชอบดึงผมเล่นจนร่วง โรคหลงผิดคิดว่ามีแมลงหรือพยาธิไต่ตามผิวหนัง โรคฝังใจว่ามีเส้นใยผุดออกมาจากผิวหนัง โรคไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาตนเอง ชอบคิดว่าตนเองไม่สวย ผมบาง ขนดก และชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น…

  • เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ

    เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ

    เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันสร้างความเครียดและความวิตกกังวลให้เราแทบจะทุกช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน มีครอบครัว จนถึงวัยชรา เรามีความเครียดกันตั้งแต่ระดับเล็ก ๆ จนถึงระดับใหญ่ ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อร่างกาย ความเครียดไม่ได้สร้างปัญหาทางจิตใจเท่านั้นแต่ยังสร้างปัญหาต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะเมื่อเครียดก็มักนอนไม่หลับ พาลทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ป่วยง่ายหายยาก ขาดสมาธิ และพัฒนาไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้เสียชีวิตได้ ความเครียดจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว หากรู้ตัวว่าเริ่มเครียดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะสามารถเห็นได้จากอาการดังนี้ ไม่ว่าจะเป็น อาการวิงเวียนศีรษะ มึนงง เบื่ออาหาร หายใจถี่ แรง เร็ว เหงื่อออก กล้ามเนื้อเกร็ง นอนไม่หลับ มือเท้าเย็น หน้าซีด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ฯลฯ หากมิได้เกิดจากโรคอื่น ๆ แล้วก็ให้ลองเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดดังต่อไปนี้ดูนะคะ เทคนิคแรก วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว โดยการนอนราบลงบนพื้นหรือบนที่นอน นอนเหยียดตัวตรง เท้าทั้งสองข้างวางห่างกันเล็กน้อย แขนแนบข้างลำตัว กำมือให้แน่น เกร็งไหล่ ยกไหล่ขึ้น เกร็งไว้ 1…

  • เคล็ดวิธีช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

    เคล็ดวิธีช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

    เคล็ดวิธีช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ความเครียด ความวิตกกังวลทำให้ผู้คนในสังคมเป็นโรคนอนไม่หลับ หรือนอนหลับได้ยากขึ้นกันมาก และมีแนวโน้มที่จะมีอาการหนักขึ้น และเพื่อประชากรที่เป็นโรคนี้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ด้วย บางคนนั้นอาจแค่นอนไม่หลับชั่วคราว แต่บางอาจนอนไม่หลับเป็นสัปดาห์หรือเดือน ๆ ได้เลย จนต้องพึ่งยานอนหลับจนเสพติดยานอนหลับโดยไม่รู้ตัว อย่าเห็นเป็นเรื่องเล่น ๆ นะคะ การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อน สมองจึงไม่สดใส มึนงง ขาดสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน ร่างกายก็อ่อนล้าและอ่อนแอลงไปเรื่อย ๆ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เกิดความผิดพลาดง่ายขึ้นและเกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้นไปตามไปด้วย โดยสาเหตุสำคัญของปัญหานอนไม่หลับในสมัยนี้ก็คือ ความเครียด ความวิตกกังวล การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเจ็บปวดด้วยโรคต่าง ๆ การติดยา หรือปัญหาเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาทและจิตเวช เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับมาเป็นเวลานาน ๆ ควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ ส่วนผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนอนไม่หลับ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามเคล็ดลับต่อไปนี้ดูนะคะ – เข้านอนให้เป็นเวลาและตื่นให้เป็นเวลา ไม่ว่าจะง่วงหรือไม่ง่วงนอนก็ตาม – กำหนดระยะเวลาการนอนให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน – จัดบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมทั้งแสงสว่าง ความเย็นกำลังพอดี ที่นอนไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป หมอนที่มีขนาดความนุ่มพอดี เงียบไม่มีเสียงรบกวน และไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ทั้งหลายรบกวนด้วยจะดีมาก –…

  • รู้จักบริหารจัดการความเครียดเวลาทำงาน

    รู้จักบริหารจัดการความเครียดเวลาทำงาน

    รู้จักบริหารจัดการความเครียดเวลาทำงาน เวลาเราอยู่ในที่ทำงาน การจัดการบริหารอารมณ์และความเครียดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นการช่วยให้จิตใจของเราลดความเครียดลงได้แล้ว ยังช่วยรักษาความสัมพันธ์และบรรยากาศอันดีระหว่างตัวเราและเพื่อนร่วมงานไว้ด้วย แล้วเราจะบริหารจัดการความเครียดและอารมณ์ในแง่ลบกันอย่างไรดี? มาดูกันทีละขั้นนะคะ 1. รู้ให้ทันอารมณ์ตนเอง การรู้ทันอารมณ์ทำให้รู้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไรอยู่ ให้ฝึกจับสังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการแสดงออกไปเสมอ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านดี หรืออารมณ์ด้านลบก็ตามเมื่อเราสามารถรู้ทันอารมณ์ตนเองได้แล้ว ก็จะสามารถควบคุมการแสดงออกได้ ไม่ว่าจะเป็น การยิ้ม การหัวเราะแต่พอดีพองาม รวมไปถึงเวลาโกรธหรือหงุดหงิด เราก็จะไม่ทำอะไรหุนหันพลันแล่น มีเวลาไตร่ตรองถึงผลที่ตามมาอยู่เสมอ 2. เข้าใจว่าการทะเลาะกันนั้น เป็นเพราะต่างคนต่างก็พยายามที่จะรักษาศักดิ์ศรีของตัวเอง เพราะกลัวถูกหยาม กลัวเสียหน้าถ้าต้องยอมตามความคิดคนอื่น การยึดถือศักดิ์ศรีไว้เช่นนี้มีแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกัน 3. เวลาโมโหหรืออารมณ์เสียมาจากที่อื่น อย่าเอาอารมณ์มาลงกับเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่นที่เขาไม่รู้เรื่องด้วย สร้างความขัดแย้งและเข้าใจผิดต่อกันเปล่า ๆ แยกแยะให้ดี แต่คุณก็สามารถขอคำปรึกษาเพื่อระคายความคับข้องใจหรือขอความเห็นใจจากผู้อื่นได้ 4. หัดให้อภัย หัดปล่อยวาง ไม่คิดมาก ไม่จับผิดผู้อื่น จะลดโทสะได้มาก หากรู้สึกเศร้า เสียใจจะร้องไห้ออกมาก็ไม่ผิด แต่ไม่ควรทำในที่ทำงาน ไปที่ระบายในที่ลับตาดีกว่า การร้องไห้เป็นการระบายความกดดันทางอารมณ์ได้ดีแบบหนึ่ง ช่วยให้ผ่อนคลายได้มากขึ้น เราควรหมั่นสังเกตอารมณ์และความรู้สึกตัวเองอยู่เสมอว่าอยู่ในอารมณ์แบบใด เมื่อรู้เท่าทันอารมณ์สามารถควบคุมอารมณ์ไว้ได้ และรู้จักหันเหความเครียดไปทางอื่น ความเครียดของตนเองก็ลดลง และรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นไว้ได้ดีด้วย  

  • โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…

  • มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!

    มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!!

    มาทำความเข้าใจ….กับโรคซึมเศร้า กันเถอะ!!! มีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าอยู่มาก วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ โรคซึมเศร้านี้เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มีอาการซึมเศร้าในระดับที่แตกต่างกันไปตั้งแต่น้อยไปหามาก อาการก็คือจะมีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส เศร้าหมอง หดหู่ เป็นทุกข์ จนถึงท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไม่มีค่า อยากตายและอาจฆ่าตัวตายได้ โดยสาเหตุของโรคนี้มาจากปัจจัยหลายด้านของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อมและชีวภาพ โดยมักเกิดอาการหลังจากความสูญเสียหรือพลัดพรากที่กระทบกระเทือนใจอย่างแรง เช่น บุคคลที่รักตายจาก คนรักตีจาก ความกดดันด้านการเงิน การงาน การเรียน ความว้าเหว่ โดดเดี่ยว ขาดความรักความอบอุ่น เป็นต้น และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผอม ขาดสมาธิ ความจำเสื่อม อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายกิจกรรมและการงานที่เคยชอบทำ ความรู้สึกทางเพศหมดไป อาจเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดและวิตกกังวลง่าย เห็นแต่แง่ร้าย ไม่เห็นทางแก้ปัญหา โดยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หลงผิด หูแว่ว มักเกิดกับผู้ใหญ่วัยต้นจนถึงวันกลางคน เกิดได้ง่ายไม่จำเป็นต้องมีความเครียดเป็นสาเหตุ เป็นอันตรายตรงที่อาจฆ่าตัวตายได้ทุกเมื่อ แต่โรคนี้สามารถตอบสนองการรักษาได้ดี ด้วยการใช้ยาและจิตบำบัดก็จะทำให้หายป่วยได้…

  • หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!!

    หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!!

    หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!! การอยู่ในบ้านหรือในสังคมที่อุดมความสดชื่น เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะสนุกครื้นเครงนั้น ช่วยให้อารมณ์สดใจ จิตใจมีสุขภาพดีขึ้นได้มากเลยนะคะ ยิ่งโดยเฉพาะในครอบครัวใดที่มีคนที่ป่วยหนักอยู่ การสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นในครอบครัว ช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่เราหาเวลาแต่ละวันอยู่ร่วมกัน แล้วผลัดกันเล่าเรื่องราวขำขันแบ่งปันกันฟัง หรือถ้านึกมุขไม่ออกจะเปิดหนังตลก ทอล์คโชว์ขำ ๆ ดูด้วยกันก็ดีเช่นกัน การหัวเราะอย่างเป็นธรรมชาติทำให้ความรู้สึกเกร็งหรือฝืนหมดไป (การรับน้องหรือปฐมนิเทศพนักงานจึงมักเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เพราะช่วยละลายพฤติกรรมให้เปิดใจเข้าหากันได้มากกว่า) อีกทั้งการหัวเราะยังสร้างบรรยากาศดีขึ้นในบ้าน กระชับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วการหัวเราะมีประโยชน์ดังต่อไปนี้อีกค่ะ – การหัวเราะช่วยลดความเจ็บปวด ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น – รักษาอาการซึมเศร้า ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนิน และโดปามีนมากขึ้น จิตใจจึงสงบเยือกเย็น – เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือป้องกันโรคหวัดได้ – การหัวเราะช่วยลดน้ำหนัก เพราะการหัวเราะแม้วันละเพียง 1-5 นาทีต่อวัน สักวันละสิบครั้ง จะช่วยลดความอยากอาหาร จึงมีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งจะแตกต่างกับความเครียดอย่างสิ้นเชิง ยิ่งเครียดน้ำหนักก็ยิ่งขึ้นเพราะอยากอาหารมากกว่าเดิมนั่นเอง – การเปล่งเสียงหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหัวใจได้ เหมาะแม้สำหรับผู้ป่วยที่นอนบนเตียงและผู้สูงอายุด้วย – การหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบนใบหน้า และส่วนอื่น ๆ ที่กระเพื่อมขึ้นลงเวลาหัวเราะ เท่ากับได้บริหารร่างกายเบา ๆ…

  • การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

    การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

    การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ไม่ง่ายเลย.. สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว เพราะโรคนี้จะทำให้เขาเหล่านั้นมีอาการหลงลืม สูญเสียความรับรู้และความรู้สึกนึกคิดไป รวมทั้งการตัดสินใจและการไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เมื่อนานไปก็อาจทำให้ผู้ดูแลป่วยจนกลายเป็นโรคเครียดตามไปอีกคน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แบบนี้ ก็ลองนำเอาวิธีการปรับตัวดังกล่าวต่อไปนี้ไปปรับดูนะคะ – ทำความเข้าใจและยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือทำนั้น ไม่ได้แกล้งหรือเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นความผิดปกติทางสมอง – ไม่ควรโกรธตอบผู้ป่วย เพราะเขาทำไปเพราะอาการป่วยไม่ได้ตั้งใจ – ในเวลาที่เหน็ดเหนื่อยลองหาเวลาพักผ่อน แล้วหาคนมาสับเปลี่ยนดูแลบ้าง อธิบายการดูแลให้คนที่ดูแลแทนคุณเข้าใจ เขาจะได้เข้าใจเห็นใจและเต็มใจมาช่วยเหลือคุณบ้าง – ลองหากำลังใจด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยด้วยกัน จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และจะได้นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน แถมยังได้กำลังใจมาช่วยเหลือกันและกันอีกด้วย – หางานอดิเรกมาทำคลายเครียด หรือออกกำลังกาย โยคะ ทำสมาธิ หรือฟังเพลงคลายเครียด เพื่อผ่อนใจจิตใจด้วยตัวเอง – หากมีความเครียดมาก หรือพยายามรักษาอาการเครียดแล้วไม่ดีขึ้น จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแล้วก็ควรขอรับการรักษาจากจิตแพทย์เถอะนะคะ ความเครียดนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรมีมามากหรือนานเกินไป ควรดูแลตัวเองให้มีความผ่อนคลาย เพื่อจะได้นำกำลังกายไปดูแลผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ    

  • รักษาอารมณ์ให้ดีเข้าไว้ สุขภาพกายแข็งแรงตาม

    รักษาอารมณ์ให้ดีเข้าไว้ สุขภาพกายแข็งแรงตาม

    รักษาอารมณ์ให้ดีเข้าไว้ สุขภาพกายแข็งแรงตาม สาเหตุสำคัญอีกประการที่ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมก็คือ “ความเครียด” นี่เองล่ะค่ะ เพราะว่าเวลาที่เราเครียดนั้น สมองจะหลังฮอร์โมนบางชนิดออกมาทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว ซึ่งเป็นกลไกการป้องกันตนเอง เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการทำบางอย่าง หากกลัวแล้วหนีจะวิ่งได้เร็วกว่าปกติ แต่หากสู้ก็มีกำลังมหาศาลมากกว่าปกติด้วยเช่นกัน ภาวะเครียดน้อย ๆ ทำให้ร่างกายเราตื่นตัวและเตรียมพร้อม แต่หากเครียดมากเกินไปกลับทำลายสุขภาพมากกว่า เมื่อเกิดความเครียดขึ้นมาแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้อยู่กับเรานานเกินไป ควรหาทางกำจัดไปเสียก่อนที่ความเครียดจะลุกลามมากขึ้น เพราะวันทั้งวันเราก็เจอความเครียดในหลายรูปแบบกันอยู่แล้ว ร่างกายเกิดการเกร็งตัวทั้งวัน เมื่อความเครียดเกิดขึ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะติดขัดทุกครั้ง ดังนั้นยิ่งเครียดก็ยิ่งเป็นอันตราย แต่หากเรามีอารมณ์ที่ดี คิดดี ปรารถนาดี ใจดี สมองก็จะหลั่งสารเอนโดรฟินออกมาทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โลหิตหมุนเวียนในร่างกายได้ดี ภูมิต้านทานดีขึ้น ฯลฯ เรียกได้ว่าทุกระบบของร่างกายทำงานสมดุลกันอย่างดีเยี่ยมเลยค่ะ ซึ่งการทางแพทย์แผนจีนนั้นได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าความเครียดส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก การรักษาสุขภาพต้องรักษาอารมณ์และจิตใจให้ดีด้วย – คนที่มักหงุดหงิดขี้โมโห ไม่พอใจสิ่งรอบข้างตลอดเวลา มักจะมีอาการเกี่ยวกับตับ – คนขี้วิตกกังวล เครียดบ่อย จะส่งผลต่อกระเพาะอาหาร – ส่วนคนที่โศกเศร้าเสียใจ มักมีปัญหากับปอด – คนที่ตกใจง่ายหรือหวาดกลัวบ่อย มักจะเป็นโรคไต – แต่หากเป็นโรคซึมเศร้า จะกระทบกับทุกส่วน – แม้แต่อาการดีใจมากเกินไปก็ทำให้หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ ทำให้เป็นโรคหัวใจได้อีกเหมือนกัน…