Tag: ความดันโลหิตสูง
-
ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?
ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม? ในปัจจุบันนี้คนไทยเรามีสติถิการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงกว่า 12 ล้านคน เป็นโรคไต 8 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาตที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมาก ทำร้ายร่างกายได้ในระยะยาว ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำต่อวันถึงสองเท่าตัว หรือประมาณ 5,000 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งมักอยู่ในรูปของเครื่องปรุงรสต่ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอีว ผงชูรส เกลือ กะปิ เครื่องแกง น้ำปลาร้า ผงฟู ฯลฯ อาหารที่เป็นนิยมและมีโซเดียมอยู่มากมักไม่ใช่อาหารสดแต่จะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูป ไมว่าจะเป็น อาหารกระป๋อง อาหารดองเค็ม ตากแห้ง แช่อิ่ม บะหมี่วอง กุนเชียง ลูกชิ้น ไข่เค็ม ขนมถุง ขนมปัง ฯลฯ แม้แต่กับข้าวสำเร็จที่ขายก็ยังมีโซเดียมสูงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา ไข่พะโล้ คั่วกลิ้ง แม้แต่ในอาหารจานเดียวอย่าง ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ ข้าวมันไก่ ก็มีโซเดียมต่อจานตั้งแต่ 1,000-2,000 มิลลิกรัมเลยนะคะ…
-
หลักการเลือกอาหารใส่บาตร เพื่อให้ได้บุญมากยิ่งขึ้น
หลักการเลือกอาหารใส่บาตร เพื่อให้ได้บุญมากยิ่งขึ้น ไม่ได้สอนให้โลภบุญนะคะ แต่จากการที่ได้ไปสนทนากับพระผู้ใหญ่หลายท่าน พบว่าท่านมักจะประสบปัญหาความอ้วน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เนื่องจากอาหารที่บรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชนนำไปประเคนนั้นมักจะเป็นอาหารที่ไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ไข่พะโล้ ขนมไทยหวาน ๆ ขนมทองหยิบ ทองหยอดต่าง ๆ ซึ่งมีแคลอรี่สูงมาก ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกอาหารใส่บาตรเพื่อสุขภาพของพระสงฆ์และเณรน้อยทั้งหลายกันนะคะ ได้บุญกุศลเพิ่มด้วยค่ะ – ควรเลือกอาหารใส่บาตรที่คำนึงถึงสุขภาพ สด สะอาด ปรุงสุกใหม่ และมีไขมันต่ำ ไม่ว่าจะเป็น แกงส้ม แกงเลียง น้ำพริก ผักสด ผักต้ม ปลานึ่ง เป็นต้น – ใส่บาตรด้วยข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะจะมีเส้นใยอาหารสูงกว่าป้องกันโรคเบาหวานและท้องผูกได้ – พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ใหม่ เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันมากเกินไปนัก เน้น เนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่ขาว เต้าหู้ เป็นต้น – เลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล เนย…
-
สัญญาณอันตรายของโรค อัมพฤกษ์ อัมพาต!
สัญญาณอันตรายของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต! โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ โรคหลอดเลือดสมองนั้น นับเป็นโรคที่อันตรายและเป็นสาเหตุของการตายเป็นลำดับต้น ๆ ของคนไทย แม้จะรอดมาได้แต่ก็ต้องอยู่อย่างพิการ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง มีกรรมพันธุ์หรือญาติสายตรงเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ไม่ยอมออกกำลังกาย อ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่ และมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว ผู้ที่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองมักจะสัญญาณเตือนได้แก่ – อ่อนแรงบริเวณใบหน้า แขนขาแบบฉับพลัน และมักจะเป็นข้างเดียวของร่างกาย – จู่ ๆ ก็พูดไม่รู้เรื่อง สับสน พูดลำบาก – ตามัว หรือมีปัญหาการมองเห็นทันทีอาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ – มึนงง เสียสมดุลในการเดินแบบฉับพลันทันด่วน หากพบเห็นผู้ใดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้นแค่ข้อเดียวหรือหลายข้อรวมกัน ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที และควรมาให้ทันภายใน 3 ชั่วโมงที่มีอาการ ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดจากภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต และหายได้ ในส่วนของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนี้ มีแนวทางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ควบคุมความดันโลหิต ระดับของน้ำตาล และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-4…
-
โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร
โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร โรคลมปัจจุบัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจเรียกว่า โรคลมอัมพาต หรืออัมพาตครึ่งซีกก็ได้นั้น คืออาการที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง เป็นอัมพาตขึ้นมาแบบฉับพลัน เมื่อเป็นขึ้นมาควรรีบพาไปโรงพยาบาลโดยด่วน จะช่วยให้หายเป็นปกติหรือลดความรุนแรงของโรคไปได้ โดยโรคนี้นั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งพบได้กว่าร้อยละ 80 และโรคหลอดเลือดสมองแตกพบได้ราวร้อยละ 20 มีภาวะที่อันตรายอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้ แต่ละอาการนั้นมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ มักเป็นผู้ที่มีประวัติเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์มาก อายุมาก อ้วนมาก หรือมีกรรมพันธ์โรคนี้อยู่ในครอบครัว จะมีอาการแขนขาชา เกร็งตามแขนขา ตามัว มองเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้ ปากเบี้ยว หรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วย บางรายอาจปวดหัว เวียนหัวบ้านหมุน หรือมีอาการสับสนก่อนมีอาการอัมพาตตามมา มักมีอาการที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเพียงซีกเดียว 2. โรคหลอดเลือดอุดตัน ที่เกิดจากลิ่มเลือดลอยไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง จะมีอาการเหมือนข้อแรก ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน 3. หลอดเลือดสมองแตก มักเกิดโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุ บางรายอาจเกิดขณะทำงานออกแรงมาก หรือขณะมีเพศสัมพันธ์…
-
10 วิธีขจัดความเครียด
10 วิธีขจัดความเครียด ความเครียดที่ใครต่อใครก็เป็นกันอยู่นั้น ท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตเรา แต่ความจริงแล้วหากมีความเครียดที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพเราได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน หรือฆ่าตัวตาย ตลอดจนเรื่อยจนถึงปัญหากับสังคมรอบข้าง และความจำได้ด้วย ความเครียดจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรหาทางขจัดความเครียดออกไปจะดีกว่าค่ะ 1. หากมีความเครียดที่เกิดจากการต้องไปทำอะไรแปลกใหม่ เช่น การสัมภาษณ์งาน หรือนำเสนอผลงาน ให้ลองนึกภาพเหตุการณ์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น ให้มองเห็นแต่ภาพดี ๆ แต่ความสำเร็จเท่านั้น กับทั้งเตรียมตอบคำถาม แก้สถานการณ์ไว้ด้วย 2. มองด้านดีของปัญหา จะทำให้สบายใจได้มากขึ้น 3. ลองวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าหากมีเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้นจะทำอะไรกับชีวิต เช่น บริษัทปลดออกจากงาน เป็นต้น 4. เวลาสมองเกิดความตึงเครียดให้ใช้วิธีหายใจเข้าออกลึก ๆ 5. สร้างอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนความคิดจากความเครียดหรือเรื่องที่ไม่สบายใจอย่างฉับพลันไปเป็นเรื่องที่ทำให้มีความสุข เช่น มองดูภาพสัตว์เลี้ยง หรือลูก ๆ หรือเด็กทารกที่ทำให้อารมณ์ดี 6. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อดู เพราะความเครียดมากทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว ค่อย ๆ ไล่ผ่อนคลายไปทีละส่วน ๆ 7. การออกกำลังกายให้เหงื่อออกช่วยลดความเครียดได้…
-
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น โรคตับ นั้นมีสาเหตุหลายประการ ซึ่งภาวะไขมันพอกตับนั่นก็เป็นอีกปัญหาที่พบมาก เกิดได้จากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การรับสารพิษสารเคมีต่าง ๆ ภาวะขาดอาหาร หรือได้รับสารอาหารมากเกินไปจนร่างกายสะสมไว้ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในตับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังนั้นกว่าร้อยละ 60 มีภาวะไขมันพอกตับ และมักมีปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ อ้วนลงพุง ไขมันที่ลำตัวมากกว่าแขนขา เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการออกมา กว่าจะรู้ตัวก็มักเป็นโรคตับอักเสบหรือตับแข็งไปแล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นจะแสดงอาการออกมา ซึ่งอาจมีอาการปวดแน่นชายโครงขวา อ่อนเพลียง่าย ๆ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยิ่งควรให้ความใส่ใจกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ได้แก่… – ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ดูแลอาหารการกิน เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ น้ำมัน นม เนย ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง และอื่น ๆ รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งมากด้วย เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับได้ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย – หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อให้ทราบความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตับด้วย และควรดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม –…
-
จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี
จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี แทบทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับความเครียดได้ทั้งสิ้น หากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงหรือตั้งรับให้ดีแล้ว ความเครียดก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งความเครียดนี้เกิดได้หลายปัจจัยทั้งทางด้านการเงิน การงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพ และปัญหาอื่น ๆ การจัดการความเครียดนั้นทำได้หลายแบบ และสี่วิธีนี้คือหนึ่งในวิธีที่ดี 1. หลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เราเครียด ด้วยการรู้จักปฏิเสธ เลี่ยงการเผชิญหน้า ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แล้วเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำในชีวิต 2. เปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียด ด้วยการบอกความรู้สึกของเราต่อผู้ที่ทำให้เราเครียดด้วยความนุ่มนวล หรือการปรับเปลี่ยนตนเองที่เป็นสาเหตุทำให้คนอื่นเครียด จัดสรรเวลาทำงานให้ดีขึ้น เพราะการทำงานหนักหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จนยุ่งทั้งวันนั้นไม่ใช่เรื่องดี จะทำให้เหนื่อยล้าเกินไปและเกิดความเครียดได้ง่ายขึ้นด้วย 3. ปรับตัวให้เข้ากับความเครียด ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ลองปรับเปลี่ยนตัวเองให้ยอมรับหรือเปลี่ยนทัศนคติหรือความคาดหวังจากเดิมไปบ้าง มองปัญหาในมุมใหม่ มองในด้านดี ลดมาตรฐานลง คนที่อยากให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบมักจะเครียดง่ายและทำให้คนอื่นเครียดไปด้วย 4. ยอมรับความเครียด หากหนี ปรับเปลี่ยนหรือควบคุมสาเหตุของความเครียดบางอย่างไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ภาวะการเงินตกต่ำ หรืออุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง วิธีนี้ทำได้ยากที่สุด แต่ดีที่สุดในทุกวิธีที่บอกมา รวมไปถึงการให้อภัยทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลดความขุ่นเคืองและลดความเครียดลงได้ จนสามารถมองเห็นทางออกของปัญหาได้ด้วย…
-
สมาธิแนวผสมผสาน เพื่อการลดระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด
สมาธิแนวผสมผสาน เพื่อการลดระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด การทำสมาธิเพื่อการควบคุมประสาทสัมผัสทั้งหก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส และการเคลื่อนไหวนั้น จะทำให้มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ รวมไปถึงอารมณ์ ภูมิต้านทาน ระบบไหลเวียนเลือด และระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งในเรื่องนี้นั้น รศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติสมาธิ ชี่กง โยคะ การออกกำลังกายแบบ Stretching มาทำสมาธิด้วยเทคนิคการหายใจ ควบคุมประสาทสัมผัสทางตาและหูไปพร้อมกัน จนเป็นรูปแบบของสมาธิบำบัดแบบใหม่ ที่เรียกว่า SKT1-7 ช่วยเยียวยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีสุขภาพดีขึ้นได้ ซึ่งพื้นฐานนั้นให้ลองปฏิบัติตามวิธีดังนี้นะคะ จะนั่งหรือนอนก็ได้ทั้งสิ้น 1. เตรียมท่าทางโดยหากใช้ท่านั่งให้หงายฝ่ามือทั้งสองข้างบนหัวเข่า หากนอนให้วางแขนหงายมือไว้ข้างตัว หรือคว่ำไว้ที่หน้าท้องก็ได้ 2. หลับตาลงช้า ๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ นับ 1-5 กลั้นไว้นับ 1-3…
-
กินดีไม่มีตายเร็ว
กินดีไม่มีตายเร็ว เดี๋ยวนี้คนเรายิ่งโดยเฉพาะคนเมืองด้วยแล้วมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปมาก จึงทำให้รูปแบบการกินอาหารเปลี่ยนไปด้วย พิถีพิถันน้อยลง พึ่งการกินอาหารนอกบ้าน ซื้ออาหารถุง อาหารสำเร็จรูปกินกันมากขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง ทานขนมหวานที่น้ำตาลและไขมันสูงมากขึ้นแทนกินผลไม้ ร่างกายจึงได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน รวมไปถึงเกลือมากเกินความจำเป็น อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่บางคนก็กินผักไม่เป็น พ่อแม่ก็ไม่มีเวลาปลูกฝัง ทั้งบางคนก็ไม่ยอมกินเองด้วย เด็กก็โตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่กินผัก นั่งเล่นอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ กินขนมแทนข้าว วัน ๆ ไม่ออกกำลังกาย โตมาก็มีปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เหมือนผู้ใหญ่ทั้ง ๆ ที่อายุแค่วัยรุ่น ดังนั้นพ่อแม่จึงควรฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับลูก และปลูกฝังให้เด็กได้กลับมาใช้ชีวิตให้สมกับการเป็นมนุษย์ที่แท้จริง ให้ออกกำลังกายบ้างไม่ใช่นั่งหน้าจออย่างเดียว และพ่อแม่ก็ควรทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกด้วย ในด้านของอาหารควรเลือกอาหารกินให้ดีและห่างไกลโรคดังต่อไปนี้ – กินเป็นเวลา กินให้ครบสามมื้อ มื้อเช้ากินให้อิ่ม กลางวันกินพอประมาณ มื้อเย็นควรเลือกทานอาหารเบาๆ โดยให้ห่างจากเวลานอนอย่างน้อยสามชั่วโมง – เลือกทางอาหารตามฤดูกาล เพราะจะปลอดภัยจากสารเคมีมากกว่าอาหารนอกฤดูกาล หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปต่าง ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงรสให้หวานมันเค็มมาก – กินให้พออิ่มและครบถ้วนทั้งห้าหมู่ในแต่ละมื้อ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรเพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ให้มากขึ้น อาจกินผลไม้จำพวกชมพู่ ฝรั่ง แอปเปิลก่อนอาหาร และกินให้ช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด ๆ…
-
สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
สัญญาณเตือนก่อนเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนั้น เกิดจากการที่สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียงจึงสูญเสียการควบคุมร่างกายไป มีสถิติพบว่ามีคนเกิดอาการเช่นนี้ถึงราว 3 ในทุกสองชั่วโมงและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย อาการของสมองขาดเลือดชั่วคราวนั้นอาจมีเพียงอาการเดียวหรือมากกว่าก็ได้ แต่จะมีอาการที่สังเกตและจดจำได้ง่ายดังตัวย่อว่า FAST นี้ ได้แก่ Face ดูที่ใบหน้า จะเห็นว่าเวลายิ้มมุมปากข้างใดข้างหนึ่งตกลงหรือดื่มน้ำแล้วน้ำไหลออกมุมปากข้างใดข้างหนึ่งควบคุมไม่ได้ Arms ดูที่ท่อนแขน จะยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ Speech ดูที่การพูด มีปัญหาทางด้านการพูดแม้แต่ประโยคง่าย ๆ ก็พูดให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ Time สังเกตที่เวลา หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลภายในสามชั่วโมง การจำหลักเหล่านี้จะสามารถสังเกตอาการที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองและจะได้นำตัวเองหรือผู้ป่วยใกล้ชิดส่งแพทย์ได้ทันเวลา จะสามารถช่วยรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยได้กลับมาเป็นปกติหรือใกล้เคียงได้มากที่สุด โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ 1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ตามส่วนสูงและโครงร่าง มีเกณฑ์อยู่ว่าผู้ใหญ่ควรมีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI อยู่ในช่วงระหว่าง 18.5-22.9 2. งดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวาน มีไขมันมาก หรือเค็มจัด กินผัก ผลไม้ที่ไม่หวาน และอาหารพวกธัญพืชเพิ่มขึ้น 3. ตรวจเช็คตัวเองว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงหรือโรคอื่นหรือไม่แล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา 4. ออกกำลังกายในระดับปานกลางอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วันขึ้นไป 5.…