Tag: กระดูกพรุน
-
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด
—
by
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…
-
หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน
หัวใจหลัก 3 ประการห่างไกลโรคกระดูกพรุน หากคุณอยู่ในช่วงอายุหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาโรคกระดูกพรุน เรามาป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ด้วยหัวใจหลัก 3 ประการดังต่อไปนี้ค่ะ หัวใจหลักข้อที่ 1 ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ เหตุผลก็เป็นเพราะว่าผิวหนังของเราจะผลิตวิตามินดีออกมาเมื่อถูกแสงแดด ส่วนอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีนั้นมีจำกัด พบได้น้อยในไขมันปลา และไข่เท่านั้น คนส่วนใหญ่ในโลกไม่ค่อยได้รับวิตามินดีจากแสงแดดเท่าไร เป็นเพราะหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมและมลพิษอยู่มาก การสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด การใช้ครีมกันแดด ผู้คนเริ่มใช้ชีวิตในร่มกันมากขึ้น ฯลฯ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ผลิตวิตามินดีได้น้อยกว่าคนหนุ่มสาวถึงสี่เท่า จึงควรกินวิตามินดีชนิดที่เป็นอาหารเสริมช่วยลดความเสี่ยงในการกระดูกเปราะแตกได้ถึงร้อยละ 20 หัวใจหลักข้อที่ 2 ทานอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนให้พอเพียง ด้วยการดื่มนม ทานผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง น้ำแร่ก็ใช่ด้วย การที่ต้องเสริมโปรตีนเข้าไปด้วยนั้นก็เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างมีความแข็งแรงมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยกระดูกในการรับแรง เสริมแรงกระดูกมิให้แตกหักง่ายได้อีกประการหนึ่ง ในผู้สูงอายุที่ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมวลกล้ามเนื้อลดลง จนส่งผลให้หกล้มกระดูกหักได้ง่าย หัวใจหลักข้อที่ 3 ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก เพิ่มแรงกดให้กับกระดูก และสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อ อย่างเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง การเดินขึ้นลงบันได กระโดดเชือก สเตปแอโรบิค ก็ได้เช่นกัน แล้วยังเสริมความคล่องตัว และความสมดุลของร่างกาย ลดโอกาสการหกล้มลงได้ร้อยละ 25-40…
-
ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ
ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ สำหรับสตรีแล้วมีความเสี่ยงในการกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ถึงร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว การกระดูกหักในช่วงวัยชรานั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตที่ทุกข์ทรมานอีกสาเหตุหนึ่งเลยทีเดียว โดยผู้ที่มีอาการของกระดูกพรุนนั้น ก็คือมักจะกระดูกหักเพราะอุบัติเหตุเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนที่มักจะหักก็คือข้อต่อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังทำให้ปวดหลัง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง , หลงดูโก่งขึ้น หรือกระดูกแตกหักง่าย ซึ่งเป็นอันตรายมาก ควรรับรับการรักษาทันที และป้องกันไว้ก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่านี้ 1. ทานอาหารให้ครบถ้วยทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอาหารตามธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายรับสารอาหารอย่างเต็มที่ ควรทานอาหารให้หลากหลายเพื่อรับวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนตามที่ต้องการ 2. ทานอาหารที่มีแคลซียมทั้งหลาย เช่น นมไขมันต่ำ เต้าหู ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ผักใบเขียวและธัญพืช ฯลฯ 3. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า น้ำอัดลม และอาหารที่ไขมันสูง ที่อาจทำให้เกิดการสลายแคลเซียมจากกระดูก รวมไปถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการมากเกินไป และน้ำตาลด้วย เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ส่งผลให้มีการสลายแร่ธาตุบางอย่างรวมถึงแคลเซียมด้วย 4. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ…
-
เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ
เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปแล้ว พบว่ากว่า 1 ใน 3 นั้นมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งก็คือภาวะที่กระดูกความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย ส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อการดำเนินชีวิตมาก อาจประสบความทุกข์ทรมานและบางกรณีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้จึงถือเป็นโรคที่มีความร้ายแรงโรคหนึ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเอง โดยธรรมชาตินั้นร่างกายคนเราจะมีการสร้างสิ่งที่สูญเสียหรือสึกหรอขึ้นมาทดแทนเสมอ แต่หญิงที่สูงอายุ วัยทองที่หมดประจำเดือน ผู้ที่ขาดสารอาหาร ดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัด ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ คนเหล่านี้จะมีสูญเสียมวลกระดูกเร็วกว่าการสร้างขึ้นใหม่ และในที่สุดก็ทำให้กระดูกเปราะบางลงและหักแตกได้ง่ายแม้ได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย สัญญาณเตือนของภาวะกระดูกพรุนอาจสังเกตได้จากร่างกายที่เตี้ยลง ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม แต่ก็ไม่ทุกราย บางรายไม่มีสัญญาณเตือนเลยจนกระทั่งกระดูกเกิดหักขึ้นมา หากเป็นกระดูกข้อใหญ่หรือสำคัญอย่างกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังจะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และอาจทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้กว่าร้อยละ 20 หลังจากสะโพกหักได้หนึ่งปี พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมนั้นมีโอกาสกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึงห้าเท่า เพราะในน้ำอัดลมมีทั้งคาเฟอีน กรดฟอสฟอรัส น้ำตาล และโซดาทั้งหลาย เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม กลไกร่างกายต้องดึงแร่ธาตุจำนวนมากออกจากกระดูก น้ำอัดลมจึงเป็นอีกสาเหตุสำคัญของภาวะกระดูกพรุน ในปัจจุบันนี้ยังมีวิธีรักษา ได้แต่เพียงยับยั้งการสูญเสียมวลกระดูกและรักษาไปตามอาการเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือควรเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการดูแลร่างกายดังนี้ 1. ดื่มนมและอาหารที่มีแคลเซียม 2. ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกไว้เสมอ 3. งดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 5. หมั่นออกไปรับแสงแดดอ่อนตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี…
-
ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา
ดูแลตัวเองแต่เนิ่น ๆ หากไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังเมื่อเข้าสู่วัยชรา การรักษาตัวเองให้เป็นผู้ห่างไกลโรคอยู่เสมอนั้นเป็นพรอันยิ่งใหญ่ที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา เพราะหากเจ็บป่วยด้วยแม้เพียงโรคโดยเดียว อาจทำให้เสียทั้งเวลาและเงินทองไปกับการรักษามากมาย ยิ่งหากเป็นผู้สูงวัยด้วยแล้ว บางรายต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด ในขณะที่บางคนก็ต้องทำงานตลอดชีวิตเพื่อมารักษาโรคอีก แม้ว่าประชาชนจะมีสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลได้ก็ตาม ก็ยังคงต้องหาเงินเพื่อมารักษาและดูแลตัวเองมากกว่าคนที่แข็งแรงอยู่ดี ดังนั้นเราจึงควรเตรียมสุขภาพเราไว้ให้ดีแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่เมื่อเราเข้าสู่วัยชราแล้วจะไม่ต้องเป็นโรคเรื้อรังให้เป็นภาระทั้งตัวเองและลูกหลานด้วย โดยทั่วไปนั้นเมื่ออายุเข้าเลขสามแล้ว ตลอดทั่วร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคทางสมอง กระดูกพรุน โรคสายตา ฯลฯ ดังนั้นก่อนที่ร่างกายจะเสื่อมถอยลงไปจนเกิดโรคควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ควรคุมการทานอาหารให้ดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง อาหารที่มีเกลือมาก และอาหารรสหวานจัด 2. ควรเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่ด้วย 3. หมั่นออกกำลังกายให้เหมาะสม และเป็นกิจวัตรอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมงขึ้นไป 4. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน อย่าให้อ้วน 5. รักษาสุขภาพจิตให้ดี อย่าให้เครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วย 6. ดูแลตนเองและหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นควรไปพบแพทย์…
-
การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป
การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป หญิงสาวที่อายุเข้า 40 ปีขึ้นไปนั้นจะเริ่มมีภาวะที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงจึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมทั้งเกิดอาการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ก็ได้แก่ – ประจำเดือนมาไม่คงที่ บางช่วงก็มาแบบถี่ ๆ บางทีก็ทิ้งช่วงหลายเดือน สลับกับมาสม่ำเสมอ บางคนก็มีเลือดออกแบบแปลก ๆ อาจมามากสลับกับปกติ หรือมีห้วงเวลาที่แปรปรวน ร้อนวูบวาบ และจะมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในระยะ 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยอาจมีเวลาที่สั้นยาวแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเบาบางลงในระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี – นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก ตื่นบ่อย ตื่นกลางดึก ตื่นเช้ากว่าปกติ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า – ปัญหาของช่องคลอดที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้เนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดบางลง มีความยืดหยุ่นและสารหล่อลื่นลดลง เมื่อร่วมเพศจึงรู้สึกแสบ เจ็บไม่ค่อยสะดวกนัก – เมื่อเข้าสู่วัยทอง การผลิตคอลลาเจนก็จะลดลงด้วย ผิวหนังของสาววัยหมดประจำเดือนจึงเริ่มบางลง ยืดหยุ่นตัวลดลง ผิวแห้งและเห็นรอยเหี่ยวย่นมากขึ้น – ภาวะกระดูกพรุน…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย
ใช้ชีวิตอย่างไร…ห่างไกลมะเร็งร้าย คุณทราบหรือไม่คะว่า หากเราบริหารจัดการวิถีการใช้ชีวิตให้ดีแล้ว จะสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 30-40 เชียวนะคะ แล้วยังสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ อาการไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคกระดูกพรุนได้ด้วย วันนี้มาดูคำแนะนำในการใช้ชีวิตเพื่อให้ห่างไกลจากมะเร็งกันนะคะ 1. คุณควรเลิกบุหรี่ เพราะคุณทราบหรือไม่คะว่าหากคุณสูบบุหรี่มากกว่า 1 ซอง หรือ 20 มวนต่อวันเป็นเวลา 10 ปีนั้น คุณจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า! เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และหากคุณสูบอยู่แล้วเกิดอยากเลิกขึ้นมาก็สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 60 การสูบบุหรี่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดอย่างเดียว แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้อีกด้วย 2. คุณควรเลิกดื่มสุรา หรือหากจำเป็นต้องดื่มเพื่อเข้าสังคมก็จำกัดไว้แค่วันละไม่เกิน 1 แก้ว ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 3 แก้วต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นถึงเกือบสิบเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ถ้าคุณยังไม่เลิกดื่มแล้วยังสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 1 ซองอีก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นเป็น 50 เท่าเลยทีเดียว! น่ากลัวเอามาก ๆ ค่ะ 3. คุณควรปรับพฤติกรรมการกิน ดังต่อไปนี้…
-
สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย
สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย ผู้ที่มีอายุเข้าวัยทองหรือมีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี อันเป็นรอยต่อระหว่างช่วงวัยกลางคนและวัยชรานั้น หลายคนจะมีความเปลี่ยนแปลงในทั้งร่างกายและจิตใจอันมีสาเหตุมาจากการลดลงของการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิง ซึ่งสิ่งที่ร่างกายแสดงออกมานั้นจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ บางเดือนก็มากเกินพอดี หงุดหงิดแต่ก็เหนื่อยง่าย เหงื่อมักออกจนชุ่มตัวในเวลากลางคืน ร้อนวูบวาบ นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับได้ยาก ขี้โมโห ขี้ลืม ฉี่บ่อย ยิ่งเวลาไอหรือจามก็อาจเล็ดออกมา อีกทั้งช่องคลอดยังแห้ง ปวดแสบปวดร้อนหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงในระยะยาวอาจมีอาการของโรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเลือดสูงด้วย ซึ่งได้มีนักวิจัยได้ทำการค้นพบว่า หญิงที่อายุเข้าสู่วัยทองนี้เมื่อได้ทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือจำนวน 25 กรัมเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ผลที่จะได้สามารถลดระดับของ LDL ในเลือดได้ถึง 18% และค่าของไขมันดี ๆ หรือ HDL เพิ่มขึ้นถึง 20% ทำให้อาการวัยทองดังกล่าวข้างต้นลดลงได้ หญิงวัยทองจึงมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงอายุวัยทองนี้ควรทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ชนิดต่าง ๆ ไส้กรอกเจ หรือเนื้อสัตว์เทียมที่ทำจากถั่วเหลือง ไอศกรีมที่ทำจากถั่วเหลือง คัสตาร์ด หรือขนมที่มีไส้ถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสาวที่อายุเข้าวัยทองยังควรดูแลร่างกายดังต่อไปนี้ด้วย – ทานอาหารอย่างหลากหลาย เลือกทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ…
-
ยอมรับความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา
ยอมรับความเสื่อมของร่างกายตามกาลเวลา เมื่ออายุยิ่งมากขึ้นเท่าไร การดูแลสุขภาพก็ยิ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น หากจะเปรียบไปแล้วร่างกายของคนก็เหมือนกับรถที่เก่าลงทุกปี จำเป็นต้องเข้าอู่เพื่อตรวจเช็คสภาพ บำรุงรักษาอยู่เนือง ๆ ร่างกายเราเมื่ออายุมากขึ้นก็ย่อมมีความเสื่อมโทรมลงเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะส่วนใดก็หลีกเลี่ยงความจริงข้อนี้ไปไม่ได้ ซึ่งอาการหรือโรคที่บ่งบอกว่าร่างกายเรากำลังเสื่อมโทรมเอาที่เห็นกันได้ชัด ๆ นั้นก็คือ ตาฝ้าฟาง หูตึง ปวดกล้ามเนื้อ และปวดกระดูก อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงโรคเรื้อรังไม่ติดต่อจำพวก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่พบได้แม้ในคนที่อายุยังน้อยอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เกิดจากวิธีการใช้ชีวิตนั่นเอง แต่คนเราก็ไม่เหมือนรถไปซะหมดทุกอย่าง เพราะคนเราก็ยังมีจิตใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งสุขภาพของคนจะดีได้นั้นผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายก็จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ทุกสัดส่วน ร่างกายจึงจะอยู่กับเรานาน ๆ ไม่เสื่อมโทรมไว หรือเสียบ่อย ๆ แล้วก็ยังใช้การได้ดีจนสิ้นอายุขัย พึงตระหนักไว้ว่าสุขภาพของผู้ที่เข้าวัยชรานั้นเปรียบเหมือนรถเก่าก็ตรงที่ มักจะเสียง่าย ใช้งานหนักมากไม่ไหว แล้วก็ต้องเข้าอู่บ่อย สุดท้ายก็ต้องพัง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแลอย่างเหมาะสม เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นก็ซ่อมแซมตามจำเป็น แต่หากมีปัญหาซับซ้อนก็ควรแยกแยะให้ออกว่าจะปล่อยไปหรือนำไปซ่อม ควรมีสติ มีความรู้ และอย่างกังวลมากเกินไป นอกจากนี้แล้วยังควรหากช่างซ่อม หรือหมอ พร้อมอู่ หรือโรงพยาบาลที่ไว้ใจได้มาดูแลด้วย ผู้สูงวัยทุกท่านจำเป็นต้องแยกแยะให้ได้ว่า อาการชนิดไหนเป็นโรคที่ไม่ต้องรักษา…
-
อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล
อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และคำแนะนำในการดูแล ในผู้สูงอายุนั้นที่มักจะพบกันบ่อย ๆ นอกจากโรคประจำตัวอื่น ๆ แล้วก็ยังมีอาการข้อเสื่อมและกระดูกพรุนที่พบได้บ่อยด้วยเช่นกัน มักเกิดกับข้อใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง และข้อเข่า พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ขาดหายไป จนทำให้กระดูกพรุนและในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเอาไว้ พออายุมากเข้าจึงทำให้ข้อต่าง ๆ รับน้ำหนักส่วนเกินไม่ไหว เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ทำให้ข้อเสื่อมและเกิดความเจ็บปวดขึ้นมาได้ ซึ่งมีสัญญาเตือนด้วยอาการปวดดังต่อไปนี้ 1. มักมีอาการเจ็บแบบขัด ๆ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้เข่า แต่เมื่อได้พักจะรูสึกสบายขึ้น แต่หากทิ้งไว้ไม่ดูแล หรือยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องก็อาจปวดมากจนเดินไม่ไหวก็ได้ 2. ข้อเข่าบวมขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะเมื่อเข่าได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะปวดออกมาจนเห็นได้ชัด หากได้รับการรักษาก็อาจจะบรรเทาลง แต่หากกลับไปใช้งานหนักอีกก็สามารถบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อน หรือเข่าฝืด มักจะเกิดขึ้นตอนที่เข่ายังไม่บวม ลุกนั่งลำบาก ต้องค่อย ๆ ยืดตัวยืน และค่อย ๆ ย่อตัวนั่งจึงจะนั่งลง บางรายเป็นมากจนหัวเข่าผิดรูปหรือเข่าโก่งก็มี ดังนั้นเมื่อมีสัญญาเตือนอาการข้อเข่าเสื่อมแล้ว ควรรีบดูแลตัวเองและเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะรักษาได้ยากดังนี้ค่ะ – อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป รักษาน้ำหนักให้สมดุ – พยายามอย่าใช้เข่าทำงานมากเกินไป เช่น…