Tag: โรคมะเร็ง
-
ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ
ผู้ที่ลิ้นไวต่อรสชาด เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ มีโอกาศเป็นไซนัสน้อยกว่าคนปกติ นักวิจัยแห่งฟลอริด้ากล่าวว่า มีผู้คนในโลกราว 25 % ที่ไวต่อการรับรสอาหารต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นชาวเอเซียและคนผิวดำมากกว่าคนผิวขาว ในขณะที่คนที่ลิ้นค่อนข้างด้านรสนั้นมีอยู่ประมาณ 30 % การไวต่อการรับรสชาดต่างๆ นี้เป็นผลจากจำนวนและความหนาแน่นของปุ่มรับรสที่ลิ้น รวมทั้งจากปัจจัยด้านกรรมพันธ์ด้วย และผู้ที่ลิ้นไวต่อการรับรสมักมีน้ำหนักตัวน้อยและมีรูปร่างผอมกว่าคนทั่วไป เนื่องจากความไวของประสาทสัมผัสเรื่องรสนี้ทำให้ไม่ชอบรสชาดของไขมัน แต่ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็มักเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าเนื่องจากไม่ค่อยชอบรสขมของผักใบเขียวสีเข้ม นักวิจัยชี้ว่านอกจากปุ่มรับรสที่ลิ้นแล้ว ร่างกายของคนเรายังมีปลายประสาทรับรสอยู่ที่ส่วนอื่นๆ เช่นในลำไส้ ในจมูก ในสมอง และเชื่อว่ามีอยู่ในปอดด้วย นักวิจัยเชื่อว่าการมีปลายประสาทที่ไวเป็นพิเศษต่อการรับรสขมในจมูกช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้บุคคลนั้นมีโอกาสติดเชื้อโรคโพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสน้อยกว่าคนทั่วไป
-
สารเคมีต่างๆ ส่งผลให้ร่างกาย ฮอร์โมน และสุขภาพมีผลเสียอย่างรุนแรง
สารเคมีต่างๆ ส่งผลให้ร่างกาย ฮอร์โมน และสุขภาพมีผลเสียอย่างรุนแรง สารเคมีบางชนิดที่เรียกว่า endocrine disrupters สามารถไปรบกวนการทำงานของระบบผลิตฮอร์โมนจนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางสุขภาพได้ เนื่องจากสุขภาพของคนเราขึ้นอยู่กับการทำงานอย่างเป็นปกติของระบบต่อม ที่ทำหน้าที่ควบคุมการปล่อยฮอร์โมนบางชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานบางอย่างของร่างกาย อาทิ ควบคุมระบบเผาผลาญอาหาร การเจริญเติบโตและพัฒนาการ การนอนหลับและอารมณ์ สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมนพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนและในภาคอุตสาหกรรม สารเคมีเหล่านี้เจือปนในสิ่งเเวดล้อมผ่านการปล่อยของเสียจากภาคอุตสาหกรรม จากชุมชนเมือง จากภาคการเกษตร และการเผาขยะหรือทิ้งของเสีย การได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปในร่างกายอาจส่งผลให้ผู้ชายวัยหนุ่มเกิดปัญหาเชื้ออสุจิอ่อนแอและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิง และผู้ชายที่สัมผัสกับยาฆ่าแมลงมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเกิดมะเร็งในต่อมลูกหมาก รายงานนี้เปิดเผยด้วยว่าสารเคมีจำพวกยาฆ่าแมลงดีดีที สารจำพวกพีซีบี และสารปรอทที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนประชากรนากทะเล กับสิงโตทะเลลดลง ผลการศึกษาของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาิติและองค์การอนามัยโลกออกข้อแนะนำหลายประการเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้ ข้อแนะนำอย่างหนึ่งคือการจัดหาวิธีทดสอบที่ครอบคลุมเพื่อระบุว่าสารเคมีชนิดใดบ้างที่มีผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน เพื่อระบุแหล่งที่มาและการรับเข้าสู่ร่างกาย
-
กรณีการผ่าตัดเต้านมของ Angelina Jolie ทางเลือกของผู้มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
กรณีการผ่าตัดเต้านมของ Angelina Jolie ทางเลือกของผู้มีความเสี่ยงมะเร็งเต้านม เนื่องจาก มารดาของนักแสดง Angelina Jolie เสียชีวิตโดยมะเร็งที่รังไข่เมื่อมีอายุเพียง 56 ปี และการตรวจเชื้อพันธุ์ (Gene Testing) ระบุว่า Angelina Jolie มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 87% และ 50% สำหรับมะเร็งรังไข่ นั้นคือสาเหตุที่นักแสดงสาวผู้นี้ ตัดสินใจผ่าเต้านมออกทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้อวงกันโรคมะเร็ง แม้ในขณะนี้เธอยังจะปลอดเชื้อจากโรคร้ายนี้อยู่ การศึกษาของแพทย์พบว่า การกลายพันธุ์ของ Gene โดยเฉพาะ BRCA 1 และ 2 ซึ่งเป็นเชื้อพันธุ์สำคัญสำหรับมะเร็งเต้านมและรังไข่ เพิ่มโอกาสการเป็นโรคร้ายทั้งสองนี้นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยยังพบด้วยว่า ถ้าผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งที่สืบเนื่องกับ BRCA 1 และ 2 ตั้งแต่อายุยังน้อย ลูกสาวอาจเป็นมะเร็งนั้นๆในอายุที่น้อยกว่าเมื่อมารดาเป็น ถ้ารับถ่ายทอดเชื้อพันธุ์นั้นมาจากมารดา และแม้ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมเพราะเชื้อพันธุ์ BRCA จะมีอัตราการอยู่รอดเท่ากับผู้หญิงอื่นๆที่เป็นโรคเดียวกัน นายแพทย์ Marc Boisvert ของโรงพยาบาล Medstar Washington บอกว่า มีความแตกต่างกันอย่างมากในหมู่ผู้หญิงเหล่านี้นายแพทย์ผู้นี้บอกว่า…
-
หน่วยงาน Gavi alliance รณรงค์ให้เด็กหญิงทั่วโลก ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
หน่วยงาน Gavi alliance รณรงค์ให้เด็กหญิงทั่วโลก ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ด็อกเตอร์เบริ์กลี่ผู้เชี่ยวชาญแห่งหน่วยงาน Gavi alliance กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส human papilloma หรือ HPV บางชนิดซึ่งติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธุ์ ด็อกเตอร์เซ็ธ เบริ์กลี่ กล่าวว่ามะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลก ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหนึ่งคนเสียชีวิตทุกทุกสองนาที มะเร็งชนิดนี้คร่าชีวิตผู้หญิงมากกว่าการคลอดบุตร ประมาณว่ามีผู้หญิงราว 275,000 คนเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกทุกปีทุกปีและ 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้เป็นหญิงในประเทศกำลังพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากไม่มีแนวทางออกมาจัดการ คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเป็นสี่แสนสามหมื่นรายต่อปีภายในอีก 17 ปีข้างหน้า หน่วยงาน Gavi alliance ได้เลือกประเทศกำลังพัฒนาแปดประเทศเพื่อเริ่มโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้ ประเทศทั้งแปดนี้ได้แก่ กาน่า แคนยา มาดากัสก้า มาลาวี ไนเจอร์ เซียร่า ลีอง และแทนซาเนีย ในทวีปอาฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าและประเทศลาวในเอเชีย หน่วยงาน Gavi alliance กล่าวถึงเรื่องการรณรงณ์ครั้งนี้ว่า จะฉีดวัคซีนให้แก่จำนวนหนึ่งแสนแปดหมื่นคน โดยจะเริ่มในแคนยา กาน่าและเซียร่า ลีอง เป็นสามประเทศแรก ทางหน่วยงานยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มประเทศใดก่อนและหลัง ส่วนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในแทนซาเนียจะเริ่มในปีหน้า การฉีดวัคซีนจะจัดทำภายใต้โครงการของโรงเรียน แต่ด็อกเตอร์เบิร์กลี่กล่าวว่ายังต้องมีการทำงานเพิ่มเติมในการพยายามให้บริการฉีดวัคซีนนี้แก่เด็กหญิงที่ไม่ได้ไปโรงเรียนด้วย…
-
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of California ในซานฟรานซิสโกชี้ว่าการบำบัดโรคด้วยเซลล์เป็นแนวทางการรักษาโรคแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการบำบัดโรคร้ายแรงหลายๆโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์ Systems and Synthetic Biology ที่มหาวิยาลัยกล่าาว่าเราสามารถกระตุ้นให้ระบบการต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติในร่างกายคนเราทำงานได้มากกว่าที่ทำอยู่ ร่างกายคนเราสร้างขึ้นจากเซลล์และภายในร่างกายคนเรา มีเซลล์หลายประเภท อาทิ เซลล์ภูมิต้านทานที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ร่างกายคนเรามีระบบบำบัดที่ซับซ้อนหลายอย่างอยู่ในตัว เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าจะใช้เซลล์เหล่านี้ให้ทำหน้าที่เหมือนยาที่สามารถบำบัดโรคได้ในตัวได้อย่างไร ทีมวิจัยได้เริ่มต้นพัฒนายุทธวิธีบำบัดโรคด้วยเซลล์ที่ซับซ้อนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของพันธุกรรมในการกำหนดพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เขายกตัวอย่างว่าเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตามธรรมชาติที่ต่อสู่กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอ่อนแอ ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการตกแต่งพันธุกรรมเซลล์ภูมิต้านทานให้เพิ่มจำนวนขึ้นและยังกำหนดให้ทำหน้าที่กำจัดโมเลกุลที่พบในเซลล์มะเร็งเป็นการเฉพาะ เขากล่าวว่าจาการทดลองบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรม ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี ก่อนจะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยได้ทั่วไป การบำบัดโรคด้วยเซลล์ภูมิต้านทานตกแต่งพันธุกรรมนี้จะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยอีกมากมายหลายครั้งโดยทีมนักวิจัยเอกเทศและโดยหน่วยงานควบคุมของรัฐบาลเสียก่อน การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการบำบัดโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมมีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้ที่จะนำวิธีบำบัดโรคแบบนี้ไปใช้และยังจะมีบทบาทช่วยในการพัฒนาให้การบำบัดแนวใหม่นี้ดีขึ้น สุดท้ายนักวิจัยกล่าวว่ายารักษาโรคมากมายที่เราใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยล้วนเริ่มต้นมาจากสารธรรมชาติในพืชหรือในต้นไม้ ที่เรานำมากลั่นกรองจนมีความบริสุทธิ์และเพิ่มประสิทธิิผลในการรักษา ตลอดจนลดความเป็นพิษ การบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมก็จะต้องผ่านขั้นตอนเดียวกันนี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย
-
ผลการวิจัยชิ้นใหม่ พบว่า ประชากรโลกมีปัญหาฟันผุและโรคเหงือก
ผลการวิจัยชิ้นใหม่ พบว่า ประชากรโลกมีปัญหาฟันผุและโรคเหงือก นักวิจัยสำรวจประชากรทั่วโลก พบว่า มีประชากรที่ฟันผุและเป็นโรคเหงื่อจำนวนมาก และผู้เชียวชาญด้านสุขภาพปากได้กล่าวว่า การที่เป็นโรคเหงือก หรือ ฟันผุนั่น สามารถนำไปสู่ปัญหาสภาพทางจิตใจได้ด้วย โรคฟันผุในฟันแท้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า carries ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโรคฟันผุเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุความเสี่ยงอย่างเดียวกับโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษาเรื่องนี้พบว่าโรคฟันผุพบเพิ่มขึ้นมากที่สุดในชาติแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าและชาติหมู่เกาะทางใต้ ตะวันตกและกลางมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ก็ยังพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีประชากรที่เป็นโรคฟันผุเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอาหารที่ได้รับประทานเข้าไปนั้น มีน้ำตาลสูงมา นอกจากน้ำตาลจะทำให้ฟันผุและเป็นสาเหตุของโรคเหงือกแล้ว ยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคอ้วนอีก แต่แปลกที่ประชากรที่อยู่ในประเทศที่พัฒนากลับไม่ได้มีการดูแลรักษาช่องปากอย่างจริงจัง แต่ก็ยังมีบ้างที่ใช้วิธี เติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มเพื่อช่วยป้องกันอาการฟันผุ ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสกล่าวว่าการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มมีความสำคัญมากจากผลการศึกษาเรื่องนี้ในอเมริกา ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มช่วยลดปัญหาโรคฟันผุลงได้อย่างมากในอเมริกา นักวิจัยหวังว่าชาติแอฟริกาและเอเชียจะมองเห็นปัญหาสุขภาพที่มาจากประเทศพัฒนาเเล้วนี้เเละเลี่ยงเจริญรอยตามในด้านโภชนาการ ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสยังเรียกร้องให้มีการปรับนิสัยการบริโภคให้หันไปรับประทานอาหารที่ดีต่อสุภาพ ตลอดจนมีการพัฒนาวัสดุและวิธีการรักษาโรคฟันผุใหม่ๆที่ราคาถูกลงด้วย
-
องค์การอนามัยโลก ชี้เรื่องสุขภาพของผู้หญิงในวัยต่างๆ
องค์การอนามัยโลก ชี้เรื่องสุขภาพของผู้หญิงในวัยต่างๆ รายงานขององค์การอนามัยโลกชี้ว่า สุขภาพของผู้หญิงทั่วโลกที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นโดยเฉลี่ยแล้ว ดีขึ้น แต่ช่องว่างของช่วงอายุระหว่างผู้หญิงในประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจนกลับห่างมากขึ้น รายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ระบุว่า โรคร้ายที่ทำให้ผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปทั่วโลก เสียชีวิตมากกว่าโรคอื่นๆ คือ โรคหัวใจ โรคเส้นโลหิตอุดตัน หรือ Stroke และมะเร็ง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาเสียชีวิตเพราะโรคเหล่านี้ในขณะที่อายุน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศร่ำรวย เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกผู้นี้ให้ความเห็นว่า บางทีประเทศที่เป็นผู้ให้เงินช่วยเหลือประเทศยากจน อาจเปลี่ยนเป้าหมายจากการลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาในประเทศต่างๆในแอฟริกา มาเป็นการบำบัดรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเหล่านี้บ้างก็ได้ ในเมื่ออัตราการเสียชีวิตของมารดาลดลง แต่อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้หญิงวัยสูงกว่า 50 ปี กำลังเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้ขององค์การอนามัยโลก พบว่า โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงวัย 50 ปีขึ้นไปมีช่วงอายุยาวขึ้น 3.5 ปี ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา
-
นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบโปรตีน ที่ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบโปรตีน ที่ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบโปรตีนชนิดใหม่ ที่มีชื่อว่า ether lipid ที่ช่วยระงับระงับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดที่ลุกลามรวดเร็ว นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัย California ได้ แปลงเซลล์ผิวหนังให้เป็นเซลล์มะเร็งในจานเพาะเชื้อ จากนั้นทำให้ enzyme AGPS หมดสภาพการทำงาน enzyme AGPS เป็น enzyme สำคัญในการสร้างโปรทีน ether lipid จากนั้น นักวิจัยฉีดเชื้อเซลล์ผิวหนังที่เป็นมะเร็งที่เพาะไว้ และเซลล์มะเร็งเต้านมที่ลุกลามเร็วให้หนูในห้องทดลอง ผลก็คือหนูเป็นมะเร็งอย่างรวดเร็ว แต่เพราะว่านักวิจัยได้ทำให้ enzyme AGPS หมดสภาพการทำงาน เซลล์มะเร็งในหนูจึงไม่เติบโตและไม่ลุกลามออกไป แต่ มะเร็งในจานเพาะเชื้อยังแพร่ตัวออกไปได้ แต่สามารถระงับการเติบโตในหนูได้ แต่สำหรับเนื้องอกที่ไม่เป็นเนื้อร้ายก็มีโปรทีน ether lipid นี้อยู่ด้วย แต่มีอยู่ในระดับต่ำ และเขาหวังว่า การทำให้ enzyme AGPS หมดสภาพการทำงาน จะป้องกันไม่ให้เนื้องอกกลายเป็นเนื้อร้ายได้ ขณะนี้ นักวิจัยกำลังพยายามพัฒนายาที่มุ่งเป้าไปที่ enzyme AGPS และหวังว่าเมื่อใช้ควบกับการทำเคมีบำบัด จะช่วยให้รักษามะเร็งที่รักษาได้ยากหลายชนิด นักวิจัยผู้นี้กล่าวไว้ด้วยว่า การปิดกั้นการทำงานของ enzyme AGPS จะไม่บำบัดรักษามะเร็งได้ทุกชนิด แต่เชื่อว่าจะเป็นวิธีรักษามะเร็งที่ได้ผลมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับการทำเคมีบำบัด
-
“Odoreader” เครื่องตรวจค่ามะเร็งจากกลิ่นปัสสาวะ
“Odoreader” เครื่องตรวจค่ามะเร็งจากกลิ่นปัสสาวะ นักวิจัยจากสถาบัน Biosensor Technology แห่งมหาวิทยาลัย West of Englan ได้วิจัยและพัฒนาเครื่อง “Odoreader” หรือ “เครื่องตรวจจับกลิ่น” ที่สามารถตรวจค่ามะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้จากกลิ่นปัสสาวะ เครื่อง “Odoreader” นี้มีเซนเซอร์ตรวจวัดระดับสารเคมีในก๊าซ ที่ขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ ก่อนจะประมวลและแสดงผลได้ในเวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น โดยสามาระบุว่าบุคคลเจ้าของปัสาวะคนนั้นเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ เนื่องจากเครื่องมือตรวจกลิ่นหาค่ามะเร็งนี้ ทำงานคล้ายกลับจมูกของสุนัข และ เจ้าเครื่องมือตรวจกลิ่นนี้ น่าจะสามารถนำไปใช้ตรวจสุขภาพของเหล่าคนงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมยางและฉนวนรังสี ซึ่งเป็นอาชีพที่เสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า ก๊าซชนิดไหนที่พบในปัสสาวะและเป็นตัวบ่งชี้ว่าคนนั้นๆป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และเป็นเรื่องที่พวกเขากำลังหาคำตอบอยู่ โดยคิดว่า จะสามารถพัฒนาต่อไปจนสามารถผลิตเครื่องตรวจมะเร็งจากกลิ่นนี้ออกวางจำหน่ายให้ใช้ในวงการแพทย์และโรงพยาบาลได้ในอนาคต แนวคิดการตรวจหามะเร็งกลิ่นปัสาวะ ยังเปิดทางให้สำหรับการค้นคว้าพัฒนาเครื่องมือตรวจกลิ่นเพื่อตรวจหาค่ามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ อีกด้วย
-
การตรวจเลือดในผู้หญิงที่แข็งแรง สามารถช่วยให้ระวังมะเร็งปากมดลูกได้
การตรวจเลือดในผู้หญิงที่แข็งแรง สามารถช่วยให้ระวังมะเร็งปากมดลูกได้ ทีมนักวิจัยอเมริกันได้ทดลองใช้การตรวจเลือดหาโปรตีน CA-125 เพื่อช่วยตรวจหาโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก กองทุนโลกเพื่อการวิจัยนานาชาติด้านมะเร็ง (World Cancer Research Fund International) เปิดเผยว่าเกือบ 2 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งทุกปีทุกปีทั่วโลก เป็นมะเร็งปากมดลูก คุณเเคเร็น ลู หัวหน้าภาควิชามะเร็งปากมดลูก (Gynecologic Oncology) แห่งมหาวิทยาลัย Texas M.D. Anderson Cancer Center ในเมืองฮูสตั้น กล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ รู้ตัวว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ตอนที่มะเร็งอยู่ในระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่เหลือโอกาสในการบำบัดให้ได้ผลน้อยมาก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น ประสิทธิผลของการบำบัดจะสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ทีมนักวิจัยที่นำโดยคุณแคเร็น ลู เห็นว่าการตรวจเลือดผู้หญิงที่เเข็งเเรงดีตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นได้ ทีมแพทย์ใช้การตรวจเลือด ที่ตรวจหาระดับของโปรตีนที่เรียกว่า CA-125 ซึ่งเป็นปัจจัยในการยืนยันผลวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก และยังใช้ในการตรวจดูความคืบหน้าผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย คุณลูและทีมงานได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้วิธีตรวจเลือดหาระดับโปรตีน CA-125 เพื่อหามะเร็งปากมดลูกในหญิงที่อายุมากขึ้นและในหญิงวัยหมดประจำเดืิอน การศึกษานี้ยาวนานถึง 11 ปี มีผู้หญิงชาวอเมริกันที่ร่างกายเเข็งเเรงดีถึง 4,000 คนเข้าร่วมในการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาอายุ…