ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป

ทำความเข้าใจกันใหม่ แคลเซียมไม่ได้รักษากระดูกได้ทุกโรคเสมอไป

หากจะพูดถึงโรคกระดูกที่พบกันได้มากในประเทศไทยนั้น ก็เห็นจะไม่พ้น โรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ซึ่งทั้งสามโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน การรักษาก็มีความแตกต่างกันไป แต่ก็ยังการถูกนำไปโฆษณาขายแคลเซียมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการให้ข้อมูลและคำแนะนำที่ผิด ๆ เกี่ยวกับแคลเซียมและการรักษาโรคกระดูกอยู่มาก แม้แต่แพทย์หลายท่านก็ยังนิยมให้ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ทานแคลเซียม โดยไม่ได้พิจารณาถึงชนิดของโรคที่เป็นจริง ๆ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้วยังอาจสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุอีกด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียงและฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของแคลเซียมอีกต่างหาก การจะใช้แคลเซียมมารักษาโรคกระดูกได้ตรงจุดนั้นควรรู้จักกับโรคกระดูกทั้งสามแบบข้างต้นเพื่อให้เห็นความแตกต่างก่อน ดังต่อไปนี้

1. โรคกระดูกเสื่อม
เป็นโรคที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก ฯลฯ การเสื่อมนี้หมรยถึงการเสียความยืดหยุ่น เกิดความเสื่อมและสึกหรอ จึงทำให้ปวดขัดตามข้อ ข้อโปนและผิดรูป พบมากในผู้ใช้แรงงาน ผู้ที่ใช้ร่างกายมาก และผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษาในโรงพยาบาล หมอก็จะจ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม และกลูโคซามีนให้ด้วย แต่หมอไม่ได้รู้เลยว่า แคลเซียมและยาลดกรดนั้นกินด้วยกันอาจทำให้ท้องผูก และแคลเซียมไม่มีประโยชน์อะไรกับโรคเลย การรักษานั้นก็คือการให้ยาบรรเทาปวด ลดการใช้งานข้อนั้น และให้ยาเสริมกระดูกพวกกลูโคซามีนเท่านั้นก็เพียงพอ

2. โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง หรือเรียกว่ากระดูกผุ
เป็นการเสื่อมของกระดูกแข็งซึ่งมีเนื้อเยื่อกระดูกและแคลเซียมลดลง ทำให้กระดูกทรุดและแตกหักได้ง่าย มักพบได้มากในผู้สูงอายุและสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งโรคนี้แหล่ะที่เป็นจุดขายของแคลเซียมและอาหารเสริมต่าง ๆ ซึ่งมักจะจำหน่ายหรือสั่งให้กินกันจนลืมคำนวนไปถึงเรื่องของแคลเซียมที่คนไข้จะได้รับจากอาหารอื่น หรือเป็นเกลือแคลเซียมชนิดใดแตกตัวแล้วให้แคลเซียมอิสระขนาดไหน และถ้าบริโภคมากไปจะเกิดผลเสียอย่างไร เป็นเรื่องที่แพทย์มักไม่ได้พิจารณา

3. โรคกระดูกอ่อน
เป็นโรคที่กระดูกขาดแคลเซียมโดยที่เนื้อเยื่อกระดูกปกติ มักพบได้ในคนที่ขาดวิตามินดี เด็กช่วงอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี คนที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง คนแก่ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวและไม่ได้ถูกแสงแดด ผู้ป่วยไตพิการหรือมีผู้มีต่อพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคนี้ล่ะค่ะที่เป็นโรคขาดแคลเซียมอย่างแท้จริง และต้องได้รับการรักษาด้วยแคลเซียมและวิตามินดี รวมทั้งการแก้ไขที่ต้นเหตุด้วย