โรคพาร์กินสัน หรือโรคสั่นสันนิบาต
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการแพทย์ตั้งแต่ราวสองร้อยปีก่อน โดยในอดีตมักเข้าใจว่าโรคนี้มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ปัจจุบันนี้ทราบชัดแล้ว่า พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นที่เนื้อสมองส่วนลึก ในระยะแรก ๆ ของโรคแพทย์จะยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ แต่เมื่อติดตามผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่งอาการต่าง ๆ ก็จะปรากฎชัดเจนขึ้น
กลไกการเกิดโรคพาร์กินสันนั้น เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองก็คือ โดพามีน และอะซิทิลโคลีน โดยปกติจะอยู่ในสภาวะสมดุล แต่เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดพามีนตายไปก็จะเสียสมดุล จนทำให้ร่างกายเสียสมดุล เคลื่อนไหวผิดปกติ จนกลายเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งอาการทางระบบประสาทที่โดดเด่นของพาร์กินสันมีอยู่สามประกอรได้แก่ อาการเกร็ง สั่น และเคลื่อนไหวได้ช้า
แนวทางในการรักษาโรคพาร์กินสัน มีหลักก็คือต้องเพิ่มระดับของสารโดพามีนในสมอง ด้วยการให้ยาหรือการกระตุ้นสมองให้สร้างโดปามีนเพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่ใช้ยาไม่ได้ผลก็จะเป็นการผ่าตัดด้วยการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง ซึ่งหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและสามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์, การรักษาด้วยสารกระตุ้นเซลล์ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย, การรักษาด้วยยีนบำบัด ก็ยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการทดลองวิจัยเช่นกัน
การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด
– ป้องกันมิให้เดินหกล้มด้วยการเลือกสวมรองเท้าที่มีพื้นยาง เก็บกวาดของใช้ในบ้านบนพื้นอย่างให้เกะกะ ติดตั้งราวจับไว้ในห้องน้ำ ทางเดินและบันได
– ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายบริหารร่างกายตามสมควรและสม่ำเสมอ จะทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการซึมเศร้าด้วย
– ผู้ป่วยพาร์กินสันอาจท้องผูกได้ง่าย เพราะการบีบตัวของลำไส้จะผิดปกติ
แม้ในอดีตโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้ จนต้องนอนกับเตียงจนตายเพราะโรคแทรกซ้อน แต่ในปัจจบันนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจึงดีขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้นอีกด้วย
Leave a Reply