โฆษกสภา กทม. เผย ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น
กทม. ชี้ ผู้ใหญ่ป่วยเป็นไข้เลือดออกมากขึ้น ปัจจุบันไม่ใช่แค่เด็กเล็กที่สามารถติดไข้เลือกออกได้ง่ายเพียงอย่างเดียว เพราะปัจจุบันยุงลายเพิ่มขึ้นหนัก จากบ้านที่มีน้ำขัง หรือตามแหล่งน้ำภายในชุมชน ที่ไม่ได้มีการกำจัดแหล่งกำเนิดของยุงลายอย่างจริงจัง
กทม. จึงออกโรงเตือนประชาชนให้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามบ้านหรือแหล่งน้ำต่างๆภายในบ้าน พลังจากพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย เผย สถิติพบผู้ป่วยมีอายุเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง จากเมื่อก่อนคิดว่าเด็กเท่านั้นที่เสี่ยงป่วยโรคนี้ ระบุลูกน้ำยุงลายไม่ได้อาศัยตามแหล่งน้ำนอกบ้านอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่อยู่ข้างในบ้านกับคนตลอดเวลา
กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 1 ราย ในพื้นที่ห้วยขวาง ทราบชื่อ นางสาวนลิตา ขำหาร อายุ 21 ปี อาศัยอยู่ชุมชนลาดพร้าว 80 โดยเสียชีวิตที่ รพ.พระมงกุฎฯ เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเร่งติดตามสถานการณ์และระดมหน่วยงานในการลงพื้นที่ฉีดพ่นหมอกควัน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยด่วน อีกทั้งในหลายพื้นที่ยังมีรายงานว่าพบจำนวนยุงลายจำนวนมาก ประชาชนจึงได้ร้องเรียนมายังสมาชิกสภา กทม. เพื่อส่งทีมงานเข้าไปฉีดพ่นหมอกควัน ซึ่งตนได้ส่งเครื่องพ่นจำนวน 5 เครื่อง ลงพื้นที่เพื่อบริการอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ยังพบว่าสถานการณ์ยุงลายยังน่าเป็นห่วงและอาจจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เพราะไม่อยากให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตซ้ำรอยอีก
กทม. ยังเผยอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงอยู่แล้ว ซึ่งผู้เสียชีวิตด้วยไข้เลือดออกรายนี้ เป็นผู้เสียชีวิตรายแรก ของปี อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานของ กทม.ได้ดำเนินการกำจัดยุงลายอยู่ตลอด แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่าสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอายุเพิ่มสูงขึ้น จากที่เมื่อก่อนหน่วยงาน กทม.เข้าใจว่ามีแต่เด็กเท่านั้นที่เสี่ยงเป็นไข้เลือดออก แต่ปัจจุบันผู้ใหญ่ที่อายุมากแล้วก็ป่วยมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง ดังนั้นอยากเตือนให้ประชาชนทุกบ้านช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอยู่เสมอ ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดว่าลูกน้ำยุงลายอาศัยอยู่ตามท่อน้ำทิ้งหรือน้ำครำต่างๆ แต่ความจริงไม่ใช่ นั่นเป็นเพียงยุงรำคาญเท่านั้น ส่วนลูกน้ำยุงลายชอบกินเลือดคน จึงอาศัยอยู่ภายในบ้านกับคนตลอดเวลา และชอบอยู่ในน้ำนิ่งและใสสะอาด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องเตือนอยู่บ่อยๆ ให้คว่ำภาชนะใส่น้ำในบ้าน เช่น ขารองตู้กับข้าว แจกัน บ่อปลา เป็นต้น ซึ่งจุดเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ลูกน้ำยุงลายไปวางไข่และฟักตัวได้” ผอ.สำนักอนามัยกล่าว.
Leave a Reply