Category: ไซนัส
-
ผื่นลมพิษอาจกำเริบในหน้าหนาวได้
ผื่นลมพิษอาจกำเริบในหน้าหนาวได้ ผื่นลมพิษ ก็คือการคันบนผิวหนัง อาจมีลักษณะบวมเป็นผื่นปื้นแดง มีขนาดต่าง ๆ กันไป ไม่มีขึ้น เกิดขึ้นและกระจายตัวได้เร็ว มักอยู่ไม่นาน หายได้เองโดยไม่มีร่องรอยอะไร แต่ก็อาจมีผื่นใหม่เกิดขึ้นในที่อื่น ๆ ได้อีก ซึ่งมีสาเหตุที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น… – อากาศที่หนาวเย็นลง – ผื่นที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เกิดลมพิษทุกครั้งหลังเล่นกีฬาจนเหงื่อออก – ผื่นบริเวณที่ถูกเข็มขัดหรือยางยืดเสื้อผ้าที่สวมอยู่กดรัดแน่นเกินไป – แพ้อาหาร หรือสิ่งที่ผสมอยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นสารแต่งสี แต่งรส แต่งกลิ่น สารกันบูด หรือสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ – การแพ้ยา บางชนิดก็อาจเป็นยาที่นึกไม่ถึงได้ เช่น วิตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดตา หยอดหู หรือยาแผนโบราณต่าง ๆ – เกิดลมพิษเพราะติดเชื้อ ที่พบได้บ่อยก็คือการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเช่น หวัด ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เป็นต้น เมื่อเกิดผื่นลมพิษไม่ควรเกาผิวหนัง เพราะอาจทำให้เป็นแผลและอักเสบได้ หากคันมากให้ทาด้วยคาลามายน์โลชั่นเพื่อลดอาการคัน ในรายที่เป็นรุนแรง (ซึ่งอาจพบได้น้อยมาก)…
-
รู้จัก…โรคลมพิษกันค่ะ
รู้จัก…โรคลมพิษกันค่ะ อาการผื่นคันที่กระจายตัวไปทั่วร่างกายไม่ว่าจะเป็น แขนขา หน้า ตัว นั้นคือโรคลมพิษที่พอเห่อขึ้นมาทีหนึ่งก็ทำให้คันไปทั่วร่างและทรมานมากเหลือเกิน นอนก็นอนไม่ได้ เมื่อไปหาหมอแล้วก็ได้ยามาทาน ดีขึ้นอยู่พักหนึ่งแล้วก็เป็นใหม่อีก เป็น ๆ หาย ๆ อยู่ตลอดชีวิตอย่างนี้จะทำยังไงกันดีล่ะ ก่อนอื่นนั้นต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า ผื่นลมพิษสำหรับแต่ละคนนั้นอาจมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป บางคนเป็นเพราะความเย็น แต่บางคนก็มักเป็นเพราะความร้อน.. เช่น – เกิดผื่นขึ้นทุกครั้งเวลาเล่นกีฬาจนเหงื่อออก เหมือนคนแพ้เหงื่อตัวเอง – ลมพิษบริเวณที่สวมเสื้อผ้ารัดแน่น เช่น ตามแนวเข็มขัดหรือยางยืด – ลมพิษจากการแพ้อาหาร ที่มีส่วนผสมของสารกันเสีย สีผสมอาหาร หรือสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ – บางคนก็เกิดจากการแพ้ยา ซึ่งก็สามารถแพ้ได้ทุกชนิดว่าจะเป็น ยาถ่าย ยาระบาย วิตามิน ยาหยอดตา ยาแผนโบราณ ฯลฯ แพ้ได้หมดทุกอย่าง – และผื่นลมพิษสำหรับบางคนก็เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ทอนซิลอักเสบ หวัด ไซนัสอักเสบ ฯลฯ การป้องกันสำหรับคนที่มักจะเป็นผื่นลมพิษก็คือ เมื่อทราบว่าตนเองแพ้อะไรแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการแพ้นั้น แล้วลมพิษก็จะหายไปหรือบรรเทาอาการลงได้เอง แต่ผู้ที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นลมพิษเรื้อรังเพราะอะไร หรือรู้สาเหตุแต่แก้ไขได้ยากก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อพิจารณะใช้ยาควบคุมอาการ…
-
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ เป็นกันมากที่สุด ยิ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้าไปอยู่ในเนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาลทั้งหลายแล้ว ยิ่งติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนเป็นหวัดแทบทุกเดือน เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้นั้นมีมากกว่าสองร้อยชนิด อาการของเด็กที่เป็นหวัดนั้น โดยมากจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดด้วยการให้เด็กจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ กินอาหารเหลวหรืออาหารที่ย่อยง่าย หากยังกินนมแม่อยู่ก็ให้ดูดนมบ่อยขึ้น ดูแลน้ำมูกให้จมูกโล่ง ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้เด็กปิดปากเวลาไอหรือจาม และแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย รวมไปถึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งปอดบวม ซึ่งหากเกิดความผิดปกติได้แก่ มีไข้สูงเกินกว่าสองวัน เด็กร้องกวนโยเย เจ็บหู ไอมากหรือไอเสียงก้อง หายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม หรือหายใจถี่เร็ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตราย ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาหาหมอตามนัดและให้ลูกทานยาให้ครบ อย่าหยุดยาเองโดยพละการ ไม่ใช่เห็นว่าอาการทุเลาแล้วจึงหยุดยาเอง ทำแบบนี้เป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นได้ง่าย และทำให้ดื้อยาด้วย และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการป้องกันเด็กมิให้เป็นไข้หวัดเสียตั้งแต่แรก ได้แก่การดูสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง โดย – ทานอาหารให้ครบหมู่และเหมาะสมตามวัยของเด็ก – ปล่อยให้เด็กได้วิ่งเล่นกลางแจ้งเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ให้เด็กได้เข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับอย่างพอเพียงทุกวัน…
-
ดูแลร่างกายตนเองยามเมื่อเป็นหวัด
ดูแลร่างกายตนเองยามเมื่อเป็นหวัด ในช่วงที่ฤดูหนาวหรือมีอากาศที่เย็นลงจะทำให้คนเป็นหวัดกันได้ง่าย เพราะการสูดอากาศเย็น ๆ ผ่านเข้าสู่บริเวณโพรงจมูกทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง เส้นเลือดฝอยที่เยื่อบุเมือกหดตัว เซลล์ต้านทานโรคจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ เชื้อโรคที่หายใจเข้าหรือมีอยู่แล้วจึงเพิ่มจำนวนและเกิดอาการอักเสบของเยื่อจมูกและลำคอขึ้น ซึ่งก็คือเป็นหวัดนั่นเอง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำมักจะเป็นกลุ่มที่เป็นหวัดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เด็ก หรือผู้สูงอายุ สามารถหากจากหวัดชนิดหนึ่งแล้วไปติดหวัดอีกชนิดมาแทนก็ได้ บางคนก็เป็นกันปีละหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ที่อยู่เนอสเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาลและสถานเลี้ยงเด็ก เพราะติดต่อกันได้ง่าย อาการสำหรับผู้ที่เป็นหวัด จะไอ จาม มีน้ำมูลไหล เจ็บคอ มีเสมหะ ปวดหัว มีไข้ต่ำ ๆ อย่างมากจะเป็นอยู่ในระยะเวลาประมาณ 1-2 วันแล้วจะค่อย ๆ หายไปในหนึ่งอาทิตย์ โดยบางรายอาจมีน้ำมูกและไอต่อไปอีก 2-3 อาทิตย์ ผู้ที่ปล่อยให้ตัวเองเป็นหวัดนาน ๆ ลุกลามไปเป็นโรคอื่น รวมทั้งภูมิแพ้ได้ด้วย วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นหวัด – อย่าสั่งน้ำมูกแรง ๆ เพราะจะทำให้โพรงจมูกมีแรงดันสูงขึ้น เชื้อโรคจะถูกดันเข้าไปสู่โพรงอากาศรอบจมูก หรือ ไซนัส เกิดการอักเสบลุกลามได้ – รักษาร่างกายตนเองให้อบอุ่นโดยเฉพาะบริเวณลำคอ – ทานอาหารที่ย่อยง่าย แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น –…
-
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…
-
การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ
การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้นั้น เป็นโรคที่สมัยนี้คนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษเริ่มเป็นกันมากขึ้น โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยากับ “สารก่อภูมิแพ้” เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ จนร่างกายปล่อยสารที่เรียกว่าฮิสตามีนอกมา จึงทำให้เยื่อบุของร่างกายนั้นเกิดอาการระคายเคืองขึ้น ซึ่งอาการหลัก ๆ ของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจก็คือ มีน้ำมูกใส จาม คัดจมูก คันจมูก บางท่านก็มีอาการของไซนัสอักเสบ และมีอาการที่ดวงตาด้วย เช่น คันตา ตาแดง ขอบตาคล้ำ หรือบางคนก็มีอาการที่หูก็คือหูอื้อ หรือหูชั้นกลางอักเสบได้ด้วย ซึ่งการจะหลีกเลี่ยงอาการภูมิแพ้ได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าเราแพ้อะไรบ้าง ซึ่งวิธีการที่จะรู้ได้ก็คือการทดสอบภูมิแพ้ โดยแพทย์จะทำการหยดน้ำยาสลัดจากสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนังของเราแล้วใช้เข็มสะกิดที่ผิวหนัง ซึ่งการทดสอบนี้จะไม่เจ็บและจะทราบผลภายในระยะเวลาแค่ 15 นาทีเท่านั้น และเมื่อเราได้ทราบแล้วว่าเราแพ้สารอะไร ก็จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้นั้นได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของการรักษาและดูแลตนเองร่วมกันทั้งแพทย์และผู้ป่วยจะเป็นดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตนเองแพ้ เช่น หากแพ้ขนสัตว์ก็ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน หรือหากแพ้ไรฝุ่น ก็ไม่ควรปูพรมในห้องนอน หรือควรทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนทุกสองสัปดาห์ หรืออาจเปลี่ยนไปใช้เครื่องนอนที่สามารถกันไรฝุ่นได้ 2. หากสัมผัสกับสารก่ออาการแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ทานยาแก้แพ้พวกยาแอนตี้ฮิสตามีนบางชนิด แต่ก็อาจทำให้มีอาการง่วงนอน คอแห้ง ปากแห้ง หรือปัสสาวะลำบากได้ด้วย 3.…
-
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ ที่หลายคนรู้จักชื่อกันดีนี้ มักจะมีหลายคนที่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคนี้ ทั้งที่ป่วยเป็นไข้หวัดคัดจมูกธรรมดาเท่านั้น กับทั้งยังคิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นแล้วต้องกลับมาเป็นอีก ซึ่งนี่คือความเข้าใจที่ผิดทั้งสิ้น ความจริงแล้วโรคไซนัสอักเสบนั้นมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดทั่วไปแล้วติดเชื้อในโพรงจมูกจนลุกลามเข้าไปในโพรงไซนัส ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียติดมาบ้างทำให้โรคไม่หายขาดและรุนแรงขึ้น การรักษาเพื่อที่จะไม่กลับมาเป็นอีกก็คือต้องพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาดนั่นเอง อาการของไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการคัดแน่นจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะลงคอสีเหลืองหรือเขียว มีอาการปวดบริเวณ หัวตา หว่างคิ้ว ใบหน้า และตามโหนกแก้ม การได้กลิ่นลดลงและมีอาการเกิน 10 วัน หรือมีอาการแย่ลงใน 5 วันแรกก็ควรมาพบแพทย์ได้แล้ว อาการของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มเฉียบพลันจะมีอาการน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และกลุ่มเรื้อรังจะมีอาการมาเกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป ทำให้การรักษามีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากจะเป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ที่รับยากดภูมิระหว่างการทำเคมีบำบัด หรือภาวะขาดภูมิคุ้มกันตั้งแต่เกิดเป็นต้น โรคไซนัสอักเสบไม่มีสาเหตุจากพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เข้าใจผิดคิดว่าตนป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อรักการวินิจฉัย โดยในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดได้ว่าผู้ป่วยจมูกอักเสบภูมิแพ้เกิดจากไซนัสอักเสบได้บ่อยกว่าคนที่เป็นภูมิแพ้หรือไม่ แต่การสูบบุหรี่ทำให้การงานของเยื่อบุโพรงไซนัสทำงานบกพร่องได้ ในส่วนของการรักษา โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันหากมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง แต่ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียกควรมาพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก เพื่อทำการส่องกล้องเข้าไปตรวจช่องโพรงจมูกและไซนัส ซึ่งหากมิใช่แพทย์เฉพาะทางหรือไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไซนัสมักให้คนไข้ทำการเอกซเรย์ วิธีนี้ไม่แม่นยำนัก ทั้งยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง…
-
โรคไซนัสอักเสบ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน
โรคไซนัสอักเสบ อาการ การรักษา วิธีป้องกัน ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) จะเกิดขึ้นเมื่อจมูกมีการติดเชื้อ มีการอักเสบ อาจเป็นเพราะอาการหวัด เป็นภูมิแพ้ มีสารระคายเคือง มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก รวมทั้งการมีฟันกรามผุถึงโพรงรากฟัน การเป็นโรคหัด และเกิดอุบัติเหตุที่กระดูกบนใบหน้า จึงทำให้ท่อที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูก เกิดอาการบวมแล้วตีบตัน จนมีน้ำเมือกในโพรงจมูกคั่งค้างอยู่ เมื่อมูกภายในสะสมมากขึ้นจะมีความหนืด และมีสภาพความเป็นกรด ทำให้เชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตได้ดี จนกลายเป็นภาวะโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัสอักเสบ อาการของโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.ไซนัสอักเสบ แบบเฉียบพลัน คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถหายได้ภายใน 7 วัน อาการทั่วไปจะเหมือนไข้หวัด มีไข้ เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ไซนัสก็จะมีอาการปวดจมูก ปวดกระบอกตา หรือแก้มข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกและเสมหะจะมีสีเหลืองอมเขียวมากขึ้น อาจปวดกระดูกขากรรไกรบน หรือปวดฟันบนด้วย โอกาสที่การติดเชื้อจะลุกลามมีสูง จึงควรรักษาอย่างจริงจัง เพื่อลดโอกาสที่จะกลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง 2.ไซนัสอักเสบ เรื้อรัง คือไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีอาการมากกว่า 10 วัน และในช่วงที่เป็นนั้น อาการต่าง…