Category: ความดันสูง

  • จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี

    จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี

    จัดการความเครียดให้อยู่หมัดใน 4 วิธี แทบทุกคนต่างก็ต้องเผชิญกับความเครียดได้ทั้งสิ้น หากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงหรือตั้งรับให้ดีแล้ว ความเครียดก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งความเครียดนี้เกิดได้หลายปัจจัยทั้งทางด้านการเงิน การงาน ความสัมพันธ์ สุขภาพ และปัญหาอื่น ๆ การจัดการความเครียดนั้นทำได้หลายแบบ และสี่วิธีนี้คือหนึ่งในวิธีที่ดี 1. หลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เราเครียด ด้วยการรู้จักปฏิเสธ เลี่ยงการเผชิญหน้า ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน แล้วเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำในชีวิต 2. เปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียด ด้วยการบอกความรู้สึกของเราต่อผู้ที่ทำให้เราเครียดด้วยความนุ่มนวล หรือการปรับเปลี่ยนตนเองที่เป็นสาเหตุทำให้คนอื่นเครียด จัดสรรเวลาทำงานให้ดีขึ้น เพราะการทำงานหนักหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ จนยุ่งทั้งวันนั้นไม่ใช่เรื่องดี จะทำให้เหนื่อยล้าเกินไปและเกิดความเครียดได้ง่ายขึ้นด้วย 3. ปรับตัวให้เข้ากับความเครียด ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ลองปรับเปลี่ยนตัวเองให้ยอมรับหรือเปลี่ยนทัศนคติหรือความคาดหวังจากเดิมไปบ้าง มองปัญหาในมุมใหม่ มองในด้านดี ลดมาตรฐานลง คนที่อยากให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบมักจะเครียดง่ายและทำให้คนอื่นเครียดไปด้วย 4. ยอมรับความเครียด หากหนี ปรับเปลี่ยนหรือควบคุมสาเหตุของความเครียดบางอย่างไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ภาวะการเงินตกต่ำ หรืออุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง วิธีนี้ทำได้ยากที่สุด แต่ดีที่สุดในทุกวิธีที่บอกมา รวมไปถึงการให้อภัยทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลดความขุ่นเคืองและลดความเครียดลงได้ จนสามารถมองเห็นทางออกของปัญหาได้ด้วย…

  • หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…

  • แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ

    แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ

    แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ เชื่อได้เลยว่า หากพูดถึงคำว่าโรคความดันโลหิตสูง ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าสูงเกินตัวเลข 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นแน่ แต่ความจริงแล้วการจะบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ต้องพิจารณามากกว่าตัวเลขบนเครื่องวัด โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงก็คือ ปวดหัว เวียนหัว แต่ความจริงแล้วคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัวจากความดันโลหิตสูงนั้นมีไม่กี่ราย และทุกรายจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากโรคได้น้อย มักพบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ความดันสูงได้ คนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วอาจไม่มีอาการให้เห็น แต่ถ้าจะแสดงอาการก็แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ทำให้เกิดหัวใจโต บีบเลือดไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น การวัดความดันโลหิตนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากความดันสูงไม่จริงแล้วไปกินยาลดเข้าก็จะเป็นอันตรายได้ ความดันโลหิตของคนเรามีปัจจัยทำให้แกว่งขึ้นลงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ กังวล เครียด การวัดความดันโลหิตจึงต้องให้ผู้ป่วยนั่งพักให้สบายและผ่อนคลายก่อน แล้วจึงวัดหลาย ๆ รั้งแล้วค่อยนำค่ามาพิจารณา บางครั้งแพทย์อาจต้องพิจารณาสภาพร่างกายและความเจ็บป่วยด้วยไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น ในส่วนของความดันโลหิตต่ำนั้น มักเข้าใจกันผิดบ่อย ๆ เพราะมันไม่ใช่โรคแต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิต มักเกิดในผู้ป่วยหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นต้น บางครั้งก็พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง…

  • กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว

    กินมื้อดึก…ร่างกายเสื่อมโทรมรวดเร็ว คนที่ชอบทานอาหารมื้อดึก ๆ นั้น ถ้าสังเกตสุขภาพร่างกายของเค้าจะพบว่าเป็นคนที่ไม่แข็งแรง และมีความไม่ปกติกับร่างกายหลายส่วน ทั้งการตื่นสาย ท้องอืด ระบบการย่อยรวนเร เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ตลอดจนคนที่กินมื้อดึกยังทำให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติ แทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนในยามค่ำคืนกลับต้องมาย่อยอาหารที่มักจะเป็นมื้อใหญ่เสียด้วย ดังนั้นร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพด้วยการเริ่มต้นเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคความดัน นอนไม่หลับ ฯลฯ จนสุขภาพทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าร่างกายแก่กว่าอายุจริงไปมากเลยนั่นล่ะค่ะ การจะทราบได้ว่าคุณเป็นคนที่กินมื้อดึกหรือเปล่า ก็ให้ลองสังเกตที่มื้อเช้านั่นล่ะค่ะว่า รู้สึกจุกตื้ออยู่ หรือไม่อยากอาหารเช้าหรือเปล่า นั่นเป็นเพราะยังอิ่มจากการที่กินไว้ตั้งแต่เมื่อคืน กว่าจะได้กินก็มื้อเที่ยงไปแล้ว หรือไปมื้อบ่ายเลย ส่วนมื้อเย็นก็มักจะเป็นหลังสองทุ่มขึ้นไปและมักจะกินมื้อใหญ่ด้วย คนที่กินมื้อดึกมักจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน (เพราะร่างกายกำลังย่อยอาหาร) แต่มาง่วงเหงาในเวลากลางวัน อีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือคนกินดึกจะเจ้าเนื้อจนอวบอ้วนกว่าคนอื่น ๆ ด้วย หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคภัยนานาชนิดและโรคอ้วนด้วยแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการกินเสียใหม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ด้วยการทานข้าวเช้าทุกวัน และทานทุกมื้อให้เป็นเวลาด้วย มื้อเย็นควรทานก่อนนอนประมาณ 3 ชั่วโมง หรือก่อนหกโมงเย็น เพื่อให้ร่างกายได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ เข้าใจว่าช่วงแรกนั้นทำได้ยาก แต่ก็ค่อย ๆ ต้องปรับไปค่ะ ระหว่างนี้มื้อเย็นสามารถทานอาหารที่สร้างเมลาโทนินได้ เช่น แกงขี้เหล็กหรือข้าวโพด เพื่อให้หลับได้ง่ายจะได้ไม่ต้องหิวตอนดึก ๆ ค่ะ

  • ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ

    ดูแลตัวเอง…ไม่ให้หน้ามืดวิงเวียนบ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วความดันปกติของคนเราจะอยู่ที่ 90 – 130 (ตัวบน) / 60 – 90 (ตัวล่าง) มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้ามีค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 / 60 ก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำค่ะ ซึ่งเกิดจากจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ การขาดสารน้ำจากการเสียเหงื่อมาก ท้องเสีย เสียเลือด หรือความอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เลือดจาง ฯลฯ โดยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องแสดงอาการออกมา แต่บางรายก็มักมีอาการอ่อนเพลียหน้ามืด มึนงง เวลาลุกนั่งหรือเวลายืน หรือเวลาเปลี่ยนท่าเร็ว พาลจะทำให้เป็นลมได้ หากมีอาการเรื้อรัง กับมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เจ็บหน้าอกรุนแรง ท้องเสียหรือปวดท้องอย่างมาก อาเจียนมาก ถ่ายเป็นสีดำ ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อแตก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน แต่หากไม่ได้มีอาการดังกล่าวเป็นแต่เพียงอาการหน้ามืด วิงเวียนบ่อย ๆ เท่านั้นก็ควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ – เวลาเปลี่ยนท่าให้ค่อย ๆ ลุก เช่น หากตื่นนอนควรค่อย ๆ นั่งก่อนสักครู่แล้วจึงค่อยลุกขึ้นยืน…