Category: มะเร็งปากมดลูก

  • การดูแลตนเอง…เพื่อเตรียมรับสภาวะวัยทอง

    การดูแลตนเอง…เพื่อเตรียมรับสภาวะวัยทอง

    การดูแลตนเอง…เพื่อเตรียมรับสภาวะวัยทอง ช่วงวัยทอง คือ ช่วงวัยที่อยู่ระหว่างวัยเจริญพันธุ์ และวัยชรา ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการเสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะเป็น รังไข่ที่เริ่มเสื่อมลง การสร้างฮอร์โมนก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่ารังไข่จะหยุดทำงาน ประจำเดือนจึงค่อยๆ หมดลงอย่างถาวร ช่วงระยะนี้จะมีอายุไม่เกิน 50 ปี โดยเฉลี่ย หากประจำเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปีถือว่าหมดเร็ว แต่หากหมดหลังอายุ 55 ปีถือว่าหมดช้า ทั้งสองกรณีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น และมีปัญหาต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ด้วย อาการวัยทอง จะเกิดกับผู้หญิงที่หมดประจำเดือนโดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปี มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ร้อนวูบวาบบริเวณหน้าอก ลำคอ ใบหน้า ใจสั่น นอนไม่หลับ เหงื่อออก ความต้องการทางเพศลดลง ฯลฯ แต่หากมีการเตรียมตัวดูแลสุขภาพอย่างดี ตั้งแต่อายุเข้าสู่วัยทอง ก็จะทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตดีขึ้นมาก หลักการดูแลตนเองเพื่อรับมือกับอาการวัยทองได้แก่ 1. ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน อย่างปล่อยให้อ้วนหรือผอมเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสู หวานจัด หรือเค็มจัด ทุกมื้อทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้หลากหลาย…

  • ตรวจสอบความเสี่ยง…ในการเป็นมะเร็งเต้านม

    ตรวจสอบความเสี่ยง…ในการเป็นมะเร็งเต้านม

    ตรวจสอบความเสี่ยง…ในการเป็นมะเร็งเต้านม รองจากมะเร็งปากมดลูกแล้ว ก็เห็นจะเป็นมะเร็งเต้านมนี่ล่ะค่ะที่พบได้มากที่สุดในเพศหญิง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความเสี่ยงถึง 1 ใน 9 ของผู้หญิงเลยทีเดียวที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้นได้แก่ การใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษา เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง, การใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานเป็นเวลานาน, ไม่เคยให้นมบุตร, ดื่มเหล้าวันละ 2 แก้วขึ้นไป, อ้วน น้ำหนักตัวมาก, ไม่ออกกำลังกาย รวมทั้งทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปด้วย และปัจจัยบางประการที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ แต่ก็เป็นปัจจัยในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วย ก็คือ อายุที่มากขึ้น, การมีประจำเดือนมาเร็วก่อนอายุ 12 ปี และหมดช้าคือหลังอายุ 50 ปี, มีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือมีความผิดปกติของยีนส์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่, ไม่เคยมีบุตร หรือมีภายหลังอายุ 50 ปี, เคยตรวจพบว่าเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในภาวะก่อนเป็นมะเร็งเต้านม รวมทั้งเคยมีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมไปถึงมีคนในครอบครัวเคยเป็นด้วย สำหรับผู้ที่กังวลว่าตนเองจะเข้าข่ายมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมด้วยนั้น การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อหาความผิดปกติ รวมทั้งไปตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นประจำก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงและลดความรุนแรงในการเป็นโรคได้อีกวิธีหนึ่ง อีกทั้งการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะมีอัตราการหายจากโรคมากกว่าผู้ที่ไม่คอยตรวจคลำเต้านมด้วยค่ะ

  • เสพสม..ให้สมรัก

    เสพสม..ให้สมรัก

    เสพสม..ให้สมรัก ระหว่างชีวิตคู่ของคนสองคนนั้น การจะประสบกับความราบรื่นและความสุขได้ก็มักจะมีเรื่องของเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการจะเสริมสร้างให้ชีวิตคู่มีความสำเร็จสมปรารถนานั้นต้องมีปัจจัยต่าง ๆ เป็นพื้นฐาน ได้แก่ ทั้งคู่ต้องเต็มใจและสมัครที่จะใช้ชีวิตร่วมกันด้วยความรักความเข้าใจ ทั้งสองฝ่ายต่างมีความพึงพอใจในรสนิยม นิสัย ฐานะ ความรูป และรูปร่างภายนอกของกันและกัน รวมทั้งทั้งสองฝ่ายก็ต้องการมีเพศสัมพันธ์ มีความสุขหรือความพอใจในความปรารถนาในร่างกายของอีกฝ่าย รวมไปถึงทั้งสองคนต้องมีความเต็มใจ และมีความรู้สึกที่เป็นอิสระหรือยินยอมพร้อมใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับ ข่มขู่หรือใช้กำลังในการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้นการจะร่วมครองเรือนกันให้มีความสุขนั้น ควรมีการเปิดใจกันทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายหญิงที่มักคิดว่าเรื่องนี้ความเก็บความรู้สึกไว้ไม่ควรบอกใคร หากบอกแล้วอาจจะทำให้คนอื่นมองดูตนเองไม่ดีได้ บางครั้งจึงส่งผลให้การมีเพศสัมพันธ์กลายเป็นความทุกข์ไม่สุขสมเท่าที่ควรได้ ทางที่ดีควรหันหน้าเข้าหากันดีกว่า โดย.. 1. เปิดใจถึงความต้องการของกันและกันอย่างจริงใจและให้เกียรติ อาจเป็นการพูดคุย การเขียนโน้ตบอก หรือการแสดงออกด้วยหน้าตาและสีหน้า รวมทั้งสัมผัสทางกาย 2. ยอมรับซึ่งกันและกัน โดยการยอมรับว่าเรื่องเพศสัมพันธ์นั้นสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และไม่ควรเก็บหรือปิดบังไว้เพราะจะกลัวว่าทำร้ายความรู้สึกของอีกฝ่าย สำหรับการเสริมสมรรถภาพทางเพศ ก็คือการทำร่างกายให้แข็งแรงไปด้วยทางหนึ่ง ด้วยการทานอาหารที่มีคุณค่า ดูแลจิตใจให้เบิกบาน ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ตนรัก รักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งหาอะไรที่แปลกใหม่มาเพิ่มความสุขให้แก่กันและกัน บางครั้งอาจเปลี่ยนสถานที่เป็นที่ ๆ โรแมนติกมากขึ้น ลองใส่ชุดหรือเสื้อผ้าที่ไม่เคยใส่ สร้างบรรยากาศภายในห้องนอนเหมาะสม เป็นต้น สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องตระหนักก็คือ ควรมีความรับผิดชอบในการมีเพศสัมพันธ์กันทุกครั้ง ควรเป็นเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อ ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคเอดส์และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งป้องกันไวรัสเอชพีวีที่อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกด้วย

  • หลักการดูแลสุขภาพ…เพื่อชีวิตห่างไกลมะเร็ง

    หลักการดูแลสุขภาพ…เพื่อชีวิตห่างไกลมะเร็ง

    หลักการดูแลสุขภาพ…เพื่อชีวิตห่างไกลมะเร็ง ไม่มีใครอยากให้ร่างกายที่เราแสนรักนี้เป็นโรคหรอกค่ะ ไม่ว่าจะเป็นโรคใดก็ตาม ยิ่งหากเป็นโรคร้ายที่รักษายากหรือมีเกณฑ์การเสียชีวิตสูงแล้ว เราคงแทบจะตายกันไปในวันที่ทราบข่าวนั้นเลย โรคมะเร็งนี้เป็นหนึ่งในโรคที่คุกคามร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและคนใกล้ชิดมาก ดังนั้นเรามาใช้ชีวิตตามหลักธรรมดาเพื่อดูแลร่างกายของเราให้ห่างไกลจากมะเร็งกันดีกว่าค่ะ 1. เลิกบุหรี่ ไม่ควรสูบบุหรี่ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ในรูปแบบไหน อีกทั้งยังไม่ควรเข้าไปสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นด้วย เพราะพิษจากควันบุหรี่นั้นสามารถทำให้เป็นมะเร็งได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การเลิกสูบบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้ถึงร้อยละ 90 แล้วยังทำให้คนใกล้ชิดปลอดภัยจากโรคนี้เพิ่มขึ้นด้วย 2. เลิกมีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ ไม่ว่าจะเพศใดการสำส่อนทางเพศก็เป็นต้นตอของโรคมะเร็งได้ทั้งนั้น ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และมีหลายคู่ รวมไปถึงการติดเชื้อไวรัสหูดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกมาก ดังนั้นทุกครั้งจึงควรสวมถุงยางอนามัยและเลิกพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ 3. เลิกเหล้า หากดื่มอยู่ก็ควรลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้หมด หรือไม่ดื่มเลยจะดีที่สุด หากต้องการดื่มให้ดื่มได้วันละ 2 แก้ว สำหรับเพศชายและ 1 แก้วเท่านั้นสำหรับเพศหญิง เพราะการดื่มหนัก ๆ จะทำให้สะสมสารก่อมะเร็งในช่องปาก กดภูมิต้านทานโรค ทำให้เป็นพิษต่อตับและตับอ่อน จึงเสี่ยงต่อมะเร็งตับมาก 4. หลบแดดเสมอ โดยเฉพาะแสงแดดที่มีรังสียูวีจัดจ้าในช่วงเวลาตั้งแต่แปดโมงเช้า ถึงบ่ายสี่โมงหรือจำเป็นต้องออกแดดก็ให้ทาครีมกันแดด แล้วสวมหมวก กางร่ม สวมแว่นกันแดด หรือสวมเสื้อแขนยาวสำหรับการรังสียูวีด้วยจะดีค่ะ 5. หลีกเลี่ยงการทานปลาน้ำจืดดิบ ๆ สุก ๆ…

  • ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง จากสถิตินับถึงปีปัจจุบันพบว่าคนไทยนั้นเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และมีอัตราการตายจากโรคนี้เพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนตอนนี้โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับที่หนึ่ง แซงหน้าอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งโรคปอดไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งก็คือ มะเร็งตับ รองลงมาเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และก็มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งได้แก่ – ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก นั่นคือการได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนจากอาหาร, การได้รับรังสีเอกซ์, รังสียูวีจากแสงแดด, การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิด, การติดเชื้อไวรัสแพบพิลโลมา, พยาธิใบไม้ตับ รวมถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ด้วย ฯลฯ – ปัจจัยจากความผิดปกติภายใน เช่น พันธุกรรม, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะทุพโภชนาการ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถสรุปกลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการมะเร็งได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 2. กลุ่มที่สูบบุหรี่ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางเดินหายใจ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง แล้วหากดื่มเหล้าด้วยก็อาจเป็นมะเร็งช่องปากในลำคอได้อีก 3. กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือทานอาหารที่ปนเปื้อนอะฟลาทอกซิล ที่เป็นเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร ทั้งพริกป่น ถั่วลิสงป่น ฯลฯ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ แล้วถ้าได้รับทั้งสองชนิดก็มีโอกาสในการเป็นมะเร็งตับเพิ่มมากขึ้น 4. กลุ่มที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และทานอาหารที่ใส่ดินประสิว…

  • การป้องกันอันตรายจากโรคไวรัสเอชพีวี

    การป้องกันอันตรายจากโรคไวรัสเอชพีวี

    การป้องกันอันตรายจากโรคไวรัสเอชพีวี ไวรัสเอชพีวีนั้น เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนักอีกด้วย  และจากการลงสนามเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น พบว่าสถานที่ที่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ มักเป็นที่เย็น ชื้น และไม่มีแสงแดดส่องเข้าถึง  อีกทั้งเป็นสถานที่ที่เป็นสถานบันเทิง ที่มีกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใหญ่ตอนต้น ที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีการติดต่อและแพร่เชื้อไวรัสเอชพีวีได้สูงสุด ด้วย ซึ่งการระวังและป้องกันเบื้องต้นก็คือการล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อที่อาจติดมาโดยไม่รู้ตัว  นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้โดยลดพฤติกรรมเสี่ยงตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ปากมดลูกเพื่อให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือใช้วิธีฉีดวัคซีนป้องกันร่วงด้วย  โดยปัจจุบันนี้มีวัคซีนเอชพีวีที่ควรให้เด็กผู้หญิงวัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ช่วงอายุ 11-12 ปีฉีดจำนวนสามเข็ม  เมื่อฉีดแล้วจะป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีได้อย่างน้อย 30 ปีโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น  อีกทั้งในบางประเทศยังฉีดให้เด็กผู้ชายด้วย ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ก็ควรสอนลูก ๆ ให้ป้องกันและระวังตัวด้วยการสอนให้ล้างมือให้สะอาดเมื่อเข้าไปในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ อีกทั้งยังควรพาลูก ๆ ไปฉีดวัคซีนให้ครบเมื่อถึงอายุกำหนดด้วยก็จะเป็นการป้องกันไว้ก่อนได้  

  • โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง

    โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง

    โรคมะเร็งรังไข่.. ภัยคร่าชีวิตสตรีที่ต้องระวัง มะเร็งทางนรีเวชที่ตรวจพบบ่อยเป็นอันดับหนึ่งก็คงเป็นมะเร็งปากมดลูก  แต่อันดับสองเป็นของมะเร็งรังไข่ที่ก็เป็นอันตรายไม่แพ้กัน หากตรวจพบต้องรีบรักษาในทันที สำหรับโรคมะเร็งรังไข่นี้จะเกิดขึ้นประมาณ 5 คน ต่อประชากรสตรี 1 แสนคนต่อปี   มีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่ประมาณ 1,500 คนต่อปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นไปด้วย มะเร็งรังไข่นั้น จะไม่ค่อยแสดงอาการนัก จะมีอาการแค่ท้องอืดท้องเฟ้อ จึงเข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะไป จึงทำให้คนไข้พบแพทย์ช้า  โรคนี้หากวินิจฉันได้แต่เนิ่น ๆ ก็ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากพบเจอในระยะท้าย ๆ แล้วก็คงหายได้ยาก  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคนี้ก็คือ มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคนี้ หรือเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้หรืออื่น ๆ  โดยเฉพาะหากมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป หรือชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือนมเนยมาก ๆ โดยอาการของมะเร็งรังไข่ ก็คือ ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีก้อนหรือน้ำในท้อง มีตั้งแต่น้ำน้อยจนถึงน้ำมาก มีลูกแตงโมในท้อง  ส่วนของผู้ป่วยจะมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ขัด เนื่องจากก้อนของรังไข่ไปกดเบียด ผู้ป่วยจะผอมลง เป็นอาการของมะเร็งทั่วไป อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาการของมะเร็งรังไข่ไม่จำเพาะเจาะจงชัดเจน …

  • ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก

    ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก

    ตกขาว… อาการน่ากลุ้มใจของหญิงสาว แต่รักษาไม่ยาก >> วันนี้มาไขข้อข้องใจของสาว ๆ หลายคนกันเกี่ยวกับอาการของตกขาวกันนะคะ << ตกขาวหรือระดูขาว นั้นเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนเพศในเพศหญิง เป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็อาจกลับเป็นรุนแรงได้ ดังนั้นสำหรับแพทย์ อาการตกขาวหรือระดูขาวจึงมีความสำคัญไม่แพ้โรคอื่น ๆ ซึ่งลักษณะของตกขาวนั้น จะมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดเป็นเมือกใส สีขาวขุ่น ไม่ใช่ประจำเดือน และลักษณะของตกขาวจะขึ้นอยู่กับสภาวะโรค และสภาวะของแต่ละคนไป สาเหตุของตกขาวเกิดได้จากสาเหตุดังนี้ 1. เกิดจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราหรือพยาธิในช่องคลอดก็ได้ โดยตกขาวประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวซึ่งสามารถแยกแยะได้ 2. เกิดจากเชื้อไวรัส มีที่มีการติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว มีอาการที่แตกต่างกันไปแล้วแต่โรค เช่น โรคเริม ก็มีลักษณะตุ่มใสๆ ขนาดเล็ก แต่ถ้าตุ่มแตกจะแสบ และตกขาวก็มีกลิ่นด้วย 3. เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้มีอาการคันในบางราว และมีกลิ่นคาวหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีสาเหตุมาจากโรคหนองในที่เกิดกับเพศชาย ทำให้คู่นอนมีอาการปัสสาวะแสบหรือคันได้ ฯลฯ 4. เกิดจากเชื้อรา เป็นเชื้อราจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาการของตกขาวนั้นจะมีสีเหลืองหรือสีขาว ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีก้อนเล็ก ๆ หรือมีกลิ่นคล้ายนมบูด…

  • หน่วยงาน Gavi alliance รณรงค์ให้เด็กหญิงทั่วโลก ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    หน่วยงาน Gavi alliance รณรงค์ให้เด็กหญิงทั่วโลก ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

    หน่วยงาน Gavi alliance รณรงค์ให้เด็กหญิงทั่วโลก ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ด็อกเตอร์เบริ์กลี่ผู้เชี่ยวชาญแห่งหน่วยงาน Gavi alliance กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส human papilloma หรือ HPV บางชนิดซึ่งติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธุ์ ด็อกเตอร์เซ็ธ เบริ์กลี่ กล่าวว่ามะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลก ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกหนึ่งคนเสียชีวิตทุกทุกสองนาที มะเร็งชนิดนี้คร่าชีวิตผู้หญิงมากกว่าการคลอดบุตร ประมาณว่ามีผู้หญิงราว 275,000 คนเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกทุกปีทุกปีและ 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้เป็นหญิงในประเทศกำลังพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากไม่มีแนวทางออกมาจัดการ คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเป็นสี่แสนสามหมื่นรายต่อปีภายในอีก 17 ปีข้างหน้า หน่วยงาน Gavi alliance ได้เลือกประเทศกำลังพัฒนาแปดประเทศเพื่อเริ่มโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้ ประเทศทั้งแปดนี้ได้แก่ กาน่า แคนยา มาดากัสก้า มาลาวี ไนเจอร์ เซียร่า ลีอง และแทนซาเนีย ในทวีปอาฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าและประเทศลาวในเอเชีย หน่วยงาน Gavi alliance กล่าวถึงเรื่องการรณรงณ์ครั้งนี้ว่า  จะฉีดวัคซีนให้แก่จำนวนหนึ่งแสนแปดหมื่นคน โดยจะเริ่มในแคนยา กาน่าและเซียร่า ลีอง เป็นสามประเทศแรก ทางหน่วยงานยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มประเทศใดก่อนและหลัง ส่วนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในแทนซาเนียจะเริ่มในปีหน้า การฉีดวัคซีนจะจัดทำภายใต้โครงการของโรงเรียน แต่ด็อกเตอร์เบิร์กลี่กล่าวว่ายังต้องมีการทำงานเพิ่มเติมในการพยายามให้บริการฉีดวัคซีนนี้แก่เด็กหญิงที่ไม่ได้ไปโรงเรียนด้วย…

  • การตรวจเลือดในผู้หญิงที่แข็งแรง สามารถช่วยให้ระวังมะเร็งปากมดลูกได้

    การตรวจเลือดในผู้หญิงที่แข็งแรง สามารถช่วยให้ระวังมะเร็งปากมดลูกได้

    การตรวจเลือดในผู้หญิงที่แข็งแรง สามารถช่วยให้ระวังมะเร็งปากมดลูกได้ ทีมนักวิจัยอเมริกันได้ทดลองใช้การตรวจเลือดหาโปรตีน CA-125 เพื่อช่วยตรวจหาโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก กองทุนโลกเพื่อการวิจัยนานาชาติด้านมะเร็ง (World Cancer Research Fund International) เปิดเผยว่าเกือบ 2 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งทุกปีทุกปีทั่วโลก เป็นมะเร็งปากมดลูก คุณเเคเร็น ลู หัวหน้าภาควิชามะเร็งปากมดลูก (Gynecologic Oncology) แห่งมหาวิทยาลัย Texas M.D. Anderson Cancer Center ในเมืองฮูสตั้น กล่าวว่า  ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ รู้ตัวว่าเป็นมะเร็งชนิดนี้ตอนที่มะเร็งอยู่ในระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่เหลือโอกาสในการบำบัดให้ได้ผลน้อยมาก ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น ประสิทธิผลของการบำบัดจะสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ทีมนักวิจัยที่นำโดยคุณแคเร็น ลู เห็นว่าการตรวจเลือดผู้หญิงที่เเข็งเเรงดีตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไปจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นได้ ทีมแพทย์ใช้การตรวจเลือด ที่ตรวจหาระดับของโปรตีนที่เรียกว่า CA-125 ซึ่งเป็นปัจจัยในการยืนยันผลวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก และยังใช้ในการตรวจดูความคืบหน้าผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย คุณลูและทีมงานได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้วิธีตรวจเลือดหาระดับโปรตีน CA-125 เพื่อหามะเร็งปากมดลูกในหญิงที่อายุมากขึ้นและในหญิงวัยหมดประจำเดืิอน การศึกษานี้ยาวนานถึง 11 ปี มีผู้หญิงชาวอเมริกันที่ร่างกายเเข็งเเรงดีถึง 4,000 คนเข้าร่วมในการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาอายุ…