Category: มะเร็งปากมดลูก
-
ป้องกันมะเร็งแบบไม่ยาก ทำตามได้ทุกคน
—
by
ป้องกันมะเร็งแบบไม่ยาก ทำตามได้ทุกคน โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใคร ๆ ก็หวาดผวา เพราะอาการของโรคจะสร้างความเจ็บปวดทรมานมาก ลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ ได้ และมักคิดกันว่าคงรักษาไม่หาย รอวันตายอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วมะเร็งบางโรคสามารถป้องกันได้และรักษาให้หายขาดได้หากพบตั้งแต่ในระยะแรก ๆ วันนี้จึงขอนำเอาวิธีการป้องกันมะเร็งแบบไม่ฝาก แบบที่สามารถทำตามได้ทุกคนมาฝากกันนะคะ 1. หมั่นตรวจร่างกายบ่อย ๆ สำคัญมาก แม้จะแข็งแรงอยู่แล้ว เพราะคนที่พบว่าตนเองเป็นมะเร็งแล้วต้องตายหรือรักษาไม่ได้นั้นมักเป็นเพราะว่า ผู้นั้นมักตรวจพบว่าตนเป็นมะเร็งในระยะรุนแรงแล้ว ซึ่งตลอดมาก็วินิจฉัยโรคเอง ซื้อยากินเอง อาการเตือนเหล่านี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยให้ละเอียดก็ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพทุกปี และในระหว่างนั้นหากมีสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ตามร่างกายเช่น มีตุ่มมีเนื้องอก หรือมีเลือดออก ฯลฯ ควรรีบไปตรวจเลยนะคะ 2. เลือกทานอาหารที่ช่วยต้านทานเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งได้แก่ ผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระได้ ไม่ว่าจะเป็นผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ผักโขม หัวหอม ผักโขม แอปเปิ้ล แครอท ฯลฯ, ดื่มชาเขียวที่มีสารคาเตชินและสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย, น้ำสะอาด ๆ…
-
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
by
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…
-
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากไวรัส HPV
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากไวรัส HPV สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทยนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่าหกพันคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มเป็นหมื่น ๆ คน ซึ่งสาเหตของมะเร็งปากมดลูกนี้เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยมักติดเชื้อในผู้หญิงที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทุกคนแล้วมีความเสี่ยงทั้งสิ้น มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า ฮิวแมน แพปพิลโลม่า หรือไวรัส HPV โดยผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 99.7 ติดเชื้อชนิดนี้ สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เพราะเชื้อนี้จะอยู่บริเวณอวัยวะเพศของหญิงและชาย โดยร้อยละ 80-90 ของผู้ติดเชื้อจะหายไปเอง ส่วนที่เหลือจะอยู่ที่ปากมดลูก เมื่อนานไป เนื้อเยื่อหรือเซลล์ของปากมดลูกผิดปกติ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์จนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด ยิ่งมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยเท่าไรก็ยิ่งติดเชื้อได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งปัจจัยการติดเชื้อ HPV จนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้นี้ ได้แก่ – การมีคู่นอนหลายคน – มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย – เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – กินยาคุมกำเนิดเกิดห้าปี – ไม่เคยได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก – สามีเป็นมะเร็งที่องคชาติ – หญิงที่ไปแต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือชายเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ – หญิงที่ไปแต่งงานกับชายที่มีคู่นอนหลายคน – หญิงที่สูบบุหรี่ หรือสัมผัสควันบุหรี่นานเกิดสามชั่วโมงต่อวัน – ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิหรือป่วยเป็นโรคเอดส์…
-
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้มีการค้นพบว่ามนุษย์เราสามารถเป็นมะเร็งตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้กว่าร้อยชนิดแล้วนะคะ ซึ่งแม้จะมีการตรวจค้นและการรักษาที่ดีเพียงไร แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจรักษาได้ไม่หายขาด และอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงอีกส่วนที่อาจรักษาไม่ได้และต้องเสียชีวิตไป ปี ๆ หนึ่งเป็นจำนวนมาก จะดีกว่าไหมที่เราจะหันมาป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา การป้องกันมะเร็งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลวีต โฮลเกรน เมล็ดธัญพืชชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – กินกะหล่ำและผักในตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาด ผักคะค้า ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่าช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และระบบทางเดินหายใจ – ทานอาหารที่มีวิตามินซี ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร – ทานอาหารที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียวเข้ม ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ – รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ไม่อ้วน…
-
หมั่นตรวจแพ็ปสเมียร์ เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก
หมั่นตรวจแพ็ปสเมียร์ เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกนั้น เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในหญิงไทย ซึ่งรองลงมาก็คือมะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ชนิด 16 และ 18 ผู้ที่มีความเสี่ยงก็ได้แก่ หญิงที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย มีสามีที่มีคู่นอนหลายคน จึงทำให้ได้รับเชื้อเอชพีวีจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอดส์ เริม หนองใน ซิฟิลิส ฯลฯ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การมีอนามัยที่ไม่ดี ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย โดยอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกนี้ ได้แก่ มีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกระปรอย มีตกขาวปนเลือด มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ และในระยะท้าย ๆ จะมีอาการขาบวม ปวดก้นกบ ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด ซึ่งหากรอจนถึงมีอาการระยะนี้แล้วอาจมีโอกาสในการรักษาให้หายได้เพียงร้อยละ 20-30 เท่านั้น มะเร็งปากมดลูกนี้ระยะแรกจะไม่มีอาการใดเลย แต่หากตรวจพบจะสามารถรักษาให้หายได้ถึงร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว การตรวจว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น ใช้วิธีแพ็ปสเมียร์ ที่สามารถตรวจได้ง่าย รวมไปถึงการผ่าตัดที่มาพร้อมกับรักษาและวินิจฉัยระยะของโรคไปด้วยในตัว หากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกหากทำการผ่าตัดจะรักษาโรคได้ถึงร้อยละ 80 แต่หากพบว่ามีการกระจายตัวแล้วต้องใช้การฉายรังสีเพื่อรักษาด้วย…
-
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต มะเร็งไตเป็นโรคที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกันเหมือนมะเร็งอื่น ๆ อย่าง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ มากนัก ในประเทศไทยนั้นมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อแสนคน และผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ 50-70 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาตรวจพบมะเร็งไตเพราะมารักษาโรคอื่นๆ อาการของมะเร็งไตนั้น พบได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดบริเวณเอว คลำพบก้อนที่เอวซีด เบื่ออาหาร มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด สามารถแบ่งมะเร็งไตออกเป็น สี่ระยะได้แก่ ระยะแรกจะมีขนาดก้อนน้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร ยังไม่ลุกลาม และจะโตขึ้นกว่าเจ็ดเซนติเมตรแต่ยังอยู่ในไตเป็นระยะที่สอง ส่วนระยะที่สามเริ่มลุกลามไปยังหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือ ในระยะที่สุดจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ ต่อมหมวกไต ปอด ตับ กระดูก ซึ่งแนวทางการรักษามะเร็งไต ก็ได้แก่ การผ่าตัด สำหรับมะเร็งไตระยะที่ 1-2 การฉายรังสีเพื่อเป็นการบรรเทาอาการ การใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึงการให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่มีการกระจายตัวไปที่อวัยวะอื่นแล้วเท่านั้น และอีกวิธีคือการรักษาแบบเฉพาะเจาะกลุ่มโดยการใช้ยา ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ…
-
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ยิ่งโดยเฉพาะเพสหญิงด้วยแล้ว ทั้งวิถีชีวิตและการกินอาหรก็เลียนแบบไปทางตะวันตกมากขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางผู้หญิงตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งนั้นจะได้แก่อาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลงไปประมาณร้อยละ 10 ของร่างกายภายในหกเดือน (แต่ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถือว่าปกติ) แต่อาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นได้ด้วย การรักษามะเร็งนั้นมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมี การฉายแสง ในส่วนของการผ่าตัดนั้นใช้ได้กับมะเร็งแทบทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะของโรค หรืออวัยวะนั้นผ่าตัดได้หรือไม่ ส่วนมะเร็งที่เลือกผ่าตัดเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มดลูก ต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น สำหรับวิธีเคมีบำบัด จะใช้เพื่อลดการกระจายตัวของโรคไปที่อื่นหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีมะเร็งบางชนิดที่ทำได้แค่การให้เคมีบำบัดอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด และบางครั้งก็มีการให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ ในส่วนของการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาฉีดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดต้องให้หลายครั้ง ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการหลังจากให้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้…
-
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีรายงานการพบมะเร็งแล้วในคนกว่าร้อยชนิด และคนไทยเองก็ตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอันหนึ่งหนึ่งมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มการป่วยและตายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก โดยผู้ที่ป่วยกว่าครึ่งจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ค่อย ๆ คืบคลานอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึวควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่สุขภาพดังต่อไปนี้ 1. รักษาตัวไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน ทานอาหารแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาสภาพจิตใจให้สดใสสดชื่นทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น 2. ทานอาหารให้ครบถ้วนให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย แต่ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดหรือย่าง รวมไปถึงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปใส่ดินประสิว หรือเสี่ยงมีเชื้อรา และอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ด้วย ควรทานอาหารสด ๆ ผักสด ผลไม้สด นอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังมีกากใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย 3. งดสูบบุหรี่ สามารถลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ร้อยละ 60 4. งดสุรา หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการมะเร็งถึงเก้าเท่าและหากสูบบุหรี่ด้วยอีกจะเพิ่มความเสี่ยงสูงถึง 50 เท่า! 5. มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคู่หลายคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น 6.…
-
รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน
รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน สาเหตุการตายของคนไทยนั้นเกิดจากโรคมะเร็งเป็นอันดับหนึ่งมานานหลายปีแล้ว ปีหนึ่ง ๆ กว่าสามแสนรายเลยทีเดียว มะเร็งนั้นก็รู้กันอยู่แล้วว่ารักษาได้ยาก บางรายก็รักษาไม่หาย อีกทั้งยังมีหลายปัจจัยในการก่อโรคที่ระบุให้แน่ชัดลงไปไม่ได้อีกด้วย แต่การดูแลสุขภาพตัวเองไว้อย่างเหมาะสม เชื่อได้ว่าจะป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ซึ่งการดูแลตัวเองดังกล่าวนั้นได้แก่ 1. เน้นทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีไขมันน้อย และมีเส้นใยอาหารสูง ๆ อย่างผักผลไม้ทั้งหลาย ที่ยังให้วิตามินแร่ธาตุกับร่างกาย ช่วยต้านทานอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ไม่ควรทานอาหารปิ้งย่างไหม้เครียด ของหมักดองหรือแปรรูป ตลอดจนอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา และอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อย่างปลาร้า ปลาจ่อมด้วยนะคะ 2. ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรของคุณ และควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดีกับส่วนสูง เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงกระฉับกระเฉง และเสริมภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพ 3. เลิกสูบบุหรี่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด และงดดื่มสุราด้วยเพราะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง คอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านมด้วย 4. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัดจ้าในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00-16.00 น. แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าลืมทาครีมกันแดดก่อนทุกครั้งด้วยค่ะ 5. ไม่สำส่อนในกามารมณ์ และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกด้วย 6.…
-
สอนวัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัย ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
สอนวัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัย ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในปัจจุบันนี้การมีแฟนตั้งแต่วัยเรียนเห็นจะเป็นเรื่องที่ยอมรับการได้มากขึ้น เพียงแต่ก็ยังต้องให้คบกันอยู่ในขอบเขต รู้จักรักนวลสงวนตัวไว้บาง อย่าเพิ่งไปมีเพศสัมพันธ์กันก่อนเวลา แต่เพราะความรักในวัยรุ่นสมัยนี้ขาดความยับยั้งชั่งใจกันมาก กับทั้งยังมีโอกาสในการมีเพศสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น หากไม่ต้องการให้ลูก ๆ ของท่านต้องตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมไปถึงการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ผู้ปกครองจึงควรสอนบุตรหลานให้รู้จักการป้องกันตัวไว้ก่อนดีกว่า ต้องยอมรับว่าการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งส่งผลกระทบมากทั้งต่อตัวเด็กเองรวมไปถึงทารกด้วย เพราะความไม่พร้อมในหลายด้าน และหากต้องติดโรคเอดส์ขึ้นมาอีก คุณภาพชีวิตก็ยิ่งย่ำแย่ไปกันใหญ่ ยังไม่นับรวมถึงว่าการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ๆ นั้นทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ ดังนั้นแม้การแนะนำเรื่องการใช้ถุงยางอนามัยให้กับเด็กวัยรุ่น อาจจะดูเหมือนเป็นการชี้โพรงให้กระรอก แต่นั่นก็ยังดีกว่าวัวหายแล้วล้อมคอกเป็นแน่ ความรู้ทางด้านเพศศึกษาเหล่านี้จึงควรได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ และคุณครูที่ควรจะสอนให้เด็กได้รู้จักว่า.. – เพศสัมพันธ์มีได้เมื่อถึงวัยอันควร ไม่ควรเข้าไปอยู่ในที่ลับตากับเพศตรงข้าม งดเง้นการเที่ยวเตร่ในที่ที่มีขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และด้วยความเป็นผู้หญิงต้องรู้จักระแวดระวังภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองด้วย – Safe Sex ทุกครั้ง การมีเพศที่ปลอดภัยต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง – อย่าไปยึดถือว่าการยอมมีเพศสัมพันธ์คือการแสดงความรัก ความรักที่แท้จริงคือการให้เกียรติ ให้ความปรารถนาดี ดูแลกันและกัน ผู้ชายควรให้เกียรติแฟนของตัวเองเหมือนให้เกียรติแม่และพี่สาวน้องสาวของตัวเองด้วย – เพศสัมพันธ์คือความรับผิดชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย จึงควรรับผิดชอบร่วมการในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยด้วยการใช้ทุกอย่างอนามัยทุกครั้ง และตระหนักร่วมกันทั้งสองฝ่ายด้วย – แม้จะยังไม่แต่งงาน แต่การคบหากันควรมีความซื่อสัตย์ ไม่สะเปะสะปะในกาม หรือนอกใจไปมีคนอื่นอีก