Category: มะเร็งปอด

  • 9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!

    9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!!

    9 โรคใหม่มีสาเหตุจากบุหรี่ !!! ในโอกาสครบรอบห้าสิบปีของการประกาศว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของ โรคมะเร็งปอด และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ล่าสุดมีการรับรองว่า 9 โรคใหม่ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองจากผู้อื่นได้แก่ 1. มะเร็งตับ 2. มะเร็งลำไส้ 3. วัณโรค ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคมากขึ้น เสียชีวิตมากขึ้นและกลับมาเป็นซ้ำมากขึ้นด้วย 4. เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานถึงร้อยละ 30-40 เทียบกับผู้ที่ไม่สูบ 5. จอประสาทตาเสื่อมซึ่งจะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น 6. เพดานปากแหว่งตั้งแต่เกิด ในแม่ที่สูบบุหรี่ 7. ตั้งครรภ์นอกมดลูก 8. โรคข้อรูมาตอยด์และภาวะภูมิต้านทานร่างกายลดลง 9. โรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือโรคเส้นเลือดในสมองแตกจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งรายงานฉบับนี้มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย เพราะโรคมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ เป็นโรคมะเร็งที่ชายไทยเป็นมากที่สุด ในขณะที่เบาหวานและวัณโรคก็เป็นโรคที่คนไทยเพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นผลมากจากการสูบบุหรี่ของชายไทยที่สูงขึ้น งานนี้นอกจากผู้สูบบุหรี่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว งานควบคุมยาสูบในประเทศไทยก็ยังต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งรัฐบาลอย่างจริงจังในการควบคุมด้วย

  • สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่

    สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่

    สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่ เหตุผลที่การสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพนั้นก็เป็นเพราะว่าในควันบุหรี่ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารสำคัญที่อันตรายมากได้แก่ – คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นสารที่ทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับมากเกินไปจะทำให้ขาดออกซิเจน มึนงง วิงเวียน เหนื่อยง่าย ตัดสินใจช้าและทำให้เกิดโรคหัวใจได้ – นิโคติน เป็นสารระเหยในบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน จึงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนขาหดตัว ทำให้มีไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งก้นกรองที่บุหรี่ไม่ได้ช่วยกรองนิโคตินให้ลดลงแต่อย่างใดเลย – ทาร์ หรือน้ำมันดินนี้จะเป็นคราบข้นเหนียวสีน้ำตาลแก่จากการเผาไห้ของกระดาษและใบยาสูบ เป็นสารก่อมะเร็งหลายชนิด และกว่าครึ่งของน้ำมันดินจะจับที่ปอดทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดนั้นกว่าร้อยละ 90 เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มากเกินวันละ 1 ซองนั้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าปกติถึง 5-20 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง ไอถี่จนนอนไม่ได้ สารทาร์ยังทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ทำให้หายใจขัดและหอบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านั้น การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง ตับแข็ง โรคปริทนต์ โพรงกระดูกอักเสบ หลอดลมอักเสบ โรคหัวใจ…

  • ป้องกันมะเร็งแบบไม่ยาก ทำตามได้ทุกคน

    ป้องกันมะเร็งแบบไม่ยาก ทำตามได้ทุกคน

    ป้องกันมะเร็งแบบไม่ยาก ทำตามได้ทุกคน โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใคร ๆ ก็หวาดผวา เพราะอาการของโรคจะสร้างความเจ็บปวดทรมานมาก ลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ ได้ และมักคิดกันว่าคงรักษาไม่หาย รอวันตายอย่างเดียว แต่ความจริงแล้วมะเร็งบางโรคสามารถป้องกันได้และรักษาให้หายขาดได้หากพบตั้งแต่ในระยะแรก ๆ วันนี้จึงขอนำเอาวิธีการป้องกันมะเร็งแบบไม่ฝาก แบบที่สามารถทำตามได้ทุกคนมาฝากกันนะคะ 1. หมั่นตรวจร่างกายบ่อย ๆ สำคัญมาก แม้จะแข็งแรงอยู่แล้ว เพราะคนที่พบว่าตนเองเป็นมะเร็งแล้วต้องตายหรือรักษาไม่ได้นั้นมักเป็นเพราะว่า ผู้นั้นมักตรวจพบว่าตนเป็นมะเร็งในระยะรุนแรงแล้ว ซึ่งตลอดมาก็วินิจฉัยโรคเอง ซื้อยากินเอง อาการเตือนเหล่านี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยให้ละเอียดก็ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพทุกปี และในระหว่างนั้นหากมีสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ตามร่างกายเช่น มีตุ่มมีเนื้องอก หรือมีเลือดออก ฯลฯ ควรรีบไปตรวจเลยนะคะ 2. เลือกทานอาหารที่ช่วยต้านทานเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งได้แก่ ผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระได้ ไม่ว่าจะเป็นผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ผักโขม หัวหอม ผักโขม แอปเปิ้ล แครอท ฯลฯ, ดื่มชาเขียวที่มีสารคาเตชินและสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย, น้ำสะอาด ๆ…

  • เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

    เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

    เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…

  • วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้มีการค้นพบว่ามนุษย์เราสามารถเป็นมะเร็งตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้กว่าร้อยชนิดแล้วนะคะ ซึ่งแม้จะมีการตรวจค้นและการรักษาที่ดีเพียงไร แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจรักษาได้ไม่หายขาด และอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงอีกส่วนที่อาจรักษาไม่ได้และต้องเสียชีวิตไป ปี ๆ หนึ่งเป็นจำนวนมาก จะดีกว่าไหมที่เราจะหันมาป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา การป้องกันมะเร็งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลวีต โฮลเกรน เมล็ดธัญพืชชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – กินกะหล่ำและผักในตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาด ผักคะค้า ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่าช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และระบบทางเดินหายใจ – ทานอาหารที่มีวิตามินซี ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร – ทานอาหารที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียวเข้ม ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ – รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ไม่อ้วน…

  • การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ

    การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ

    การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ แม้ในเมืองจะไม่ค่อยเห็นการเผาขยะหรือเผาฟาง เผาหญ้าแห้งกันมากนัก แต่ตามต่างจังหวัดหรือชนบทยังมีการเผาไหม้ที่เกิดจากคนเผามากอยู่ดี การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเขม่าควัน ฝุ่นละออง และก๊าซพิษต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้าสู่ปอดทำให้ปอดอักเสบ นานเข้าก็อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอดได้ นอกจากการเผาขยะแล้ว การหุงข้างด้วยฟืน การก่อไฟผิง การสูบบุหรี่หรือแม้กระทั่งการจุดธูป จึงเป็นการก่อมลพิษโดยตรงที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนใกล้เคียงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้ผู้ที่เข้าปะทะกับควันเหล่านี้มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หากเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้ กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเมื่อประสบกับควันไฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ควรสวมหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินหลาย ๆ ชั้น หากทำให้เปียกด้วยก็จะยิ่งช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น และเมื่อเริ่มอึดอัดหายใจไม่สะดวกหรือสกปรกแล้วก็ควรเปลี่ยนผืนใหม่ด้วย – ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันไฟลอยเข้าภายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หากมีแอร์คอนดิชั่นหรือเครื่องกรองอากาศควรทำความสะอาดระบบกรองเป็นประจำ – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ หากภายในครอบครัวมีกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยควรสังเกตอาการ และหากมีสิ่งผิดปกติควรรับส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทุกคนในสังคมควรร่วมมือกัน หลีกเลี่ยงการก่อควันไฟซึ่งทำให้เป็นอันตรายและก่อมลพิษ หากทำได้ทุกคนก็จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นไปด้วยค่ะ

  • ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต

    ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต

    ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต มะเร็งไตเป็นโรคที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกันเหมือนมะเร็งอื่น ๆ อย่าง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ มากนัก ในประเทศไทยนั้นมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อแสนคน และผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ 50-70 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาตรวจพบมะเร็งไตเพราะมารักษาโรคอื่นๆ อาการของมะเร็งไตนั้น พบได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดบริเวณเอว คลำพบก้อนที่เอวซีด เบื่ออาหาร มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด สามารถแบ่งมะเร็งไตออกเป็น สี่ระยะได้แก่ ระยะแรกจะมีขนาดก้อนน้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร ยังไม่ลุกลาม และจะโตขึ้นกว่าเจ็ดเซนติเมตรแต่ยังอยู่ในไตเป็นระยะที่สอง ส่วนระยะที่สามเริ่มลุกลามไปยังหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือ ในระยะที่สุดจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ ต่อมหมวกไต ปอด ตับ กระดูก ซึ่งแนวทางการรักษามะเร็งไต ก็ได้แก่ การผ่าตัด สำหรับมะเร็งไตระยะที่ 1-2 การฉายรังสีเพื่อเป็นการบรรเทาอาการ การใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึงการให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่มีการกระจายตัวไปที่อวัยวะอื่นแล้วเท่านั้น และอีกวิธีคือการรักษาแบบเฉพาะเจาะกลุ่มโดยการใช้ยา ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ…

  • วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร

    วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร

    วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…

  • ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

    ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

    ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีรายงานการพบมะเร็งแล้วในคนกว่าร้อยชนิด และคนไทยเองก็ตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอันหนึ่งหนึ่งมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มการป่วยและตายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก โดยผู้ที่ป่วยกว่าครึ่งจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ค่อย ๆ คืบคลานอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึวควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่สุขภาพดังต่อไปนี้ 1. รักษาตัวไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน ทานอาหารแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาสภาพจิตใจให้สดใสสดชื่นทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น 2. ทานอาหารให้ครบถ้วนให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย แต่ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดหรือย่าง รวมไปถึงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปใส่ดินประสิว หรือเสี่ยงมีเชื้อรา และอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ด้วย ควรทานอาหารสด ๆ ผักสด ผลไม้สด นอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังมีกากใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย 3. งดสูบบุหรี่ สามารถลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ร้อยละ 60 4. งดสุรา หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการมะเร็งถึงเก้าเท่าและหากสูบบุหรี่ด้วยอีกจะเพิ่มความเสี่ยงสูงถึง 50 เท่า! 5. มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคู่หลายคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น 6.…

  • รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน

    รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน

    รักษาสุขภาพป้องกันมะเร็งไว้ก่อน สาเหตุการตายของคนไทยนั้นเกิดจากโรคมะเร็งเป็นอันดับหนึ่งมานานหลายปีแล้ว ปีหนึ่ง ๆ กว่าสามแสนรายเลยทีเดียว มะเร็งนั้นก็รู้กันอยู่แล้วว่ารักษาได้ยาก บางรายก็รักษาไม่หาย อีกทั้งยังมีหลายปัจจัยในการก่อโรคที่ระบุให้แน่ชัดลงไปไม่ได้อีกด้วย แต่การดูแลสุขภาพตัวเองไว้อย่างเหมาะสม เชื่อได้ว่าจะป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ซึ่งการดูแลตัวเองดังกล่าวนั้นได้แก่ 1. เน้นทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย มีไขมันน้อย และมีเส้นใยอาหารสูง ๆ อย่างผักผลไม้ทั้งหลาย ที่ยังให้วิตามินแร่ธาตุกับร่างกาย ช่วยต้านทานอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ไม่ควรทานอาหารปิ้งย่างไหม้เครียด ของหมักดองหรือแปรรูป ตลอดจนอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา และอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อย่างปลาร้า ปลาจ่อมด้วยนะคะ 2. ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรของคุณ และควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดีกับส่วนสูง เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงกระฉับกระเฉง และเสริมภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพ 3. เลิกสูบบุหรี่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด และงดดื่มสุราด้วยเพราะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง คอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านมด้วย 4. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัดจ้าในช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00-16.00 น. แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าลืมทาครีมกันแดดก่อนทุกครั้งด้วยค่ะ 5. ไม่สำส่อนในกามารมณ์ และมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกด้วย 6.…