Category: ความดันโลหิตสูง
-
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล
เทคนิคการเลิกบุหรี่ ที่มีคนทำตามแล้วได้ผล สาเหตุที่บุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่นั้นทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจหดเกร็ง หัวใจจึงต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น คาร์บอนมอนนอกไซด์สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงได้อย่างถาวร จึงเหลือเม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ได้น้อยลง จึงไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงที่กระด้าง ทำให้ผนังหลอดเลือดเป็นแผล หากเป็นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทำให้หัวใจขาดเลือด ยิ่งหากมีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน หรือไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดด้วยแล้ว ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจนี้ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ดู ได้ผลอย่างแน่นอนค่ะ 1. ต้องตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาดเสียก่อน 2. ขอกำลังใจจากคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว 3. ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อยวันละสองลิตร จะช่วยกำจัดนิโคตินจากร่างกาย 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน พวกชากาแฟอื่น ๆ รวมไปถึงแอลกอฮอล์ด้วย 5. หากรู้สึกง่วงนอน อ่อนพลีย หงอยเหงา ไม่สบายตัวควรอาบน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว จะทำให้สดชื่นขึ้นแล้วค่อยไปหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ 6. ไม่ควรทานอาหารอิ่มเกินไปหรืออาหารที่มีรสจัดจะทำให้อยากบุหรี่เพิ่มขึ้น 7. ทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น แทนอาหารที่ทานอยู่ประจำ 8. หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟีนออกมา
-
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…
-
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้
ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้ ในประเทศไทยเองมีผุ้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเพราะไม่แสดงอาการออกมา บางรายอาจแค่มึนงง หรือปวดหัวบริเวณท้ายทอย จึงไม่ไปตรวจรับการรักษา เมื่อเป็นนาน ๆ เข้า หลอดเลือดแดงในร่างกายจึงแข็งตัวและตีบตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม จนไตวายได้ เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้จึงอันตรายมากเพราะเป็นโรคแอบแฝง แต่สามารถคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ผู้ใหญ่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น มีภาวะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 3 คน เสียชีวิตปีละ 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ควารดูแลตนเองด้วยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าให้อ้วนเกินไป มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 2. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย รสชาติพอดีไม่ปรุงแต่งมากเกินไปจนเค็ม หวานหรือมัน ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง ทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น เลือกอบายมุขทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำหวานน้ำอัดลมต่าง ๆ ด้วย 3. หมั่นขยับเขยื้อนร่างกายเสมอ…
-
แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ
แยกความแตกต่าง และทำความเข้าใจ ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตต่ำ เชื่อได้เลยว่า หากพูดถึงคำว่าโรคความดันโลหิตสูง ผู้อ่านต้องเข้าใจว่าสูงเกินตัวเลข 140/90 มิลลิเมตรปรอทเป็นแน่ แต่ความจริงแล้วการจะบอกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้น ต้องพิจารณามากกว่าตัวเลขบนเครื่องวัด โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าอาการของโรคความดันโลหิตสูงก็คือ ปวดหัว เวียนหัว แต่ความจริงแล้วคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัวจากความดันโลหิตสูงนั้นมีไม่กี่ราย และทุกรายจะมีความดันสูงมากชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากโรคได้น้อย มักพบว่าเกิดจากความเครียดหรือความกลัวเมื่อปวดศีรษะจนทำให้ความดันสูงได้ คนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วอาจไม่มีอาการให้เห็น แต่ถ้าจะแสดงอาการก็แสดงว่าผลของความดันสูงนั้นกระทบต่อหลอดเลือดและหัวใจแล้ว ทำให้เกิดหัวใจโต บีบเลือดไม่ปกติ หัวใจล้มเหลว เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ตามัว ไตเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น การวัดความดันโลหิตนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะหากความดันสูงไม่จริงแล้วไปกินยาลดเข้าก็จะเป็นอันตรายได้ ความดันโลหิตของคนเรามีปัจจัยทำให้แกว่งขึ้นลงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวด ตื่นเต้น ตกใจ กังวล เครียด การวัดความดันโลหิตจึงต้องให้ผู้ป่วยนั่งพักให้สบายและผ่อนคลายก่อน แล้วจึงวัดหลาย ๆ รั้งแล้วค่อยนำค่ามาพิจารณา บางครั้งแพทย์อาจต้องพิจารณาสภาพร่างกายและความเจ็บป่วยด้วยไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขเท่านั้น ในส่วนของความดันโลหิตต่ำนั้น มักเข้าใจกันผิดบ่อย ๆ เพราะมันไม่ใช่โรคแต่เป็นความผิดปกติของแรงดันโลหิต มักเกิดในผู้ป่วยหนัก เช่น บาดเจ็บรุนแรงจนเสียเลือดมาก เสียน้ำและเกลือแร่มาก โลหิตเป็นพิษ หัวใจล้มเหลว หรือระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เป็นต้น บางครั้งก็พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง…
-
เพื่อน 4 คนและการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน
เพื่อน 4 คนและการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน มีเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่ที่นับถือกัน ซึ่งมีอายุเข้าหลักเลขห้ากันหมด ก็นับว่าวัยเกือบใกล้เกษียณเต็มที่แล้ว ท่านเล่าให้ฟังถึงเพื่อน 4 คนที่มีการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน รูปร่างและสุขภาพของท่านเหล่านั้นก็แตกต่างกันไปด้วย บางคนก็อ่อนกว่าวัยมาก บางคนก็ดูแก่กว่าอายุจริงไปเลย มาลองฟังกันดูว่าพวกท่านเหล่านั้นใช้ชีวิตกันอย่างไรบ้างนะคะ เพื่อนคนแรก เป็นวิศวกรมีตำแหน่งระดับ ผอ. เขาดูแลสุขภาพดีมาก ไม่แตะต้องอบายมุข ไม่กินเหล้าสูบบุหรี่ กินผักผลไม้ทุกวัน มีความสุข มองโลกในแง่ดี ไม่งัดข้อกับใคร และมีคติในชีวิตว่า ชีวิตคนเรานั้นมีเวลาไม่นาน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า เพื่อนต่อมา เป็นเภสัชกรและเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย มีรูปร่างกระชับคล่องแคล่ว เธอเล่าว่าแม้จะต้องนอนดึกเพราะทำงานหนัก แต่ก็หมั่นดูแลตัวเอง ออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งสม่ำเสมอ เลี่ยงของทอดของมันของหวานหมด ไม่ดื่มกาแฟหรือชาเลย กินปลาเล็กปลาน้อย และสัตว์เล็กต่าง ๆ ไม่กินอาหารกระป๋องอาหารสำเร็จรูป กินอาหารตามธรรมชาติ เพื่อนคนนี้ดูอ่อนกว่าวัยมาก อีกอย่างก็คือเป็นคนไม่เครียด ให้ความสำคัญกับความรักความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อนคนที่สาม ทำงานในครอบครัว ส่วนตัวเธอรับผิดชอบการเงินและบัญชี ชอบกินของทอดของมัน ขนมทุกชนิด กาแฟทั้งหวานและมัน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย นอนดึกบ่อย ๆ ผลการตรวจไขมันตั้งแต่อายุไม่ถึง 40 สูงถึง 200…
-
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด
เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ในแต่ละปีนั้นประเทศไทยพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีละกว่าสามแสนคน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีละแปดแสนคนเลยทีเดียว เพราะมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ไขมันสูง มีเกลือมากและรสชาติหวานมากเกินไป ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยนี้ให้ลดน้อยลง ให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการทานยา และมีจำนวนผู้ป่วยลดน้อยลงให้ได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้พอดีด้วยการกินแป้งที่ไม่ขัดข้าว พวกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง มัน เผือก เท่าที่พออิ่ม อาหารเหล่านี้มีเส้นใยอยู่ด้วยจึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้ อาหารอีกชนิดได้แก่ผักใบ ช่วยลดน้ำตาล ควบคุมน้ำหนักตัว และเส้นใยอาหารทำให้ดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ลดระดับคอเลสเตอรอลได้ดี อีกประการก็คือควรลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี รวมไปถึงระดับไขมันและความดันโลหิตด้วย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อแดง ไขมันสัตว์ กะทิ เนย นมไขมันสูง เพราะจะกระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไขมันทรานส์ที่พบได้มากในอาหารทอดน้ำมัน เบเกอรี่ เนย นมข้น ก็ยังเพิ่มระดับของ LDL ขึ้นและลดไขมันตัวดี HDL ลง เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นผนังหลอดเลือดแข็งตัว และเกิดโรคหลอดเลือดได้ ไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงต่อการไตวาย ซึ่งจะพบได้มากในผู้ป่วยเบาหวานประเภทสอง ผู้ป่วยเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูงนั้น ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ หากมีความตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมตนเองด้วยการกินอาหารที่ดี รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ…
-
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…
-
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำดีกว่านะ อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำพบได้มากในท้องตลาดจริง ๆ นับตั้งแต่เช้าที่เราทานปาท่องโก๋ทอด ก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ลูกชิ้นไส้กรอกทอด ทอดมัน เฟรนส์ฟราย ฯลฯ ล้วนก็ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการปรุงอาหารทั้งนั้น อาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก เพราะมีสารที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาจทำให้ร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งอีกด้วย สารดังกล่าวก็คือสารโพล่าร์ และโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน พบได้ทั้งในน้ำมันที่ทอดและจากไอระเหยขณะทอด เป็นอันตรายทั้งผู้ขายและผู้บริโภคนั้นเอง ซึ่งน้ำมันที่เสื่อมสภาพจากการทอดซ้ำนั้น เมื่อดูด้วยสายตาจะพบว่ามีความข้นหนืดมากกว่าปกติ มีสีดำเป็นฟองมาก เหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด น้ำมันปรุงอาหารจะเสื่อมสภาพได้มากเมื่อถูกความร้อนสูงและมีความชื้น ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดสารโพลาร์ ยิ่งเติมเครื่องปรุงหรือเกลือลงไปด้วยแล้ว ยิ่งเท่ากับเป็นการเร่งให้เกิดสารโพล่าร์มากขึ้นเท่านั้น ในภาคเหนือเองก็มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำสำหรับการแคบหมูกับอยู่เนือง ๆ การใช้น้ำมันซ้ำ และนำเอาน้ำมันหมูไปแบ่งขายอีก อาจทำให้ผู้บริโภคและผู้ผลิตได้รับอันตรายจากสารต่าง ๆ ดังนั้นหลีกเลี่ยงได้ก็จะเป็นการดีกว่าค่ะ
-
อร่อยปาก…ลำบากพุง !!!
อร่อยปาก…ลำบากพุง !!! อาหารอร่อย ๆ นั้นทุกคนไม่ว่าใครก็ชอบกิน เพราะอาหารอร่อยทำให้ผู้ทานรู้สึกมีความสุข คลายเครียดได้ หลายคนที่มีความเครียด หรือความกดดันจากชีวิตด้านอื่นมักจะเลือกการกินเพื่อบรรเทาความเครียดในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติที่ถูกปากที่ถูกปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ กลิ่นหอมที่ได้กลิ่นเมื่อไรก็น้ำลายสอ ความอร่อย หวานหอม สดชื่นจากเครื่องดื่ม และบรรยากาศดี ๆ ในร้านอาหารก็ยิ่งทำให้รู้สึกอยากกินบ่อย ๆ เมื่อเป็นแบบนี้นาน ๆ เข้า ความอ้วนและน้ำหนักเกินก็มาเยือน ยิ่งถ้าไม่ค่อยมีเวลาได้ออกกำลังกายมากขึ้น การมีโรคเรื้อรังก็ตามมา และนับวันปัญหาก็ยิ่งเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งในประเทสสหรัฐอเมริกาแล้ว อาหารที่ประชากรในประเทศทานก็ยิ่งเอื้อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มันฝรั่งทอด เนื้อแดงชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไส้หรอก หมูแฮม เบคอน อาหารขยะต่าง ๆ รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่คนอเมริกันทำนั้นก็ไม่ค่อยจะทำให้มีให้มีสุขภาพดีเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ๆ นอนๆ ดูทีวี หรือนอนน้อย เหล่านี้ทำให้ชาวอเมริกันประสบปัญหากับโรคอ้วนมากขึ้น แม้แต่คนไทยเองที่เริ่มกินเนื้อสัตว์มากกว่ากินข้าวและผัก ดื่มน้ำอัดลม ชาเย็น ของทอดน้ำมัน และอาหารปรุงแต่งมากขึ้น กินผักผลไม้น้อยลง นั่ง…
-
มากินพริกกันเถอะค่ะ
มากินพริกกันเถอะค่ะ พริกเป็นเครื่องปรุงเพิ่มรสเผ็ด มีหลายพันธุ์และหลายรูปแบบแล้วแต่การแปรรูป พบเจอได้ทุกครัวและร้านอาหาร การเติมพริกนั้นก็แล้วแต่ว่าลิ้นของท่านจะชื่นชอบรสเผ็ดมากขนาดไหน ก็ลางเนื้อชอบลางยากันไป พริกเนี่ย อันที่จริงแล้วไม่ได้ให้แต่รสเผ็ดอย่างเดียวนะคะ แต่ยังมีคุณค่าทางอาหารด้วยไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี คาโรตินอยด์ วิตามินเอ ช่วยบำรุงร่างกายแล้วยังมีสรรพคุณทางยาจากแคปไซซิน สารให้ความเผ็ดที่มีอยู่ในพริกอีกด้วย วันนี้เรามาดูกันไหมคะว่าพริกเผ็ด ๆ เนี่ย มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง – พริกช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น ลดความไวของปอดต่อสารระคายเคืองต่าง ๆ ช่วยขับเสมหะได้ด้วย ลดการบวมตัวของเซลล์ในหลอดลม ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม พริกจึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นหอบหืดช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้นนั่นเองค่ะ – พริกมีคุณสมบัติช่วยสลายลิ่มเลือดได้ – แคปไซซินมีฤทธิ์ช่วยชะลอการส่งผ่านของเซลล์ประสาทไปยังสมอง ทำให้รับรู้ความเจ็บปวดช้าลง จึงช่วยลดความปวดได้ – พริกมีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลาง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย หลับง่ายขึ้นและลดความดันโลหิตได้ด้วย – พริกทำให้กินอาหารได้มากขึ้น กระตุ้นความอยากอาหารได้ – ในพริกมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก จึงช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วยนะ แต่ทุกสิ่งนั้นเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียด้วยเช่นกัน การกินพริกนั้นควรระวังไว้ว่าไม่ควรทานในขณะท้องว่าง จะทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารจนเป็นแผลได้ สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลเป็นในกระเพาะอาหาร การทานอาหารเผ็ด ๆ อาจทำให้โรคกำเริบขึ้นได้ค่ะ ต้องระมัดระวังให้มากเช่นกัน