Category: มะเร็ง

  • คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

    คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

    คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในปัจจุบันนี้มีคนไทยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่กันมากขึ้น และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะมีความเสี่ยงหลายประการไม่ว่าจะเป็น การเป็นโรคลำไส้บางชนิด เช่น โรคเนื้องอกที่ผนังลำไส้ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง การมีกรรมพันธุ์ หรือมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ มักทานอาหารประเภทเนื้อแดง อาหารใส่ดินประสิว ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก อาหารรมควัน ทอดปิ้ง ย่างจนเกรียม อาหารที่ปนเปื้อนสายเคมี อาหารมีเส้นใยน้อย อีกทั้งยังพบว่ายิ่งมีอายุมากเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงขึ้น รวมไปถึงผู้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นเวลานานอีกด้วย ซึ่งอาการของผู้ป่วยนั้นจะมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดทวารหนักเวลาถ่าย มีลำอุจจาระที่ลีบเล็กลง มักมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย และหากก้อนมะเร็งโตจนอุดตันลำไส้แล้วจะปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ถ่าย และไม่ผายลม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนี้หากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกจะรักษาหายมากกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าเข้าสู่ระยะอื่น ๆ หรือแพร่กระจายแล้วจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร มะเร็งลำไส้ใหญ่นี้จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก การเข้าตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการตรวจอุจจาระและตรวจเลือดก็จะทำให้พบกับรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือพบกับมะเร็งระยะแรกเริ่มได้ มีประโยชน์มากเพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไรก็ยิ่งรักษาให้หายได้เร็วเท่านั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการระวังป้องกันไว้ก่อน และรักษาได้อย่างทันท่วงทีด้วยค่ะ

  • ชวนลูกกินผักกัน

    ชวนลูกกินผักกัน

    ชวนลูกกินผักกัน ผักนั้นเป็นอาหารที่มีราคาประหยัด แต่ให้วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ สูง มีประโยชน์มาก แต่ก็มีเด็กจำนวนมากเช่นกันที่ไม่ยอมกินผัก การหัดให้ลูกกินผักนั้นควรทำตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่หย่านมตอนหกเดือนเลย เด็กหลังหย่านมนั้น ควรให้เด็กเริ่มทานผักสุกก่อน โดยการนำเอามาบดให้ละเอียดปนไปกับข้าวต้ม โจ๊กหรือข้าวบด ก่อนการให้ผลไม้ เพราะเด็กอาจติดรสหวานจากผลไม้จนไม่ยอมกินผักได้ ให้ป้อนผักและผลไม้ชนิดใหม่ ๆ สัปดาห์ละอย่าง เด็กจะได้คุ้นกับผักผลไม้ไปเรื่อย ๆ และจะกินได้มากเมื่อโตขึ้น ในส่วนของเด็กที่เริ่มเคี้ยวได้แล้ว ควรให้ผักที่ต้มหรือลวกให้สุก จะทำให้ผักนิ่มและหวานอร่อย อาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่แกงจืดหรือผสมกับอาหารอื่น เด็กที่อายุมากกว่าสองขวบให้ทานได้ทั้งผักสุกและผักสด เลือกที่มีรสหวานสีสันน่ากินอย่างแครอทหั่นแท่ง หรือแตงกวาหั่นแท่ง ให้เด็กจับกินเองได้ แต่ผักบางชนิดที่ควรลวกหรือต้มก่อนก็มีเหมือนกัน อย่างข้าวโพด กะหล่ำปลี ฟักทอง เป็นต้น แต่สำหรับเด็กโตที่เกินจะเรียนรู้อาหารใหม่แล้ว ผู้ปกครองควรดัดแปลงผักให้มีรสชาติและรูปร่างที่ดูน่ากิน เช่น นำแครอท หรือถั่วผักยาว มาหั่นเป็นท่อนแล้วห่อด้วยกะหล่ำปลีแล้วนำไปนึ่ง หรือนำไปทำแกงจืดหมูสับเต้าหู้ การนำแตงกวาใหญ่มาคว้านออกแล้วใส่หมูทับเข้าแทนนำไปต้มจืด ก็หวานอร่อยเช่นกัน ฯลฯ หากเด็กไม่ยอมกิน ก็ลองมื้อต่อไป จัดผักให้ทานคู่กับอาหารที่เค้าชอบ แล้วผู้ปกครองควรชวนกินด้วยกัน ไม่ควรนำผักกลิ่นฉุนมาให้เด็กลอง เพราะเด็กอาจปฏิเสธผักทุกชนิดไปเลยได้ การชักชวนฝึกหัดให้ลูกกินผักนั้นเป็นสิ่งที่มีผลดีในระยะยาว สร้างนิสัยการกินที่ดี…

  • คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก

    คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก

    คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก การกินผักที่เพียงพอให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากนะคะ ยิ่งโดยเฉพาะเส้นใยอาหารและวิตามินในผักแล้วเนี่ย ในแต่ละวันเราควรกินผักทั้งผักสดและผักสุกให้ได้ประมาณ 4-6 ทัพพีต่อวันจึงเข้ามาเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกค่ะ ซึ่งสารอาหารที่เราได้รับจากผักนั้น หลัก ๆ ก็ได้แก่ – ได้รับเส้นใยอาหารอาหาร เส้นใยที่ละลายน้ำได้นั้นช่วยในการดักจับคาร์โบไฮเดรตให้มีการย่อยและดูดซึมช้าลง น้ำตาลในเลือดจึงมีความคงที่ ช่วยจับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดอัตราความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ส่วนเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย – ได้รับวิตามินเอ ช่วยรักษาสุขภาพดวงตาและการมองเห็น ทำให้ระบบสืบพันธ์ทำงานได้ตามปกติ ส่งเสริมพัฒนาการของร่างกาย ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำให้เซลล์ของผนังปอด ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะแข็งแรงด้วย ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ – วิตามินซี ช่วยในการสร้างคอลลาเจนทำให้กระดูก ฟัน หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง รักษาบาดแผล สร้างฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนไทร็อกซินที่ช่วยควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และเสริมภูมิคุ้มการโรคทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันความเสื่อมถอยของร่างกายได้ – ได้รับวิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระไม่ให้มาทำลายเซลล์ได้ ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคหัวใจหรือมะเร็ง วิตามินอีพบได้มากในผักโขม บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง การกินผักที่จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จริง ๆ นั้นควรทานผักที่ปลอดสารพิษ หรือถ้าเป็นผักที่ปลูกเองยิ่งดีใหญ่…

  • ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์

    ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์

    ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์ ความแก่ชรานั้นเป็นโรคชนิดหนึ่ง แล้วยังกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจ กระดูกพรุน อัลไซเมอร์และโรคอื่น ๆ เข้ามาทำลายร่างกายได้อีก ยิ่งมลภาวะในสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันยิ่งมากขึ้น ก็ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกายมากขึ้นด้วย ความแก่ชราจึงมาเยือนเร็วกว่าเดิม สมองก็เป็นอีกอวัยวะหนึ่งเช่นกัน ที่ได้รับผลกระทบจากความแก่ชราของร่างกายไปด้วย โรคอัลไซเมอร์ คือโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ถูกค้นพบเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มักพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โรคนี้ทำให้เกิดความบกพร่องในระดับของสติปัญหา ทั้ง ความคิด ความจำ การตัดสินใจ ซึ่งอาการของโรคนี้จะแบ่งออกเป็นสามระยะได้แก่ – ระยะแรก ผู้ป่วยจะเสียความจำ ที่ไม่เหมือนกันหลงลืมทั่วไป แต่จะจำอดีตไม่ได้ จำสิ่งใหม่ ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นตรงหน้าก็ไม่ได้ – ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว ก้าวร้าว อาจเดินออกจากบ้านแล้วกลับบ้านไม่ถูก – ระยะสุดท้าย สมองจะถูกทำลายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกายได้ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด ผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการสื่อสาร การคิด การเรียนรู้ การใช้เหตุผล ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างรุงแรง…

  • ภาวะไขมันคั่งในตับ

    ภาวะไขมันคั่งในตับ

    ภาวะไขมันคั่งในตับ  โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับที่เพิ่มอัตราผู้ป่วยมากขึ้นในระยะหลายปีมานี้ มักจะเป็นผู้ที่ไม่เคยดื่มเหล้า หรือติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบมาก่อนเลย แต่จะมีลักษณะร่วมคล้าย ๆ กันก็คือ ผู้ป่วยอ้วนน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ในตับจึงตรวจพบไตรกลีเซอร์ไดร์คั่งสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ตับอักเสบเป็นเวลานาน จนเกิดพังผืดขึ้นและลุกลามจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ตับนั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญชิ้นหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่หลายอย่าง ทั้งกักเก็บสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน โคเลสเตอรอล วิตามิน ควบคุมการสันดาปของฮอร์โมน ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดเมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บ ช่วยกำจัดสารพิษของร่างกายได้ด้วย ฯลฯ เมื่อตับมีไขมันมาคั่งอยู่เป็นจำนวนมาก การทำงานของตับจึงผิดปกติ ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย ภัยแฝงจากภาวะไขมันคั่งในตับนี้มักจะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว แรก ๆ จะมีสุขภาพเป็นปกติ อาจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าเอนไซม์ตับสูงผิดปกติ หากไม่เคยตรวจเลยก็อาการก็อาจพัฒนาไปสู่ภัยร้ายได้มากขึ้น เมื่อภาวะไขมันคั่งในตับรุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแน่นชายโครงขวา อึดอัด เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ อ่อนเพลีย อาจมีท้องผูกสลับกับท้องเสีย บางคนก็มีอาการดีซ่าน คลื่นไส้อาเจียน จนกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด ผู้ที่มีภาวะไขมันตั่งตับนั้น ควรดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการควบคุมอาหารและดูแลน้ำหนักตัว ยิ่งคนที่อ้วนน้ำหนักเกินเป็นเบาหวาน และมีไขมันสูงด้วยแล้วจะมีโอกาสเกิดภาวะไขมันสะสมในตับได้ถึงร้อยละ 90 ควรใส่ใจในเรื่องของอาหาร ทานแต่อาหารที่ปรุงแต่งน้อย ๆ เช่น…

  • จิตสดใส ใจสบาย ป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย

    จิตสดใส ใจสบาย ป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย

    จิตสดใส ใจสบาย ป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย โรคมะเร็งเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่คิดว่าต้องทุกข์ทรมานและมีอัตราการตายสูง นับวันยิ่งมีโรคมะเร็งเกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุเกิดได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะอาหาร อากาศ มลพิษต่าง ๆ กรรมพันธุ์ และความเครียด ที่อยู่ในใจ รวมไปถึงอารมณ์แง่ลบต่าง ๆ นั้น เช่น อารมณ์โกรธ ความเกลียดชัง หงุดหงิด ความโลภ ความริษยา ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ และเป็นบ่อเกิดของโรคมะเร็งได้ทั้งสิ้น นั่นเป็นเพราะว่าระบบของร่างกายทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด จิตใจที่ดี มีความสบายใจปราศจากอารมณ์แง่ลบจะป้องกันโรคร้ายได้ มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันมากขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็จะหายได้เร็วกว่าคนที่เอาแต่เคร่งเครียด ท้อแท้ โกรธเกรี้ยว สิ้นหวัง จากการวิจัยพบว่าเมื่อร่างกายมีความเคร่งเครียดระบบเส้นเลือดฝอยจะมีขนาดเล็กลง เนื่องจากระบบประสาทซิมพาเทติกถูกกระตุ้น ต่อมไทมัสและต่อมน้ำเหลืองต่าง ๆ จะลดความไวลงไปโดยอัตโนมัติ ผู้ที่มีความเครียดเป็นเวลายาวนานจะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีปริมาณสูงจนผิดปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น หากผู้ป่วยมะเร็งนั้นมีจิตใจท้อแท้ สิ้นหวัง ก็ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง โรคจะลุกลามได้ง่ายขึ้นไปอีก ในทางตะวันตกนั้น จะให้ความสำคัญในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยการดูแลในด้านจิตใจ ฝึกฝนให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดความเจ็บป่วย ฝึกการสร้างจินตภาพเพื่อเพิ่มการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว และขจัดเซลล์มะเร็งได้ นำเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ช่วยปรับจิตปรับใจของผู้ป่วยให้หายเจ็บปวดได้ด้วยการรู้เท่ากันอารมณ์ขุ่นมัว ลดความโกรธ ความเครียด…

  • มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย

    มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย

    มะเร็งตับ พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย มะเร็งตับนั้นเป็นมะเร็งที่พบได้มากในคนไทยค่ะ เป็นอันดับหนึ่งของผู้ชาย และเป็นอันดับที่สี่ของทั้งสองเพศรวมกัน ผู้ชายจะพบว่าเป็นได้มากกว่าผู้หญิงถึง 2-3 เท่าตัว โรคมะเร็งตับนี้มักจะพบเมื่อแสดงอาการแล้ว เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เจ็บชายโครงด้านขวา มักได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ในบ้านเรามีมะเร็งตับอยู่สองแบบได้แก่ 1. มะเร็งตับที่เกิดจากโรคพยาธิใบไม้ในตับ จากการกินปลาดิบ ทำให้เป็นมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งก็คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ภายท่อน้ำดีส่วนที่อยู่ภายในตับ พบมากในภาคอีสานและภาคเหนือ 2. มะเร็งตับที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี หรือสองตัวรวมกัน สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด หรือถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ เมื่อติดเชื้อแล้วจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายได้นานเป็นสิบปี สามารถแพร่เชื้อเป็นพาหะได้ กลายเป็นโรคตับอักเสบในที่สุด จะกลายเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับ อาจกินเวลาฟักตัวเป็นโรคนานถึง 30-50 ปี ยิ่งหากผู้ป่วยดื่มเหล้าก็จะยิ่งทำให้เกิดโรคตับได้เร็วขึ้นด้วย ในด้านของการป้องกันมะเร็งตับนั้น สามารถทำได้โดยไม่กินปลาน้ำจืดดิบ ๆ เด็ดขาด ควรกินเฉพาะที่สุกเท่านั้น หากตรวจพบว่าเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับให้รีบกินยารักษาแล้วอย่ากินปลาดิบอีก งดการดื่มสุรา และไปฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิด แล้วหมั่นตรวจสุขภาพ ตรวจเลือดเป็นประจำด้วย หากเป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ควรรักษากับแพทย์ทุก 3-6 เดือนตามนัดอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเป็นมะเร็งตับระยะแรกจะได้รักษาให้หายได้  

  • ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี

    ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี

    ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับโรคไวรัสตับอักเสบเอ และบี กันมากกว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีนะคะ ความจริงแล้วโรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อนี้ไปแล้วกว่า แปดแสนคน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดผ่านเข็มร่วมกับผู้อื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้จะอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ติดต่อสู่ผู้อื่นคล้ายโรคไวรัสตับอักเสบบีและเอดส์ ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงก็ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น การสักหรือการเจาะผิวหนัง การฝังเข็ม การใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือติดต่อจากการทำฟัน รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็ด้วย ส่วนมากมักจะติดต่อกันทางเลือดมากกว่าทางเพศสัมพันธ์ อาการของไวรัสตับอักเสบซีนี้จะมีอาการ ตัวเหลือง ดีซ่าน ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บวม มีน้ำในช่องท้อง การจะคัดแยกผู้ป่วยต้องผ่านทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะทราบ อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจาก 10 ปีผ่านไปแล้ว เข้าสู่ปีที่ 12 จะเริ่มแสดงอาการตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้น และเมื่อผ่านไป 30 ปี ตับก็จะถูกทำลายจนมีอาการของตับแข็ง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเป็นมะเร็งตับ การดำเนินโรคของโรคนี้จะเป็นไปโดยช้า ๆ ผู้ป่วยไม่เคยรู้ตัวเลยว่ามีโรคนี้ซ่อนอยู่หากไม่ได้ตรวจเลือด มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณร้อยละ 15-20 ที่หายได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการรักษาก็มักจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับในที่สุด โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้ยังไม่มีไวรัสป้องกันเหมือนไวรัสตับชนิดอื่น…

  • โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

    โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง

    โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนั้นหมายถึง การอักเสบของตับที่นานเกินกว่าหกเดือนขึ้นไป ตรวจเลือดแล้วพบร่องรอยการอักเสบ มีสาเหตุมาจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ไขมันพอกตับ หรือภาวะภูมิต้านทานตนเอง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากข้อใดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีซึ่งสามารถป้องกันและลดอันตรายลงได้ โรคนี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับแทรกซ้อน บางรายไม่มีอาการแต่ตรวจเลือดพบได้ อาจมีอาการได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลียซึ่งมักเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น นอกจากนี้ยังมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเป็นต้น ในระยะท้ายที่เริ่มเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้วก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าย น้ำหนักลด ท้องบวม เท้าบวม ยิ่งหากเป็นผู้ที่มีพี่น้องเป็นพาหะของโรคนี้หรือเป็นโรคตับอักเสบอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และหากพบว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสควรปฏิบัติตามดังนี้ 1. พบแพทย์ กินยา และเข้ารักษาตามเวลา ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต 2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3. ห้ามบริจาคเลือด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา มีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น 5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ 6. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีพิษต่อตับทำให้อักเสบรุนแรงได้ ในส่วนของการป้องกันสามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี 2. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์…

  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…