Category: อัลไซเมอร์
-
อาหารกินแล้วบำรุงสมอง
อาหารกินแล้วบำรุงสมอง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน อาการสมองเสื่อมก็สามารถเข้ามาเยี่ยมเยือนได้ทุกเมื่อ ทีนี้หากเรายังไม่อยู่ในวัยที่สมองจะเสื่อมสภาพ เราจะดูแลสมองของเราอย่างไรดี วันนี้เราจะมาลองเฟ้นหาเมนูที่มีสรรพคุณในการบำรุงสมองและความจำกันนะคะ หลังจากนี้ไปจะได้ไม่ขี้หลงขี้ลืมกันอีกค่ะ – ในกลุ่มพืชผัก อาหารที่ช่วยบำรุงสมองได้แก่ พริก ขิง หอมหัวใหญ่ ช่วยเพิ่มเซลล์สมองและมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการหลั่งสารอะซีทิลโคลีน จึงช่วยให้ความจำดีขึ้น, ใบบัวบก ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น แล้วยังกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองด้วย อีกทั้งมะเขือเทศยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการทำลายของมลพิษต่าง ๆ รวมไปถึงบร็อกโคลีที่มีวิตามินเค ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ เพิ่มความสามารถในการจำได้ด้วย และผักใบเขียวหลากชนิดก็ช่วยป้องกันสมองเสื่อมได้เช่นกัน – ในกลุ่มของเมล็ดพืช และธัญพืช ทั้งถั่ว ข้าวซ้อมมือ เมล็ดฟักทอง ซีเรียล รำข้าว มีกรดโฟลิก วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 ช่วยในเรื่องของความจำบำรุงสมองได้อย่างยอดเยี่ยม ในเมล็ดฟักทองยังมีธาตุสังกะสีเป็นจำนวนมาก มีส่วนช่วยในเรื่องของการเพิ่มความจำได้เช่นกัน – ในกลุ่มของไข่ เนื้อสัตว์และปลาทะเล มีโปรตีนที่ช่วยบำรุงสมอง ปลาทะเลก็มีกรดไขมันโอเมก้าสาม ที่ช่วยบำรุงระบบประสาท ลดการเกิดพลัคในสมองและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย – แล้วยังมีผลการวิจัยใหม่ ๆ ที่ระบุด้ววยว่า ในช็อกโกแลต ชา องุ่น…
-
สังเกตดู.. ตัวคุณเริ่มสมองเสื่อมหรือยัง?
สังเกตดู.. ตัวคุณเริ่มสมองเสื่อมหรือยัง? อาการสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทำงานด้วย วันนี้ลองมาสังเกตอาการของตัวเองกันว่าเริ่มเข้าข่ายสมองเสื่อมหรือยังจาก 10 สัญญาณเตือนต่อไปนี้ 1. ความจำเสื่อม 2. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่คุ้นเคยได้ 3. มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียน 4. หลงลืมเวลา 5. อารมณ์แปรปรวน 6. คิดเรื่องซับซ้อนไม่ได้ 7. วิจารณญาณไม่ดี เกิดการกระทำที่บกพร่อง 8. คิดสิ่งใหม่ ๆ ไม่ได้ 9. บุคลิกเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม (จากที่เคยเป็น) 10. วางของไม่ถูกที่ถูกทาง
-
เชื่อหรือไม่ว่า การที่เกษียณจากงานช้าลง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ได้
เชื่อหรือไม่ว่า การที่เกษียณจากงานช้าลง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคอัลไซเมอร์ได้ การที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำในแต่ละวัน และถ้าเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถ หรือการเล่นเกมลับสมองที่ทำให้สนุกสนาน ล้วนแต่ช่วยให้ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยชี้ว่าผลการศึกษาเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องยืดเวลาของการเกษียณจากงานเสมอไป เพราะการไม่ยอมอยู่นิ่งๆ การมีกิจกรรมที่ท้าทายสติปัญญาและความคิดอยู่เสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมทั้งการทำในสิ่งที่สนุกสนานและมีคุณค่าต่อตัวเอง ก็มีความสำคัญและล้วนแต่เป็นปัจจัยช่วยทั้งสิ้น ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ของชาวฝรั่งเศสที่เกษียณจากงานแล้วราว 430,000 คนพบว่า การเกษียณจากงานช้าลงหนึ่งปีจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซมเมอร์ลงได้ปีละ 3.2 % โดยนักวิจัยยกตัวอย่างว่าผู้ที่เกษียณจากงานเมื่ออายุ 65 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคความจำเสื่อมน้อยกว่าผู้ที่เลิกทำงานเมื่ออายุ 60 ปีราว 15 % ข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ในปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีปัญหาความจำเสื่อมอยู่ราว 35 ล้านคนทั่วโลก และโรคอัลไซมเมอร์ก็เป็นปัญหาเรื่องความจำเสื่อมลักษณะหนึ่งซึ่งพบได้มากที่สุด สำหรับในสหรัฐฯ เองขณะนี้มีผู้ป่วยอัลไซมเมอร์อยู่ราวห้าล้านคน
-
นักวิจัยพบว่าความรู้สองภาษา สามารถช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้
นักวิจัยพบว่าความรู้สองภาษา สามารถช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้ นักวิจัยค้นพบว่า ผู้สูงอายุที่มีความรู้ถึง 2 ภาษา สามารถช่วยชะลอความแก่ และการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สองเมื่อตอนมีอายุแล้วก็ตาม การวิจัยชิ้นนี้มาจากประเทศอินเดีย โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างเกือบ 650 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 66 ปี ในจำนวนนี้มีผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์ 240 คน นอกจากนั้น 391 คนพูดได้สองภาษาเป็นอย่างน้อย ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่รู้สองภาษามีอาการเริ่มต้นโรคอัลไซเมอร์ช้ากว่าคนรู้ภาษาเดียว ประมาณสี่ปีครึ่ง อย่างไรก็ตามผู้ที่รู้ภาษาที่สามหรือมากกว่านั้น ไม่ได้เปรียบคนที่พูดได้สองภาษาในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยพบว่าระดับการศึกษาไม่เกี่ยวข้องกับผลที่นักวิจัยต้องการศึกษา นอกจากนั้นเด็กที่โตมาพร้อมกับการเรียนสองภาษาไม่ได้เปรียบผู้ที่เรียนรู้อีกภาษาในภายหลัง ในเรื่องการชะลออาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์
-
ทีมนักวิจัยในสหรัฐ วิเคราะห์เลือด ระบุผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต
ทีมนักวิจัยในสหรัฐ วิเคราะห์เลือด ระบุผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต ทีมนักวิจัยในสหรัฐชี้ว่าระดับไขมันบางชนิดในกระแสเลือดที่ต่ำกว่าปกติสามารถช่วยระบุได้ว่าคุณจะเป็นโรคอัลไซม์เม่อร์สในอนาคตหรือไม่ ในปัจจุบัน วงการแพทย์ยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซม์เมอร์ส ที่ได้ผลและการตรวจวินิจฉัยว่า ใครจะเป็นโรคนี้ยังมีวิธีเดียวคือ การแสกนสมองแบบ MRI ที่เสียค่าใช้จ่ายสูง การตรวจเลือดที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนานี้จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคอัลไซม์เมอร์สง่ายมากขึ้น ทีมนักวิจัยทำการวัดระดับไขมันมากกว่า 140 ชนิดในตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครและพบว่ามีไขมันอยู่ 10 ชนิดที่มีปริมาณน้อยกว่าปกติและตรวจพบในอาสาสมัครที่กลายเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สในช่วงห้าปีต่อมา Dr. Mapstone กล่าวว่าระดับไขมันนี้ช่วยทีมวิจัยพยากรณ์ได้แม่นยำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ว่าใครจะเป็นโรคอัลไซม์เมอร์สบ้างแต่เขาคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าไขมันในกระแสเลือดเหล่านี้บางตัวอาจเปลี่ยนแปลงในกรณีของการเกิดโรคชนิดอื่นๆ และทีมนักวิจัยยังไม่ได้ศึกษาในประเด็นนี้ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องวิเคราะห์กันต่อไป นักวิจัยยกตัวอย่างว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในผู้สูงวัยและผลการวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่ผ่านมาชี้ว่าความผิดปกติในระบบเผาผลาญพลังงานมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคความจำเสื่อมในผู้สูงวัย แต่ข้อมูลที่ได้ จากผลการตรวจเลือดนี้ ยังไม่มีประโยชน์มากนัก เพราะวงการแพทย์ ยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซม์เมอร์ส เขากล่าวว่าหากค้นพบวิธีบำบัดโรคเมื่อไหร่ การตรวจเลือดนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยคัดกรองโรคและนำไปสู่การรักษาแต่เนิ่นๆ
-
วิธีทดสอบความสามารถทางความคิดแบบง่ายๆ ช่วยให้ตรวจหาความผิดปกติด้านความจำ ได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
วิธีทดสอบความสามารถทางความคิดแบบง่ายๆ ช่วยให้ตรวจหาความผิดปกติด้านความจำ ได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ การทดสอบเพื่อประเมินความสามารถทางความคิดของคนเราไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ Dr. Douglas Scharre ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความผิดปกติด้านความทรงจำ (Memory Disorders Research Center) ในมหาวิทยาลัย Ohio State University กล่าวว่าการทดสอบส่วนมากต้องใช้เจ้าหน้าที่ทดสอบที่ได้รับการฝึกฝน ทำให้การทดสอบมีราคาสูงและบางคนไม่ชอบตอบคำถามตัวต่อตัวเพราะกลัวว่าจะตอบคำถามไม่ถูก การทดสอบความสามารถทางความคิดและความจำแบบจัดทำด้วยตนเอง self administered จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบอาการผิดปกติทางความจำได้แต่เนิ่นๆ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยที่ละเอียดมากขึ้นและผู้ป่วยได้รับการบำบัดเร็วขึ้น ต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วิธีทดสอบแบบนี้เป็นวิธีทดสอบที่น่าเชื่อถือ และทีมนักวิจัยของเขาค้นพบว่าวิธีทดสอบแบบนี้ยังมีประสิทธิภาพในการทดสอบกลุ่มคนขนาดใหญ่ การทดสอบความสามารถทางความคิดนี้ ไม่จำเป็นต้องจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์ทันสมัยแต่อย่างใด เพียงเเค่ใช้ดินสอและแบบทดสอบสี่หน้ากระดาษที่ถามคำถามแบบตรงๆ โดยคำถามเหล่านี้ออกแบบในการประเมินการทำงานของสมองในหลายๆ ส่วน หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าคำถามในบททดสอบรวมเอาคำถามเกี่ยวกับวันและวันที่ การทดสอบความสามารถทางภาษา การคิดคำนวณ การประมวณข้อมูล ความทรงจำ โดยข้อสอบนี้ใช้เวลาทำแค่ 15 นาที การทดสอบความสามารถทางความคิดด้วยตนเองแบบ SAGE นี้ ออกแบบให้ในการตรวจหาปัญหาความบกพร่องของความสามารถทางความคิดในกลุ่มผู้สูงวัย แต่ไม่ใช่การทดสอบหาโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซม์เมอร์ส หรือโรคใดๆ เป็นการเฉพาะ Dr. Scharre หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าการทดสอบนี้ไม่ใช่วิธีตรวจหาอาการของโรคใดๆ เป็นการเฉพาะแต่เป็นวิธีการวัดระดับความคิดของคนเเต่ละคนเท่านั้น และคนทั่วไปสามารถทำการทดสอบนี้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดใด นอกจากนี้ยังเริ่มจัดทำออกมาเป็นภาษาอื่นๆ อีกด้วยนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ