Category: อัลไซเมอร์
-
ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้
ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ การหาเวลาการออกกำลังกายวันละ 30 นาที เพียงแต่สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ยังผลให้สุขภาพกายเราดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ช่วยต่อต้านโรคภัยได้หลากหลาย ซึ่งการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณดังต่อไปนี้ 1. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายออกทางรูขุมขนซึ่งก็คือเหงื่อนั่นเอง ช่วยลดสารพิษตกค้างในร่างกายด้วย 2. ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น กว่าร้อยละ 70 ของคนที่ออกกำลังกายจะนอนหลับได้สนิทกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย ทั้งนี้ควรออกกำลังกายก่อนเวลา 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยค่ะ 3. ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้ความจำดีขึ้น กระตุ้นความคิดและทำให้สุขภาพจิตดี ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์และโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ 4. ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดเวลาการย่อยลง ลดความเจ็บปวดจากโรคริดสีดวงทวารและลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดี ส่งเสริมให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานได้มากขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารด้วย 5. ทำให้มีสุขภาพจิตทีดี ลดความเครียด บรรเทาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลต่าง ๆ ลดความคิดในการฆ่าตัวตายได้ 6. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง มวลกระดูกเพิ่มขึ้นและหนาแน่นขึ้น ลดความเจ็บปวดจากหลังได้ร้อยละ 80 กระตุ้นการทำงานของกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้อโดยรอบ ช่วยขับของเสียออกจากล้ามเนื้อและกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้นได้ 7. ป้องกันโรคหวัด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานต่อสู้กับเชื้อโรคได้รวดเร็วและตอบสนองได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงติดโรคเรื้อรังได้…
-
ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย
—
by
ประโยชน์ 14 ข้อจากการออกกำลังกาย 1. ลดความเจ็บปวดของร่างกายลงได้หากเกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วย เพราะข้อต่อ กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะมีความแข็งแรง จึงทำให้ได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยหรือเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ได้น้อยลง 2. ภูมิใจในรูปร่างที่เซ็กซี่ของตนเอง มีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้รู้สึกดีต่อตัวเองมากขึ้น ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้มากขึ้นด้วย 3. การออกกำลังกายลดการอักเสบในช่องปากได้ จึงมีปัญหาโรคปริทันต์น้อยลงด้วย 4. ช่วยปลอดปล่อยพลังงานสะสมในร่างกายออกมา ลดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า อารมณ์ดีขึ้น 5. ลดปริมาณไขมันที่เกิดขึ้นจากความเครียด หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากความวิตกกังวล 6. ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดลงได้ถึงร้อยละ 33 สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้มากขึ้น 7. บำรุงสายตาได้ด้วยนะ ลดภาวะจุดรับภาพเสื่อมที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้ถึงร้อยละ 70 แต่ระหว่างกายออกกำลังกายกลางแจ้งควรสวมแว่นกันรังสียูวีไว้ด้วยล่ะ 8. ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น ยาวนานขึ้น นอนหลับสนิทขึ้น สุขภาพคุณจึงดีขึ้นหลายส่วน 9. แม้แต่การเดินก็ยังช่วยให้คุณห่างไกลโรคเบาหวานได้อีกหลายก้าวแล้ว 10. การออกกำลังกายช่วยลดไขมันรอบเอว ลดแก๊สในร่างกาย กระตุ้นการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ ป้องกันอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ เร่งให้กระบวนการย่อยอาหารเร็วขึ้น 11. ทำให้สมองสดใสขึ้น มีความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลดลง ป้องกันภาวะสมองตื้นสร้างกล้ามเนื้อให้สมองของตนเองได้…
-
ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย
ดนตรีบำบัด บำบัดทุกข์ทางใจและทางกาย ดนตรีบำบัดหมายถึงการนำเอาดนตรีหรือส่วนประกอบอื่น ๆ มาใช้เพื่อบำบัดฟื้นฟูเยียวยาร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ของผู้ป่วย ดนตรีจะทำให้อารมณ์ด้านลบที่ถูกเก็บไว้ในร่างกายและจิตใจเปิดเผยออกมา เมื่อได้รับการดูแลด้วยกระบวนการที่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดกำลังใจ และพบความสมดุลของอารมณ์ ทำให้ต่อสู้กับโรคภัยทั้งทางกายทางใจได้ ซึ่งสามารถบำบัดได้ด้วยการฟังและการเล่น เคยมีหลักฐานทางการแพทย์ว่าเสียงดนตรีช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในระหว่างการคลอดได้ ด้วยการฟังดนตรีคลาสสิก ปัจจุบันนี้ได้มีการทำดนตรีแนวใหม่ที่เรียกว่า New age music เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย สร้างสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มักนิยมเปิดในระหว่างการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือระหว่างการพักผ่อนหรือบำบัดในสปา ดนตรีบำบัดนั้นสามารถใช้ได้ทุกวัย และบรรเทาปัญหาที่แตกต่างกันได้หลากหลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาพัฒนาการบกพร่อง ปัญหาโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ความพิการทั้งทางกาย และยังเหมาะสำหรับคนปกติทั่วไปที่ต้องการผ่อนคลายจากความตึงเครียดและปลดปล่อยอารมณ์ด้วย ประโยชน์ของดนตรีบำบัดนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น.. ช่วยปรับสภาพจิตใจให้สมดุล ลดความวิตกกังวล กระตุ้นประสาทสัมผัส เสริมสร้างความจำ พัฒนาการเรียนรู้ สร้างสมาธิ ช่วยให้มีทักษะหลายด้านดีขึ้น พัฒนาการเคลื่อนไหว ลดความเครียดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการรักษา และส่งเสริมกระบวนการบำบัดทางจิตเวชได้ดีเยี่ยม ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วดนตรีบำบัดสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ โดยไม่มีรูปแบบที่ตายตัว โดยเริ่มจากการประเมินผู้รับบำบัดแล้วค่อยวางแผนการบำบัดและเลือกดนตรีให้เหมาะสมไปสำหรับแต่ละราย ซึ่งการแพทย์ทางเลือกในปัจจุบันเริ่มมีบทบาทที่ชัดเจนในการช่วยการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษาและดูแลสุขภาพของคนไข้ มีหลายโรงพยาบาลที่นำเอาดนตรีบำบัดเข้าไปเป็นส่วนร่วมในการรักษามากขึ้น…
-
รักและเข้าใจผู้ป่วยอัลไซเมอร์
รักและเข้าใจผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ในประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยนั้น พบผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 1-2 ของประชากรในช่วงอายุ 60-69 ปี เลยทีเดียวนะคะ ยังไม่พบสาเหตุของโรคและการรักษาก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมอาการของโรคเท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแล เพราะส่วนใหญ่แล้วจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ที่เข้ามาดูแลจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทานยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัด และให้ข้อมูลของผู้ป่วยกับแพทย์ให้มากที่สุดด้วย ซึ่งการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นี้ก็มักเป็นลูกหลานหรือญาติสนิท และต่อไปนี้คือแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ค่ะ 1. ผู้ดูแลที่จำเป็นต้องใช้ความใจเย็นในการดูแลกับทั้งต้องเข้าใจผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วย เพราะผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำและการใช้ความคิด ตลอดจนการควบคุมตนเอง อาจมีการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพ พฤติกรรม จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 2. ผู้ดูแลควรให้ความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันของผุ้ป่วย เช่น การกินอาหาร การขับถ่าย การอาบน้ำ การสวมเสื้อผ้า และดูแลในเวลาที่ออกข้างนอกเพื่อมิให้หลงกัน 3. ดูแลในเรื่องการใช้ยาและการพาไปพบแพทย์ เพราะบางรายอาจต้องได้รับยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น ยานอนหลับ ยาลดความซึมเศร้า ผู้ดูแลควรช่วยในเรื่องการทานยาให้สม่ำเสมอและถูกต้อง พาไปพบแพทย์ตามนัด และสังเกตอาการเพื่อรายงานแพทย์ด้วย 4. ดูแลในเรื่องความปลอดภัยและอุบัติเหตุทั้งหลาย 5. ดูแลในเรื่องจิตใจ โดยการให้กำลังใจ ดูแลเรื่องการกินอยู่ การออกกำลังกาย และการหากิจกรรมกับผู้สูงอายุด้วยกัน หากผู้ป่วยความจำยังไม่บกพร่องมากสามารถหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมได้ 6. ผู้ดูแลก็ต้องดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของตัวเองด้วย เพราะการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นี้มักทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาทางด้านอารมณ์ขึ้นมาได้ อาจหาคนปรึกษาหรือหาเวลาเป็นส่วนตัวด้วยการสลับสับเปลี่ยนกันดูแลผู้ป่วยบ้างก็น่าจะดีขึ้นได้ เพราะการดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ…
-
ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์
ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์ ความแก่ชรานั้นเป็นโรคชนิดหนึ่ง แล้วยังกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจ กระดูกพรุน อัลไซเมอร์และโรคอื่น ๆ เข้ามาทำลายร่างกายได้อีก ยิ่งมลภาวะในสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันยิ่งมากขึ้น ก็ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกายมากขึ้นด้วย ความแก่ชราจึงมาเยือนเร็วกว่าเดิม สมองก็เป็นอีกอวัยวะหนึ่งเช่นกัน ที่ได้รับผลกระทบจากความแก่ชราของร่างกายไปด้วย โรคอัลไซเมอร์ คือโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ถูกค้นพบเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มักพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โรคนี้ทำให้เกิดความบกพร่องในระดับของสติปัญหา ทั้ง ความคิด ความจำ การตัดสินใจ ซึ่งอาการของโรคนี้จะแบ่งออกเป็นสามระยะได้แก่ – ระยะแรก ผู้ป่วยจะเสียความจำ ที่ไม่เหมือนกันหลงลืมทั่วไป แต่จะจำอดีตไม่ได้ จำสิ่งใหม่ ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นตรงหน้าก็ไม่ได้ – ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว ก้าวร้าว อาจเดินออกจากบ้านแล้วกลับบ้านไม่ถูก – ระยะสุดท้าย สมองจะถูกทำลายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกายได้ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด ผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการสื่อสาร การคิด การเรียนรู้ การใช้เหตุผล ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างรุงแรง…
-
ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน
ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน ญาติ ๆ และผู้ดูแลคนป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น มักจะมีความเครียดกับการดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ ก่อนที่สุขภาพจิตจะแย่ไปกว่านี้ลองมาดูแนวทางการบรรเทาความเครียด และสร้างกำลังใจกันดูหน่อยดีไหมคะ 1. ทำใจยอมรับและทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำหรือเรียกร้องความสนใจแต่อย่างใด เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมองฝ่อลง จึงทำให้ผู่ป่วยแสดงพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น โดยที่ผู้ป่วยเองก็ไม่ได้ตั้งใจด้วย 2. อย่าไปโกรธตอบผู้ป่วย อย่างที่บอกไปข้อแรกแล้ว ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะแสดงออกมาเช่นนั้น จะโกรธหรือหงุดหงิดไปเพื่ออะไร 3. หากเหนื่อยกายเหนื่อยใจนักก็หาคนมาสับเปลี่ยนบ้าง หากญาติ ๆ คนอื่นไม่ยอมเข้าใจก็ลองเอาคำแนะนำเกี่ยวกับคนไข้โรคอัลไซเมอร์ส่งให้เข้าอ่านทำความเข้าใจ ยิ่งหากเป็นบุพการีเคยเลี้ยงดูมาก่อน เขาก็น่าจะมาช่วยเหลือและตอบแทนบุญคุณบ้าง 4. ลองไปพบปะแลกเปลี่ยนกับผู้ดูแลอัลไซเมอร์คนอื่น ๆ เพื่อหากำลังใจและสร้างจิตใจที่เข้มแข็งให้กับตัวเอง การให้กำลังใจกันและกันลงความเครียดไปได้ แล้วยังได้เทคนิคการดูแลผู้ป่วยมาแลกเปลี่ยนกันไปด้วย 5. ผ่อนคลายความเครียดบ้าง ด้วยการเล่นกีฬา ทำงานอดิเรก ฝึกการหายใจ เล่นโยคะ หรือมวยจีนและทำสมาธิด้วย ก็จะช่วยได้มาก 6. หากทำทุกอย่างแล้วความเครียดก็ยังไม่หายไป หรือยิ่งมีอาการเครียดมากขึ้น รวมไปถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย จนส่งผลให้การใช้ชีวิตและการทำงานเสียลงไป ควรรีบไปขอความช่วยเหลือหรือขอรับการปรึกษาจากจิตแพทย์ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทุกคนนะคะ ^__^
-
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป เกิดจากการเสื่อมตัวลงเรื่อย ๆ ของประสาทสมอง ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความฉลาด ไม่ว่าจะเป็น ความจำ ความรู้สึกนึกคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจและการใช้เหตุผล ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรของตนเองได้ตามปกติ มีความผิดปกติของการใช้คำพูดหรือการเข้าใจความหมายในคำพูด มีความผิดปกติในสิ่งที่เห็น และสิ่งที่รู้สึก นอกจากนี้แล้วยังมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงด้วย จากตอนแรกที่เฉยเมย มาเป็นเซื่องซึม ต่อมาก็เริ่มวุ่นวายและประสาทหลอน นอนไม่หลับ หากมีญาติพี่น้องใกล้ชิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ ลูกหลานก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย โรคนี้มักจะหลงลืมและมีความผิดปกติจนมีผลต่อการงานและการเข้าสังคม รวมไปถึงครอบครัวด้วย มักจะมีอาการแสดงได้แก่ มักจะหลงลืมบ่อย ๆ หรือลืมในสิ่งที่เพิ่งทำ เพิ่งพูดไป หรือใช้คำผิดที่ทำให้คนฟังไม่เข้าใจ หลงทางกลับบ้านไม่ถูก แต่งตัวไม่ถูกกาละเทศ บวกลบเลขง่าย ๆ หรือจำตัวเลขไม่ได้ รวมไปถึงมักเก็บข้าวของผิดที่เช่น เอาเตารีดไปแช่ตู้เย็น มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่มีสาเหตุ บุคลภาพเปลี่ยนแปลงไป และเฉื่อยชาไม่สนใจที่จะทำอะไรเหมือนเดิม การรักษาโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยญาติพี่น้องในการดูแล นอกจากจัดให้กินยารักษาอาการหลงลืมและควบคุมพฤติกรรมที่ผิดปกติแล้ว ยังต้องคอยดูแลให้ปลอดภัย ให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย หากิจกรรมให้ทำ และให้คำแนะนำในการทำกิจวัตรต่าง ๆ เช่น กินข้าว อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า และคอยห้ามไม่ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่อาจเสี่ยงอันตรายอย่างการขับรถหรือทำอาหารด้วย ฯลฯ…
-
การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ไม่ง่ายเลย.. สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว เพราะโรคนี้จะทำให้เขาเหล่านั้นมีอาการหลงลืม สูญเสียความรับรู้และความรู้สึกนึกคิดไป รวมทั้งการตัดสินใจและการไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เมื่อนานไปก็อาจทำให้ผู้ดูแลป่วยจนกลายเป็นโรคเครียดตามไปอีกคน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แบบนี้ ก็ลองนำเอาวิธีการปรับตัวดังกล่าวต่อไปนี้ไปปรับดูนะคะ – ทำความเข้าใจและยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือทำนั้น ไม่ได้แกล้งหรือเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นความผิดปกติทางสมอง – ไม่ควรโกรธตอบผู้ป่วย เพราะเขาทำไปเพราะอาการป่วยไม่ได้ตั้งใจ – ในเวลาที่เหน็ดเหนื่อยลองหาเวลาพักผ่อน แล้วหาคนมาสับเปลี่ยนดูแลบ้าง อธิบายการดูแลให้คนที่ดูแลแทนคุณเข้าใจ เขาจะได้เข้าใจเห็นใจและเต็มใจมาช่วยเหลือคุณบ้าง – ลองหากำลังใจด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยด้วยกัน จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และจะได้นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน แถมยังได้กำลังใจมาช่วยเหลือกันและกันอีกด้วย – หางานอดิเรกมาทำคลายเครียด หรือออกกำลังกาย โยคะ ทำสมาธิ หรือฟังเพลงคลายเครียด เพื่อผ่อนใจจิตใจด้วยตัวเอง – หากมีความเครียดมาก หรือพยายามรักษาอาการเครียดแล้วไม่ดีขึ้น จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแล้วก็ควรขอรับการรักษาจากจิตแพทย์เถอะนะคะ ความเครียดนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรมีมามากหรือนานเกินไป ควรดูแลตัวเองให้มีความผ่อนคลาย เพื่อจะได้นำกำลังกายไปดูแลผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ
-
คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม
คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม สำหรับในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้อยู่ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยเองและผู้ดูแลกันเถอะค่ะ 1. ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดทุกคนคนทำความรู้จักและศึกษาโรคสมองเสื่อมนี้ให้มาก เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาบางประการได้เหมาะสมและทันท่วงที 2. ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน ควรแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน จะทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น 3. หากผู้ป่วยยังอยู่ในภาวะป่วยเริ่มแรก ยังมีอาการไม่มาก ควรพูดคุยให้ยอมรับฟังและเข้าใจเหตุผล รวมทั้งอธิบายข้อจำกัดของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบอกความรู้สึกของผู้ดูแลให้ผู้ป่วยเข้าใจ 4. ควรมีความยืดหยุ่นและใช้สัญชาติญาติรวมทั้งจินตนาการในการดูแลให้มาก อย่ายึดติดอะไรมากนัก เช่น หากคนไข้อยากสวมหมวกนอน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร ก็ไม่ควรห้าม 5. ปรับทัศนคติการมองว่าการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องไม่เคร่งเครียด จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น 6. ผู้ดูแลควรผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอและปล่อยวางบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคนี้จะทำให้เครียด หงุดหงิด และเหนื่อยง่าย และอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว 7. มีการพูดคุยสื่อสารกับคนป่วย เกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมอย่างละเอียด สั้น ๆ ง่าย ๆ เช่น การอาบน้ำ ซึ่งแม้จะดูเหมือนง่ายแต่สำหรับผู้ป่วยแล้วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ดูแลควรมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดด้วย 8. พยายามจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยให้เหมือนกันทุกวัน อย่าสับเปลี่ยนไปมาเพื่อให้เกิดความเคยชิน ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง 9. อย่าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วยผู้ป่วยต่อหน้า…
-
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร?
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร? โรคอัลไซเมอร์นั้นเป็นอาการที่เกิดจาก การสร้างและสะสมของสารที่ชื่อว่า เบต้าอะไมลอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์ทำลายประสาทสมอง มีตัวเร่งที่เรียกว่าอะโปไลโปโปรตีนอี 4 เป็นตัวเร่งให้เบต้าอะไมลอยด์สะสม ทำให้สารสื่อประสาทในสมองลดลง เกิดความผิดปกติในด้านของความจำ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป มักเกิดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทำให้ผู้ที่เป็นสูญเสียสติปัญญาไปบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นในด้านความจำ ความรู้สึก ความคิด วิธีแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการใช้เหตุผล อาจทำให้ไม่สามารถทำงานหรือช่วยเหลือตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะแสดงอาการที่คนใกล้ชิดเห็นได้ชัดเจนก็คือ มักขี้หลงขี้ลืม บางทีก็เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน นึกคำพูดไม่ออก หรือใช้คำผิดทำให้คนอื่นไม่เข้าใจ หลงทาง แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ เก็บข้าวของผิดที่ อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วไม่มีเหตุผล บุคลิกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หรือรู้สึกเฉื่อยชาไม่สนใจจะทำอะไรเลย การดูแลผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องอาศัยญาติพี่น้องที่ใจเย็น และดูแลใกล้ชิดโดยการเตรียมที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย พาผู้ป่วยได้ออกกำลังกายมากขึ้น หากิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยทำเพื่อฟื้นฟูสมอง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทานอาหาร สวมเสื้อผ้า อาบน้ำ ฯลฯ คอยระวังอันตรายจากกิจวัตรบางอย่าง เช่น การขับรถหรือทำอาหาร การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ด้วย เมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวเริ่มมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์นี้ ให้รีบพามาพบแพทย์จะได้ชะลอความรุนแรงของโรคได้ทัน…