Category: หลอดเลือดหัวใจ

  • โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา

    โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา

    โรคสะเก็ดเงิน สาเหตุและการรักษา หากคำนวณตามจำนวนประชากรโลกใบนี้แล้ว โรคสะเก็ดเงินสามารถพบได้ประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงพอ ๆ กัน ซึ่งพบได้หลายรูปแบบดังนี้ – ผิวหนังเป็นปื้นนูนหนาขนาดใหญ่ และเป็นเรื้อรัง ปื้นมีขอบเขตชัดเจน สีชมพูถึงแดง มีสะเก็ดสีเงินปกคลุม พบได้มากบริเวณ ข้อต่อ ข้อศอก ข้อเข่า แขนขา และหลังส่วนล่าง – ปื้นรูปหยดน้ำ พบได้มากในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นปื้นนูนขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ขึ้นเป็นจำนวนมาก บริเวณลำตัว แขนขา และมีอาการหลังจากการเจ็บคอ – เป็นผื่นบริเวณข้อพับ ขาหนีบ รักแร้ ราวนม – ผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นผื่นหนา ๆ ที่ทำให้ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแตกและเจ็บ – เป็นตุ่มหนองทั่วร่างกาย มีไข้ ไม่สบายเจ็บผิวหนัง – เป็นผื่นแดงทั่วตัว มีผิวหนังอักเสบทั่วร่างกายกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไป…

  • ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด

    ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด

    ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…

  • เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ

    เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ

    เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดแบบง่าย ๆ เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันสร้างความเครียดและความวิตกกังวลให้เราแทบจะทุกช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน มีครอบครัว จนถึงวัยชรา เรามีความเครียดกันตั้งแต่ระดับเล็ก ๆ จนถึงระดับใหญ่ ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อร่างกาย ความเครียดไม่ได้สร้างปัญหาทางจิตใจเท่านั้นแต่ยังสร้างปัญหาต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะเมื่อเครียดก็มักนอนไม่หลับ พาลทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ป่วยง่ายหายยาก ขาดสมาธิ และพัฒนาไปสู่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้เสียชีวิตได้ ความเครียดจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว หากรู้ตัวว่าเริ่มเครียดขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะสามารถเห็นได้จากอาการดังนี้ ไม่ว่าจะเป็น อาการวิงเวียนศีรษะ มึนงง เบื่ออาหาร หายใจถี่ แรง เร็ว เหงื่อออก กล้ามเนื้อเกร็ง นอนไม่หลับ มือเท้าเย็น หน้าซีด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ฯลฯ หากมิได้เกิดจากโรคอื่น ๆ แล้วก็ให้ลองเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดดังต่อไปนี้ดูนะคะ เทคนิคแรก วิธีผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว โดยการนอนราบลงบนพื้นหรือบนที่นอน นอนเหยียดตัวตรง เท้าทั้งสองข้างวางห่างกันเล็กน้อย แขนแนบข้างลำตัว กำมือให้แน่น เกร็งไหล่ ยกไหล่ขึ้น เกร็งไว้ 1…

  • สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

    สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า

    สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า บางทีโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดีได้เหมือนกัน โรคนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ – เหนื่อยเวลาออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่กลับเหนื่อยผิดปกติ เพราะในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้น คุณจึงรู้สึกได้ถึงความเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นค่ะ – มักจะเจ็บหน้าอก หายใจอึดอัด และแน่นบริเวณหน้าอก พบมากในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการจะคล้ายมีของหนักกดทับหน้าอกไว้หรือมีโดนรัดหน้าอกทำให้หายใจไม่ออก – เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ เกิดเพราะจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ หัวใจจึงเต้นช้าลง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงทำให้เป็นลมได้ ใครเป็นลมหมดสติบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ – เท้าหรือขาบวม เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้ว และเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัวเมื่อใดก็ได้ – หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนที่ปกติไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วอาจถึงกับเสียชีวิตได้ – ตรวจพบความผิดปกติ เช่น เป็นเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง หรือเอ็กซเรย์พบว่าหัวใจโตกว่าปกติ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน นับว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ด้วย ส่วนผู้ที่ยังมีหัวใจเป็นปกติอยู่นั้น เราก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองไว้ก่อนที่จะเกิดโรคหัวใจตามมา ได้แก่ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ เช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ มีอาการดังกล่าวข้างต้นบ้างหรือเปล่า และควรออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ดูแลจิตใจให้สดใสเสมอ…

  • อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค

    อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค

    อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของโลหิตที่เกิดจากหัวใจทำการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นสองค่า ก็คือค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว (ตัวบน) และค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว (ตัวล่าง) โดยปรกติคนทั่วไปจะมีค่าความดันโลหิตอยู่ที่ 120/80 มม.ปรอท แต่หากความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 ขึ้นไป ถือได้ว่าเข้าข่ายเป็นโรค “ความดันโลหิตสูง” ซึ่งควรใส่ใจดูแลตนเองให้มาก ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาทั้งโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เกิดได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดมีการหดตัวผิดปกติ การสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หรือการสะสมน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมากเกินไป ฯลฯ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้หัวใจจะทำงานหนักมา และในระยะยาวหลอดเลือดจะเกิดความเสื่อมไปทั่วร่าง แรก ๆ จะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาปนกับปัสสาวะจนตรวจพบได้ แต่ในระยะยาวจะทำให้ไตเสื่อมจนขับของเสียและเกลือแร่ออกมาได้น้อยลง เกลือแร่ที่ตกค้างจึงยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก จนไตวายในที่สุด ผู้ที่ทราบว่าตนเป็นมีอาการความดันโลหิตสูง จึงควรควบคุมความดันของไว้และหมั่นตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องอย่าหยุดยาไปเอง และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือ อาหารที่มีไขมันสูง ลดการดื่มกาแฟ เหล้า บุหรี่ ทานผักผลไม้ให้มาก ออกกำลังให้สม่ำเสมอ และที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นก็คือพยายามผ่อนคลายตนเองอย่างให้เครียดด้วยค่ะ เพราะความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้เช่นกันค่ะ  

  • เทคนิคการเลือกทานอาหารไขมันน้อย สุขภาพดี

    เทคนิคการเลือกทานอาหารไขมันน้อย สุขภาพดี

    เทคนิคการเลือกทานอาหารไขมันน้อย สุขภาพดี อาหารหมวดที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพหมวดหนึ่งที่ร่างกายจะขาดเสียมิได้เลยก็คือ “ไขมัน” นั่นเป็น เพราะเป็นสารอาหารที่สร้างความอบอุ่นและให้พลังงานกับร่างกาย มีคุณสมบัติช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ ได้แก่ วิตามิน A, D, E และ K โดยในอาหารแทบทุกชนิดนั้นมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ชนิดของอาหาร พบได้ทั้งในพืชและในสัตว์ แต่การทานอาหารของคนไทยนั้น ทานไขมันมากกว่าในอดีตกันมากและยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกด้วยในอนาคต ผลกระทบก็คือทำให้มีรูปร่างอ้วน น้ำหนักเกิน มีโรคอื่น ๆ ตามมามากมาย อันตรายต่อชีวิตแทบทั้งนั้น การเลือกทานอาหารจึงควรจำกัดปริมาณของไขมันในแต่ละมื้อและแต่ละวัน โดยอย่างมากให้ร่างกายรับพลังงานจากไขมันไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด ไขมันในอาหารแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ก็คือ ไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว โดยมาก ไขมันอิ่มตัวจะพบได้ในเนื้อสัตว์ เครื่องใน หนังสัตว์ เนย ฯลฯ ส่วนคอเลสเตอรอลจะมีในเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดชนิด รวมไปถึงเครื่องใน ไข่แดง ปลาหมึก อาหารทะเล หอยนางรม เมื่อทานมากเกินความจำเป็นก็จะทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ เทคนิคในการเลือกอาหารที่มีไขมันต่ำเพื่อสุขภาพที่ดีก็ได้แก่ – ทานเนื้อสัตว์ที่ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ทานหนัง เลี่ยงการทานหนังหมู…

  • ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ

    ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ

    ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…

  • ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?

    ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?

    ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า? โดยทั่วไปผู้ที่มีวัยเข้าสู่วัยชราแล้วมักจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เล็กน้อยบ้างไปตามวัย บางทีก็แค่ลืมของว่าวางไว้ไหน แต่หากเป็นการลืมที่ไม่น่าเป็นไปได้อย่างการลืมทางกลับบ้าน หรือเอาเตารีดไปใส่ไว้ในตู้เย็น อะไรแบบนี้อาจเป็นไปได้ว่าผู้ชราท่านนั้นอาจมีอาการของโรคสมองเสื่อมแล้ว วันนี้จึงขอเอาข้อสังเกตของการเป็นโรคสมองเสื่อมมาฝากกันค่ะ ภาวะสมองเสื่อม คือความเสื่อมของสมองโดยรวมทั้งหมด ทำให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและบุคลิกภาพอย่างชัดเจน มักพบได้ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่หากมีอายุถึง 85 ปีก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว ส่วนใหญ่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง โดยอาการที่จะบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ก็ให้สังเกตดังนี้ค่ะ 1. มักจำเหตุการณ์ใหม่ ๆ ไม่ได้ แต่กลับจำเรื่องราวเก่า ๆ ในดีตได้ มักถามซ้ำเรื่องเดิมบ่อย ๆ 2. เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ได้ไม่ จำปัจจุบันไม่ได้ เช่น จำไม่ได้ว่าทานข้าวแล้ว หรือจำคำพูดขณะที่สนทนาไม่ได้ มักถามกลับซ้ำ ๆ 3. การแก้ไขปัญหาบกพร่องไป เช่น ยืนดูน้ำล้มอ่างเฉย ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี 4. การประกอบกิจกรรมต่าง…

  • วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค

    วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค

    วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค โรคติดต่อไม่เรื้อรังนั้นมักถูกเข้าใจว่าน่าจะเป็นโรคของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรคนี้เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาต่างหาก เพราะขาดความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากด้วย โรคทั้งห้านี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แล้วยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรือพิการเพิ่มขึ้นด้วยนะ สาเหตุของโรคทั้งห้าชนิดนี้ มักเป็นบุคคลที่ชอบทานอาหารหวานจัด เค็ม หรือมีไขมันสูง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีความเครียดมากแล้วไม่ค่อยรู้จักการผ่อนคลายกับทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ฯลฯ จึงทำให้เป็นโรคอ้วนตามมา การที่มีไขมันสะสมในช่องท้องมากนี้ ไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดีนัก จึงเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้ หากจะวัดกันที่ดัชนีรอบเอวจะพบว่ารอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตรจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 3-5 เท่า หมายถึงว่ายิ่งพุงใหญ่เท่าไรก็ยิ่งตายเร็วเท่านั้น โรคเกณฑ์การจำแนกว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงของคนไทยก็คือ หากผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90…

  • สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

    สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

    สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย ผู้ที่มีอายุเข้าวัยทองหรือมีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี อันเป็นรอยต่อระหว่างช่วงวัยกลางคนและวัยชรานั้น หลายคนจะมีความเปลี่ยนแปลงในทั้งร่างกายและจิตใจอันมีสาเหตุมาจากการลดลงของการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิง ซึ่งสิ่งที่ร่างกายแสดงออกมานั้นจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ บางเดือนก็มากเกินพอดี หงุดหงิดแต่ก็เหนื่อยง่าย เหงื่อมักออกจนชุ่มตัวในเวลากลางคืน ร้อนวูบวาบ นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับได้ยาก ขี้โมโห ขี้ลืม ฉี่บ่อย ยิ่งเวลาไอหรือจามก็อาจเล็ดออกมา อีกทั้งช่องคลอดยังแห้ง ปวดแสบปวดร้อนหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงในระยะยาวอาจมีอาการของโรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเลือดสูงด้วย ซึ่งได้มีนักวิจัยได้ทำการค้นพบว่า หญิงที่อายุเข้าสู่วัยทองนี้เมื่อได้ทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือจำนวน 25 กรัมเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ผลที่จะได้สามารถลดระดับของ LDL ในเลือดได้ถึง 18% และค่าของไขมันดี ๆ หรือ HDL เพิ่มขึ้นถึง 20% ทำให้อาการวัยทองดังกล่าวข้างต้นลดลงได้ หญิงวัยทองจึงมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงอายุวัยทองนี้ควรทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ชนิดต่าง ๆ ไส้กรอกเจ หรือเนื้อสัตว์เทียมที่ทำจากถั่วเหลือง ไอศกรีมที่ทำจากถั่วเหลือง คัสตาร์ด หรือขนมที่มีไส้ถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสาวที่อายุเข้าวัยทองยังควรดูแลร่างกายดังต่อไปนี้ด้วย – ทานอาหารอย่างหลากหลาย เลือกทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ…