Category: หัวใจ

  • น้ำมันแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

    น้ำมันแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

    น้ำมันแต่ละชนิด มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างไรบ้าง? เดี๋ยวนี้น้ำมันสำหรับปรุงอาหารมีให้เลือกมากมายหลายชนิดเลยนะคะ ซึ่งการเลือกซื้อมาปรุงอาหารบริโภคเนี่ยก็ควรศึกษาให้ดีก่อนค่ะว่าน้ำมันแต่ละชนิดนั้นเหมาะสำหรับทำอาหารชนิดใด ความร้อนในระดับใด และมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกายด้วย วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ – น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเชิงเดียวมากที่สุด จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีนสูง ทำให้ผิวหนังอ่อนเยาว์ ยืดหยุ่นตัวได้ดี ลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ แต่ก็มีจุดเกิดควันที่ต่ำ จึงเหมาะสำหรับเป็นน้ำมันสลัด ไม่เหมาะสำหรับการทอด หรืออาหารที่ต้องผ่านความร้อน และมีราคาค่อนข้างสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ – น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน อุดมไปด้วยกรดไลโนเลอิก ช่วยลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ มีวิตามินอีสูงด้วย จึงช่วยในเรื่องของผิวพรรณ แต่เมื่อโดนความร้อนจะเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับการผัดอาหารที่ใช้ความร้อนเพียงปานกลาง – น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันมะกอก แต่มีราคาไม่แพง มีสารโอรีซานอลมากซึ่งไม่พบในน้ำมันพืชนิดอื่นนัก ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยปรับสมดุลในสตรีวัยทองได้ดี – น้ำมันปาล์ม อุดมไปด้วยวิตามินอีและเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปานกลาง ทนความร้อนสูงได้มากกว่าน้ำมันชนิดอื่นจึงเหมาะสำหรับการทอดที่สุด แต่มีกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไลโนเลอิกต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ อาจทำให้คอเลสเตอรอลสูงได้ – น้ำมันงา มีสารเซซามอลที่มีสรรพคุณช่วยชะลอความชรา ลดความดันโลหิตและการแพร่การจายตัวของเซลล์มะเร็งได้ ป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ บรรเทาอาการท้องผูกได้ด้วย

  • ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย

    ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย

    ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย พฤติกรรมกินเค็ม เป็นพฤติกรรมปกติของคนทั่วไป ลองคิดดูสิจะมีสักกี่คนที่ทานข้าวผัดแล้วไม่เติมพริกน้ำปลา ทานไข่เจียวแล้วไม่เหยาะซอสพริก หรือทานไข่ดาวแล้วจะไม่เหยาะซอส ทานก๊วยเตี๋ยวแล้วไม่เติมน้ำปลาเลย ฯลฯ เรียกได้ว่าหาแทบจะไม่พบเลยทีเดียว ซึ่งแม้พฤติกรรมนี้จะดูเป็นเรื่องเคยชิน แต่ความจริงแล้วความเค็มหรือเกลือเหล่านี้กำลังทำร้ายสุขภาพของคุณอยู่ โดยปัจจุบันนี้จากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือเข้าสู่ร่างกายมากกว่าที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า การทานเกลือแบบนี้ไม่ใช่การตักเกลือเป็นช้อนเข้าปาก แต่เกิดจากการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีเกลือเป็นส่วนผสม เช่น ซอสปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซี่อิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงชูรส ซอสหอยนางรส น้ำจิ้มสุกี้ น้ำจิ้มไก่ และผงฟูที่ใช้ทำขนมด้วย ซึ่งจากการสำรวจตามร้านอาหารตามสั่งทั่วไปนั้น อาหารจานเดียวทั้งหลายก็มีปริมาณของเกลือโซเดียมแทบจะเท่ากับปริมาณที่ร่างกายควรบริโภคทั้งวันไปแล้ว นอกเหนือจากนี้อาหารชนิดอื่น ๆ ก็ยังปริมาณของเกลือ หรือโซเดียมมากอีกด้วย เช่น เต้าเจี้ยว ปลาร้า กะปิ ของดอง กุ้งแห้ง อาหารกระป๋อง ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง เนื้อตากแห้ง ขนมถุงกรุบกรอบ อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำพริก เครื่องจิ้มต่าง ๆ อาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารที่ใส่ผงฟู…

  • ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?

    ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?

    ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม? ในปัจจุบันนี้คนไทยเรามีสติถิการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงกว่า 12 ล้านคน เป็นโรคไต 8 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาตที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมาก ทำร้ายร่างกายได้ในระยะยาว ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำต่อวันถึงสองเท่าตัว หรือประมาณ 5,000 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งมักอยู่ในรูปของเครื่องปรุงรสต่ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอีว ผงชูรส เกลือ กะปิ เครื่องแกง น้ำปลาร้า ผงฟู ฯลฯ อาหารที่เป็นนิยมและมีโซเดียมอยู่มากมักไม่ใช่อาหารสดแต่จะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูป ไมว่าจะเป็น อาหารกระป๋อง อาหารดองเค็ม ตากแห้ง แช่อิ่ม บะหมี่วอง กุนเชียง ลูกชิ้น ไข่เค็ม ขนมถุง ขนมปัง ฯลฯ แม้แต่กับข้าวสำเร็จที่ขายก็ยังมีโซเดียมสูงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา ไข่พะโล้ คั่วกลิ้ง แม้แต่ในอาหารจานเดียวอย่าง ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ ข้าวมันไก่ ก็มีโซเดียมต่อจานตั้งแต่ 1,000-2,000 มิลลิกรัมเลยนะคะ…

  • ชวนลูกกินผักกัน

    ชวนลูกกินผักกัน

    ชวนลูกกินผักกัน ผักนั้นเป็นอาหารที่มีราคาประหยัด แต่ให้วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ สูง มีประโยชน์มาก แต่ก็มีเด็กจำนวนมากเช่นกันที่ไม่ยอมกินผัก การหัดให้ลูกกินผักนั้นควรทำตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่หย่านมตอนหกเดือนเลย เด็กหลังหย่านมนั้น ควรให้เด็กเริ่มทานผักสุกก่อน โดยการนำเอามาบดให้ละเอียดปนไปกับข้าวต้ม โจ๊กหรือข้าวบด ก่อนการให้ผลไม้ เพราะเด็กอาจติดรสหวานจากผลไม้จนไม่ยอมกินผักได้ ให้ป้อนผักและผลไม้ชนิดใหม่ ๆ สัปดาห์ละอย่าง เด็กจะได้คุ้นกับผักผลไม้ไปเรื่อย ๆ และจะกินได้มากเมื่อโตขึ้น ในส่วนของเด็กที่เริ่มเคี้ยวได้แล้ว ควรให้ผักที่ต้มหรือลวกให้สุก จะทำให้ผักนิ่มและหวานอร่อย อาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่แกงจืดหรือผสมกับอาหารอื่น เด็กที่อายุมากกว่าสองขวบให้ทานได้ทั้งผักสุกและผักสด เลือกที่มีรสหวานสีสันน่ากินอย่างแครอทหั่นแท่ง หรือแตงกวาหั่นแท่ง ให้เด็กจับกินเองได้ แต่ผักบางชนิดที่ควรลวกหรือต้มก่อนก็มีเหมือนกัน อย่างข้าวโพด กะหล่ำปลี ฟักทอง เป็นต้น แต่สำหรับเด็กโตที่เกินจะเรียนรู้อาหารใหม่แล้ว ผู้ปกครองควรดัดแปลงผักให้มีรสชาติและรูปร่างที่ดูน่ากิน เช่น นำแครอท หรือถั่วผักยาว มาหั่นเป็นท่อนแล้วห่อด้วยกะหล่ำปลีแล้วนำไปนึ่ง หรือนำไปทำแกงจืดหมูสับเต้าหู้ การนำแตงกวาใหญ่มาคว้านออกแล้วใส่หมูทับเข้าแทนนำไปต้มจืด ก็หวานอร่อยเช่นกัน ฯลฯ หากเด็กไม่ยอมกิน ก็ลองมื้อต่อไป จัดผักให้ทานคู่กับอาหารที่เค้าชอบ แล้วผู้ปกครองควรชวนกินด้วยกัน ไม่ควรนำผักกลิ่นฉุนมาให้เด็กลอง เพราะเด็กอาจปฏิเสธผักทุกชนิดไปเลยได้ การชักชวนฝึกหัดให้ลูกกินผักนั้นเป็นสิ่งที่มีผลดีในระยะยาว สร้างนิสัยการกินที่ดี…

  • คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก

    คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก

    คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก การกินผักที่เพียงพอให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากนะคะ ยิ่งโดยเฉพาะเส้นใยอาหารและวิตามินในผักแล้วเนี่ย ในแต่ละวันเราควรกินผักทั้งผักสดและผักสุกให้ได้ประมาณ 4-6 ทัพพีต่อวันจึงเข้ามาเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกค่ะ ซึ่งสารอาหารที่เราได้รับจากผักนั้น หลัก ๆ ก็ได้แก่ – ได้รับเส้นใยอาหารอาหาร เส้นใยที่ละลายน้ำได้นั้นช่วยในการดักจับคาร์โบไฮเดรตให้มีการย่อยและดูดซึมช้าลง น้ำตาลในเลือดจึงมีความคงที่ ช่วยจับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดอัตราความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ส่วนเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย – ได้รับวิตามินเอ ช่วยรักษาสุขภาพดวงตาและการมองเห็น ทำให้ระบบสืบพันธ์ทำงานได้ตามปกติ ส่งเสริมพัฒนาการของร่างกาย ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำให้เซลล์ของผนังปอด ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะแข็งแรงด้วย ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ – วิตามินซี ช่วยในการสร้างคอลลาเจนทำให้กระดูก ฟัน หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง รักษาบาดแผล สร้างฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนไทร็อกซินที่ช่วยควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และเสริมภูมิคุ้มการโรคทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันความเสื่อมถอยของร่างกายได้ – ได้รับวิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระไม่ให้มาทำลายเซลล์ได้ ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคหัวใจหรือมะเร็ง วิตามินอีพบได้มากในผักโขม บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง การกินผักที่จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จริง ๆ นั้นควรทานผักที่ปลอดสารพิษ หรือถ้าเป็นผักที่ปลูกเองยิ่งดีใหญ่…

  • 10 วิธีขจัดความเครียด

    10 วิธีขจัดความเครียด

    10 วิธีขจัดความเครียด ความเครียดที่ใครต่อใครก็เป็นกันอยู่นั้น ท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิตเรา แต่ความจริงแล้วหากมีความเครียดที่มากเกินไป อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพเราได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โรคอ้วน เบาหวาน หรือฆ่าตัวตาย ตลอดจนเรื่อยจนถึงปัญหากับสังคมรอบข้าง และความจำได้ด้วย ความเครียดจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม แต่ควรหาทางขจัดความเครียดออกไปจะดีกว่าค่ะ 1. หากมีความเครียดที่เกิดจากการต้องไปทำอะไรแปลกใหม่ เช่น การสัมภาษณ์งาน หรือนำเสนอผลงาน ให้ลองนึกภาพเหตุการณ์หรือวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น ให้มองเห็นแต่ภาพดี ๆ แต่ความสำเร็จเท่านั้น กับทั้งเตรียมตอบคำถาม แก้สถานการณ์ไว้ด้วย 2. มองด้านดีของปัญหา จะทำให้สบายใจได้มากขึ้น 3. ลองวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าหากมีเหตุการณ์ด้านลบเกิดขึ้นจะทำอะไรกับชีวิต เช่น บริษัทปลดออกจากงาน เป็นต้น 4. เวลาสมองเกิดความตึงเครียดให้ใช้วิธีหายใจเข้าออกลึก ๆ 5. สร้างอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนความคิดจากความเครียดหรือเรื่องที่ไม่สบายใจอย่างฉับพลันไปเป็นเรื่องที่ทำให้มีความสุข เช่น มองดูภาพสัตว์เลี้ยง หรือลูก ๆ หรือเด็กทารกที่ทำให้อารมณ์ดี 6. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อดู เพราะความเครียดมากทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว ค่อย ๆ ไล่ผ่อนคลายไปทีละส่วน ๆ 7. การออกกำลังกายให้เหงื่อออกช่วยลดความเครียดได้…

  • ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์

    ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์

    ระยะต่าง ๆ ของโรคอัลไซเมอร์ ความแก่ชรานั้นเป็นโรคชนิดหนึ่ง แล้วยังกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หลอดเลือดหัวใจ กระดูกพรุน อัลไซเมอร์และโรคอื่น ๆ เข้ามาทำลายร่างกายได้อีก ยิ่งมลภาวะในสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันยิ่งมากขึ้น ก็ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกายมากขึ้นด้วย ความแก่ชราจึงมาเยือนเร็วกว่าเดิม สมองก็เป็นอีกอวัยวะหนึ่งเช่นกัน ที่ได้รับผลกระทบจากความแก่ชราของร่างกายไปด้วย โรคอัลไซเมอร์ คือโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ถูกค้นพบเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มักพบได้ในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โรคนี้ทำให้เกิดความบกพร่องในระดับของสติปัญหา ทั้ง ความคิด ความจำ การตัดสินใจ ซึ่งอาการของโรคนี้จะแบ่งออกเป็นสามระยะได้แก่ – ระยะแรก ผู้ป่วยจะเสียความจำ ที่ไม่เหมือนกันหลงลืมทั่วไป แต่จะจำอดีตไม่ได้ จำสิ่งใหม่ ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นตรงหน้าก็ไม่ได้ – ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอน หูแว่ว ก้าวร้าว อาจเดินออกจากบ้านแล้วกลับบ้านไม่ถูก – ระยะสุดท้าย สมองจะถูกทำลายจนไม่สามารถควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกายได้ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด ผู้ป่วยจะมีความยากลำบากในการสื่อสาร การคิด การเรียนรู้ การใช้เหตุผล ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างรุงแรง…

  • ทำความรู้จักและป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    ทำความรู้จักและป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    ทำความรู้จักและป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น เกิดจากการที่เมื่ออายุมากขึ้น จะเกิดพลัคมาอุดตันที่หลอดเลือดทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ ซึ่งพลัคดังกล่าวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำตาลในเลือด ไขมันชนิดแอลดีแอล มีความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่จัด ทำให้เกิดการอักเสบและแตกตัวของพลัคขึ้น คราบของพลัคเหล่านี้จะจับตัวกับเกล็ดเลือดกลายเป็นลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจจึงตายได้ทันที โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนี้จะแสดงอาการออกมาได้สองกลุ่มก็คือ – จะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเหมือนมีของหนักมาทับ เจ็บร้าวบริเวณใบหน้า ใต้ลิ้น คาง ใบหู หัวไหล่ มีเหงื่อไหลโชกเหมือนน้ำราด ไอ หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ – อีกกลุ่มอาการได้แก่ ชาและเจ็บบริเวณแขนข้างซ้าย ตั้งแต่นิ้วชี้และนิ้วก้อยไล่มาที่แนวท้องแขนไปจนถึงรักแร้ เวลาตื่นเต้นมือจะเย็นและมีเหงื่อออกชุ่ม หายใจไม่ออกและเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ หรือมีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ การดูแลสุขภาพและป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นได้แก่ การลดอาหารที่มีความเค็ม และอาหารที่มีไขมันสูง งดการสูบบุหรี่ และการดื่มเหล้าเบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งหลาย ลดน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน ฝึกหัดกินอาหารที่มีคุณภาพตั้งแต่เด็ก ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ กินผักและผลไม้ไม่หวานบ่อย ๆ อารมณ์ดีเข้าไว้ ห่างไกลความเครียด นอนหลับให้เพียงพอ แค่นี้ก็ป้องกันและลดอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้แล้วนะคะ  

  • หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…

  • เทคนิคช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ

    เทคนิคช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ

    เทคนิคช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ หากท่านเคยมีอาการนอนไม่หลับ หรือตื่นมาแล้วไม่สดชื่นเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม กระสับกระส่าย กว่าจะหลับได้ก็นาน หรือตื่นกลางดึกบ่อย ๆ แล้วนอนหลับต่อได้ยาก ทั้งหมดนี้เข้าข่ายอาการนอนไม่หลับได้ทั้งนั้น อาจเกิดในระยะสั้นหรือไม่เกินสองอาทิตย์ ตลอดจนเกินเป็นเดือนได้ หากไม่รีบแก้ไขอาจรบกวนการใช้ชีวิต และสร้างปัญหาให้กับสุขภาพของคุณด้วย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และโรคอ้วน ซึ่งสาเหตุที่พบได้มากที่ทำให้นอนไม่หลับ ก็ได้แก่ การใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอน การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ การใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป รวมไปถึงความเครียดในการทำงาน ล้วนเป็นสาเหตุสำหคัญที่ทำให้นอนไม่หลับได้ทั้งสิ้น เราจึงควรปรับปรุงการนอนหลับเพราะการนอนหลับได้ลึกอย่างมีคุณภาพจะมีผลต่อความเป็นอยู่และสุขภาพ ช่วยลดความดัน ลดความเครียด รักษาน้ำหนักตัวและปริมาณไขมันในร่างกายให้อยู่ในมาตรฐานได้ง่ายขึ้น การนอนหลับยังช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ทำให้ร่างกายสดชื่นมีพลัง การจดจำและประสิทธิภาพของสมองดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วยค่ะ วิธีหนึ่งก็คือการทานอาหารที่ทำให้หลับง่าย ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชไม่ขัดสี เพราะมีวิตามินบีที่ช่วยในการนอนหลับ ในช่วงเย็นให้กินแต่พอดี อย่ากินอาหารที่มีแก๊สมาก พวก หัวหอม ถั่ว กะหล่ำปลี หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก อย่าใช้เตียงเพื่ออ่านหนังสือ นอนเล่น หรือดูทีวี ควรใช้เพื่อการนอนเท่านั้น อีกทั้งควรลุกจากเตียงทันทีที่นอนไม่หลับ เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ไม่ควรงีบหลับในเวลากลางวันด้วย การจัดห้องนอนและพื้นที่สำหรับนอนหลับก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน…