Category: เบาหวาน
-
มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!!
มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!! ช่วงเวลาที่อากาศดี ๆ ฝนไม่ตกเท่าไรอย่างระยะปลายหน้าฝนเข้าสู่หน้าหนาวนี้ ตามสนามกีฬากลางแจ้งมักจะพบนักวิ่งที่พากันวิ่งออกกำลังกาย หลังจากอัดอั้นกันมากในฤดูฝนที่ฝนตกเฉอะแฉะจนไม่ได้ออกกำลังกายกันเลย การวิ่งจ๊อกกิ้งนั้นเป็นกีฬาที่แทบไม่ต้องมีต้นทุนอะไรเลย นอกจากรองเท้าดี ๆ สักคู่หนึ่งแล้ว แต่กลับเป็นกีฬาที่ให้ประโยชน์มากมาย ช่วยป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน โรคอ้วน ฯลฯ ดังนั้นแล้วก่อนที่สุขภาพจะแย่เพราะไปรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป จึงควรหันมาออกกำลังกายกันดีกว่าค่ะ แม้ในระยะแรก ๆ จะเหนื่อยมากกับการวิ่ง อาจต้องวิ่งไปเดินไปอยู่บ้าง แต่เมื่อหัดวิ่งไปมาก ๆ เข้าก็จะเริ่มวิ่งได้นานขึ้นจนกลายเป็นวิ่งเป็นชั่วโมงได้สบาย ๆ เลยทีเดียว คู่มือสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เพียงเลือกซื้อรองเท้าสำหรับวิ่ง หรือรองเท้าที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี สวมเสื้อผ้าที่สบายและระบายเหงื่อได้ง่าย และควรเลือกสถานที่วิ่งเป็นพื้นที่เรียบ ไม่ว่าจะเป็นบนฟุตบาทที่ปลอดภัยและมีพื้นผิวราบเรียบ บนพื้นถนนที่ราดยางหรือคอนกรีตป้องกันเท้าพลิกหรือสะดุด ขณะที่ไปวิ่งไม่ควรทานอาหารจนอิ่มมากเกินไป ควรทานอาหารเบา ๆ ก่อนวิ่งสักครึ่งชั่วโมงเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อน ดื่มน้ำล่วงหน้าแต่ไม่ต้องมากนัก และหลังการวิ่งทุกครั้งให้ดื่มน้ำเข้าไปทดแทนเหงื่อที่ไหลออกไป ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นด้วย การวิ่งจ๊อกกิ้งเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจบีบส่งเลือดได้ดีขึ้น เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดขยายตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น…
-
การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน
การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเรื่องที่สำคัญในการควบคุมโรคด้วยเช่นกัน ทำให้ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง แต่จะลดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย ความหนัก และระดับน้ำตาลก่อนการออกกำลังกาย รวมทั้งการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองชนิด นั้นมีวิธีการที่แตกต่างกัน เพราะเป็นผลมาจากการนำพลังงานไปใช้และเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันนั่นเอง การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่พึ่งอินซูลิน หากมีสุขภาพทั่วไปดีอยู่ ให้ออกกำลังกายวันละ 20 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง แต่ต้องควบคุมโรคและใช้ยาอินซูลินให้ดีก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยควรสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้หากต้องการออกกำลังกายหนัก ๆ และเข้าใจการปรับเปลี่ยนการใช้หรืออินซูลินของตนเองด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรออกกำลังกายในช่วงเวลา บ่ายสามถึงห้าโมงเย็น หลังทานอาหารว่างแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง วันเว้นวัน และไม่ควรออกกำลังกายขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด หากออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแล้วแพทย์อาจแนะนำให้ลดการการใช้อินซูลินลง ส่วนการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ชนิดที่ยังต้องพึ่งอินซูลิน ควรออกกำลังกายแบบเหนื่อยปานกลางอย่างต่อเนื่องประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ โยคะ รำมวยจีน หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อให้ชีพจรเร็วขึ้น ควรอบอุ่นร่างกายก่อนเสมออย่างน้อย 5-10 นาที แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มการออกกำลังกายขึ้นแต่ไม่ควรหักโหมเกินไป เมื่อต้องการหยุดออกกำลังกายให้ค่อย ๆ ผ่อนลงเรื่อย ๆ เรียกว่าคูลดาวน์ ประมาณ 5-10…
-
แม้แต่เด็กเล็ก…ก็ควรระวังโรคเบาหวานด้วยนะ
แม้แต่เด็กเล็ก…ก็ควรระวังโรคเบาหวานด้วยนะ โรคเบาหวานนี้ องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าเป็นภัยร้ายที่กำลังคุกคามมนุษย์ไปทั่วทุกมุมโลกมากที่สุด อันตรายมากกว่าโรคเอดส์ เพราะปี ๆ หนึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึงปีละสามล้านกว่าคนทั่วโลก และถือเป็นประวัติศาสตร์โลกเลยว่านี่คือโรคไม่ติดเชื้อที่คร่าชีวิตผู้คนได้มากกว่าโรคติดเชื้อหรือโรคระบาดในอดีตที่โลกเคยมีมากเสียอีก ทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโรคเบาหวานจากสภาวะอ้วนทำให้การทำงานของอินซูลินมีปัญหา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตมากเกินสัดส่วน รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกายด้วย ในประเทศไทยเองโรคเบาหวานนี้ก็เริ่มจู่โจมเข้าในวัยเด็กแล้ว และตามโรงพยาบาลก็พบผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็กที่มีอายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ทุกที ล่าสุดพบเด็กป่วยเป็นโรคเบาหวานมีอายุเพียงแปดขวบเท่านั้น แต่มีน้ำหนักตัวมากถึง 60 กิโลกรัม น้ำหนักตัวขนาดนี้ถือว่าอ้วนเกินมาตรฐานไปมาก อาจต้องกินยาตลอดชีวิต และบางรายมีภาวะแทรกซ้อนที่ไต ตา ประสาทส่วนปลายบริเวณขาและเท้าเกิดความยากลำบากและทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิต ตายเร็วขึ้นด้วย วิธีการสังเกตว่าบุตรหลานของท่านเป็นเบาหวานแล้วหรือยังก็คือ ให้สังเกตว่าผิวหนังบริเวณรอบคอและรักแร้ดำเป็นปื้น ฉี่บ่อย หิวบ่อย กินจุ ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือในครอบครัวมีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน นับตั้งแต่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ฯลฯ หากรักลูกหลาน อยากให้มีสุขภาพแข็งแรง ควรดูแลสุขภาพให้ดีแต่เด็ก ๆ ด้วยการให้ทานอาหารให้ครบทุกหมู่และหลากหลายตามที่ร่างกายต้องการ สอนให้เด็กกินผักให้เป็น แล้วกินผลไม้แทนขนมถุง ขนมกรอบต่าง ๆ ดื่มน้ำสะอาดแทนน้ำอัดลม พากันไปวิ่งเล่นออกกำลังกายแทนการเอาแต่นั่งจุมปุ้กหน้าทีวีหรือเล่นเกมส์ทั้งวัน เด็กจะมีสุขภาพแข็งแรงและมีสุขนิสัยการกินที่ดีได้ ต้องมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นตัวอย่างด้วย หากคุณไม่ยอมกินผัก หรือออกกำลังกายแล้วเด็กจะทำได้อย่างไรล่ะคะ?
-
ดูแลตัวเองให้มีความสุขแม้จะเป็นโรคเบาหวาน
ดูแลตัวเองให้มีความสุขแม้จะเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อที่จำเป็นต้องดูแลตัวเองให้ดี ๆ อาการของโรคนี้คือร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้ตามปกติ น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นและถูกขับออกมากับปัสสาวะ โรคนี้แม้จะต้องการวินัยในการควบคุมน้ำตาลอยู่มาก แต่หากดูแลดี ๆ แล้วจะมีสุขภาพปกติได้เหมือนคนทั่วไปเช่นกัน ซึ่งขั้นแรกของการดูแลก็คือต้องทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในมาตรฐาน อย่าปล่อยตัวให้อ้วนน้ำหนักเกิน ด้วยการดูแลร่างกายดังนี้ – ขยับตัวบ่อยๆ เคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เช่น อยู่ในออฟฟิศก็ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ หรืออยู่บ้านก็ปัดกวาดเช็ดถูบ้านให้สะอาดเรียบร้อยเสมอ ๆ ฯลฯ – ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 30-40 นาที เลือกตามที่ชอบไม่ว่าจะเป็นการเดินจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค ก็ได้ทั้งนั้น – เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องที่มีคุณค่าทางอาหารมากกว่า มีเส้นใยอาหารมากกว่า ช่วยให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลง การทานข้าวกล้องจึงทำให้อิ่มได้นาน อยู่ท้อง ช่วยในการลดน้ำหนักได้ดีกว่า – เลือกทานผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวานนัก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง เลือกอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ย่าง แทนการผัดหรือทอด จะช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายได้มากเลยค่ะ – ทานอาหารที่ปรุงรสแต่น้อย เลี่ยงอาหารที่เค็มจัด มันมาก…
-
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้ ผักสดผลไม้สดนั้นเป็นอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานและให้รสหวาน เกลือแร่และวิตามินที่เสริมสร้างความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ เส้นใยอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้ด้วย และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ลดเบาหวานได้ด้วย และพืชบางชนิดให้ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ฯลฯ การบริโภคผักสดและผลไม้สด จึงเป็นเรื่องที่ควรแนะนำและส่งเสริม แต่ทุกอย่างในโลกก็ต้องมีสองด้านเสมอ แม้แต่ในผักสด ผลไม้สดก็ตาม การบริโภคสด ๆ โดยไม่ผ่านความร้อนอาจได้รับอันตรายบางประการได้ เช่น ในผักอาจมีไข่พยาธิหรือพยาธิเจือปนอยู่ หากล้างไม่สะอาดอาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้ รวมไปถึงผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ อาจก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยบางโรคจำเป็นต้องระวังผักสดผลไม้สดบางชนิดด้วย เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปตัสเซี่ยมสูง ๆ เช่น กล้วย หรือส้ม เป็นต้น รวมไปถึงคนไข้อีกบางพวกที่การทานผักสดผลไม้สด เป็นเรื่องต้องห้ามที่สุด ก็คือ คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เพราะคนไข้จำพวกนี้ภายหลังจากที่ได้รับยาแล้วจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคต่ำลง ผู้ป่วยจึงอ่อนแอเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการผักผลไม้ ต้องเป็นผ่านการทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น อีกทั้งผลไม้บางชนิดที่ต้องรับประทานทั้งเปลือกก็ห้ามรับประทานด้วย หากต้องการทานต้องปอกเปลือกทิ้งไปแล้วให้ทานในทันทีห้ามปล่อยทิ้งไว้ แม้การทานผักสดผลไม้สดจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ป่วยบางโรคก็เป็นเรื่องต้องห้ามเช่นกัน ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่านะคะ
-
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป
โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…
-
รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST
รู้ทันอาการสมองขาดเลือดด้วย FAST ในแต่ละปี มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์อัมพาตมากถึงปีละกว่าหกล้านคน แม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ถึง 3 คนทุก ๆ 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว แล้วยังมีแนวโน้มที่จะทวีจำนวนและอัตราเร็วมากขึ้นทุกปีอีกด้วย ผู้ที่มีความเสี่ยงกับอาการสมองขาดเลือดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย อ้วนน้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมไปถึงผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคนี้ ดังนั้นจึงควรหัดสังเกตอาการสมองขาดเลือดชั่วคราวดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ใบหน้าอ่อนแรง หรือแขน ขา อ่อนแรงซีกเดียว 2. พูดจาลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง สับสน มีปัญหาทางการพูด 3. การมองเห็นลดประสิทธิภาพลงไม่ว่าจะข้างเดียวหรือสองข้าง 4. มึนงง เดินเซ สูญเสียสมดุลในการเดิน หรือคุณสามารถใช้ตัวย่อ FAST ช่วยในการจดจำได้ ดังนี้ F ; Face เวลายิ้มแล้วมุมปากตก ข้างใดข้างหนึ่ง A ; Arms ยกแขนไม่ขึ้นข้างใดข้างหนึ่ง S ;…
-
วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง
วิธีสังเกตสัญญาณเตือนภัย…โรคหลอดเลือดสมอง เพราะเหตุที่คนไทยมีภาวะโภชนาการล้นเกิน และวิธีการใช้ชีวิตก็เอื้อให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น คนไทยจึงมีสถิติการเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกปีด้วย โดยโรคหลอดเลือดสมองนี้แม้จะไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ยิ่งในผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก อาการอัมพาตนั้นมักจะมีอาการเตือนก่อนเกิดโรคเสมอ และการรักษาจะได้ผลก็ต้องเมื่อผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ดังนั้นเมื่อพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้เพียงข้อใดข้อหนึ่งแล้วแม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงอยู่ ก็ควรปรึกษาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด จะทำให้โอกาสการเสียชีวิตหรือพิการลดลงไปมากได้นั่นเอง การสังเกตอาการเตือนภัยของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ 1. มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า ขา แขน ด้านใดด้านหนึ่งอย่างทันทีทันใด ไม่มีสัญญาณเตือน 2. ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไปอย่างทันทีทันใด ไม่ว่าจะเป็น เอะอะ สับสน โวยวาย ซึมลง หรือพูดลำบาก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดไม่เข้าใจ 3. จู่ ๆ ก็ตามัวหรือเห็นภาพซ้อนของตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอย่างทันที 4. มึนงง เวียนหัว…
-
ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต
ทานอาหารดี ๆ หลีกเลี่ยงอาการอัมพาต ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจต่าง ๆ รวมไปถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นต้นเหตุของการอัมพาตได้ทั้งหมด ดังนั้นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุก็คือเราควรเลือกทานอาหารที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ จึงจะเป็นการป้องกันอาการอัมพาตได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งควรเลือกทานอาหารตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ – หากเป็นคนที่มีน้ำหนักร่างกายเกินมาตรฐาน ควรทานอาหารพวก ข้าว แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง ลดการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้หวาน ๆ หลีกเลี่ยงน้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะเร่งให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย ส่วนผลไม้ก็เลือกทานชนิดที่ไม่มีน้ำตาลมากนัก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ ฯลฯ – หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารผัด ทอด หรือแม้แต่ปิ้งย่างน้ำมันเยิ้มทาเนยทั้งหลาย ทานอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ย่างแห้งไม่ทาน้ำมัน เช่น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง หลีกเลี่ยงอาหารเข้ากะทิ พวกแกงเผ็ด แกงบวช ผัดใส่กะทิ ขนมไทยใส่กะทิต่าง ๆ…
-
สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า
สังเกตตัวเอง.. ว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า บางทีโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดีได้เหมือนกัน โรคนี้เป็นโรคที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองไว้ดังต่อไปนี้ค่ะ – เหนื่อยเวลาออกกำลังกายแม้เพียงเล็กน้อย แต่กลับเหนื่อยผิดปกติ เพราะในขณะที่เรากำลังออกกำลังกายหัวใจจะทำงานหนักขึ้น คุณจึงรู้สึกได้ถึงความเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นค่ะ – มักจะเจ็บหน้าอก หายใจอึดอัด และแน่นบริเวณหน้าอก พบมากในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการจะคล้ายมีของหนักกดทับหน้าอกไว้หรือมีโดนรัดหน้าอกทำให้หายใจไม่ออก – เป็นลมหมดสติบ่อย ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ เกิดเพราะจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ที่ทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ หัวใจจึงเต้นช้าลง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จึงทำให้เป็นลมได้ ใครเป็นลมหมดสติบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ – เท้าหรือขาบวม เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้ว และเป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวไม่รู้ตัวเมื่อใดก็ได้ – หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนที่ปกติไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วอาจถึงกับเสียชีวิตได้ – ตรวจพบความผิดปกติ เช่น เป็นเบาหวานหรือมีไขมันในเลือดสูง หรือเอ็กซเรย์พบว่าหัวใจโตกว่าปกติ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน นับว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ด้วย ส่วนผู้ที่ยังมีหัวใจเป็นปกติอยู่นั้น เราก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองไว้ก่อนที่จะเกิดโรคหัวใจตามมา ได้แก่ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองอยู่เสมอ เช็คอัตราการเต้นของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ มีอาการดังกล่าวข้างต้นบ้างหรือเปล่า และควรออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ดูแลจิตใจให้สดใสเสมอ…