Category: ต้อหิน

  • ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว

    ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว

    ต้อหิน อาจทำให้คุณตาบอดได้แบบไม่รู้ตัว โรคต้อหิน เป็นโรคอันตรายที่ทำให้คนไทยตาบอดมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้รู้ตัว จึงมักไม่ได้รับการรักษา ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสมาก และพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่าตัว อาการของโรคต้อหินนี้ หมายถึงการเสียสมดุลระหว่างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา คือเมื่อมีการระบายออกไปน้อยกว่าการสร้างขึ้น จะเกิดการคั่งของน้ำในลูกตา ทำให้เกิดแรงดันในลูกตาสูงขึ้น บางครั้งสูงมากจนลูกตาแข็งเหมือนหิน ความดันในลูกตานี้จะมากจนไปกดเซลล์ประสาทจนตาเสื่อม ทำให้ลานสายตาแคบลง ตามัว และบอดได้ในที่สุด กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ก็มักเป็นคนที่มีกรรมพันธุ์ในครอบครัวอยู่แล้ว, ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, คนที่เคยกินหรือฉีด หรือทาสตีรอยด์มาก่อน, เคยผ่าตัดโรคทางตาหรือมีอุบัติเหตุทางตามาก่อน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คอพอกเป็นพิษ คนที่สายตาสั้นหรือยาวมาก ทำให้การระบายน้ำในลูกตาออกยาก ฯลฯ อาการของต้อหิน หากเป็นแบบเฉียบพลันผู้ป่วยจะปวดหัว ปวดตารุนแรงมาก มองเห็นไฟเป้นวงแบบรุ้งกินน้ำ ผู้ป่วยจะไปรับการรักษาได้ทัน แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวเพราะความดันเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ดังนั้นจึงทุกคนที่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปจึงควรไปตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังโรคต้อหิน เพราะหากมีการสูญเสียการมองเห็นแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีก การตรวจสายตาแบบง่าย ๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ก็เพียงนำเอามือปิดตาไว้ทีละข้าง แล้วอ่านหนังสือหรือมองสิ่งของ เปรียบเทียบดูทั้งสองข้างว่าชัดเจนหรือเห็นได้กว้างเท่ากันหรือไม่ หากมีความผิดปกติควรไปขอรับการตรวจจากจักษุแพทย์เพิ่มเติม…

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้

    ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้

    ระวังดวงตามีปัญหาจากยาสตีรอยด์ได้ ยาในกลุ่มสตีรอยด์หรือคอร์ติโคสตีรอยด์ เป็นยาที่สังเคราะห์จากฮอร์โมนชนิดหนึ่ง มีหลายประเภท ซึ่งในทางจักษุวิทยา นิยมใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษาการอักเสบในช่องหน้าลูกตาหรือเยื่อบุตา หรือกระจกตาอักเสบบางประเภทได้ รวมทั้งการอักเสบหลังการผ่าตัด ฯลฯ ซึ่งข้อดีของยานี้ก็คือลดการอักเสบได้หลายโรค โดยเฉพาะการอักเสบหรือภูมิแพ้ชนิดที่เป็นรุนแรง แต่หากใช้อย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้มีผลข้างเคียงได้หลายประการ 1. ต้อหิน หากหยอดยากลุ่มสตีรอยด์เกินกว่าสองอาทิตย์ขึ้นไปอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นและทำลายขั้วประสาทตาจนเกิดต้อหินได้ ซึ่งในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาแต่จะค่อย ๆ แสดงอาการมากขึ้น จนสูญเสียลานสายตา ตาพร่ามัวจนสุดท้ายก็ตาบอด การรักษานั้นก็ควรรีบหยุดยาสตีรอยด์ที่ใช้อยู่ จะทำให้ความดันตาลดลง แต่หากเป็นต้อหินระยะรุนแรงแล้วแม้จะหยุดยาความดันตาก็อาจไม่ลดลง อาจต้องให้ยาลดความดันลูกตา เพื่อชะลอการสูญเสียสายตา และต้องติดตามรักษาอย่างต่อเนื่องด้วย 2. ต้อกระจก เกิดจากยาหยอดและยากิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเลนส์ตา เลนส์ตาจึงขุ่นและเป็นต้อกระจกได้ ผู้ป่วยจะตามัวโดยค่อย ๆ มัวลงคล้ายหมอกบัง การหยุดยาหลังจากเป็นไปแล้วจะไม่สามารถทำให้ดวงตากลับมาใสเหมือนเดิมได้อีก 3. ตาติดเชื้อ เกิดจากยาลดการอักเสบ ซึ่งยานี้ก็มีฤทธิ์ในการลดภูมิต้านของร่างกายได้ด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อบางอย่างได้ 4. เปลืองตาบางตัวลง มักเกิดจากยาหยอดหรือยาป้ายตา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อและเซลล์เม็ดสีของผิวหนังเปลือกตา ทำให้ผิวหนังบริเวณนี้สีดูจางและบางตัวลง 5. ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ รูม่านตาขยายขึ้น หนังตาตก มักพบในรูปยาหยอดตา…

  • เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ

    เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ

    เพื่อความปลอดภัยควรตรวจต้อหินอย่างสม่ำเสมอ ต้อหิน หรือ Glaucoma นั้นเป็นโรคตาที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคชนิดนี้ในระยะแรก มักจะทราบตอนตาใกล้บอดแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอาจตาบอดในที่สุด แต่จะรวดเร็วขนาดไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละคน โรคต้อหิน นั้นแบ่งออกได้เป็นสี่แบบได้แก่ – ต้อหินชนิดมุมปิด พบได้ราวร้อยละ 10 เกิดความผิดปกติของโครงสร้างลูกตาทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา หากเกิดเฉียบพลันจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตาดง ตามอง หรือมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ อาจรุนแรงจนทำให้คลื่นไส้อาเจียน หากไม่รักษาตาจะบอดอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงข้ามวัน ส่วนแบบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยมักจะไม่ทราบและไม่มีอาการ มักปวดเล็กน้อยเป็นครั้วคราว เป็น ๆ หายๆ อยู่หลายปี รักษาโรคปวดหัวอยู่หลายปีจนไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน – ต้อหิน ชนิดมุมเปิด ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดตาหรือตาแดง แต่ตาจะค่อย ๆ มัวลง อาจเปลี่ยนแปลงในระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาทันท่วงทีจะตาบอดในที่สุด – ต้อหิน ชนิดแทรกซ้อน มักเกิดจากความผิดปกติอย่างอื่นของดวงตา เช่น ตาอักเสบ ต้อกระจกที่สุกมาก อุบัติเหตุต่อดวงตา หรือเนื่องจากการใช้ยาหยอดตาบางชนิด การเปลี่ยนกระจกตา หรือการผ่าตัดต้อกระจก – ต้อหิน ในเด็กและทารก จะพบความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอด อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย และโรคนี้มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาจสังเกตได้ว่าเด็กมีขนาดลูกตาที่ใหญ่กว่าปกติ…

  • อาการตาบอดสามารถรักษาได้หรือไม่?

    อาการตาบอดสามารถรักษาได้หรือไม่?

    อาการตาบอดสามารถรักษาได้หรือไม่? อาการตาบอดนั้น การที่จะบ่งบอกว่าจะรักษาได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับควรรุนแรงของอาการ ซึ่งอาการที่มักรักษาไม่หายมักจะเป็นตาเล็กหรือตาฝ่อแต่กำเนิด ต้อหินรุนแรง หรือตาบอดจากอุบัติเหตุร้ายแรง แต่ปัญหาสายตาบางชนิด เช่น โรคจอประสาทตาบอด ต้อกระจก หรือสายตาผิดปกติเหล่านี้ ก็อาจรักษาได้หายได้ การประเมินว่าตาข้างที่บอดนั้นจะรักษาให้หายได้กลับมามองเห็นได้อีกหรือไม่ มีวิธีทดสอบก็คือการฉายไฟให้สว่างเต็มที่ แล้วส่องเข้าหาตาข้างที่บอด เพื่อทดสอบผู้ป่วยว่าสามารถเห็นแสงไฟเปิดปิดได้บ้างหรือเปล่า หากยังพอมองเห็น แยกออกว่าไฟเปิดหรือไฟปิดได้ ก็แสดงว่ายังพอมีทางรักษาให้หายได้ ให้ปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อทดสอบและรับการรักษา ปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายดวงตาใหม่ได้ รวมทั้งจอประสาทตาด้วย ส่วนของดวงตาที่สามารถเปลี่ยนได้มีเพียงกระจกตาดำ ซึ่งต้องรอกระจกตาบริจาคมาแล้วนำมาผ่าตัดเปลี่ยนบริเวณกระจกตา ในส่วนของผู้ที่มีเลนส์ตาขุ่นมัวที่เรียกว่าต้อกระจก สามารถผ่าตัดออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมให้กลับมามองเห็นใหม่ได้อีก การดูแลรักษาดวงตาเพื่อป้องกันอาการตาบอดนั้น ควรดูแลตามวิธีดังต่อไปนี้ – หากทำงานที่เสี่ยงอันตราย ควรสวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกัน รัดเข็มขัดนิรภัยขณะขับรถหรือนั่งรถ เพื่อป้องกันหน้ากระแทกกระจกรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ – ตรวจสุขภาพสายตา และวัดความดันตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือมีคนในครอบครัวเป็นต้อหินมาก่อน – ควบคุมระดับน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือใช้ยาป้องกันการลดต่ำของภูมิคุ้มกัน CD4+ ในผู้ป่วย HIV ฯลฯ – ไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้เอง เช่น ยากลุ่มสตีรอยด์ที่อาจทำให้ตาบอดจากต้อหินได้ – หากตาบอดหรือสายตาเลือนรางและจักษุแพทย์ไม่สามารถรักษาให้มองเห็นได้ ควรใช้เครื่องมือช่วยในการใช้สายตา ไม่ว่าจะเป็นกล้องส่องขยาย…

  • สุขภาพของดวงตากับยาสตีรอยด์

    สุขภาพของดวงตากับยาสตีรอยด์

    สุขภาพของดวงตากับยาสตีรอยด์ ยาสตีรอยด์ หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า คอร์ติโคสตีรอยด์ เป็นยาที่เกิดจากการสังเคราะห์ฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกาย ออกฤทธิ์โดยมีผลต่อหลายระบบในร่างกาย นิยมนำมาใช้รักษาอาการอักเสบในโรคต่าง ๆ มีทั้งรูปแบบของยากิน ยาฉีด พ่น หยอด ป้าย ในด้านของการรักษาดวงตานั้นจะใช้ยากลุ่มสตีรอยด์นี้ในการรักษาอาการอักเสบในช่องหน้าลูกตา เยื่อบุตา หรือกระจกตาอักเสบบางแบบ รวมทั้งหลังการผ่าตัดตา ฯลฯ ซึ่งข้อดีของยานี้ก็คือสามารถลดการอักเสบได้หลายโรค โดยเฉพาะการอักเสบหรือภูมิแพ้ที่รุนแรง แต่หากใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อดวงตาได้ เช่น ต้อหิน, ต้อกระจก, การติดเชื้อของตา โดยเฉพาะกลุ่มไวรัสเริม, ผิวหนังเปลือกตาบางลง, หนังตาตก, รูม่านตาขยายขึ้น ฯลฯ ซึ่งในเรื่องนี้ขอนำเอาคำแนะนำของจักษุแพทย์ในการใช้ยาสตีรอยด์มาฝากคุณผู้อ่านดังนี้ค่ะ – หากมีอาการตาแดง คันเคืองตา ควรไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจก่อนว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยาสตีรอยด์หรือไม่ ไม่ควรซื้อยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์มาหยอดเอง โดยจะสามารถสังเกตได้จากฉลากที่เขียนกำกับข้างขวดยา เพราะอาจทำให้คุณได้รับผลข้างเคียงของยาโดยไม่รู้ตัว – ผู้ที่ต้องใช้ยาหยอดตากลุ่มสตีรอยด์เป็นเวลานาน ควรมาพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับความถี่ของการใช้ยา ขนาดของยา และระยะเวลาการใช้ยาให้เหมาะสม – หากผู้ป่วยมีอาการ ปวดตา ตามัว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือหยอดตาแล้วไม่ดีขึ้น ควรรีบกลับมาพบแพทย์ก่อนนัด…

  • สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน

    สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน

    สาเหตุและชนิดของโรคต้อหิน ต้อหิน เป็นสาเหตุใหญ่ของการตาบอดของคนในโลกนี้รวมทั้งประเทศไทยด้วย มักพบได้บ่อยในผู้ทีมีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นต้อหินในครอบคัว สายตาสั้นหรือสายตายาวมากผิดปกติ เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีประวัติใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน หรือเคยประสบอุบัติเหตุทางตามาก่อน กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นต้อหินสูงขึ้น อาการของโรคต้อหิน จะเริ่มจากการสูญเสียการมองเห็นของลานสายตารอบนอกก่อน เมื่อโรครุนแรงขึ้น ลานสายตาจะแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งสาเหตุของการเกิดต้อหิน แบ่งออกได้ดังนี้ 1. ต้อหินแบบมุมเปิด พบได้มากโดยเฉพาะคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เกิดการสูญเสียการมองเห็นจากรอบนอกลานสายตาและค่อย ๆ ลามเข้ามาตรงกลางจนมืดในที่สุด 2. ต้อหินแต่กำเนิด พบได้ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอาย 3 ขวบ เกิดจากระบบระบายน้ำในลูกตาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ในครรภ์ 3. ต้อหินแบบมุมปิดเฉียบพลัน พบมากในคนเอเชียเกิดจากการมีการอุดตันของทางระบายน้ำทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ปวดตาและหัวคิ้วอย่างรุนแรง ตาแดง การมองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียนด้วย ต้อหินกลุ่มนี้ต้องรักษาอย่างทันทีเพื่อลดอาการและป้องกันอาการตาบอด ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงข้ามวัน หากไม่ได้รับการลดความดันลูกตา 4. ต้อหินจากสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน อุบัติเหตุ การอุดตันของการระบายน้ำในลูกตาทำให้ความดันตาขึ้น อาจค่อยเป็นค่อยไปหรือเฉียบพลันก็ได้ การตรวจต้อหินนั้นทำได้ด้วยการตรวจสุขภาพทั่วไป วัดความดันลูกตา ตรวจลานสายตาและดูลักษณะของทางระบายน้ำในลูกตา…

  • ภาวะต้อกระจกและการรักษา

    ภาวะต้อกระจกและการรักษา

    ภาวะต้อกระจกและการรักษา ต้อกระจก นี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุอับดับต้น ๆ ของภาวะสายตาพิการในคนชราด้วย โดยอาการของต้อกระจกจะเป็นภาวะที่แก้วตาหรือเลนสด์ตามีลักษณะขุ่นขาว มัวลง ทึบแทบ ไม่ยอมให้แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาไปกระทบจอตา จึงทำให้สายตาฝ้าฟางและมองไม่เห็นได้ในที่สุด สาเหตุของโรคนี้นั้นส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัย ส่วนใหญ่ผู้ที่อายุเกิด 60 ปีแล้วก็มักจะเป็นทุกราย แต่มีบางรายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นมาแต่กำเนิดพบได้ในทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด หรือการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ตาอยางรุนแรง มีความผิดปกติของตา หรือเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ หรือกินสเตียรอยด์เข้าไปนาน ๆ การกินยาลดความอ้วนบางชนิด เกิดจากการถูกรังสีที่ตาเป็นเวลานาน รวมไปถึงการถูกแสงแดดหรือแสงยูวีก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด ก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาการของต้อกระจกนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อย ๆ มัวลง แรก ๆ จะเหมือนหมอกบัง มองที่มืดชัดกว่าที่สว่าง หรือถูกแสงสว่างตาจะพร่ามัว สู้แสงไม่ไหว เห็นภาพซ้อน ไม่เจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด อาการตามัวจะแสดงอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ กินเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี จนแก้วตาขุ่นขาวหมด (ต้มสุก) ก็จะมองไม่เห็น ต้อกระจกนี้คนชรามักจะมีอาการทั้งสองข้าง แต่จะสุกไม่พร้อมกัน ระยะแรกแก้วตาจะขุ่นบริเวณตรงกลาง มองในมืดรูม่านตาจะขยายเปิดทางใหแสงผ่านเข้าแก้วตาส่วนรอบนอกที่ยังใสจึงทำให้เห็นภาพได้ชัด แต่เมื่อมองในที่สว่างรูม่านตาจะหดเล็กลง แสงจะผ่อนเฉพาะแก้วตาส่วนกลางจึงทำให้ภาพพร่ามัว การรักษาโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตา หรือใช้วิธีสลายต้อด้วยคลื่นความถี่สูง…