Category: ตาแดง

  • การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม

    การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม

    การป้องกันโรคฉี่หนู และโรคตาแดง และโรคผิวหนังในช่วงที่มีน้ำท่วม โรคที่มักจะระบาดบ่อย ๆ เวลาน้ำท่วมได้แก่ โรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคผิวหนัง โรคฉี่หนูจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง ตาแดง ตาเหลืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยย่ำน้ำโคลนโดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู้ทยางกันน้ำ ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลแล้วยิ่งควรระวัง ไม่ควรแช่น้ำนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำควรรีบชำระล้างร่างกายให้สะอาดแล้วซับให้แห้ง ทานอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บขยะทั้งหมดใส่ถุงพลาสติกและถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูได้ และควรดูแลที่พักอาศัยให้ปราศจากหนูด้วย ส่วนโรคตาแดง หรือเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไว้รัสนั้น จะมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาลไหล กลัวแสง มีขี้ตา ตาแดงหนังตาบวม โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้าง บ้างก็มีไข้ร่วมด้วย ควรป้องกันโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำกับสบู่ ไม่ควรขยี้ตาและอย่าให้แมลงตอมตาได้ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น อาทิเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และควรแยกที่นอนจากคนอื่นด้วย ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา ยิ่งหากมีอาการปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเหลืองหรือเขียว หรือไม่ทุเลาภายในหนึ่งสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ โรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมนั้น จำแนกอาการของแต่ละโรคได้ดังนี้…. – ผื่นคัน จะมีผื่นหรือมีตุ่มคันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำหรือโดนยุงกัด มักเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย…

  • ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส

    ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส

    ป้องกันโรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคตาแดงหรือโรคเยื่อตาขาวอักเสบจากไวรัส นั้นส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1-2 อาทิตย์ จะมีก็ส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสอะดีโน และกลุ่มเชื้อไวรัสพิคอร์นา ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสกับของใช้อื่น ๆ ที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา แก้วน้ำ จานชามช้อน ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หมอน เครื่องนอน สบู่ ขันน้ำ ลูกบิดประตู มือจับตู้เย็น โทรศัพท์ ฯลฯ หรืออาจเกิดจากการเล่นน้ำในสระที่มีเชื้อปนเปื้อนจากผู้ป่วยที่ลงเล่นน้ำ รวมไปถึงการติดต่อจากผู้ป่วยที่มีอาการไอ เจ็บคอ มาจามรดหน้าหรือสัมผัสกับน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย มีระยะฟักตัวประมาณ 5-12 วัน แต่มีบางชนิดที่ทำให้เยื่อตาขาวอักเสบมีเลือดออกใต้ตา จะมีระยะฟักตัวแค่ 1-2 วันเท่านั้น อาการนั้นก็จะมีอาการตาแดง เคืองตาเหมือนมีผงเข้าตา กลัวแสง น้ำตาไหล มีขี้ตาสีขาว หนังตาบวม บางรายอาจมีตาแดงเป็นปื้นเพราะเลือดออกที่ใต้ตาขาว บางรายมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัวเหมือนเป็นไข้ โดยจะเริ่มมีอาการที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามมาอีกข้างภายใน 2-3 วัน ส่วนมากอาการจะทุเลาในไม่กี่วันและหายได้เองใน 1-2 วัน ในส่วนของการดูแลตัวเองควรปฏิบัติตัวดังนี้ – ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าตรากตรำทำงานหนัก…

  • ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม

    ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม

    ป้องกันโรคตาในหน้าฝนและระยะที่น้ำท่วม ในระยะหน้าฝนและระยะที่มีน้ำท่วมนี้ อาจมีเชื้อโรคที่ทำให้ดวงตาติดเชื้อได้ จึงเป็นระยะที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื้อโรคเหล่านี้จะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำที่ท่วมเอ่อขึ้นมา หากไม่อยากติดเชื้อควรทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้ 1. สังเกตความผิดปกติของดวงตา ไม่ว่าจะเป็นตาแดง ระคายเคือง ปวดรอบดวงตา แพ้แสง หรือแสบตา การมองเห็นลดลงหรือมัวลง น้ำตาไหลหรือมีขี้ตาผิดปกติ เหล่านี้ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อการรักษาอย่างเร็วที่สุด 2. ไม่ควรซื้อยาหลอดตามารักษาเองในกรณีที่ดวงตาติดเชื้อ ยาหยอดตาไม่สามารถรักษาโรคตาได้ทุกชนิด บางครั้งอาจเกิดผลเสียและผลข้างเคียงของยาหลอดตาบางชนิดด้วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่า 3. หากมีน้ำสกปรกกระเด็นเข้าดวงตาด้วยล้างตาด้วยน้ำสะอาด เช่นน้ำยาล้างตา หรือน้ำยาล้างคอนแทกเลนส์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ควรใช้น้ำประปาล้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำประปาในพื้นที่ที่มีปัญหาของคุณภาพน้ำ 4. ทุกคนสามารถมีปัญหาโรคตาติดเชื้อได้ทุกคน พบมากในกลุ่มที่สวมคอนแทคเลนส์ หรือผู้ทีผ่านการผ่าตัดดวงตา ไม่ว่าจะเป็น การทำเลสิก การผ่าตัดต้อ ฯลฯ เหล่านี้ควรระวังเป็นพิเศษ 5. ผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติของดวงตา ควรมีแว่นตาสำรองไว้เสมอในกรณีที่อาจไม่สะดวกในการสวมคอนแทคเลนส์ 6. สำหรับผู้ที่สวมคอนแทคเลนส์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่ท่วม หรือหากเลี่ยงไม่ได้ควรหยุดการสวมใส่คอนแทคเลนส์ไปก่อน แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นป้องกันน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา ไม่ควรใช้น้ำประปาในการล้างหรือเก็บคอนแทคเลนส์ ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสดวงตาและคอนแทคเลนส์ ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อคอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ รวมไปถึงยาหยอดตาต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน และควรศึกษาวิธีการสวมใส่และทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธีก่อนซื้อหามาใช้ด้วยนะคะ

  • ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน

    ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน

    ระวังภัย…จากการย่ำน้ำท่วมขังในฤดูฝน นอกจากโรคทางเดินหายใจที่เราควรต้องดูแลสุขภาพให้ดีกันในระยะหน้าฝนนี้แล้ว ภาวะน้ำท่วมขัง น้ำขังตามท้องถนนหรือริมฟุตบาทต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่เราต้องระวังเช่นกัน เพราะภัยอันตรายมีอยู่มากที่มากับน้ำเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น แมลงหรือสัตว์มีพิษต่างๆ อุบัติเหตุพลัดตกท่อ ไฟฟ้ารั่ว และเชื้อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงสารเคมีที่น้ำนั้นได้ชะล้างออกมา หากเท้าของเราต้องสัมผัสกับน้ำเหล่านั้นอาจติดเชื้อหรือได้รับอันตรายได้ ดังนั้นในระยะที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการย่ำเท้าในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่ที่มีน้ำท่วมขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ เพื่ออาจถูกเศษวัสดุ เศษแก้ว ตะปู ตำเอาจนเกิดบาดแผลและเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายค่ะ 2. หากจำเป็นต้องแช่น้ำ อย่าอยู่ในน้ำนาน ๆ และต้องสวมรองเท้าบู้ทด้วยทุกครั้ง 3. หลังการสัมผัสกับน้ำสกปรกทั้งหลาย ควรรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดและซับให้แห้ง 4. อย่าให้น้ำเหล่านั้นเข้าตาและเข้าปาก หากน้ำกระเด็นใส่ควรใช้น้ำดื่มจากขวดล้างออก โดยเทผ่านดวงตา แต่อย่าขยี้เพราะอาจทำให้เกิดแผลลุกลามได้ 5. ในระยะฤดูฝนควรระมัดระวังน้ำดื่มและอาหาร เพราะอาจเกิดโรคท้องเดินได้ง่าย 6. รักษาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ปล่อยวางความเครียด เพราะยิ่งเครียดร่างกายก็จะยิ่งอ่อนแอลง การรักษาสุขภาพจิตให้แข็งแรงก็จะพลอยทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย หากสัมผัสถูกน้ำเหล่านี้แล้วเกิดมีอาการผิดปกติขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตาแดง หรือเจ็บเคืองตา ถ่ายท้องเกินสามครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นเลือด มีไข้สูง ปวดหัวและปวดเมื่อยหนักมาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วนค่ะ  

  • วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด

    วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด

    วิธีป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาด โรคที่พบได้บ่อยในหน้าฝนและช่วงที่มีน้ำท่วมมากนั้น โรคหนึ่งที่ระบาดมากในระยะนี้ก็ได้แก่ โรคตาแดงนั่นเอง โรคตาแดงเป็นโรคติดต่อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการไม่รุนแรงมากนัก มักเกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจติดเชื้อแบคทีเรียจนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีก โดยการติดต่อของโรคตาแดงนั้นเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา ขี้มูกของผู้ป่วย หรือการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย รวมไปถึงแมลงวันแมลงหวี่ตอมตาด้วย ระยะฟักเชื้อนั้นจะมีเวลาแค่ 1-2 วันเท่านั้นแล้วจะอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยมักจะเริ่มที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วลุกลามไปอีกข้างที่เหลือ การป้องกันโรคตาแดงในระยะระบาดจึงมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ – หากมีน้ำสกปรกหรือขี้ฝุ่นเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที – หากเริ่มมีอาการดังกล่าวมาข้างต้นให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับยามาป้ายหรือหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ติดต่อกันให้หมดตามคำสั่งแพทย์ หากมีไข้ให้ทานยาลดไข้ได้ตามอาการ – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ไม่ว่าจะเป็นการหลังจากออกจากห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ ก่อนทานอาหารด้วย – อย่าขยี้ตา อย่าปล่อยให้แมลงมาตอมตาและไม่ควรใช้สายตามากด้วย – ผู้ที่ป่วยเป็นโรคตาแดงควรนอนแยกจากคนอื่น ๆ และไม่ใช่สิ่งของร่วมกัน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ควรซักให้สะอาดอีกครั้งหลังจากหายป่วยแล้ว –…

  • หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

    หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

    หลีกเลี่ยงหวัดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ในระยะที่อากาศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีฝนตกมากขึ้น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ หรือสุขภาพอ่อนแอเพราะปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได่ง่าย ยิ่งโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางลมหายใจจำพวกโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อกันได้ง่ายนั้น เราจึงยิ่งจำเป็นต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการป้องกันโรคติดต่อเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งมีวิธีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มป่วย เริ่มเป็นไข้ ไม่สบายรู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่พอ ยิ่งไม่ควรเข้าไปเสี่ยงในแหล่งชุมชนที่มีคนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นตลาด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล เพราะว่าร่างกายในช่วงที่มีภูมิต้านทานต่ำจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย – หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือหากไม่สะดวกในการล้างมือจะใช้เจลแอลกอฮอล์มาเช็ดก็ได้ ช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดี ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่กำลังมีอาการไอหรือจาม ยิ่มควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ เพราะหากนำมือไปป้ายตาก็อาจติดเชื้อตาอักเสบได้ หรือไปหยิบจับสิ่งของก็จะเท่ากับเป็นการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีกทาง – หลีกเลี่ยงและอยู่ห่างจากผู้ป่วยที่มีอาการเป็นหวัด ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง จะช่วยป้องกันเชื้อหวัดและโรคทางเดินหายใจได้ดี – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วพักผ่อนให้เพียงพอ – ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ สองลิตร – หากในบ้านของเรามีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่ป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ และควรป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นด้วยการไม่คลุกคลีกับผู้ใกล้ชิด ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกเมื่อไอหรือจาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วย – สำหรับกลุ่มผู้เสี่ยงสูง…