Category: ข้อเข่าเสื่อม

  • วิธีการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วย ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก

    วิธีการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วย ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก

    วิธีการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วย ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีเพื่อการผ่าตัดต้อกระจกนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอีกต่อไปแล้ว เพราะใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ในการสลายต้อ ทำให้มีแผลเล็ก หายเร็ว ก่อการผ่าจะมีการหยอดยาชาหรือฉีดยาชาที่ตาเพื่อไม่ให้เจ็บ ไม่ต้องดมยา จึงไม่ต้องนอนพักค้างที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัด แต่ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัดควรมีการเตรียมตัวก่อนเพื่อความปลอดภัยดังต่อไปนี้ค่ะ 1. งดยาสลายลิ่มเลือดก่อนการผ่าตัดประมาณหนึ่งสัปด์ ไม่ว่าจะเป็นแอสไฟริน หรือ Plavix ผู้ป่วยบางคนต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนว่าจะหยุดยาสลายลิ่มเลือดได้หรือไม่ ดังนั้นการผ่าตัดต้อกระจกก็ต้องปรึกษาหมอตาและหมอประจำตัวก่อนด้วยเสมอ 2. ในส่วนยาที่เคยทานประจำอื่น ๆ ให้ทานจนถึงเช้าวันผ่าตัดเลย ห้ามหยุดเด็ดขาดโดยเฉพาะยาลดความดัน ยาเบาหวาน เพราะหากหยุดยาไปก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ผ่าไม่ได้ก็มี 3. เช้าวันที่จะมาผ่าตัดให้อาบน้ำ สระผมมาให้เรียบร้อย เพราะต้องงดสระผมเองอีก 1 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าตา จะทำให้ติดเชื้อได้ แต่ระหว่างนั้นก็สามารถนอนให้คนอื่นสระได้ แต่ห้ามมิให้น้ำเข้าตาเด็ดขาด 4. งดแต่งหน้ามาในเช้าวันที่จะผ่าตัด หรือไม่ก็ต้องล้างออกให้หมดก่อนผ่าตัด 5. สวมเสื้อที่ติดกระดุมหน้า ไม่ควรสวมเสื้อแบบถอดทางศีรษะ จะได้สะดวกในการเปลี่ยนเสื้อผ้า 6. หากมีการอักเสบติดเชื้อไม่ว่าส่วนใดของร่างกายเช่น เชื้อราที่นิ้ว แผลอักเสบที่เท้า หรือทางเดินปัสสาวะ หรือตากุ้งยิง ต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไปก่อนเพื่อรอให้การติดเชื้อทุกส่วนหายดี มิเช่นนั้นอาจเกิดติดเชื้อผ่านทางกระแสเลือดมาที่ลูกตาได้ แม้จะไม่บ่อยแต่ก็เกิดขึ้นได้ค่ะ 7. ให้คนในครอบครัว ญาติ หรือเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัดเพื่อพากลับบ้าน เพราะหลังผ่าตัดจะต้องปิดตาข้างที่ผ่ากลับไป…

  • สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

    สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

    สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุนั้น พบปัญหาข้อเสื่อมและกระดูกพรุนได้มาก มักเกิดกับข้อใหญ่ ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัก และข้อเข่าด้วย พบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายผู้หญิงจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไปด้วย อีกทั้งหากในวัยหนุ่มสาวไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นเริ่มอ้วนขึ้น เข่าก็ต้องรับน้ำหนักส่วนเกินมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย ซึ่งสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณกำลังเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ก็ได้แก่ 1. เริ่มเจ็บเข่า ปวดแต่ไม่มาก แรก ๆ จะเริ่มรู้สึกขัด ๆ เข่าเวลาใช้งานก่อน แต่เมื่อพักก็จะดีขึ้น แต่หากทิ้งไว้นานและยังคงใช้งานต่อเนื่องก็อาจปวดจนเดินไม่ไหว 2. เข่าบวม จะพบได้ในระยะที่เข่าเริ่มเสื่อมมากแล้วและได้รับแรงกระแทกสูง เข่าจะบวมจนเห็นได้ชัดและเริ่มมีอาการปวดมากขึ้น หากรักษาอาการบวมก็จะทุเลาปวดได้ แต่หากกลับมาลงน้ำหนักอีกก็จะบวมได้อีก 3. อาการเข่าอ่อนหรือเข่าฝืด จะเป็นในช่วงที่เข่ายังไม่บวม เวลานั่งจะลุกไม่ขึ้นเพราะเข่าอ่อนและเหยียดไม่ออก ต้องค่อย ๆ พยุงตัว อาการจะเป็นมากขึ้นจนสุดท้ายเข่าจะผิดรูปและเข่าโก่งงอได้ เมื่อเริ่มสงสัยว่าตนเองจะมีอาการข้อเข่าเสื่อมแล้วไม่ควรปล่อยให้เป็นมากขึ้น ควรเข้ารับการรักษา และควรดูแลตัวเองเพื่อมิให้อาการลุกลามมากขึ้นดังต่อไปนี้ – รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยให้อ้วน หรือน้ำหนักเกิน – ไม่ควรให้มีแรงกระแทกต่อหัวเข่า เช่น การกระโดดเชือก วิ่ง หรือมีการกระแทกข้อ แต่ให้ออกกำลังเข่าที่ช่วยให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง…

  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม ปัจจุบันมีคนไทยเป็นโรคข้อเสื่อมและกระดูกพรุนมากถึงกว่าเจ็ดล้านคนเลยทีเดียว พบมากในผู้ที่มีอายุสี่สิบปีขึ้นและผู้สูงอายุด้วย ซึ่งนับวันตัวเลขผู้ป่วยก็จะยิ่งมากขึ้น เพราะประเทศไทยกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุนั่นเอง โรคข้อเสื่อมนี้เป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ฉาบผิวกระดูกข้อต่อไว้ไม่ให้เสียดสีกันยามเคลื่อนไหว แต่เมื่อกระดูกอ่อนหรือพรุน กระดูกข้อต่อก็จะเสียดสีกันจนเป็นผลให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติ ทำให้กิจวัตรที่เคยทำเป็นประจำมีปัญหาได้ หากคุณไม่อยากเป็นโรคข้อเสื่อมก่อนวัย ควรดูแลร่างกายตัวเองดังต่อไปนี้นะคะ 1. ควบคุมน้ำหนักไว้ให้ได้มาตรฐาน อย่าปล่อยตัวให้อ้วน เพราะนี่คือสาเหตุใหญ่ของโรคข้อเสื่อมเลยก็ว่าได้ ยิ่งอ้วนมากเท่าไร ข้อต่อก็ยิ่งรับน้ำหนักมาขึ้นเท่านั้น หากในช่วงต้นชีวิตที่ยังไม่มีอาการโรคข้อเสื่อม ได้ลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักไว้ในมาตรฐานตลอดเวลา กับทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงโรคข้อเสื่อมได้ดีเลยทีเดียว 2. ไม่อยู่ในอิริยาบถที่ทำให้เกิดโรคข้อ เช่น การนั่งยอง ๆ นั่งกับพื้น ผุดลุกผุดนั่งบ่อย ๆ ขึ้นลงบันไดเป็นประจำ หรือทิ้งน้ำหนักลงขาข้างเดียว ทำให้ข้อต่อช่วงเข่า ขาลงไปมีปัญหาได้ แม้แต่ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หากไม่หมั่นขยับท่าทางบ่อยๆ และนั่งก้มคอหรือก้มหลังทำงานมาก ๆ ก็อาจทำให้ข้อต่อบริเวณคอและกระดูกสันหลังส่วนเอวมีปัญหาได้เช่นกัน หากไม่อยากปวดข้ออย่าก้มคอนาน ๆ ให้นั่งพิงพนักเก้าอี้ไว้ และลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ ด้วยนะคะ 3. ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ช่วยพยุงกระดูกเอาไว้ ลดโรคข้อเสื่อมได้ และการออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อนี้ควรปรึกษาเทรนเนอร์หรือผู้ชำนาญจะดีที่สุดค่ะ 4. การใช้อาหารและยา หากเป็นโรคข้อเสื่อในระยะแรก ๆ นั้น…

  • เข่าเสื่อม.. ยืน เดิน ขยับ ก็เจ็บทุกท่า

    เข่าเสื่อม.. ยืน เดิน ขยับ ก็เจ็บทุกท่า

    เข่าเสื่อม.. ยืน เดิน ขยับ ก็เจ็บทุกท่า โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวการณ์สึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ เนื่องจากความเสื่อมของวัยและการใช้งาน หากผิวข้อมีการเสียดสีกันก็จะทำให้ปวดข้อเข่าตามมา ไม่ว่าจะอยู่ในท่าใด จะยืน เดิน ขยับก็เจ็บไปหมด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นได้แก่ ยิ่งอายุมากขึ้นเข่าก็ยิ่งเสื่อมได้มากขึ้น มักพบในเพศหญิงมากกว่าผู้ชายด้วย หากคนในครอบครัวมีอาการข้อเข่าเสื่อม ลูกหลานก็มีสิทธิเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ แต่แม้จะยังไม่แก่และในครอบครัวไม่มีใครเป็นโรค น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานก็ทำให้หัวเข่าต้องรับน้ำหนักและแรงกดทับมากทำให้เสื่อมเร็วได้เช่นกัน รวมไปถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น เอ็นหรือหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือมีกระดูกผิวข้อแตก เป็นต้น อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ จะมีอาการปวดเข่ามากขึ้นในระหว่างการใช้งาน และจะทุเลาลงในช่วงพักการใช้ขา มีอาการข้อยึดติดซึ่งหากเป็นมากก็อาจทำให้การยืดเหยียดข้อเข่าทำได้ลำบาก ข้อบวมซึ่งอาจเกิดจากเยื่อบุข้ออักเสบหรือมีการสร้างน้ำไขข้อมากขึ้น เวลาเดินหรือเคลื่อนไหวกมักได้ยินเสียงกระดูกเสียดสีกัน หากปล่อยให้เป็นรุนแรงมากขึ้น ก็จะทำให้ข้อผิดรูปหรือขาโก่งได้ และหากมีอาการข้อหลวมด้วยก็จะทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นคงเวลาเดินหรือยืน กล้ามเนื้อข้อจะมีขนาดเล็กลงและเสื่อมแรงลง ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะมีก็แต่การรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดและทำให้ข้อกลับคืนสภาพที่พอใช้งานได้เท่านั้น รวมทั้งป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปของข้อ โดยแล้วแต่การพิจารณาของแพทย์ตามความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคนไป ซึ่งการรักษาจะมีทั้งแบบผ่าตัดและไม่ต้องผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดนั้น ก็ได้แก่ 1. ปรับวิธีชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการทำงานของข้อให้น้อยลง ไม่นั่งคุกเข่า พับเพียบ ยอง ๆ หรือนั่งขัดสมาธิ รวมไปถึงไม่ควรขึ้นลงบันไดด้วยแต่หากจำเป็นก็ขอให้เดินอย่างช้า ๆ ทีละขั้น ไม่ควรยืนหรือนั่งในท่าใดนาน…

  • วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น

    วิธีป้องกันและรักษาโรคติดต่อทางเดินอาหารเบื้องต้น ในฤดูร้อนและฤดูฝนที่บางครั้งก็มีฝนตกหนักจนน้ำท่วมนั้น เป็นระยะที่มีการระบาดของโรคท้องเดิน อาหารเป็นพิษ อหิวาห์ ไข้ไทฟอยด์ได้ ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้ได้แก่ ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นถ่าย ถ่ายมีมูกเลือด มักปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ไข้ไทฟอยด์นั้นมักจะมีไข้สูงตลอดเวลานานเป็นอาทิตย์ ปวดหัวและนอนซม ซึ่งโรคติดต่อทางเดินอาหารเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย – ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด ไม่บูดเสีย ไม่กินอาหารที่มีกลิ่นบูด หรือทิ้งค้างคืนและอาหารที่มีแมลงวันตอม – ให้ดื่มแต่น้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำดื่มบรรจุขวด – หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร เตรียมอาหาร ก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ – หากต้องติดอยู่ในที่น้ำท่วม ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำ ควรถ่ายลงส้วมดัดแปลงหรือถ่ายใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ปูนขาวลงไปจำนวนพอสมควรแล้วปิดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปใส่ไว้ในถุงดำ หรือถุงขยะ แต่หากมีอาการท้องเดินแล้ว ให้รักษาตัวเบื้องต้นดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส หรือน้ำข้าวต้มใส่เกลือ น้ำอัดลมใส่เกลือ หรือจะปรุงเองโดยใช้น้ำตาลทราย สองช้อนโตะ และเกลือครึ่งช้อนชาเล็ก ดื่มบ่อย ๆ ครั้งละครึ่งแก้วให้เพียงพอกับที่ถ่ายออกไป จะสังเกตได้ว่าปัสสาวะจะมากและใส – ให้ทานยาแก้ไข้พาราเซตามอลหากมีไข้สูง – สำหรับเด็กเล็กนั้นให้ดื่มนมแม่ตามปกติ ถ้ากินนมผงให้ผสมนมให้จางลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยชงจนกว่าอาการจะเริ่มทุเลา…

  • ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้

    ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้

    ปรับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตลดโรคความดันโลหิตสูงได้ ในประเทศไทยเองมีผุ้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนมากเพราะไม่แสดงอาการออกมา บางรายอาจแค่มึนงง หรือปวดหัวบริเวณท้ายทอย จึงไม่ไปตรวจรับการรักษา เมื่อเป็นนาน ๆ เข้า หลอดเลือดแดงในร่างกายจึงแข็งตัวและตีบตัน เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ไม่พอ เกิดภาวะหัวใจโต ไตเสื่อม จนไตวายได้ เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ โรคนี้จึงอันตรายมากเพราะเป็นโรคแอบแฝง แต่สามารถคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ผู้ใหญ่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยด้วยนั้น มีภาวะป่วยเป็นความดันโลหิตสูงถึง 1 ใน 3 คน เสียชีวิตปีละ 1.5 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ควารดูแลตนเองด้วยหลัก 3 ข้อดังต่อไปนี้ 1. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่าให้อ้วนเกินไป มีค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 2. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย รสชาติพอดีไม่ปรุงแต่งมากเกินไปจนเค็ม หวานหรือมัน ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง ทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น เลือกอบายมุขทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำหวานน้ำอัดลมต่าง ๆ ด้วย 3. หมั่นขยับเขยื้อนร่างกายเสมอ…

  • เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้

    เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้

    เมื่อ…เด็กเล็กเป็นไข้  อาการไข้ขึ้นของเด็กเล็กนี่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายคนวิตกกังวลได้เหมือนกันค่ะว่าลูป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ วันนี้มาฟังคำอธิบายแบบง่าย ๆ กันนะคะ – ไข้หวัดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยติดต่อกันทางน้ำมูก น้ำลาย การไอหรือจาม ยิ่งหากเด็ก ๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากและอากาศถ่ายเทไม่สะดวกแล้วก็มีโอกาสติดหวัดกันได้ง่าย ไข้หวัดทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง หากเป็นเด็กที่แข็งแรงอยู่แล้ว ก็สามารถดูแลเบื้องต้นได้เอง แต่หากเป็นเด็กเล็กมาก หรือมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรมาพบแพทย์ – ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ มีความแตกต่างจากไข้หวัดก็คือ มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล หลายวันไปสีจะข้นขึ้น มีอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก เบื่ออาหาร หากในเด็กเล็กจะมีอาการกวนมากกว่าปกติ หากทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด มีอาการหน้าแดง อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และมีจุดแดงหลังจากมีไข้ 3-4 วัน จะเป็นอาการของไข้เลือดออกและควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจต่อไป – ไข้หวัดใหญ่ จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดหัว เบื่องอาหาร คลื่นไส้อาเจียน เด็กจะป่วยซม…

  • ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม

    ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบว่าคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐานนั้น มักจะเข่าเสื่อมง่ายกว่าคนทั่วไป เกิดความเจ็บปวดหรือเมื่อยขัดบริเวณเข่าทุกย่างก้าว มีความรู้สึกเมื่อยขัด หรือตึงบริเวณน่องและข้อพับเข่า เคลื่อนไหวข้อได้ไม่เต็มที่ มีเสียงดังออกมาจากข้อ เข่าบวม มีน้ำในข้อ หรือเข้อเข่าคดผิดรูป รวมไปถึงเข่าโก่ง ฯลฯ อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นและเป็น ๆ หาย ๆ ยิ่งเข่าเสื่อมาก็จะยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น จนกระทั่งปวดตลอดเวลา การรักษานั้นก็สามารถได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพลำบัด การกินยาแก้ปวด แก้อักเสบ การผ่าตัดจัดแนวกระดูก การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เราควรป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเอง ด้วยการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันดังต่อไปนี้ค่ะ – อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน เพราะเวลาเราเดินเข่าจะรับน้ำหนักมากว่าน้ำหนักถึว 3 เท่า ยิ่งหากเป็นการวิ่งด้วยแล้ว เข่าจะรับน้ำหนักมากถึง 5 เท่า ถ้าลดน้ำหนักได้ก็จะลดภาระเข่าลงไปได้มาก เข่าก็จะเสื่อมช้าลงไปด้วย – ไม่ควรนั่งบนพื้น นั่งขัดสมาธิ คุกเข่าหรือนั่งยอง รวมทั้งการนั่งราบบนพื้น เพราะท่านั่งเหล่านี้จะทำให้ผิวข้อเสียดสีกันทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีความสูงระดับเข่าดีกว่า – เข้าห้องน้ำที่มีโถนั่งแบบชักโครก ไม่ควรนั่งยองเพราะจะทำให้ข้อเข่าเสียสีกันมาก และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขาถูกกดทับทำให้เลือดไปเลี้ยงขาน้อย ขาชาอ่อนแรงได้ –…

  • ปรับทัศนคติที่มีต่อโรคเรื้อนกันเถอะ!

    ปรับทัศนคติที่มีต่อโรคเรื้อนกันเถอะ!

    ปรับทัศนคติที่มีต่อโรคเรื้อนกันเถอะ! แม้ว่าในประเทศไทยนี้จะเกิดโรคเรื้อนลดลงมาจนไม่เป็นปัญหาระบบสาธารณะสุขอีกต่อไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่มากขึ้นทุกปีแ ละกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยรายใหม่ยังมีความพิการในระดับสอง คือมีความพิการที่มองเห็นได้ แสดงว่าผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาล่าช้าเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งทางเศรษฐกิจและชุมชน การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อนนั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ป่วยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการติดเชื้อโรคเรื้อนจากคนในชุมชน รวมทั้งผู้ป่วยนั้นไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคเรื้อนด้วย ซึ่งกลุ่มนี้จะมีเพียงร้อยละ 3 ของผู้รับเชื้อทั้งหมดเท่านั้น แต่ในสายตาของผู้อื่นในสังคมแล้ว มักมองคนเป็นโรคเรื้อนในแง่ร้าย และมองอย่างรังเกียจเพราะความเชื่อที่ปลูกฝังกันมาแบบผิด ๆ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางกายและทางใจ ถูกมองอย่างดูถูก ไม่ให้รับการเข้าสังคม โดยรังเกียจเดียจฉันท์ จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ แม้บางทีผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนหายแล้ว แต่ผู้ที่รู้ว่าเคยเป็นก็ยังแสดงความรังเกียจอยู่ดี ความจริงแล้วการรักษาโรคเรื้อนนั้น สามารถรักษาให้หายสนิทได้ และใช้เวลาในการรักษาเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี และแม้จะเข้าขั้นพิการแล้วก็ยังรักษาให้หายได้ด้วย เมื่อได้รับการรักษาแล้วก็ยังไม่แพร่เชื้อโรคไปให้ผ็อื่น จึงไม่จำเป็นต้องกังวลหรือกลัวต่อร่างกายที่พิการของผู้ป่วยโรคเรื้อนแต่อย่างใด สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ที่เริ่มต้นมีอาการ ได้แก่ มีผิวหนังเป็นวงด่างสีขาวหรือแดง มีอาการชา และเป็นผื่นวงแดง เป็นตุ่มไม่คัน ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยด่วน ผู้ป่วยก็ไม่มีความพิการ หรือแม้จะพิการไปแล้วก็รักษาอาการไม่ให้พิการมากขึ้นไปได้ ซึ่งในระหว่างการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในครอบครัวหรือชุมชนได้ตามปกติ สำหรับโรคนี้สังคมควรมีความเข้าใจ และไม่แสดงความรังเกียจทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ก็จะช่วยลดความทุกข์ทรมานใจจากโรคลงได้มากและยังมีกำลังใจในการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์จนหายสนิท ไม่ทำให้ครอบครัวและสังคมได้รับผลกระทบอีกต่อไป

  • การชะลอความเสื่อม และลดอาการปวดข้อเข่า

    การชะลอความเสื่อม และลดอาการปวดข้อเข่า

    การชะลอความเสื่อม และลดอาการปวดข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม ความจริงแล้วมักจะเกิดในผู้สูงอายุเป็นหลัก เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกาย และตอนนี้มักพบว่าแม้วัยจะยังไม่เข้าสู่วัยชรา หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีน้ำหนักตัวเกินมาก ก็อาจมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ซึ่งสาเหตุของการมีข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยนั้นก็คือ การใช้ขา หรือข้อเข่ามากเกินไป, ยืน เดิน วิ่ง ทำให้น้ำหนักของร่างกายกดลงบนเข่ามากขึ้น 3-4 เท่าตัว, ผู้ที่มีอาชีพต้องยกหรือแบกของหนัก, คนอ้วนน้ำหนักเกิน, ประสบอุบัติเหตุบริเวณเข่า, ติดเชื้อโรคข้อเข่าบางชนิด ฯลฯ เหล่านี้ ทำให้ข้อเข่าต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นทุกขณะที่เดินหรือยืน ความเจ็บปวดจึงตามมาทุกย่างก้าว โดยอาการของโรคนี้เมื่อเริ่มแรกจะรู้สึก เมื่อยตึง ๆ ที่น่องและข้อพับเข่าก่อน เคลื่อนไหวไม่เต็มที่ ข้อขัด มีเสียงดังกรอบแกรนเวลาขยับข้อ บวม มีน้ำในข้อ ปวด จนถึงเข่าบิดหรือผิดรูปไปเลย ซึ่งอาการที่แสดงออกขึ้นอยู่ว่าเป็นมากหรือน้อย สำหรับผู้ที่มีอาการโรคข้ออักเสบแล้ว นอกจากการไปพบแพทย์เพื่อขอรับการรักษาก็ควรดูแลตัวเองและชะลอความเสื่อมของโรคข้อดังต่อไปนี้ค่ะ – เมื่อมีอาการปวดและบวมขึ้น ให้ใช้ความร้อนประคบบริเวณเข่า จะช่วยลดความเกร็งของกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่า ลดความปวดได้ – ชะลอความเสื่อมด้วยการสร้างกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ด้วยท่าบริหารนี้ นั่งเก้าอี้หลังติดพนักแล้วเหยียดเข่าให้ตรง เกร็งค้างไว้ 10 วินาทีแล้วค่อย ๆ…