Category: ข่าวสุขภาพ
-
ป้องกันเด็ก ๆ จากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ป้องกันเด็ก ๆ จากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศทุกวันนี้แม้จะมีบทลงโทษทางสังคมและกฎหมายมากเท่าไร แต่ปัญหาเรื่องนี้กลับไม่ลดลงเลย แต่กลับจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย การล่วงละเมิดทางเพศเด็กนั้นสามารถเกิดได้ทุกที่ ที่พบมาที่สุดก็คือที่บ้าน โรงเรียน ห้องน้ำสาธารณะ สนามเด็กเล่น วัด ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เด็กที่ถูกกระทำมักมีทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ไม่จำกัดอายุ และมักเป็นเด็กที่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาดูและหรือปล่อยให้อยู่คนเดียวบ่อย ๆ มักตกเป็นเหยื่อคนใกล้ชิดเป็นส่วนใหญ่ด้วย มีลักษณะอยู่สามรูปแบบก็คือ 1. การล่วงละเมิดแบบไม่สัมผัสร่างกาย ได้แก่ การพูดจาลวนลาม การแอบดูเด็กอาบน้ำ การโชว์อวัยวะเพศ หรือสำเร็จความใครให้เด็กดู การให้เด็กดูภาพหรือหนังลามก 2. การล่วงละเมิดแบบสัมผัสร่างกายภายนอก การใช้มือลูบคลำเด็กหรือให้เด็กลูกคลำหรือใช้ปากกับอวัยวะเพศของตน 3. การล่วงละเมิดภายใน คือการกระทำชำเราเด็ก การป้องกันมิให้เด็ก ๆ ต้องตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศ 1. อย่าปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว แต่หากไม่สามารถพาลูกไปไหนด้วยได้ ควรฝากไว้ให้ญาติผู้ใหญ่ช่วงดูแล เพื่อป้องกันผู้ไม่พึงประสงค์หาโอกาสล่วงละเมิดทางเพศเด็กได้ 2. สอนให้ลูกระวังตัว อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า หรือหากต้องไปไหนอยู่กับใครต้องแจ้งให้พ่อแม่ทราบก่อน และกำชับไม่ให้กลับบ้านเย็นเกินไปเพราะอาจเสี่ยงอันตรายได้ 3. ในเด็กที่เริ่มเข้าวัยรุ่นควรดูแลการแต่งตัวอย่างให้โดดเด่นหรือล่อแหลมเกินไปนัก เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดอันตรายได้ 4. คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับเพื่อน ๆ ของลูก ดูว่าเพื่อนลูกมีใครบ้าง…
-
ดูแลผิวในช่วงฤดูหนาว
ดูแลผิวในช่วงฤดูหนาว ในช่วงฤดูหนาวที่อากาศแห้ง อาจทำให้ผิวแห้งแตกลายและคันได้ บางท่านที่มีผื่นผิวหนังอยู่แล้ว อาจทำให้อาการกำเริบได้เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงควรดูแลผิวให้เหมาะกับฤดูกาลด้วยนะคะ ซึ่งปัญหาการดูแลผิวของคนไทยนั้นมักจะเกิดจากการรักความสะอาดมาก ใช้สบู่ยาถูฟอกผิวหนังเพราะเข้าใช้ว่าผิวแห้งและคันเกิดจากการติดเชื้อโรค ยิ่งใช้สบู่ยาที่มีความรุนแรงจึงยิ่งทำให้ผิวแห้งมากกว่าเดิมจนอาจแตกเป็นแผลได้ รวมไปถึงการอาบน้ำร้อนจัดหรือนอนแช่อ่างน้ำอุ่นก็ทำให้ผิวแห้งมากขึ้นได้อีก ในช่วงฤดูหนาวนั้น ควรเลือกใช้สบู่อ่อน ๆ หรือเจลอาบน้ำฟอกในบริเวณที่อับชื้น อย่าง ซอกขา หรือรักแร้ ก็เพียงพอ หากมีผิวแห้งมากควรใช้ครีมบำรุงผิวที่ไม่เหนียวเหนอะหนะ และงดทายาแก้คันที่มีลักษณะเป็นแป้งน้ำ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราทา เพราะไม่ได้แก้ปัยหาผิวแห้งแต่ยังทำให้ผิวแห้งมากขึ้นไปอีก รวมไปถึงควรงดครีมบางชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวระคายเคืองง่าย ๆ อย่างเช่น กรดผลไม้ กรดวิตามินเอ ครีมรักษาสิวบางชนิดด้วย แต่หากจำเป็นต้องใช้ก็ให้ใช้แต่น้อย ๆ หรืองดเว้นเป็นช่วง ๆ ไป สำหรับผิวหน้า หากมีความแห้งมาก ควรลดการฟอกสบู่ให้น้อยลง เพิ่มทาการโลชั่นหรือครีมให้ความชุ่มชื้นผิว ไม่ควรสครับหรือขัดผิวหน้า สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด ป้องกันผิวสูญเสียน้ำตามธรรมชาติ ลดปัญหารังแค ลดความเสี่ยงในการเป็นหวัด และป้องกันแสดงแดดจ้าในฤดูหนาวอีกด้วย ในฤดูหนาวถ้าหน้าแห้งมากหรือผิวกายแห้งควรลดหรืองดการฟอกสบู่ และใช้ครีมให้ความชุ่มชื้นทาใบหน้า ทาตามตัว ควรงดการใช้สบู่ที่มีเม็ดขัดถูใบหน้าด้วย ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดในหน้าหนาว เช่น สวมกางเกงขายาว ใส่เสื้อแขนยาว สวมถุงมือ ถุงเท้า หมวก เหล่านี้ช่วยลดปัญหาผิวแห้ง…
-
ลบความเข้าใจผิดเดิม ๆ เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส
ลบความเข้าใจผิดเดิม ๆ เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส อีสุกอีใสมักจะระบาดกันมาในช่วงอากาศเย็น ๆ หรือฤดูหนาวนะคะ โรคอาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกธรรมดา แต่ว่าความจริงแล้วโรคนี้อาจทำให้เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นตับอักเสบ ปอดอักเสบ แล้วที่เคยเข้าใจว่าหากตอนเด็ก ๆ เคยเป็นแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก เห็นทีต้องบอกว่าเข้าใจผิดแล้วล่ะค่ะ ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกและร้ายแรงกว่าเดิมด้วย .. ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใสอีกหลายข้อเลยทีเดียวค่ะ วันนี้เราจะมาแก้ความเข้าใจผิดนี้กันใหม่นะคะ – อีสุกอีใส มีแต่เด็กเป็น โตแล้วไม่เป็นไรหรอก … ไม่จริงค่ะ เป็นได้อีกทุกเพศ ทุกวัน ตั้งแต่เด็กยันแก่เลยค่ะ – อีสุกอีใส เป็นแล้วไม่เป็นซ้ำ… นี่ก็ผิดอีกเหมือนกัน เพราะปัจจุบันมีอีสุกอีใสสายทีเกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่อีก หากติดเชื้อคนละตัวกันก็สามารถเป็นซ้ำได้ แถมบางคนอาการหนักกว่าตอนเด็ก ๆ หรือมีแผลเป็นด้วยนะ – เป็นแล้วหายเอง ไม่ต้องฉีดวัคซีน.. จริงอยู่ว่าคนส่วนใหญ่จะหายได้เองใน 1-3 สัปดาห์แต่บางคนก็อาจติดเชื้อเพิ่มจากโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการปวดหู ไอ หายไจเหนื่อย เจ็บหน้าอก ตาหลือง ตัวเหลือง ปวดศีรษะมาก ซึม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ให้รีบไปพบแพทย์ก่อนติดเชื้อแทรกซ้อนที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ –…
-
“ลุง สัมฤทธิ์ เรืองแสง” อายุ 78 ปี ป่วยเป็น มะเร็งที่โพรงจมูก
“ลุง สัมฤทธิ์ เรืองแสง” อายุ 78 ปี ป่วยเป็น มะเร็งที่โพรงจมูก เมื่อวันที่ 25 สค. 57 จาก Facebook คุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้มีการเข้าไปช่วยเหลือคุณลุงสัมฤทธิ์ ที่ป่วยเป็นมะเร็งที่โพรงจมูก ซึ่งตอนนี้เซลล์มะเร็งก็ได้กัดกินเนื้อที่ใบหน้าไปอย่างมาก น่าสงสารมากๆ สำหรับคนที่ต้องการช่วยเหลือคุณลุง สามารถช่วยกันบริจาคได้ตามบัญชีที่คุณบิณฑ์ให้ไว้ได้เลยค่ะ ^__^ “สวัสดีครับเพื่อนๆ..ตอนนี้ผมอยู่กับลุงสัมฤทธิ์ เรืองแสง อายุ 78 ปี ลุงป่วยเป็นมะเร็งที่โพรงจมูก เมื่อกันยาปี 56 ลุงก็รักษามาตลอดที่ รพ จุฬา ใช้บัตร 30บาท รักษาอยู่ ลุงอยู่กับลูกสาวอายุ 48ปี คอยดูแลลุง แต่แผลของลุงมีกลิ่นเหม็นมากและยังมีการเน่าอยู่ข้างใน ลุงบอกพรุ่งจะไปหาหมอยังไม่มีค่ารถเลย อาชีพก็ไม่มี เมื่อก่อนยังหาทำโน้นทำนี่ได้ พอป่วยขึ้นมาก็หมดเลย ได้เงินผู้สูงอายุเดือนล่ะ 700 บาท ก็พอเลี้ยงตัวแต่ลูกก็รับจ้างทำงานเป็นบางวัน วันละ 300บาท วันนี้ผมเข้าไปหามา ที่บ้านลุงก็จะพังอยู่แล้ว เช่าเขาเดือนล่ะ 1,700…
-
กินเลี้ยงอย่างไร ไม่อ้วนเผละ
กินเลี้ยงอย่างไร ไม่อ้วนเผละ ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ เยอะมาก เวลาถึงวันหยุดทีหนึ่งก็มักมีการเลี้ยงฉลองหรือกินอาหารกันสนุกสนานในหมู่เพื่อนฝูงและครอบครัว ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ทำให้คนไทยเราน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่ายในช่วงเทศกาล และยิ่งนับวันก็ยิ่งอ้วนน้ำหนักเกินมาก เพราะอาหารที่เรารับประทานกันส่วนใหญ่นั้นก็มักเป็นอาหารไขมันสูง หวาน และเค็มจัด ไม่ค่อยมีผักผลไม้เป็นส่วนประกอบมากนัก หากยิ่งเป็นคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายด้วยแล้ว ก็มักจะอ้วนลงพุงกันไปเลย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถกินเลี้ยงหรือเฉลิมฉลองกันได้ เพียงแต่คุณควรเลือกทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ จะช่วยป้องกันความอ้วนได้ ซึ่งมีหลักการง่าย ๆ ดังนี้ได้แก่ 1. อย่าอดอาหาร หรือหิ้วท้องรอเวลางานเลี้ยง เพราะคุณจะกินมากกว่าปกติ กินมากจนลืมอิ่มไปเลย 2. ก่อนการทานควรพิจารณาเลือกอาหารก่อน 3. ทานอาหารที่มีไขมันน้อยไว้ก่อนให้อิ่มท้อง เน้นที่โปรตีนไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดหนังก่อนการทานแป้ง ไขมันอื่น ๆ จะช่วยให้อิ่มอยู่ท้องได้นานขึ้น 4. เลือกทานอาหารที่ปรุงด้วยไขมันต่ำ ๆ เช่น อาหารประเภท ต้ม นึ่ง ลวก ย่าง ยำ ต้มยำ เป็นต้น 5. เลี่งอาหารที่มีแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตสูง แม้จะเป็นผลไม้หวาน ๆ ก็ควรทานแต่น้อยด้วย 6. ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มากไว้…
-
อยากหายหวัดเร็ว ๆ ทำยังไงดี?
อยากหายหวัดเร็ว ๆ ทำยังไงดี? แม้โรคหวัดจะไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงอะไร แต่ก็สร้างความน่ารำคาญได้ ไม่ว่าจะเป็น การไอบ่อย ๆ หรือมีน้ำมูก เสลดตลอดเวลา ต้องเช็คหรือคายทิ้งจนเสียบุคลิกภาพ วันนี้จะนำเอาวิธีรักษาตัวเองให้หายหวัดไว ๆ มาฝากกันนะคะ 1. นอนให้มาก ๆ อย่าอดนอน อย่างนอนดึก ยิ่งนอนพักผ่อนมากเท่าไร หวัดก็ยิ่งหายเร็วเท่านั้น 2. หากมีไข้ขึ้น ให้นำผ้าชุบน้ำมาเช็ดตัว เช็ดหน้า จะรู้สึกสบายตัวมากขึ้น หากใช้แผ่นเจลทำความเย็นด้วย จะเห็นผลดี ลดไข้ได้มาก 3. ทำร่างกายให้อบอุ่นด้วยการดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงน้ำเย็น และดื่มให้มาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายเสียไป เนื่องจากมีไข้ขึ้น 4. คาดผ้าปิดปากปิดจมูก ป้องกันเชื้อโรคอื่นเข้าสู่ร่างกาย และไม่เป็นการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นด้วย 5. อยู่ในที่ปลอดโปร่ง ไม่อับชื้น 6. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ 7. ทานอาหารด้วยช้อนกลาง 8. หลีกเลี่ยงการเข้าไปคลุกคลีกับคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น คนแก่หรือเด็ก เพราะอาจแพร่เชื้อให้พวกเขาได้ 9. ทานผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก…
-
สมุนไพรใกล้ตัวช่วยแก้หนาว
สมุนไพรใกล้ตัวช่วยแก้หนาว ในฤดูหนาวที่อากาศเย็น พาลทำให้เป็นหวัดหรือเป็นไข้หัวลมได้นั้น เราสามารถทานพืชสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยจากอากาศหนาวได้ โดยสมุนไพรดังกล่าวได้แก่ 1. พริก ในพริกมีสารแคปไซซิน เพื่อการไหลเวียนของโลหิต อาการเย็นปลายมือเท้าจะลดลง กระชุ่มกระชวย อบอุ่นขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องทานจนเผ็ดร้อน ให้ทานอะไรที่ทานได้ง่ายอย่างเช่น แกงเผ็ด หรือซอสพริก ก็ช่วยได้แล้ว 2. กระเทียม ช่วยในการเพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่ผิวหนัง ผิวหนังภายนอกจึงอบอุ่นขึ้น ไม่หนาวสะท้าน 3. ขิง ขึ้นชื่อเรื่องให้ความอบอุ่นกับร่างกาย แล้วช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลวได้ ทำให้เลือดไม่แข็งตัวหรือเป็นลิ่มเลือดได้ง่าย หาทานก็ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการนำขิงมาต้มเป็นน้ำขิงดื่มอุ่น ๆ หรือจะทานเป็นอาหารที่ประกอบด้วยขิงก็ได้ทั้งสิ้น 4. ใบแปะก๊วย นอกจากช่วยในเรื่องของการบำรุงประสาทและสมองแล้ว ก็ยังให้ผลดีในการเพิ่มการหมุนเวียนของโลหิตไปที่มือและเท้าได้ถึง 57% ลดอาการมือเท้าเย็น หรือปวดชาลงไปไปได้ 5. อบเชย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดอีกเช่นกัน ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายทำงานดีขึ้น ความดันเลือดลดลง ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดได้ด้วยนะ 6. สารสกัดจากเปลือกต้นสน Pycnogenol เพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่ไปขาและเท้า ช่วยลดอาการขาและเท้าเย็นในคนชรา และช่วยให้แผลเรื้อรังสมานตัวเร็วขึ้น 7. โรสแมรี่ ป้องกันสมองจากการถูกทำลายด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นและจากกลุ่มอาการสโตรค…
-
แนวทางสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
แนวทางสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – รักษาสุขภาพจิตให้ดี อย่าเครียดมากเกินไปนักกับอาการของโรคที่เป็นอยู่ – อยู่ให้ห่างจากผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เพราะอาจติดเชื้อได้ – ดูแลสุขภาพของช่องปากและฟันให้ดี เพราะเชื้อเหล่านี้จะซ้ำเติมในเวลาที่เกิดอาการหอบได้ – หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด โดยการสังเกตตัวเองว่าสัมผัสกับอะไรหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ทานอาหารอะไร แล้วมีอาการ เมื่อทราบแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงให้ห่าง – ทำความสะอาดบ้าน ที่ทำงาน ทุกห้อง รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ พัดลม แอร์ ด้วยการดูดฝุ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งแล้วถูด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ไม่ควรกวาดหรือปัดฝุ่น หากทำความสะอาดเองควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกป้องกันฝุ่นด้วย – เลือกใช้เตียงที่ไม่มีขาเพื่อจะได้ไม่มีที่สะสมฝุ่นใต้เตียง – ทำความสะอาด หมอน ที่นอน ผ้าห่ม มุ้ง ผ้าคลุมเตียง อย่างน้อยเดือนละสองครั้งด้วยการซักในน้ำร้อนและตากแดดจัด ๆ – เลือกใช้หมอน หมอนข้าง ที่นอนที่ทำจากใยสังเคราะห์หรือฟองน้ำ ไม่ควรใช้ขนสัตว์ชนิดต่าง ๆ หรือใช้ผ้าคลุมที่นอน ปลอกหมนที่ทำจากผ้าชนิดพิเศษที่ป้องกันการเล็ดลอดของตัวไรฝุ่น และสารอื่น ๆด้วย…
-
ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้
ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้ 1. สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นตามที่นอน เฟอร์นิเจอร์ หรือของเล่นตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือมีขน เชื้อรา แมลงสาบรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงในบ้าน อาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปลา ปู งา ถั่วเหลือง สีผสมอาหาร สารกันบูด ฯลฯ 2. สารเคมีและควันระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ควันธูป ฝุ่นละออง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หรืออากาศเย็นๆ กลิ่นฉุนต่าง ๆ ฯลฯ 3. อย่าปล่อยให้ตัวเองป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น หวัด ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ 4. หากต้องการออกกำลังกาย ควรสูดพ่นยาขยายหลอดลมก่อนสักครึ่งชั่วโมงป้องกันอาการกำเริบ 5. หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ 6.…
-
คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?
คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า? โรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมเกินการหดเกร็ง มีอาการบวมของเยื่อบุหลอดลม มีมูกหลั่งในหลอดลมมาก ทำให้หลอดลมตีบแคบลง ส่งผลให้หลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ไวกว่าปกติ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหืดหรือยัง ก็ให้ลองสังเกตตัวเองดูนะคะว่ามีอาการดังต่อไปนี้บ้างหรือเปล่า – หายใจมีเสียงวี๊ดในอก ฟังคล้ายเสียงนกหวีด – ไอมาก และเป็นมากในช่วงกลางคืน – แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และจะมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นได้แก่ ขนสัตว์ต่าง ๆ, กลิ่นสเปรย์ หรือน้ำหอม, ละอองเกสรดอกไม้, เชื้อรา, ไรฝุ่น, ควันบุหรี่, อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป, ยาบางชนิดเช่น แอสไพริน, มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, ออกกำลังกายหนัก, เป็นหวัดเกินกว่า 10 วัน หากคุณมีอาการดังเกล่าวแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพราะอาจมีเกณฑ์ว่าคุณจะเป็นโรคหืดได้ ในส่วนของการรักษาโรคนี้ในปัจจุบันนั้น โดยหลักจะให้ยาที่ไปลดการอักเสบของหลอดลม เมื่อหลอดลมหายอักเสบก็จะมีอาการหอบหืดน้อยลงไปด้วย ยาลดการอักเสบที่สำคัญก็คือ ยาพ่นสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของหลอดลม มีความปลอดภัยเพื่อฉีดพ่นในปริมาณที่ต่ำมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ และยังมียาฉีดเพื่อบรรเทาอาการ แต่จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น