Category: ไต
-
เพื่อน 4 คนและการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน
เพื่อน 4 คนและการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน มีเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่ที่นับถือกัน ซึ่งมีอายุเข้าหลักเลขห้ากันหมด ก็นับว่าวัยเกือบใกล้เกษียณเต็มที่แล้ว ท่านเล่าให้ฟังถึงเพื่อน 4 คนที่มีการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน รูปร่างและสุขภาพของท่านเหล่านั้นก็แตกต่างกันไปด้วย บางคนก็อ่อนกว่าวัยมาก บางคนก็ดูแก่กว่าอายุจริงไปเลย มาลองฟังกันดูว่าพวกท่านเหล่านั้นใช้ชีวิตกันอย่างไรบ้างนะคะ เพื่อนคนแรก เป็นวิศวกรมีตำแหน่งระดับ ผอ. เขาดูแลสุขภาพดีมาก ไม่แตะต้องอบายมุข ไม่กินเหล้าสูบบุหรี่ กินผักผลไม้ทุกวัน มีความสุข มองโลกในแง่ดี ไม่งัดข้อกับใคร และมีคติในชีวิตว่า ชีวิตคนเรานั้นมีเวลาไม่นาน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า เพื่อนต่อมา เป็นเภสัชกรและเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยด้วย มีรูปร่างกระชับคล่องแคล่ว เธอเล่าว่าแม้จะต้องนอนดึกเพราะทำงานหนัก แต่ก็หมั่นดูแลตัวเอง ออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งสม่ำเสมอ เลี่ยงของทอดของมันของหวานหมด ไม่ดื่มกาแฟหรือชาเลย กินปลาเล็กปลาน้อย และสัตว์เล็กต่าง ๆ ไม่กินอาหารกระป๋องอาหารสำเร็จรูป กินอาหารตามธรรมชาติ เพื่อนคนนี้ดูอ่อนกว่าวัยมาก อีกอย่างก็คือเป็นคนไม่เครียด ให้ความสำคัญกับความรักความอบอุ่นในครอบครัว เพื่อนคนที่สาม ทำงานในครอบครัว ส่วนตัวเธอรับผิดชอบการเงินและบัญชี ชอบกินของทอดของมัน ขนมทุกชนิด กาแฟทั้งหวานและมัน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย นอนดึกบ่อย ๆ ผลการตรวจไขมันตั้งแต่อายุไม่ถึง 40 สูงถึง 200…
-
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ เรียกได้ว่าผู้หญิงแทบทุกคนทุกช่วงวัยต้องเคยเป็นมากันทั้งนั้น เป็นโรคที่รักษาไม่ยากแต่หากไม่รักษาแต่ปล่อยไว้จะลุกลามจนอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาได้ โรคนี้นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักปะปนอยู่ในอุจจาระของคนเรา มักจะแปดเปื้อนอยู่รอบ ๆ ทวารหนัก หากทำความสะอาดไม่สมบูรณ์ เชื้อโรคก็อาจแปดเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ เข้าไปภายในกระเพาะปัสสาวะได้ ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงนั้นจะมีท่อปัสสาวะสั้นจึงง่ายต่อการติดเชื้อมากกว่าผู้ชายที่มีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วหากมีการถ่ายปัสสาวะออกทุกครั้งที่ปวดก็จะสามารถขับเชื้อโรคออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นไว้ก็จะทำให้เชื้อมีเวลาที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ได้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้น โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงที่ทำความสะอาดหลังอุจจาระไม่ดีและชอบอั้นปัสสาวะไว้ รวมไปถึงบางคนที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย ได้แก่คนที่เป็นเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะหรือมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้ หรือมีการใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ อาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการถ่ายกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อยปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายอาจปวดท้องน้อย ปัสสาวะมักจะใส ๆ บางคนก็ขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ยกเว้นมีกรวยไตอักเสบด้วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดเอวด้วย ในเด็กเล็กจะมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มักมีอาการหลังจากอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบความปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละ สามลิตรขึ้นไป หรือดื่มน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 แก้ว ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด น้ำจะช่วยขับเอาเชื้อโรคออกมาและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ –…
-
อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต
อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต การกินมะเฟืองมากเกินไป มีผลต่อร่างกายถึงขั้นทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลจาก รศ.นพ. ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร ซึ่งเป็นอายุรแพทย์หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีบทความที่เผยแพร่ผ่านเสื่อต่าง ๆ มากมาย ชักชวนให้มากินมะเฟืองสดกัน โดยระบุว่าช่วยรักษาโรคและลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้มีผู้คนหลงเชื่อและซื้อมากินกันมากมาย บางคนกินมากจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย และที่อันตรายกว่านั้นคือพบผู้ป่วยอยู่ในภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากหลังการกินมะเฟืองสด หรือนำมะเฟือง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกน้อย บวมน้ำ ความดันสูง อ่อนเพลีย น้ำท่วมปอด บางรายอาจมีอาการสะดึก ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดล้างไต หากเป็นผู้ป่วยที่เดิมมีไตปกติอยู่แล้ว ไตจะสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้ แต่อาจต้องใช้เวลา 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อน การรักษาอาจทำให้การทำงานของไตดีขึ้นบ้าง แต่ไม่เท่าเดิม อาจต้องได้รับการฟอกไตตลอดไป เพราะว่าในมะเฟืองนั้นมีสารออกซาเลตสูงมาก เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกทางไต ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ และเพราะออกซาเลตไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกายเกิดเป็นผลิตออกซาเลต เมื่อตกผลึกเป็นจำนวนมากในเนื้อไตก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ไตสูญเสียการทำงานหรือไตวายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้พิษต่อระบบประสาท ทำให้สมองบวม ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ สะอึก อาเจียน แล้วตามด้วยภาวะซึมและชักได้ จนตอนนี้ก็มีรายงานพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการกินมะเฟืองไปแล้วด้วย พิษจากการกินมะเฟืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง – ความแข็งแรงของผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้…
-
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย
การถนอมและดูแลร่างกายเพื่อป้องกันอาการไตวาย ปัจจุบันนี้โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีคนเป็นกันทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปี และในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยรายใหม่เพื่อทุกปีกว่าปีละ 500 ราย วันนี้จึงขอนำเอาคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการไตวายมาฝากกันค่ะ โดยผู้ที่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้นอกจากผู้ที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้ว ก็ยังรวมไปถึง ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำซากในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นนิ่วในไต หรือไตพิการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ โรคเอสแอลอี หรือผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ควรถนอมไตของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ทานอาหารให้ได้รับสารอาหารและคุณค่าที่หลากหลาย ลดอาหารเค็ม หวาน ไขมันสูงทั้งหลายซะ 2. ควบคุมระดับของความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้ และดูแลทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย 4. ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น 5. ไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 6. งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า เพราะทำลายสุขภาพมาก 7. ผู้ที่ป่วยหรือมีอาการโรคไตแล้ว ควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะการจะลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้นั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองที่เหมาะสมค่ะ
-
สังเกตตัวเองดูว่า มีอาการหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือเปล่า?
สังเกตตัวเองดูว่า มีอาการหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือเปล่า? “หน่วยไต” เป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อไต มีปริมาณข้างละหนึ่งล้านหน่วย ทำใหน้าที่กรองน้ำและของเสียออกมาเป็นปัสสาวะ หากมีการอักเสบก็จะขับปัสสาวะออกมาได้น้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือด มีเม็ดเลือดแดงและไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้บวมทั้งตัวและปัสสาวะเป็นสีแดง พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5-10 ปี มักพบหลังเป็นทอนซิลอักเสบหรือแผลพุงพอง แต่หากได้รับการรักษาก็มักจะหายเป็นส่วนใหญ่ มีสาเหตมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มที่ทำให้เกิดโรค ทอนซิลอักเสบ แผลพุงพอง ผิวหนังอักเสบ ฯลฯ เมื่อติดเชื้อร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งนอกจากทำลายเชื้อโรคแล้วยังมีปฏิกิริยาต่อหน่วยไตทำให้หน่วยไตอักเสบ พบได้หลังจากติดเชื้อในคอ 1-2 อาทิตย์ หลังติดเชื้อที่ผิวหนัง 3-4 อาทิตย์ พบได้ราวร้อยละ 10-15 ในเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้อาการหน่วยไตอักเสบยังพบร่วมกับโรคอื่น ๆ อย่างเช่น เอสแอลอี ซิฟิลิส และการแพ้สารเคมีได้อีกด้วย อาการของหน่วยไตอักเสบ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียนคลื่นไส้ บวมทั้งตัว และปัสสาวะสีแดงเหมือนน้ำหมากหรือน้ำล้างเนื้อ เรื่อยไปจนถึงหากมีอาการรุนแรงอาจปัสสาวะออกไดน้อย หอบเหนื่อยหรือชักได้ อาจมีประวัติทอนซิลอักเสบหรือเป็นแผลพุพอง หรือผิวหนังอักเสบมาก่อน 1-4…
-
6 สัญญาณเตือนโรคไต
6 สัญญาณเตือนโรคไต หากร่างกายของท่านส่งสัญญาณเตือนหกประการออกมาเช่นนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นโรคไตได้ 1. ถ่ายปัสสาวะขัดหรือถ่ายปัสสาวะลำลาก ท่านมีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและอาจเป็นโรคไตด้วยก็ได้ 2. ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะในตอนกลางคืน โดยปกติกระเพาะปัสสาวะคนเราจะสามารถเก็บกักไว้ได้ประมาณหนึ่งแก้ว จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก แต่คนที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าร่างกายได้ตามปกติ กลางคืนจึงปวดปัสสาวะมาก ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ แต่หากท่านดื่มน้ำเป็นปกติก่อนนอนครั้งละ 1-2 แก้วแล้ว การลุกขึ้นมาปัสสาวะอาจไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่หากมากกว่านี้หรือไม่เคยเป็นมาก่อนควรรีบปรึกษาแพทย์ค่ะ 3. ปัสสาวะสีเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อ หรือขุ่นผิดปกติ แสดงว่าอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะเป็นต้น 4. บวมรอบดวงตา หน้า เท้า มักพบได้ในคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ส่วนอาการบวมที่พบได้ไตเรื้อรังคือบวมที่หลังเท้าและหน้าแข็ง ถ้าเป็นมากจะกดแล้วเป็นรอยบุ๋มลงไป 5. ปวดเอว ปวดหลัง มักมีสาเหตุมาจากมีนิ่วอยู่ในไต หรือในท่อไต อาการปวดเกิดจากการอุดตันของท่อไตหรือ ไตเป็นถุงน้ำพองออกมา จะปวดที่บริเวณบั้นเอวหรือชายโครงด้านหลัง มักปวดร้าวลงไปที่ท้องน้อย ขาอ่อน และอวัยวะเพศ และตามมาด้วยปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นขาว กะปริบกะปรอย หรือปวดหัวเหน่ารวมด้วย หากหมอเคาะที่หลังเบา ๆ จะปวดมากจนสะดุ้ง…
-
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย
ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…
-
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย
ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย บทความวันนี้ตอบข้อสงสัยของใครหลายคนที่ติดรสชาติเค็มกันอยู่นะคะ ที่มักจะถามว่ากินเค็มมากจะเป็นโรคไตไหม คำตอบจากหมอก็คือคนทั่วที่กินเค็มมากไปนิดหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ไตยังขับเกลือออกได้ แต่หากมีอาการของไตเสื่อมแล้วก็ไม่ควรกินเค็ม ไม่ใช่แค่นี้ แต่คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ไม่ควรกินเค็มด้วยเหมือนกัน การควบคุมอาหารเค็มสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น ควรทำอาหารทานเอง หรือบอกแม่ครัวร้านอาหารให้งดเกลือ งดน้ำปลา ตัวผู้ป่วยเองเวลาไปทานอาหารก็ต้องงดการเติมน้ำปลา หรือเครื่องปรุงเวลาทานก๋วยเตี๋ยวด้วย และควรทานแบบแห้งเท่านั้น เพราะในน้ำซุปก๊วยเตี๋ยวก็มีเกลืออยู่มากเช่นกัน ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือผสมอยู่มาก หากท่านตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคไตเสื่อมอยู่แล้ว ต้องการระมัดระวังการกินอาหาร ควรวางแผนและจัดการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สอบถามแพทย์ผู้รักษาว่าท่านเป็นโรคไตในระดับใดแล้ว สามารถกินอะไรได้บ้าง แล้วมากน้อยขนาดไหน? 2. ควรรู้ไว้ว่าการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ กินน้อยไปจะทำให้ขาดอาหาร และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก 3. การกินเค็มจะทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจวายได้ 4. ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินผักได้เท่าที่ต้องการ ยกเว้นหมอห้าม 5. แต่สำหรับผลไม้ อาจต้องจำกัดในรายที่มีอาการไตเสื่อมมาก 6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ยกเว้นหมอสั่งให้ทาน 7. ดื่มน้ำน้อยทำให้ไตเสื่อม แต่ดื่มน้ำมากทำให้หัวใจวาย ต้องกะปริมาณให้พอดีโดยถามหมอ 8. ไม่ควรทานอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง…
-
มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!!
มาวิ่งจ๊อกกิ้งกันเถอะค่ะ !!! ช่วงเวลาที่อากาศดี ๆ ฝนไม่ตกเท่าไรอย่างระยะปลายหน้าฝนเข้าสู่หน้าหนาวนี้ ตามสนามกีฬากลางแจ้งมักจะพบนักวิ่งที่พากันวิ่งออกกำลังกาย หลังจากอัดอั้นกันมากในฤดูฝนที่ฝนตกเฉอะแฉะจนไม่ได้ออกกำลังกายกันเลย การวิ่งจ๊อกกิ้งนั้นเป็นกีฬาที่แทบไม่ต้องมีต้นทุนอะไรเลย นอกจากรองเท้าดี ๆ สักคู่หนึ่งแล้ว แต่กลับเป็นกีฬาที่ให้ประโยชน์มากมาย ช่วยป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน โรคอ้วน ฯลฯ ดังนั้นแล้วก่อนที่สุขภาพจะแย่เพราะไปรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป จึงควรหันมาออกกำลังกายกันดีกว่าค่ะ แม้ในระยะแรก ๆ จะเหนื่อยมากกับการวิ่ง อาจต้องวิ่งไปเดินไปอยู่บ้าง แต่เมื่อหัดวิ่งไปมาก ๆ เข้าก็จะเริ่มวิ่งได้นานขึ้นจนกลายเป็นวิ่งเป็นชั่วโมงได้สบาย ๆ เลยทีเดียว คู่มือสำหรับนักวิ่งหน้าใหม่นั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เพียงเลือกซื้อรองเท้าสำหรับวิ่ง หรือรองเท้าที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี สวมเสื้อผ้าที่สบายและระบายเหงื่อได้ง่าย และควรเลือกสถานที่วิ่งเป็นพื้นที่เรียบ ไม่ว่าจะเป็นบนฟุตบาทที่ปลอดภัยและมีพื้นผิวราบเรียบ บนพื้นถนนที่ราดยางหรือคอนกรีตป้องกันเท้าพลิกหรือสะดุด ขณะที่ไปวิ่งไม่ควรทานอาหารจนอิ่มมากเกินไป ควรทานอาหารเบา ๆ ก่อนวิ่งสักครึ่งชั่วโมงเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อน ดื่มน้ำล่วงหน้าแต่ไม่ต้องมากนัก และหลังการวิ่งทุกครั้งให้ดื่มน้ำเข้าไปทดแทนเหงื่อที่ไหลออกไป ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นด้วย การวิ่งจ๊อกกิ้งเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจบีบส่งเลือดได้ดีขึ้น เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดขยายตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น…
-
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้
ผักสด ผลไม้สด .. ไม่ใช่ทุกคนจะทานได้ ผักสดผลไม้สดนั้นเป็นอาหารที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานและให้รสหวาน เกลือแร่และวิตามินที่เสริมสร้างความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ เส้นใยอาหารที่ช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปได้ด้วย และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ลดเบาหวานได้ด้วย และพืชบางชนิดให้ไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ฯลฯ การบริโภคผักสดและผลไม้สด จึงเป็นเรื่องที่ควรแนะนำและส่งเสริม แต่ทุกอย่างในโลกก็ต้องมีสองด้านเสมอ แม้แต่ในผักสด ผลไม้สดก็ตาม การบริโภคสด ๆ โดยไม่ผ่านความร้อนอาจได้รับอันตรายบางประการได้ เช่น ในผักอาจมีไข่พยาธิหรือพยาธิเจือปนอยู่ หากล้างไม่สะอาดอาจทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้ รวมไปถึงผักผลไม้บางชนิดอาจมีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่ อาจก่อให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย อีกทั้งผู้ที่ป่วยด้วยบางโรคจำเป็นต้องระวังผักสดผลไม้สดบางชนิดด้วย เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโปตัสเซี่ยมสูง ๆ เช่น กล้วย หรือส้ม เป็นต้น รวมไปถึงคนไข้อีกบางพวกที่การทานผักสดผลไม้สด เป็นเรื่องต้องห้ามที่สุด ก็คือ คนไข้ที่ได้รับเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง เพราะคนไข้จำพวกนี้ภายหลังจากที่ได้รับยาแล้วจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคต่ำลง ผู้ป่วยจึงอ่อนแอเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการผักผลไม้ ต้องเป็นผ่านการทำให้สุกด้วยความร้อนแล้วเท่านั้น อีกทั้งผลไม้บางชนิดที่ต้องรับประทานทั้งเปลือกก็ห้ามรับประทานด้วย หากต้องการทานต้องปอกเปลือกทิ้งไปแล้วให้ทานในทันทีห้ามปล่อยทิ้งไว้ แม้การทานผักสดผลไม้สดจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ผู้ป่วยบางโรคก็เป็นเรื่องต้องห้ามเช่นกัน ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนดีกว่านะคะ