Category: ปอด
-
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ เป็นกันมากที่สุด ยิ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้าไปอยู่ในเนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาลทั้งหลายแล้ว ยิ่งติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนเป็นหวัดแทบทุกเดือน เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้นั้นมีมากกว่าสองร้อยชนิด อาการของเด็กที่เป็นหวัดนั้น โดยมากจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดด้วยการให้เด็กจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ กินอาหารเหลวหรืออาหารที่ย่อยง่าย หากยังกินนมแม่อยู่ก็ให้ดูดนมบ่อยขึ้น ดูแลน้ำมูกให้จมูกโล่ง ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้เด็กปิดปากเวลาไอหรือจาม และแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย รวมไปถึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งปอดบวม ซึ่งหากเกิดความผิดปกติได้แก่ มีไข้สูงเกินกว่าสองวัน เด็กร้องกวนโยเย เจ็บหู ไอมากหรือไอเสียงก้อง หายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม หรือหายใจถี่เร็ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตราย ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาหาหมอตามนัดและให้ลูกทานยาให้ครบ อย่าหยุดยาเองโดยพละการ ไม่ใช่เห็นว่าอาการทุเลาแล้วจึงหยุดยาเอง ทำแบบนี้เป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นได้ง่าย และทำให้ดื้อยาด้วย และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการป้องกันเด็กมิให้เป็นไข้หวัดเสียตั้งแต่แรก ได้แก่การดูสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง โดย – ทานอาหารให้ครบหมู่และเหมาะสมตามวัยของเด็ก – ปล่อยให้เด็กได้วิ่งเล่นกลางแจ้งเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ให้เด็กได้เข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับอย่างพอเพียงทุกวัน…
-
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…
-
ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน
ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน โรคปอดบวมเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลัน ที่รุนแรงและมีอันตรายถึงตายได้เลยในเด็กเล็ก ๆ โรคนี้นั้นโดยประมาณแล้วองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทุก ๆ นาทีจะมีเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมอย่างน้อยหนึ่งคน จึงทำให้เด็กเล็กทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคนี้เฉลี่ยปีละประมาณสองล้านคนแลยทีเดียว โรคปอดบวมนี้เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียค่ะ มักจะพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็กอายุน้อยกว่าห้าขวบ, ทารกแรกเกิดไม่แข็งแรง, ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย โดยระยะที่ระบาดมากที่สุดก็คือช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี โรคนี้ติดต่อกันได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอด, การไอหรือจามรดกัน, การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้อยู่แล้ว, การสำลักสิ่งแปลกปลอมที่มีเชื้อโรคเข้าไปในจมูกและลำคอ เช่น เด็กที่สำลักน้ำขณะเล่นน้ำก็สามารถเป็นโรคปอดบวมได้ด้วย อาการของโรคนี้จะมีไข้สูง ไอหนัก ไอมาก หายใจเร็ว หรือหายใจลำมาก และถ้าอาการหนักจะหอบถี่ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจแรงหอบจนซี่โครงบุ๋มตัว เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ซึมหรือกระสับกระส่าย หากมีอาการเช่นนี้แล้วควรรีบน้ำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับโรคนี้ที่มีความอันตรายมากสามารถป้องกันได้โดย – รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับอย่างสม่ำเสมอ – กินอาหารที่ประโยชน์ และออกกำลังกายบ่อย ๆ – ไม่ควรพาเด็กไปในที่แออัดหรือมีคนมาก รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย – สำหรับเด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นไว้มาก ๆ – เด็กเล็กควรดื่มน้ำนมแม่เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานให้เต็มที่…
-
ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
ประมวลผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง จากสถิตินับถึงปีปัจจุบันพบว่าคนไทยนั้นเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และมีอัตราการตายจากโรคนี้เพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนตอนนี้โรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุการตายอันดับที่หนึ่ง แซงหน้าอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง รวมทั้งโรคปอดไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งก็คือ มะเร็งตับ รองลงมาเป็นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และก็มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งได้แก่ – ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก นั่นคือการได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนจากอาหาร, การได้รับรังสีเอกซ์, รังสียูวีจากแสงแดด, การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิด, การติดเชื้อไวรัสแพบพิลโลมา, พยาธิใบไม้ตับ รวมถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ด้วย ฯลฯ – ปัจจัยจากความผิดปกติภายใน เช่น พันธุกรรม, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะทุพโภชนาการ ฯลฯ ซึ่งเราสามารถสรุปกลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการมะเร็งได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 2. กลุ่มที่สูบบุหรี่ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทางเดินหายใจ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง แล้วหากดื่มเหล้าด้วยก็อาจเป็นมะเร็งช่องปากในลำคอได้อีก 3. กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือทานอาหารที่ปนเปื้อนอะฟลาทอกซิล ที่เป็นเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร ทั้งพริกป่น ถั่วลิสงป่น ฯลฯ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ แล้วถ้าได้รับทั้งสองชนิดก็มีโอกาสในการเป็นมะเร็งตับเพิ่มมากขึ้น 4. กลุ่มที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ และทานอาหารที่ใส่ดินประสิว…
-
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม” โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนตกหนักก็คือ โรคปอดบวมนั้นเอง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยว่าโรคปอดบวมนี้ คร่าชีวิคคนไทยเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 78 เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการสังเกตว่าตนเองหรือคนที่รักเป็นโรคปอดบวมแล้วหรือยัง ให้สังเกตอากาศดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เป็นไข้ตัวร้อน และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ค่อยลด 2. ไอมาก ไอหนัก ไอถี่ขึ้นเรื่อย ๆ 3. หายใจหอบหนัก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ทัน 4. ลักษณะของน้ำมูกจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม คือจากใส ๆ เป็นสีขุ่นข้นและสีเขียว ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นลูกเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้สังเกตว่าหากเด็กมีอาการไข้สูง ซึม ไม่กินน้ำหรือกินนม รวมทั้งไอมีเสมหะ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หรือหายใจจนกระทั่งชายโครงบุ๋มลง ขอให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้
-
4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู
4 โรคต้องระวังสำหรับคนชอบขึ้นภู สำหรับคนที่ชอบเดินทางไปขึ้นภู ดูหมอกสวย ๆ ในหน้าหนาวทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศนั้น ทางคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตือนว่านักท่องเที่ยวที่มีความนิยมการท่องเที่ยวแบบดังกล่าวมักพบอาการป่วยได้ง่ายถึง 4 โรคด้วยกัน ซึ่งควรระวังป้องกันไว้รวมทั้งควรฟิตร่างกายให้มีความแข็งแรงก่อนออกไปเผชิญอาการหนาวเย็นดังกล่าวด้วย โรคทั้ง 4 ได้แก่.. – ปอดบวม เกิดจากการติดเชื้ออักเสบของปอด หลอดลม ถุงลมซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ทำให้มีของเหลวเกิดขึ้นในถุงลง มักเป็นโรคที่แทรกซ้อนเข้ามาหลังจากการป่วยเป็นไข้หวัดได้ 2-3 วันซึ่งมีอาการก็คือไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหอบ – โรคหัด ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันทางน้ำลายของผู้ป่วย ที่สัมผัสการไอ จาม หรือการหายใจรดกัน ตลอดจนใช้สิ่งของร่วมกัน มีอาการระยะแรกคล้ายไข้หวัด มีไข้สูง กินยาแก้ไขก็ไม่ลด และถ่ายเหลวบ่อย ๆ เหมือนท้องเสีย สำหรับเด็กอาจชักได้เพราะมีไข้สูง – ภูมิแพ้อากาศ มักเป็นได้ในช่วงฤดูหนาว เพราะร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ทางการหายใจ มีอาการชัด ๆ ก็คือคันตา คันจมูก น้ำมูกใส จามบ่อย และแน่นจมูกในตอนเช้า…
-
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำ 4 วิธี ห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำ 4 วิธี ห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ได้ทำการอัดคลิปวีดีโอเตือนภัย ให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 โดยทำการนำวีดีโอคลิปนี้เผยแพร่ออกทาง Youtube ภายใต้ชื่อ “อธิบดีกรมควบคุมโรคเตือนไข้หวัดใหญ่ H1N1” โดยคลิปวีดีโอเตือนภัยประชนนี้ อัพโหลดโดย Jojo Kujo เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยในคลิประบุว่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2557 กรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนว่า วันที่ 1 ม.ค. – มี.ค.2557 เป็นช่วงที่ไข้หวัดใหญ่มีจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว ที่กังวล คือ มีผู้เสียชีวิตเยอะกว่ามาก โดยปี 2556 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ส่วนปี 2557 ตั้งแต่ต้นปี มีผู้เสียชีวิตแล้ว 24 ราย จากเชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือหวัด 2009 ซึ่งมีความรุนแรงมาก…
-
อัตราความเสี่ยง โรคปอดอักเสบสูงขึ้น ในผู้สูงอายุ
อัตราความเสี่ยง โรคปอดอักเสบสูงขึ้น ในผู้สูงอายุ ปัจจุบันโรคปอดอักเสบ พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ แพทย์ชี้ ให้รีบเข้ารับการบำบัด หากผู้สูงอายุได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 24 ชม. นายเนลสัน แมนเดลล่า อดีตประธานาธิบดีของอาฟริกาใต้ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเมื่อต้นเดือนมิถุนายนจากการติดเชื้อในปอด ซึ่งหวนกลับมาหลายครั้งนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เขาเริ่มมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อและปอดอักเสบระหว่างที่ถูกจำคุกอยู่ 27 ปีในช่วงที่อาฟริกาใต้มีรัฐบาลซึ่งใช้นโยบายแบ่งแยกกีดกันผิว อย่างไรก็ตามนายแพทย์ Bohdan Pichurko ผู้เชี่ยวชาญที่ Cleveland Clinic ได้ชี้ว่า สาเหตุของการติดเชื้อในปอดนี้อาจมาจากทั้งเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ได้ และการติดเชื้อบ่อยครั้งจะทำให้ปอดของผู้ป่วยสูงอายุอ่อนแอลง รวมทั้งสร้างปัญหากดดันต่อระบบอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น ตับ ไต และทำให้อาการเบาหวานแย่ลงด้วย ผู้ป่วยสูงอายุมีความเสี่ยงสูงจากโรคดังกล่าวเพราะเชื้ออาจดื้อยา อย่างไรก็ตามถึงแม้อายุจะเป็นปัจจัย แต่เรื่องที่สำคัญกว่าคือผู้สูงอายุควรเลี่ยงโอกาสการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด และควรเข้ารับการบำบัดภายใน 48 ชั่วโมงทันทีหากได้รับเชื้อเข้าไป
-
ทีมนักวิจัยอเมริกัน สามารถสร้างเนื้อเยื่อปอดได้สำเร็จ จากการปลูก stem cell
ทีมนักวิจัยอเมริกัน สามารถสร้างเนื้อเยื่อปอดได้สำเร็จ จากการปลูก stem cell นักวิจัยอเมริกันสามารถสร้างเนื่อเยื่อปอดจากการปลูกเซลล์ตั้งต้นในห้องทดลองได้สำเร็จและถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของวงการแพทย์ในความพยายามพัฒนาวิธีบำบัดโรคปอดชนิดต่างๆที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ในขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในมหานครนิวยอร์คได้ประยุกต์เทคโนโลยี stem cells ในการปลูกเซลล์ปอดในจานเพาะเชื้อ ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนายารักษาโรคปอดและการปลูกถ่ายเซลล์เพื่อรักษาโรคร้ายแรงต่างๆ ศาสตราจารย์ Snoeck กล่าวว่าเซลล์ในท่อทางเดินหายใจที่ปลูกขึ้นในห้องทดลอง ตัวนี้สามารถสร้างสารในปอดชนิดนี้ขึ้นมา นำสารชนิดนี้หมุนเวียนกลับไปใช้ได้อีก และปล่อยสารตัวเดิมกลับออกมาอีกครั้ง แสดงว่าเซลล์เทียมที่ปลูกขึ้นสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ เขากล่าวว่าเซลล์ในท่อทางเดินหายใจเหล่านี้มีความสำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับโรคปอดหลายชนิด ในการทดลองหลายครั้ง ทีมนักวิจัยได้แสดงวิธีการกระตุ้นให้เซลล์เริ่มต้นหรือ stem cells เซลล์ให้เติบโตพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อที่พบในปอด โดยเติมตัวโปรตีนต่างๆเข้าไปเพื่อควบคุมเซลล์ให้เติบโตพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อปอดตามต้องการ การทดลองทั้งหมดที่จัดทำขึ้นในห้องทดลองได้ผลตามที่ทีมงานตั้งไว้ โดยสามารถสร้างเนื้อเยื่อปอดมนุษย์ขึ้นมา หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยได้ใช้เนื้อเยื่อปอดที่ปลูกขึ้นได้ ฉีดเข้าไปในไตของหนูทดลอง ศาสตราจารย์ Snoeck กล่าวว่าเซลล์ที่ปลูกถ่ายในหนูทดลองเติบโตได้ดีและทำงานได้เช่นเดียวกับปอดทั่วไป เขากล่าวว่าทีมนักวิจัยจะสามารถนำเซลล์เทียมที่ปลูกขึ้นเป็นโมเดลในการค้นคว้าหาทางรักษาความผิดปกติในปอดร้ายแรงหลายประเภท รวมทั้งโรคปอด Cystic Fibrosis ที่สืบทอดทางพันธุกรรม ศาสตราจารย์ Snoeck อธิบายว่าการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายปอด มักไม่ได้ผลดีเสมอไป เขากล่าวว่าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์การแพทย์หวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการสร้างปอดที่ปลอดภัยในการปลูกถ่ายแก่ผู้ป่วยเนื่องจากจะใช้เซลล์ตั้งต้นจากตัวผู้ป่วยเอง าอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จแต่เขาเชื่อว่่าการสร้างปอดด้วยวิธีนี้จะปลอดภัยเเก่ตัวผู้รับบริจาคปอดเพราะร่างกายของผู้ป่วยจะไม่ต่อต้านต่อปอดใหม่เพราะเป็นปอดที่ปลูกขึ้นจากเซลล์ตั้งต้นที่ได้ร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนเอง