Category: ปอด
-
วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด
วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ คุณผู้หญิงทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือได้รับไม่ครบทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคระหว่างการตั้งครรภ์ได้ วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดไว้เพื่อป้องกันสุขภาพได้แก่ – วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ยังต้องฉีดไว้อยู่ดี ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันนี้ไปสู่ลูกด้วยก็คือ ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีนที่มีอยู่ครบในเข็มเดียว สาเหตุที่ต้องฉีดเป็นเพราะว่าขณะนี้โรคคอตีบอาจกลับมาระบาดได้อีก โรคไอกรนเด็กมักจะติดเชื้อมาจากแม่ และบาดทะยักก็ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดด้วย – วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องได้มากกว่าคนธรรมดา หากติดเชื้อขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าปกติได้ ทั้งเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดบวม หัวใจวาย 1 เข็มจะป้องกันได้ 1 ปี – วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนสำคัญที่จำเป็นต้องฉีด หากไม่เคยได้รับวัคซีนเลยหรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานเลย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงได้ง่าย เช่น ได้รับจากสามีที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี – หากในบ้านเลี้ยงสัตว์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ก็ให้ฉีดวัคซีนได้ทันที นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค ฯลฯ…
-
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
—
by
in กระเพาะ, ข่าวสุขภาพ, ความจำเสื่อม, ต้อหิน, ท้องผูก, นิ่ว, ปอด, มะเร็ง, มะเร็งตับ, วัณโรค, หลอดเลือดหัวใจ, หัวใจ, ไตภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…
-
ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม
ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม โรคปอดบวมนั้น หากเกิดขึ้นในผู้ใหญ่แล้วก็ยังไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไรนัก เพราะร่างกายผู้ใหญ่มีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากกว่า แต่หากเป็นเด็กแล้วก็มีอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตสูงอยู่มาก ดังนั้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม จึงเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมิให้ลูก ๆ หลานติดเชื้อปอดบวมเข้าได้ โรคปอดบวมนั้น สามารถติดเชื้อได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ล่องลอยในอากาศเข้าสู่ปอด, ติดเชื้อได้จากการไอจามรดกัน หรือการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย อาการเริ่มต้นจะมีไข้หวัดมาก่อนประมาณ 2-3 วัน แล้วจะมีไข้สูงขึ้น ไอหนัก หายใจหายและถี่ หากเป็นมากจะหายใจจะชายโครงบุ๋ม ในเด็กทารกจะซึม ไม่กินนม บางรายไข้สูงมากอาจจะชักได้ บางรายก็มีเสียงหายใจดังวี๊ด ๆ ปากเขียว เล็บเขียว กระสับกระส่าย ดังนั้นหากเด็กป่วยขึ้นมาในระยะปลายฝนต้นหนาว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลหรือพาไปพบแพทย์โดยเร็ว หากมิเช่นนั้นแล้วอาจลุกลามรุนแรงขึ้นไปเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือหูอักเสบได้ นำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ในส่วนของการรักษาแพทย์จะจ่ายยาแล้วให้กลับไปดูแลที่บ้านแล้วจึงนัดมาดูอาการอีกครั้ง ซึ่งการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมที่บ้าน ก็ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ – กินยาตามขนาดและเวลาให้เคร่งครัด ด้วยความที่ยามีหลายขนาน จึงต้องอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ ห้ามซื้อยามาให้ผู้ผ่วยกินเอง แม้แต่ยาแก้ไอก็ตาม เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้ – หากเด็กมีไข้สูง ควรให้ยาลดไข้ตามขนาดที่กำหนดมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย…
-
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเห็ด พืชที่ชอบขึ้นตามขอนไม้และที่ชื้นแฉะทั้งหลาย มีหลายสายพันธุ์ที่เป็นพิษ แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทานได้ และสามารถเพาะพันธุ์ขายได้ด้วย มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเห็ดแต่ละชนิดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ให้คุณค่าต่อร่างกายอย่างไรกันบ้าง – เห็ดชิตาเกะ หรือเห็ดหอม เป็นยาทางแพทย์แผนจีน รักษาโรคได้หลากหลายชนิด ป้องกันเชื้อไวรัสและการก่อกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ให้กรดอะมิโน ให้วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินดีสูง บำรุงกระดูก มีปริมาณของโซเดียมต่ำจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาหวัดได้ – เห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง โดยประเทศญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคชรา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น – เห็ดหูหนู ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาว เพิ่มภูมิต้านทาน รักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง บำรุงไตและปอด – เห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม ช่วยป้องกันและต้านทานมะเร็งเต้านมได้ ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง จึงลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง – เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดในตระกูลเดียวกัน เชื่อว่าป้องกันโรคไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ –…
-
ข้าวโพดคั่ว อันตรายที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน!
ข้าวโพดคั่ว อันตรายที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน! ข้าวโพดคั่วสำเร็จรูปที่มีกลิ่นเนยหอมกรุ่นนั้นอาจเป็นภัยร้ายที่เราต้องระวัง เพราะขณะนี้ผู้ผลิตข้าวโพดคั่วสำเร็จรูปรายใหญ่ของสหรัฐ 4 แห่งได้ประกาศเลิกใช้สารไดอะซิทิลแล้ว ซึ่งสารนี้เป็นสารแต่งกลิ่นและรสเนย หลังจากที่สารดังกล่าวทำให้คนงานในโรงงานต้องป่วยเป็นโรคปอด และจะเลิกใช้สารนี้กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมดด้วย โดยปกตินั้นสารไดอะซิทิลนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในอาหารประเภท เนย ชีสและผลไม้ ซึ่งทำให้ อย.ของสหรัฐอเมริกาหรือ FDA อนุญาตให้ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นและรสได้ ผู้ที่ได้รับสารนี้จากการสูดนมกลิ่นข้าวโพดคั่วที่เพิ่มอบเข้าใหม่ๆ จากไมโครเวฟ อาจทำให้เกิดปัญหาปอดอักเสบ และเกิดการหายติดขัดที่รุนแรง เมื่อเร็ว ๆนี้ก็ได้พบผู้ป่วยจากศูนย์การแพทย์ชาวยิวแห่งชาติเมืองเดนเวอร์ โคโลราโด ที่มีอาการโรคปอดเพราะสูดกลิ่นเนยของป็อบคอร์น ชายคนนี้กินป๊อปคอร์นวันละ 2 ถุง และชอบสูดหายใจเอากลิ่นเนยเข้าไปเต็มปอดทุกครั้งหลังจากแกะถุงข้าวโพดคั่วที่อบสุกใหม่ๆ เขาทำแบบนี้มาตลอด 10 ปี สำหรับคนที่ชอบทานข้าวโพดคั่วหอม ๆ นั้น ควรระวังไว้ก็จะดีนะคะ
-
โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก
โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก ปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงและเฉียบพลัน อาจทำให้เด็กเล็กถึงกับเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันการณ์ ซึ่งแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมมากเป็นอันดับหนึ่ง คือโดยเฉลี่ยเด็กจะเสียชีวิตทุก ๆ 20 นาทีเลยทีเดียว เรียกว่าน่ากลัวไม่น้อยเลย สาเหตุของโรคนี้เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ผู้มีเจ็บป่วยอยู่แล้ว มีภูมิต้านทานต่ำ คนชรา และเด็กทารก มักจะติดเชื้อได้ง่าย หากคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย หรืออยู่ในที่ที่แออัดจนสูดหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งในอากาศเข้าไป อาการของโรคก็คือมีไข้สูง ไอหนัก หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ถ้าเป็นมากขึ้นจะหายใจหอบ มีเสียงวี๊ด ๆ หรือหายใจหอบแรงจนซี่โครงบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้า และปากซีดคล้ำขียว ซึมหรือกระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคนี้ก็คือควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคเข้าไว้ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับคนไข้หรือเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือสถานที่แออัด ที่อาจติดเชื้อได้ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ตลอดเวลาในฤดูหนาว หากเป็นเด็กทารกควรเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะได้รับภูมิต้านทานผ่านทางนมแม่มาด้วย ในส่วนของเด็กเล็กที่เริ่มเป็นหวัด ผู้ปกครองควรเอาใจใส่บุตรหลานและสังเกตอาการ โดยปกติหวัดทั่วไปเด็กจะหายดีภายในหนึ่งอาทิตย์ โดยให้เด็กกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อมิให้ขาดน้ำ เสมหะจะได้อ่อนตัวขับออกง่ายด้วย หากมีไข้สูงให้ยาลดไข้และเช็ดตัวบ่อย ๆ ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับมาก ๆ สอนเด็กให้ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม และสอนให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ…
-
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ
หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…
-
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง
พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…
-
ป้องกันภัยจาก…วัณโรค
ป้องกันภัยจาก…วัณโรค วัณโรค เป็นโรคติดต่อโรคหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเมื่อรับเชื้อมาแล้วจะยังไม่แสดงอาการทันทีทันใด และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเพราะผลกระทบจากโรคเอดส์ด้วย วัณโรคนี้สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่น ๆได้ด้วยการหายใจ จากผู้ป่วยที่มีเชื้อเสมหะอยู่ ไม่ว่าจะโดยการไอ จาม พูด โดยไม่ยอมปิดปากปิดจมูก เชื้อวัณโรคจะอยู่ในละอองที่ออกมาจากตัวผู้ป่วยและลอยอยู่ หากผู้ที่อยู่ใกล้หายใจเอาละอองฝอยนี้เข้าไปก็จะติดเชื้อวัณโรคและอาจป่วยเป็นวัณโรคได้ ผู้ที่รับเชื้อวัณโรคไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคทุกคน เพราะทุกคนจะมีภูมิคุ้มกันที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคอยู่ เชื้อนั้นอาจถูกกำจัดออกไปด้วยภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ ก็จะเจ็บป่วยเป็นวัณโรค พบว่าผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ที่ทานยากดภูมิจะมีโอกาสเป็นวัณโรคได้มากกว่าคนทั่วไป วัณโรคนั้นสามารถเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายได้ แต่ที่พบและเป็นปัญหามากที่สุดก็คือวัณโรคปอด อาการเริ่มต้นนั้นจะมีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่าสองอาทิตย์ รวมทั้งอาจมีอาการอื่นด้วยอาทิเช่น ไอมีเสมะเหลืองเขียว หรือมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก เป็นไข้ เหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยด่วน ซึ่งการรักษาในปัจจุบันนี้ก็มียารักษาที่ใช้เวลารักษา 6-8 เดือนก็หายขาดได้ ขอให้มีวินัยในการกินยาทุกวันและทุกเม็ดให้ครบถ้วนก็สามารถรักษาให้หายได้แล้ว ผู้ป่วยควรรีบรักษาตัวให้หาย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ระหว่างการรักษาควรปิดปากจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม โดยการใส่หน้ากากอนามัยให้มิดชิด หรือใช้ผ้าปิดปากจมูกทุกครั้งที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ยิ่งประชาชนในประเทศและในโลกนี้ร่วมมือกันหยุดยั้งวัณโรคมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการควบคุมและหยุดยั้งวัณโรคได้มากขึ้นเท่านั้นค่ะ
-
ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ
ป้องกันหมอกควันในอากาศทำร้ายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอากาศในเมืองใหญ่หรืออากาศตามต่างจังหวัด ในบางช่วงของปีก็มักมีปัญหาของหมอกควันและฝุ่นละอองหนาแน่นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกันได้ทั้งนั้น โดยหากมีหมอกควันและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน อาจทำให้เกิดอาการแสบตา ตาแดง คันตา น้ำมูกหรือน้ำตาไหลได้ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ โรคปอด หอบหืด ผู้ป่วยโรคหัวใจ หมอกควันเหล่านี้ก็อาจทำให้อาการกำเริบรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้กลุ่มที่น่าเป็นห่วงได้แก่ เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ก็อาจเจ็บป่วยไม่สบายได้ง่ายขึ้นด้วย โดยมักมีอาการของหวัด คออักเสบ เจ็บคอ ไอ จาม เป็นต้น หากคุณผู้อ่านอยู่ในพื้นที่มีปัญหาหมอกควันหนาแน่น ควรดูแลตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – กลุ่มที่มีโรคประจำตัวและเจ็บป่วยง่าย ควรอยู่แต่ในอาคารบ้านเรือนและปิดประตูหน้าต่างมิให้ควันไฟเข้าไปในอาคารได้ – ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือจะพรมน้ำหมาก ๆ ช่วยด้วยก็จะช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น – บ้านที่ติดแอร์คอนดิชั่น ควรถอดแผ่นกรองอากาศมาทำความสะอาดให้บ่อยขึ้น – ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หากช่วงใดที่สภาพอากาศมีหมอกควันฝุ่นละออกมาก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่แจ้ง และที่สำคัญที่สุดก็คือทุกคนร่วมใส่ใจกับชุมชนและสังคมร่วมกัน ไม่ควรเผาขยะหรือเผาวัตถุใด ๆ ก็ตาม ที่จะทำให้เกิดควันพิษสร้างปัญหาให้กับชุมชน เพื่อสุขภาพของตัวเราเองและคนที่เรารักทุกคนนะคะ