Category: ตับอักเสบ
-
ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?
ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ? ปวดท้อง เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่พบได้บอ่ย ๆ บางคนก็เป็นอยู่เป็นประจำจนไม่ได้ใส่ใจมากนัก คิดว่าเป็นได้เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หารู้ไม่ว่าอาการปวดท้องบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดีกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นโรคลุกลามได้ อาการปวดท้องนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย จนถึงปวดรุนแรงมาก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับอวัยวะโดยตรงเช่น รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อยจะเป็นการปวดท้องเพราะอวัยวะในทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะเป็นโรคใดก็ต้องวินิจฉัยว่าปวดที่ตำแหน่งไหน อาการปวดเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่ปวดท้องด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดท้องได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ นิ่วในไต โรคลำไส้ โรคหัวใจและปอดอักเสบก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน หากเป็นเพศหญิงก็ต้องนึกถึงสาเหตุของอวัยวะสืบพันธุ์ต่าง ๆ แม้แต่ผู้ป่วยโรคงูสวัดที่บริเวณท้องก็อาจทำให้ปวดท้องรุนแรงได้ ฯลฯ แต่กว่าครึ่งของคนที่ปวดท้องจะวินิจฉัยหาสาเหตุได้ผล ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้ เมื่ออาการทุเลาหายไปก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดอยู่ดี อาการปวดท้องที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานั้นก็ได้แก่ – ปวดนานกว่า 6 ชั่วโมงและมีอาการมากขึ้น – ปวดจนกินอะไรไดม่ได้ – ปวดท้องและอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้ง –…
-
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับโรคไวรัสตับอักเสบเอ และบี กันมากกว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีนะคะ ความจริงแล้วโรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อนี้ไปแล้วกว่า แปดแสนคน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดผ่านเข็มร่วมกับผู้อื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้จะอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ติดต่อสู่ผู้อื่นคล้ายโรคไวรัสตับอักเสบบีและเอดส์ ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงก็ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น การสักหรือการเจาะผิวหนัง การฝังเข็ม การใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือติดต่อจากการทำฟัน รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็ด้วย ส่วนมากมักจะติดต่อกันทางเลือดมากกว่าทางเพศสัมพันธ์ อาการของไวรัสตับอักเสบซีนี้จะมีอาการ ตัวเหลือง ดีซ่าน ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บวม มีน้ำในช่องท้อง การจะคัดแยกผู้ป่วยต้องผ่านทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะทราบ อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจาก 10 ปีผ่านไปแล้ว เข้าสู่ปีที่ 12 จะเริ่มแสดงอาการตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้น และเมื่อผ่านไป 30 ปี ตับก็จะถูกทำลายจนมีอาการของตับแข็ง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเป็นมะเร็งตับ การดำเนินโรคของโรคนี้จะเป็นไปโดยช้า ๆ ผู้ป่วยไม่เคยรู้ตัวเลยว่ามีโรคนี้ซ่อนอยู่หากไม่ได้ตรวจเลือด มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณร้อยละ 15-20 ที่หายได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการรักษาก็มักจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับในที่สุด โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้ยังไม่มีไวรัสป้องกันเหมือนไวรัสตับชนิดอื่น…
-
พิษของสุราที่มีต่อตับ!!!
พิษของสุราที่มีต่อตับ!!! สุรานั้น ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์โลกเป็นเวลายาวนานกว่าสี่พันปีแล้ว มีหลากหลายชนิดและรสชาติแตกต่างกันไปตามแต่เชื้อต้นกำเนิดและผลไม้ที่นำมาหมัก ไม่ว่าจะเป็น เหล้า วิสกี้ ไวน์ เบียร์ พันช์ ฯลฯ และสุราเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย แม้แต่ในศาสนาพุทธเองก็ยังให้พึงละเว้นสุราไว้เพื่อมิให้ขาดสติ เพราะผลของการดื่มเหล้านั้นนอกจากอุบัติเหตุที่ส่งผลเสียแก่ผู้อื่นโดยรอบตัวแล้ว ก็ยังส่งผลให้ตัวเองได้รับอันตรายจากสุราไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตับนั่นเอง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ตับเป็นอวัยวะหลักที่ย่อยแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้าเป็นประจำจะเกิดปัญหากับตับในสี่แบบก็คือ ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง จนถึงมะเร็งตับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ดื่มจะเป็นโรคตับเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ – ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่ม ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 30 กรัมต่อวันในเพศชาย และ 20 กรัมในเพศหญิงแล้ว จะถือว่าอยู่ในข่ายที่ได้รับความเสี่ยงในการเป็นโรคตับ – ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ หากดื่มในปริมาณเท่ากันแล้ว ผู้หญิงจะเสี่ยงเป็นโรคตับมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า – ขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสตับอักเสบที่มีอยู่เดิม หากมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีอยู่แล้วจะทำให้การดำเนินโรคแย่กว่าผู้ที่เป็นโรคตับจากแอลกอฮอล์อย่างเดียว – พันธุกรรมและยาบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นโรคด้วยเช่นกัน อาการของโรคตับนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ผู้ที่ไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบเล็กน้อยจะไม่มีอาการผิดปกติหรืออาการจะไม่เฉพาะเจาะจงมากนัก เช่น ปวดชายโครงขวา มีไข้ อ่อนเพลีย ฯลฯ ส่วนผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง จะมีอาการคือ…