Category: ตับ
-
ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ?
ปวดท้อง ปวดยังไง ขนาดไหนจึงไปหาหมอ? ปวดท้อง เป็นอาการป่วยพื้นฐานที่พบได้บอ่ย ๆ บางคนก็เป็นอยู่เป็นประจำจนไม่ได้ใส่ใจมากนัก คิดว่าเป็นได้เดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หารู้ไม่ว่าอาการปวดท้องบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนให้คุณรู้ว่า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดดีกว่า ก่อนที่จะกลายเป็นโรคลุกลามได้ อาการปวดท้องนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย จนถึงปวดรุนแรงมาก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับอวัยวะโดยตรงเช่น รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหาร ที่พบได้บ่อยจะเป็นการปวดท้องเพราะอวัยวะในทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งจะเป็นโรคใดก็ต้องวินิจฉัยว่าปวดที่ตำแหน่งไหน อาการปวดเป็นอย่างไร รวมไปถึงความรุนแรงและช่วงเวลาที่ปวดท้องด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดท้องได้ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดขนาดใหญ่ในช่องท้อง อาการหัวใจวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ นิ่วในไต โรคลำไส้ โรคหัวใจและปอดอักเสบก็ทำให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรงได้เช่นกัน หากเป็นเพศหญิงก็ต้องนึกถึงสาเหตุของอวัยวะสืบพันธุ์ต่าง ๆ แม้แต่ผู้ป่วยโรคงูสวัดที่บริเวณท้องก็อาจทำให้ปวดท้องรุนแรงได้ ฯลฯ แต่กว่าครึ่งของคนที่ปวดท้องจะวินิจฉัยหาสาเหตุได้ผล ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจหาสาเหตุไม่ได้ เมื่ออาการทุเลาหายไปก็ยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดอยู่ดี อาการปวดท้องที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษานั้นก็ได้แก่ – ปวดนานกว่า 6 ชั่วโมงและมีอาการมากขึ้น – ปวดจนกินอะไรไดม่ได้ – ปวดท้องและอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้ง –…
-
ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้
ระวังการใช้สมุนไพร “ปอบิด” เสี่ยงไตวายได้ ปัจจุบันนี้มีการนิยมนำเอาสมุนไพรบางชนิดมาช่วยบรรเทาและรักษาโรคเบาหวานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ “ปอบิด” หรือ “ปอกะบิด” นั่นเอง ซึ่งแม้จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดน้ำตาลได้เลือดได้ แต่ก็พบว่ามีผู้ป่วยบางรายมีอาการไตวายเป็นผลข้างเคียงด้วย อันตรายมาก! ซึ่งมีรายงานจากการวิจัยพบว่า ปอบิดนี้ช่วยรักษาเบาหวานได้จริง สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูทดลองได้ แต่ก็ทำลายตับของหนู และกระตุ้นหัวใจของกบได้ด้วย ซึ่งสมุนไพรดังกล่าวยังไม่มีงานวิจัยในด้านพิษวิทยาล่าสุดนี้มีงานวิจัยจาก รศ.รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแม้ปอบิดจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ให้ผลใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน แต่ก็ไม่สามารถทดแทนยารักษาเบาหวานได้จริง ผ็ป่วยควรตรวจการทำงานของตับและไตทุก 3 เดือน และห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับหรือโรคไต รวมไปถึงผู้ที่มีพันธุกรรมเป็นโรคตับโรคไตในครอบครัวด้วย ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมักจะมีตับ ไต ตับอ่อน หัวใจไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย หากต้องการใช้สมุนไพรไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 7 วัน เพราะปริมาณสารเคมีจากสมุนไพรควบคุมได้ยาก และไม่ควรกินแทนยา จึงควรมีช่วยหยุดพักในการกินหรือทานสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สลับกันไป เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึงได้อีกในอนาคตค่ะ
-
ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ
ไวรัสตับอักเสบซี อันตราย แต่ป้องกันได้ถ้าเข้าใจ ไวรัสตับอักเสบซี เป็นเชื้อไวรัสที่ค้นพบมาเป็นเวลาสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ตับอักเสบได้แบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้เกิดเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ เป็นเชื้อไวรัสตับอักเสบที่รุนแรงมากกว่าเชื้อชนิดอื่น ไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำได้เพียงให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางเลือดและผลิตภัณฑ์ทางเลือดทุกชนิด โดยเฉพาะหากเคยได้รับมาก่อนปี 2535 ติดต่อได้ทางเข็มฉีดยา ทางการสักหรือเจาะหูด้วยอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การฟอกไต การสักตัว สักคิ้ว สักขอบตา อุปกรณ์เสริมสวยไม่ว่าจะเป็นการทำผม ทำเล็บที่ใช้มีดโกน กรรไกร เป็นต้น การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยมักไม่ค่อยแสดงอาการ จึงไม่มีการรักษาใด ๆ เป็นเพียงการดูแลตามอาการเท่านั้น ไม่นอนดึกและหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง แต่ในผู้ที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังนั้น มียาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษาอยู่สองตัวร่วมกันก็คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยากิน ทั้งสองชนิดช่วยกำจัดไวรัสให้หมดไปและไม่เป็นซ้ำอีกมีผลถึงร้อยละ 50 ในส่วนของการป้องกันไวรัสตับอักเสบซีนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกอย่าง เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไม่เข้าร้านสัก เจาะ หรือทำผมทำเล็บที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงไว้อย่างสม่ำเสมอด้วย
-
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเห็ด พืชที่ชอบขึ้นตามขอนไม้และที่ชื้นแฉะทั้งหลาย มีหลายสายพันธุ์ที่เป็นพิษ แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทานได้ และสามารถเพาะพันธุ์ขายได้ด้วย มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเห็ดแต่ละชนิดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ให้คุณค่าต่อร่างกายอย่างไรกันบ้าง – เห็ดชิตาเกะ หรือเห็ดหอม เป็นยาทางแพทย์แผนจีน รักษาโรคได้หลากหลายชนิด ป้องกันเชื้อไวรัสและการก่อกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ให้กรดอะมิโน ให้วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินดีสูง บำรุงกระดูก มีปริมาณของโซเดียมต่ำจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาหวัดได้ – เห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง โดยประเทศญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคชรา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น – เห็ดหูหนู ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาว เพิ่มภูมิต้านทาน รักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง บำรุงไตและปอด – เห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม ช่วยป้องกันและต้านทานมะเร็งเต้านมได้ ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง จึงลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง – เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดในตระกูลเดียวกัน เชื่อว่าป้องกันโรคไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ –…
-
สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่
สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่ เหตุผลที่การสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพนั้นก็เป็นเพราะว่าในควันบุหรี่ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารสำคัญที่อันตรายมากได้แก่ – คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นสารที่ทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับมากเกินไปจะทำให้ขาดออกซิเจน มึนงง วิงเวียน เหนื่อยง่าย ตัดสินใจช้าและทำให้เกิดโรคหัวใจได้ – นิโคติน เป็นสารระเหยในบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน จึงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนขาหดตัว ทำให้มีไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งก้นกรองที่บุหรี่ไม่ได้ช่วยกรองนิโคตินให้ลดลงแต่อย่างใดเลย – ทาร์ หรือน้ำมันดินนี้จะเป็นคราบข้นเหนียวสีน้ำตาลแก่จากการเผาไห้ของกระดาษและใบยาสูบ เป็นสารก่อมะเร็งหลายชนิด และกว่าครึ่งของน้ำมันดินจะจับที่ปอดทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดนั้นกว่าร้อยละ 90 เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มากเกินวันละ 1 ซองนั้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าปกติถึง 5-20 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง ไอถี่จนนอนไม่ได้ สารทาร์ยังทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ทำให้หายใจขัดและหอบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านั้น การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง ตับแข็ง โรคปริทนต์ โพรงกระดูกอักเสบ หลอดลมอักเสบ โรคหัวใจ…
-
เช็คตัวเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับบ้างหรือเปล่า
เช็คตัวเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับบ้างหรือเปล่า? มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่ไม่ค่อยตรวจพบในระยะแรกเท่าไร แต่ผู้ป่วยมักไปพบแพทย์ก็ตอนที่เป็นในระยะท้าย ๆ แล้ว อีกทั้งยังเป็นมะเร็งที่มีระยะฟักตัวนานอีกด้วย และมีปัจจัยหลายประการในการทำให้เป็นมะเร็งตับขึ้นมาได้ วันนี้มาลองตรวจสอบตัวเองกันดูว่าคุณเข้าข่ายว่าจะเป็นมะเร็งตับบ้างหรือเปล่านะคะ ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับได้แก่ – เพศชายจะมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง เพราะพฤติกรรมบางประการเช่น ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่มากกว่า – ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ชาวเอเชีย ชาวอเมริกา ชาวเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีโฮกาสเป็นมะเร็งตับสูงกว่า – ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง ก็สามารถเป็นโรคมะเร็งตับได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถติดต่อกันได้ทั้งทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยา และการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ รวมไปถึงการรับเลือดบริจาคด้วย – เป็นโรคตับแข็ง เพราะเซลล์ตับจะถูกทำลายและเหลือรอยแผลไว้ มักเกิดจากการดื่มแอกอฮอล์, เป็นไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมไปถึงภาวะมีธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป จะพัฒนาสู่การเป็นมะเร็งตับได้ – ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมาก โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากหรือมีภาวะตับอักเสบร่วมด้วย – ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ก็เสี่ยงเช่นกัน – มักได้รับสาร Aflatoxine เป็นเวลานาน ซึ่งสารนี้คือเชื้อราที่อยู่ในพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ ทั้งข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วลิสง เป็นต้น – เป็นผู้ที่ได้รับสาร Vinyl…
-
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น
ตับแข็งไม่ได้เกิดจากการกินเหล้าเท่านั้น โรคตับ นั้นมีสาเหตุหลายประการ ซึ่งภาวะไขมันพอกตับนั่นก็เป็นอีกปัญหาที่พบมาก เกิดได้จากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การรับสารพิษสารเคมีต่าง ๆ ภาวะขาดอาหาร หรือได้รับสารอาหารมากเกินไปจนร่างกายสะสมไว้ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ในตับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังนั้นกว่าร้อยละ 60 มีภาวะไขมันพอกตับ และมักมีปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ อ้วนลงพุง ไขมันที่ลำตัวมากกว่าแขนขา เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับนี้ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการออกมา กว่าจะรู้ตัวก็มักเป็นโรคตับอักเสบหรือตับแข็งไปแล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นจะแสดงอาการออกมา ซึ่งอาจมีอาการปวดแน่นชายโครงขวา อ่อนเพลียง่าย ๆ ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ครอบครัว ญาติพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ยิ่งควรให้ความใส่ใจกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ได้แก่… – ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ดูแลอาหารการกิน เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ น้ำมัน นม เนย ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง และอื่น ๆ รวมไปถึงอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งมากด้วย เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ในตับได้ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย – หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อให้ทราบความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตับด้วย และควรดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเหมาะสม –…
-
ภาวะไขมันคั่งในตับ
ภาวะไขมันคั่งในตับ โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับที่เพิ่มอัตราผู้ป่วยมากขึ้นในระยะหลายปีมานี้ มักจะเป็นผู้ที่ไม่เคยดื่มเหล้า หรือติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบมาก่อนเลย แต่จะมีลักษณะร่วมคล้าย ๆ กันก็คือ ผู้ป่วยอ้วนน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง ในตับจึงตรวจพบไตรกลีเซอร์ไดร์คั่งสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก ตับอักเสบเป็นเวลานาน จนเกิดพังผืดขึ้นและลุกลามจนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ตับนั้นเป็นอวัยวะที่สำคัญชิ้นหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่หลายอย่าง ทั้งกักเก็บสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน โคเลสเตอรอล วิตามิน ควบคุมการสันดาปของฮอร์โมน ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน ผลิตสารที่นำเกล็ดเลือดไปห้ามเลือดเมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บ ช่วยกำจัดสารพิษของร่างกายได้ด้วย ฯลฯ เมื่อตับมีไขมันมาคั่งอยู่เป็นจำนวนมาก การทำงานของตับจึงผิดปกติ ส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย ภัยแฝงจากภาวะไขมันคั่งในตับนี้มักจะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว แรก ๆ จะมีสุขภาพเป็นปกติ อาจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ แล้วพบว่าค่าเอนไซม์ตับสูงผิดปกติ หากไม่เคยตรวจเลยก็อาการก็อาจพัฒนาไปสู่ภัยร้ายได้มากขึ้น เมื่อภาวะไขมันคั่งในตับรุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแน่นชายโครงขวา อึดอัด เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ อ่อนเพลีย อาจมีท้องผูกสลับกับท้องเสีย บางคนก็มีอาการดีซ่าน คลื่นไส้อาเจียน จนกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด ผู้ที่มีภาวะไขมันตั่งตับนั้น ควรดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการควบคุมอาหารและดูแลน้ำหนักตัว ยิ่งคนที่อ้วนน้ำหนักเกินเป็นเบาหวาน และมีไขมันสูงด้วยแล้วจะมีโอกาสเกิดภาวะไขมันสะสมในตับได้ถึงร้อยละ 90 ควรใส่ใจในเรื่องของอาหาร ทานแต่อาหารที่ปรุงแต่งน้อย ๆ เช่น…
-
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี
ทำความรู้จักกับ…ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่แล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับโรคไวรัสตับอักเสบเอ และบี กันมากกว่า โรคไวรัสตับอักเสบซีนะคะ ความจริงแล้วโรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบันเลยทีเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อนี้ไปแล้วกว่า แปดแสนคน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดผ่านเข็มร่วมกับผู้อื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบซีนี้จะอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่งส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ติดต่อสู่ผู้อื่นคล้ายโรคไวรัสตับอักเสบบีและเอดส์ ผู้ที่มีกลุ่มเสี่ยงก็ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น การสักหรือการเจาะผิวหนัง การฝังเข็ม การใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือติดต่อจากการทำฟัน รวมไปถึงเพศสัมพันธ์ และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกก็ด้วย ส่วนมากมักจะติดต่อกันทางเลือดมากกว่าทางเพศสัมพันธ์ อาการของไวรัสตับอักเสบซีนี้จะมีอาการ ตัวเหลือง ดีซ่าน ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บวม มีน้ำในช่องท้อง การจะคัดแยกผู้ป่วยต้องผ่านทางห้องปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะทราบ อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะแสดงออกมาหลังจาก 10 ปีผ่านไปแล้ว เข้าสู่ปีที่ 12 จะเริ่มแสดงอาการตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้น และเมื่อผ่านไป 30 ปี ตับก็จะถูกทำลายจนมีอาการของตับแข็ง ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะเป็นมะเร็งตับ การดำเนินโรคของโรคนี้จะเป็นไปโดยช้า ๆ ผู้ป่วยไม่เคยรู้ตัวเลยว่ามีโรคนี้ซ่อนอยู่หากไม่ได้ตรวจเลือด มีผู้ติดเชื้ออยู่ประมาณร้อยละ 15-20 ที่หายได้เอง แต่ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ได้รับการรักษาก็มักจะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับในที่สุด โรคไวรัสตับอักเสบซีนี้ยังไม่มีไวรัสป้องกันเหมือนไวรัสตับชนิดอื่น…
-
โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง
โรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนั้นหมายถึง การอักเสบของตับที่นานเกินกว่าหกเดือนขึ้นไป ตรวจเลือดแล้วพบร่องรอยการอักเสบ มีสาเหตุมาจากพิษสุราเรื้อรัง พิษจากยาหรือสมุนไพรบางชนิด การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ไขมันพอกตับ หรือภาวะภูมิต้านทานตนเอง ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากข้อใดก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีซึ่งสามารถป้องกันและลดอันตรายลงได้ โรคนี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าจะเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับแทรกซ้อน บางรายไม่มีอาการแต่ตรวจเลือดพบได้ อาจมีอาการได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลียซึ่งมักเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น นอกจากนี้ยังมีไข้ต่ำ ๆ คลื่นไส้เบื่ออาหาร ท้องอืดเฟ้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อเป็นต้น ในระยะท้ายที่เริ่มเป็นตับแข็งและมะเร็งตับแล้วก็จะมีอาการอ่อนเพลีย ดีซ่าย น้ำหนักลด ท้องบวม เท้าบวม ยิ่งหากเป็นผู้ที่มีพี่น้องเป็นพาหะของโรคนี้หรือเป็นโรคตับอักเสบอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และหากพบว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสควรปฏิบัติตามดังนี้ 1. พบแพทย์ กินยา และเข้ารักษาตามเวลา ซึ่งอาจกินเวลาเป็นแรมปีหรือตลอดชีวิต 2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3. ห้ามบริจาคเลือด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยา มีดโกน หรือแปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น 5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือใช้ถุงยางอนามัยป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ 6. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีพิษต่อตับทำให้อักเสบรุนแรงได้ ในส่วนของการป้องกันสามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบี 2. ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์…