Category: หัวใจและหลอดเลือด
-
ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย
ลดเกลือ ลดโซเดียม ลดโรคร้าย พฤติกรรมกินเค็ม เป็นพฤติกรรมปกติของคนทั่วไป ลองคิดดูสิจะมีสักกี่คนที่ทานข้าวผัดแล้วไม่เติมพริกน้ำปลา ทานไข่เจียวแล้วไม่เหยาะซอสพริก หรือทานไข่ดาวแล้วจะไม่เหยาะซอส ทานก๊วยเตี๋ยวแล้วไม่เติมน้ำปลาเลย ฯลฯ เรียกได้ว่าหาแทบจะไม่พบเลยทีเดียว ซึ่งแม้พฤติกรรมนี้จะดูเป็นเรื่องเคยชิน แต่ความจริงแล้วความเค็มหรือเกลือเหล่านี้กำลังทำร้ายสุขภาพของคุณอยู่ โดยปัจจุบันนี้จากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือเข้าสู่ร่างกายมากกว่าที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า การทานเกลือแบบนี้ไม่ใช่การตักเกลือเป็นช้อนเข้าปาก แต่เกิดจากการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีเกลือเป็นส่วนผสม เช่น ซอสปรุงรส กะปิ น้ำปลา ซี่อิ๊ว ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงชูรส ซอสหอยนางรส น้ำจิ้มสุกี้ น้ำจิ้มไก่ และผงฟูที่ใช้ทำขนมด้วย ซึ่งจากการสำรวจตามร้านอาหารตามสั่งทั่วไปนั้น อาหารจานเดียวทั้งหลายก็มีปริมาณของเกลือโซเดียมแทบจะเท่ากับปริมาณที่ร่างกายควรบริโภคทั้งวันไปแล้ว นอกเหนือจากนี้อาหารชนิดอื่น ๆ ก็ยังปริมาณของเกลือ หรือโซเดียมมากอีกด้วย เช่น เต้าเจี้ยว ปลาร้า กะปิ ของดอง กุ้งแห้ง อาหารกระป๋อง ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง เนื้อตากแห้ง ขนมถุงกรุบกรอบ อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำพริก เครื่องจิ้มต่าง ๆ อาหารที่ใส่ผงชูรส อาหารที่ใส่ผงฟู…
-
แนวทางการเลือกเครื่องดื่มที่จะไม่ทำให้เราอ้วน
แนวทางการเลือกเครื่องดื่มที่จะไม่ทำให้เราอ้วน มีคนอยู่ส่วนน้อยค่ะ ที่จะทราบว่าเครื่องดื่มเย็น ๆ รสชาติหวานหอม ไม่ว่าจะเป็น กาแฟเย็นหวานมัน ชานมไข่มุก น้ำปั่น น้ำอัดลมต่าง ๆ ฯลฯ จะทำให้คุณสามารถอ้วนขึ้นได้ง่ายมากเลยค่ะ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีแคลอรี่เป็นจำนวนมาก เพราะส่วนผสมก็คือ ครีมเทียม นม น้ำตาล ไซรัป หวาน ๆ นั่นเอง นอกจากทำให้อ้วนแล้วยังทำให้เป็น โรคเบาหวาน ฟันผุ และปัญหาสุขภาพอีกมากมายด้วย อีกทั้งในปัจจุบันนี้มีเครื่องดื่มหลายชนิดออกมาทำตลาดมากมาย ดังนั้นเราจึงควรมีวิจารณญาณในการเลือกเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพเรา ด้วยแนวทางต่อไปนี้ 1. เครื่องดื่มที่ดีที่สุดก็คือ “น้ำเปล่า” นั่นเองค่ะ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานอย่างเป็นปกติ ดับกระหายและให้ความชุ่มชื้นกับร่างกาย ควรดื่มน้ำวันละสองลิตรขึ้นไปด้วยจึงจะเพียงพอค่ะ 2. รองลงมาน้ำสะอาดก็คือ ชาและกาแฟที่ไม่เติมครีมหรือน้ำตาลใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ไม่มีแคลอรี่เลย สำหรับบางคนที่อาจไวต่อคาเฟอีนอาจมีอาการใจสั่นหรือคลื่นไส้ได้เมื่อดื่มกาแฟ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงจะดีกว่า 3. น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง หรือนมที่มีไขมันต่ำ เพราะในนมนั้นมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ให้แคลเซียม เพื่อบำรุงกระดูก ส่วนน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองก็เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้นมวัว ให้โปรตีนและแคลเซียมต่อร่างกายได้เหมือนกันค่ะ…
-
อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค
อาการความดันโลหิตสูง…ต้นเหตุสารพัดโรค ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของโลหิตที่เกิดจากหัวใจทำการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นสองค่า ก็คือค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว (ตัวบน) และค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว (ตัวล่าง) โดยปรกติคนทั่วไปจะมีค่าความดันโลหิตอยู่ที่ 120/80 มม.ปรอท แต่หากความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 ขึ้นไป ถือได้ว่าเข้าข่ายเป็นโรค “ความดันโลหิตสูง” ซึ่งควรใส่ใจดูแลตนเองให้มาก ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นและโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาทั้งโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เกิดได้หลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือดมีการหดตัวผิดปกติ การสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หรือการสะสมน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมากเกินไป ฯลฯ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้หัวใจจะทำงานหนักมา และในระยะยาวหลอดเลือดจะเกิดความเสื่อมไปทั่วร่าง แรก ๆ จะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาปนกับปัสสาวะจนตรวจพบได้ แต่ในระยะยาวจะทำให้ไตเสื่อมจนขับของเสียและเกลือแร่ออกมาได้น้อยลง เกลือแร่ที่ตกค้างจึงยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก จนไตวายในที่สุด ผู้ที่ทราบว่าตนเป็นมีอาการความดันโลหิตสูง จึงควรควบคุมความดันของไว้และหมั่นตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องอย่าหยุดยาไปเอง และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือ อาหารที่มีไขมันสูง ลดการดื่มกาแฟ เหล้า บุหรี่ ทานผักผลไม้ให้มาก ออกกำลังให้สม่ำเสมอ และที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นก็คือพยายามผ่อนคลายตนเองอย่างให้เครียดด้วยค่ะ เพราะความเครียดก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้เช่นกันค่ะ
-
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…
-
ไตของคุณกำลังลำบากเพราะปากอยู่หรือเปล่า?
ไตของคุณกำลังลำบากเพราะปากอยู่หรือเปล่า? คุณรู้ตัวหรือเปล่าว่าตัวคุณเองกำลังทำร้ายไตของคุณด้วยพฤติกรรมการกินของตัวคุณเอง จากสถิติแล้วมีคนไทยถึง 17.5% ที่ตายด้วยโรคไต หรือคิดเป็นตัวเลขเฉลี่ยมีคนตายจากโรคไตถึงวันละ 108 คนเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุของโรคไตในคนไทยก็คือ คนไทยมีพฤติกรรมติดอาหารรสจัด และมักชอบเติมน้ำปลาหรือซอสปรุงรสมากเกินความจำเป็น ทั้งที่ความจริงแล้วในอาหารจานด่วนบางชนิดมีปริมาณโซเดียมที่สูงมากอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม มีปริมาณโซเดียม 750 มิลลิกรัม, ผัดซีอิ๊ว มีปริมาณโซเดียม 1000 มิลลิกรัม, ข้าวราดแกง มีปริมาณโซเดียม 1250 มิลลิกรัม และ ยำวุ้นเส้น มีปริมาณโซเดียม 1500 มิลลิกรัม ในขณะที่ปริมาณโซเดียมที่ร่างกายเราต้องการอยู่ที่วันละ 2000 มิลลิกรัม แต่จากการสำรวจนั้น คนไทยบริโภคโซเดียมถึงวันละ 4000 มิลลิกรัมต่อวันเข้าไปแล้ว! นับเป็นตัวเลขที่น่ากลัวทีเดียว เพราะหากร่างกายของเราได้รับโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย จะเกิดผลทำให้ไตทำงานไม่ปกติ เพราะโซเดียมตกค้างเกิดปริมาณ ก่อให้เกิดโรคไต ซึ่งเป็นต้นเหตุให้คุณอาจต้องฟอกไตตลอดชีวิต, เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนเป็นอัมพาตได้ ดังนั้นนอกจากตัวคุณเองแล้ว เรามาร่วมกันรณรงค์ “ลดเค็มก่อนสาย เพื่อไตคุณเอง” กันเถอะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและคนที่คุณรักตลอดไปนะคะ
-
โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง?
โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง? โรคหัวใจขาดเลือด นั้น คืออาการที่หัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (angina) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งอาการที่แสดงถึงโรคหัวใจขาดเลือดของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น – เจ็บ ปวดหรือรู้สึกไม่สบาย – แน่นท้อง – เป็นตะคริว – ชา – หายใจลำบาก จุกเสียด – แน่นหน้าอก – ร้อน – เหงื่อแตก – วิงเวียนศีรษะ อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกราม เป็นต้น และอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรมหรือหลังอาหารมื้อหนัก ๆ อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อนและการรักษาด้วยยา เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการหัวใจขาดเลือดอย่างได้ผล
-
นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน
นักวิจัยพบว่า สารเคมีในเนื้อแดง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน นักวิจัยอเมริกัน ศึกษาเกี่ยวกับสารกระตุ้นที่ก้อให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน พบว่า สารเคมีที่อยู่ในเนื้อแดงนั้น เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นอกจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลที่ไปอุดตันเส้นเลือดและก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ ทีมแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ แนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจควบคุมปริมาณเนื้อเเดงที่รับประทานให้น้อยลง รวมทั้งเนื้อสเต็กและเนื้อแกะ เนื่องจากไขมันและคอเลสเตอรอลในเนื้อแดงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เพราะในเนื้อแดงยังมี สารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สารคาร์นิทีน (carnitine) เมื่อสารเคมีตัวนี้ถูกย่อยโดยเชื้อเเบคทีเรียในลำใส้ จะผลิตสารอีกชนิดหนึ่งออกมาเรียกว่า สาร TMOA เป็นสารที่พบในปริมาณสูงในกลุ่มคนที่นิยมรับประทานเนื้อแดงและเชื่อว่าเป็นสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทีมนักวิจัยทดลองสารเคมีตัวนี้ในหนูทดลอง โดยการให้หนูทดลองกินอาหารที่มีสาร TMOA ผสมอยู่ในปริมาณสูงเริ่มมีอาการเส้นเลือดอุดตัน และเมื่อทีมนักวิจัยทดลองกำจัดแบคทีเรียในลำใส้ของหนูที่ทำหน้าที่ย่อยสารคาร์นิทีนให้เป็นสาร TMOA หนูทดลองเริ่มหายจากอาการเส้นเลือดอุดตัน สารคาร์นิทีนพบในปริมาณต่ำในเนื้อปลาและเนื้อไก่ และยังพบในผักบางชนิดและข้าวสาลี ตลอดจนในคนที่รับประทานเม็ดอาหารเสริม คุณไซเดซ กล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะเเนะนำให้คนหลีกเลี่ยงอาหารอื่นๆที่มีสารคาร์นิทีนนอกเหนือไปจากเนื้อแดง