Category: มะเร็งเม็ดเลือดขาว
-
รู้จักกับอันตรายของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
รู้จักกับอันตรายของมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเม็ดเลือดขาว นั้นเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวมีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเร็วกว่าปกติจนกลายเป็นเซลล์ที่ผิดกติ แล้วยังแก่ตัวและตายช้ากว่าปกติ แพร่กระจายตัวไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ ทำลายการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวนี้มีอยู่หลายชนิด หลัก ๆ แล้วแบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยสำคัญที่พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สาเหตุจากพันธุกรรม เช่น ผู้ที่มีกลุ่มอาการดาวน์ ผู้ที่มีโครโมโซมผิดปกติ หรือผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก็มีความเสี่ยงด้วย รวมไปถึงผู้ที่เคยได้รับการบำบัดมะเร็งชนิดอื่นมากอ่น รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติการสัมผัสกับรังสีนิวเคลียร์หรือสารเบนซินก็มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนทั่วไป อาการของผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน ได้แก่ มีไข้ มีอาการซีดหรือมีจ้ำเขียวตามตัว มีเลือดออกบริเวณต่าง ๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรรฟัน ประจำเดือนมากผิดปกติ หรอืการถ่ายเป็นเลือด มีอาการไข้เรื้อรัง อ่อนเพลียน้ำหนักลด ฯลฯ ต่อมาด้วยอาการซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจมีอาการทางสมอง แน่นท้อง ปวดท้องเนื่องจากตับโต แต่บางรายก็มีอาการเฉพาะที่ ทั้งการปวดกระดูกและข้อ เหงือกบวม เป็นต้น ในส่วนของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ…
-
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…