Category: ไม่มีหมวดหมู่
-
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of California ในซานฟรานซิสโกชี้ว่าการบำบัดโรคด้วยเซลล์เป็นแนวทางการรักษาโรคแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการบำบัดโรคร้ายแรงหลายๆโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์ Systems and Synthetic Biology ที่มหาวิยาลัยกล่าาว่าเราสามารถกระตุ้นให้ระบบการต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติในร่างกายคนเราทำงานได้มากกว่าที่ทำอยู่ ร่างกายคนเราสร้างขึ้นจากเซลล์และภายในร่างกายคนเรา มีเซลล์หลายประเภท อาทิ เซลล์ภูมิต้านทานที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ร่างกายคนเรามีระบบบำบัดที่ซับซ้อนหลายอย่างอยู่ในตัว เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าจะใช้เซลล์เหล่านี้ให้ทำหน้าที่เหมือนยาที่สามารถบำบัดโรคได้ในตัวได้อย่างไร ทีมวิจัยได้เริ่มต้นพัฒนายุทธวิธีบำบัดโรคด้วยเซลล์ที่ซับซ้อนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของพันธุกรรมในการกำหนดพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เขายกตัวอย่างว่าเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตามธรรมชาติที่ต่อสู่กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอ่อนแอ ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการตกแต่งพันธุกรรมเซลล์ภูมิต้านทานให้เพิ่มจำนวนขึ้นและยังกำหนดให้ทำหน้าที่กำจัดโมเลกุลที่พบในเซลล์มะเร็งเป็นการเฉพาะ เขากล่าวว่าจาการทดลองบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรม ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี ก่อนจะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยได้ทั่วไป การบำบัดโรคด้วยเซลล์ภูมิต้านทานตกแต่งพันธุกรรมนี้จะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยอีกมากมายหลายครั้งโดยทีมนักวิจัยเอกเทศและโดยหน่วยงานควบคุมของรัฐบาลเสียก่อน การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการบำบัดโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมมีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้ที่จะนำวิธีบำบัดโรคแบบนี้ไปใช้และยังจะมีบทบาทช่วยในการพัฒนาให้การบำบัดแนวใหม่นี้ดีขึ้น สุดท้ายนักวิจัยกล่าวว่ายารักษาโรคมากมายที่เราใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยล้วนเริ่มต้นมาจากสารธรรมชาติในพืชหรือในต้นไม้ ที่เรานำมากลั่นกรองจนมีความบริสุทธิ์และเพิ่มประสิทธิิผลในการรักษา ตลอดจนลดความเป็นพิษ การบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมก็จะต้องผ่านขั้นตอนเดียวกันนี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย
-
หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค
หน่วยงานเอกชนของอินเดีย ใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือ ในงานต่อต้านวัณโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอินเดียกำลังสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับการระบาดของวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาในขณะที่มีหน่วยงานพัฒนาเอกชนหน่วยงานหนึ่งในอินเดียใช้เทคโนโลยีข้อมูลลายนิ้วมือในงานต่อต้านวัณโรค ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาแบบ MDR-TB แล้วราวหนึ่งแสนคนในอินเดีย แต่ด็อกเตอร์เชลลี่ บัตรา ผู้ก่อตั้งหน่วยงาน Operation Asha เกรงว่าตัวเลขจริงๆน่าจะสูงกว่าที่ประมาณไว้เพราะยังมีผู้ป่วยอีกหลายพันคนที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย วัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาแบบ MDR-TB มีศักยภาพที่จะกลายเป็นโรคระบาดรุนแรง คร่าชีวิตคนหลายล้านคน เธอกล่าวว่าหากไม่รีบป้องกันการลุกลามของปัญหาหรือยังไม่ยอมรับความจริงว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้น อินเดียก็จะประสบกับปัญหาสาธารณสุขใหญ่หลวง หน่วยงาน Operation Asha มีศูนย์อยู่เกือบทุกมุมเมือง ทางศูนย์ทุกแห่งบันทึกข้อมูลลายนิ้วมือของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ดูแลการบำบัดเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการรักษาแต่ละครั้งที่กำหนดไว้ หากผู้ป่วยไม่ไปรับยาตามกำหนด ทางศูนย์จะส่งข้อความไปเตือนและทำการติดตามหาตัวผู้ป่วย ระบบเฝ้าติดตามการรักษาแบบนี้ได้ผลช่วยลดปัญหาผู้ป่วยไม่ไปรับยารักษาวัณโรคตามกำหนดและป้องกันปัญหาโรคดื้อยาที่จะตามมา การติดตามการรักษาของหน่วยงานช่วยลดอัตราการรักษาตัวไม่ครบกำหนดลงมาอยู่ที่ 3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนระบบลายนิ้วมือช่วยลดปัญหานี้ลงได้อีก โดยอยู่ในอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นการช่วยประหยัดการสูญเสียค่ายาโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากวัณโรคดื้อยา MDR-TB จะสร้างความทรมานแก่ผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของทั้งตัวผู้ป่วยและของประเทศด้วย หน่วยงาน Operation Asha มีศูนย์บำบัดวัณโรคในหมู่บ้านและสลัม 3,000 พันแห่งในอินเดียและกัมพูชา ทางหน่วยงานหวังว่าความพยายามในระดับรากหญ้าที่หนุนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้จะช่วยลดปัญหาการกลายพันธุ์ของวัณโรคที่มีสาเหตุจากผู้ป่วยรักษาตัวไม่ครบตามระยะเวลาที่กำหนด
-
นักวิจัยอเมริกัน ค้นพบยา ที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพาร์คินสัน
นักวิจัยอเมริกัน ค้นพบยา ที่ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพาร์คินสัน ทีมนักวิจัยอเมริกันค้นพบยาที่อาจจะสามารถช่วยชงักการกำเริบของโรคสมองเสื่อมพาร์คินสันส์ได้และวางแผนจะใช้ยาตัวนี้ทดลองรักษาในกลุ่มผู้ป่วยเสียก่อนเพื่อยืนยันคุณสมบัติของยา โรคพาร์คินสันสเกิดขึ้นจากเซลล์ที่สร้างสารโดพามีน (dopamine) ตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ สารโดพามีนเป็นสารเคมีในสมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพันธุกรรมน่าจะมีส่วนของการเกิดโรคพาร์คินสันส์ในผู้ป่วยบางราย ผลการศึกษาขององค์การสหประชาชาติชิ้นใหม่ชี้ว่าสารเคมีชนิดต่างๆที่ใช้กันในชีวิตประจำวันอาจเป็นต้นเหตุของโรค ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย Northwestern University ค้นพบยาที่สามารถควบคุมไม่ให้เซลล์ในสมองรับสารเเคลเซี่ยมเข้าไปในตัวเซลล์มากเกินไป ยานี้ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายแก่ร่างกายผู้ป่วย ทีมงานกำลังวางแผนจะทดลองการรักษาผู้ป่วยด้วยยาตัวนี้ และต้องการค้นพบว่ายาตัวนี้จะมีผลช่วยชะลอการกำเริบของโรคพาร์คินสันส์ได้หรือไม่ ยาที่ใช้บำบัดผู้ป่วยโรคพาร์คินสันส์ในปัจจุบันช่วยควยคุมอาการสั่นและอาการเดินเหินลำบากได้ผลดีในระยะเวลาประมาณ 5 ถึง 10 ปีเท่านั้น หากนักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาการบำบัดวิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการรักษานานกว่ายาปัจจุบันสองถึงสามเท่าตัว ผู้ป่วยโรคพาร์คินสันส์คนอื่นๆอีกสิบล้านทั่วโลกให้สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ
-
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าราว 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงทั้งหมดจะเป็นโรคท่อปัสสาวะอักเสบจากเชื้อเเบคทีเรียในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิตและอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงกลุ่มนี้จะเกิดอาการอักเสบซ้ำหลายครั้ง และอาการอักเสบที่เกิดซ้ำหลายครั้งมักเกิดขึ้นในบรรดาผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน นักวิจัยศึกษาค้นพบได้ว่า มีจำนวนเชื้อเเบคทีเรียจำนวนมากภายในเนื้อเยื่อบุผนังถุงน้ำปัสสาวะและเชื้อเเบคทีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณเบราเน่อร์ชี้ว่าเชื้อเเบคทีเรียเหล่านี้ยังสามารถหลบหลีกจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยได้ด้วย โดยธรรมชาติ ร่างกายคนเราจะผลิตสารต่อต้านเชื้อโรคหากมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแต่เนื่องจากเชื้อเเบคทีเรียสามารถแอบซ่อนตัวอยู่ลึกในเนื่อเยื่อบุผนังถุงน้ำปัสสาวะ ระบบต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติของร่างกายจึงทำงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมที่ให้แก่ผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือนผ่านทางช่องคลอดได้ผลดีในการช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อผนังถุงน้ำปัสสาวะซ่อมเเซมตัวเองให้เเข็งเเรงขึ้น ทำให้ติดเชื้อเเบคทีเรียยากขึ้น คุณเบราเน่อร์กล่าวว่าผลการทดลองบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมในหนูทดลองก็ได้ผลดีเช่นกัน ทีมนักวิจัยเชื่อว่าการบำบัดผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ป่วยด้วยอาการท่อปัสสาวะอักเสบซ้ำๆด้วยการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมเป็นวิธีที่ได้ผลในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเเบคทีเรียซ้ำแล้วซ้ำอีก
-
แพทย์และนักวิจัยจีน ชี้ เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนได้
แพทย์และนักวิจัยจีน ชี้ เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนได้ เนื่องจากมีการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ในจีน ส่วนใหญ่ผู้ที่รับการติดเชื้อ มักจะมีความคลุกคลีและสัมผัสกับไก่ หรืออาจจะเป็นแม้ค้าในตลาด ดังนั้นบรรดาผู้คนจึงเกรงว่าหากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์นี้เเพร่ระบาดจากคนสู่คน ก็จะกลายเป็นโรคระบาดในวงกว้าง เพื่อค้นหาว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อระหว่างมนุษย์ได้หรือไม่และอย่างไร ทีมนักวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้ทำการศึกษาการติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิดนี้ระหว่างตัวเฟอเรท ที่หน้าตาคล้ายตัวพังพอนแต่ขนยาวกว่า ตัวเฟอเรทที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสสู่ตัวเฟอเรทตัวอื่นๆผ่านการไอและจาม เหมือนกับคนเรา เชื้อไวรัสไข้หวัดนก H7N9 ยังสามารถแพร่ไปยังตัวเฟอเรทที่ปลอดเชื้อได้ด้วยการอยู่ร่วมในกรงเดียวกันกับตัวเฟอเรทที่มีเชื้อไวรัส แสดงว่าอาจจะเกิดกรณีเดียวกันนี้หากเปรียบเทียบกับคนในครอบครัวเดียวกันที่อาศัยในบ้านเดียวกัน แต่เมื่อทีมนักวิจัยทำการแยกตัวเฟอเรทกลุ่มที่ติดเชื้อออกจากกรงของกลุ่มตัวเฟอเรทที่ปลอดเชื้อ ปรากฏว่าหนึ่งในสามของตัวเฟอเรทที่แข็งแรงติดเชื้อไวรัส H7N9 แสดงว่าการติดเชื้อไม่เกิดขึ้นง่ายนัก นักวิจัยยังพบด้วยว่าเืชื้อไวรัส H7N9 ไม่แพร่ไปสู่สุกรอย่างที่หวาดเกรง ทีมนักวิจัยนานาชาติที่นำโดนนักวิจัยจีนที่ทำการศึกษาครั้งนี้ชี้ว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัส H7N9 กลายเป็นโรคระบาดในสัตว์ปีก ซึ่งอาจจะสร้างโอกาสให้เชื้อโรคแพร่สู่คน ทั้งจีนและประเทศเพื่อนบ้านจะต้องมีมาตราการดูแลจัดการตลาดค้าขายสัตว์ปีกให้เคร่งครัดและเข้มงวดมากขึ้น
-
นักวิจัยพบว่า มารดามีน้ำหนักตัวน้อยและเคยผ่าตัดลดน้ำหนัก ทำให้ลูกที่เกิดไม่เป็นโรคอ้วน
นักวิจัยพบว่า มารดามีน้ำหนักตัวน้อยและเคยผ่าตัดลดน้ำหนัก ทำให้ลูกที่เกิดไม่เป็นโรคอ้วน นักวิจัยแคนนาดา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปกติด มารดาที่อ้วน เมื่อคลอดลูกออกมา ลูกก็มักจะอ้วนด้วย แต่ในงานวิจัยเรื่องนี้ได้พบว่า การที่มารดาน้ำหนักตัวน้อย หรือก่อนตั้งครรภ์ได้มีการผ่าตัดลดน้ำหนักนั้น จะทำให้เด็กที่เกิดมาไม่อ้วน และยังมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจในตอนอายุมาก น้อยลง รายงานนี้ยังพบว่า เชื้อพันธุ์หรือ gene ที่เกี่ยวโยงกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่สืบเนื่องกับความอ้วนของเด็กที่เกิดหลังการผ่าตัดของมารดา ทำงานแตกต่างไปจาก gene ในเด็กที่เกิดก่อนการผ่าตัด ซึ่งนักวิจัยตีความว่า เด็กที่เกิดทีหลังอาจได้เปรียบทางด้านสุขภาพมากกว่าพี่ๆที่เกิดก่อน แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำว่า การดูแล และโภชนาการของเด็ก ยังมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพเด็กที่เกิดทีหลังอยู่ต่อไป งานวิจัยครั้งนี้ ชี้แนวทางการวิเคราะห์ไว้ว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า มารดาถ่ายทอดเชื้อพันธุ์ หรือ gene ที่แตกต่างให้กับลูกที่เกิดทีหลัง หากแต่เป็นการบ่งชี้ว่า การทำงานของเชื้อพันธุ์ในตัวเด็กเปลี่ยนไป และแสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมและโภชนาการตั้งแต่แรกเริ่ม ส่งผลกระทบระบบการเผาผลาญของร่างกายที่กำลังพัฒนาในตัวทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาได้
-
นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วน แบคทีเรียในท้องคนเรา มีบทบาทสำคัญต่อน้ำหนัก
นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วน แบคทีเรียในท้องคนเรา มีบทบาทสำคัญต่อน้ำหนัก นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วนนั้นอาจมีอะไรมากกว่าปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือปริมาณการออกกำลังกาย แบคทีเรียที่อยู่ในท้องของเราอาจมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เราอ้วนหรือผอมได้ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้อาจทำให้เราเข้าใจถึงการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น นักวิจัยเริ่มต้นด้วยการนำหนูทดลองกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกเลี้ยงภายใต้สภาพแวดล้อมที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว ทำให้ไม่มีเชื้อโรคอยู่ในท้องของหนูเหล่านั้น จากนั้นนำจุลินทรีย์ที่เติบโตในท้องของมนุษย์แฝดคู่หนึ่งมาใส่ไว้ในท้องของหนูทดลอง โดยยีนของแฝดคู่นี้เหมือนกันทุกประการ แต่คนหนึ่งเป็นโรคอ้วน ส่วนอีกคนไม่เป็น ผลการทดลองปรากฎว่า หนูทดลองที่มีจุลินทรีย์จากท้องของแฝดที่เป็นโรคอ้วนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าหนูตัวที่ได้รับจุลินทรีย์จากแฝดที่ไม่เป็นโรคอ้วน และพบว่าหนูที่มีจุลินทรีย์โรคอ้วนมีปัญหาที่ระบบการเผาผลาญอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับที่พบในคนที่เป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบความน่าสนใจบางอย่าง เมื่อนำหนูทดลองที่มีจุลินทรีย์โรคอ้วนกับหนูที่มีจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นโรคอ้วย มาขังไว้ในกรงเดียวกัน เมื่อจุลินทรีย์ที่อยู่ในหนูทดลองตัวผอมย้ายที่อยู่เข้าไปอาศัยในท้องของหนูทดลองที่เป็นโรคอ้วน จะมีผลช่วยชะลอให้น้ำหนักตัวของหนูทดลองตัวนั้นไม่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป หากต้องการผลิตยาผสมเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักและป้องกันไม่ให้เป็นโรคอ้วน ถึงกระนั้น นักวิจัยชี้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการควบคุมอาหารการกิน
-
นักวิจัยเชื่อว่าจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี เป็นสาเหตุของโรคอ้วน
นักวิจัยเชื่อว่าจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี เป็นสาเหตุของโรคอ้วน นักวิจัยเชื่อว่าการเกิดโรคอ้วนนั้นอาจมีอะไรมากกว่าปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือปริมาณการออกกำลังกาย เพราะรายงานชิ้นล่าสุดของนักวิจัยที่ Washington University ระบุว่า แบคทีเรียที่อยู่ในท้องของเราอาจมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เราอ้วนหรือผอมได้ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้อาจทำให้เราเข้าใจถึงการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้น